800 likes | 1.29k Views
สเตียรอยด์. การใช้ยา. แหล่งที่มาของยา. แหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ จากพืช ยาสมุนไพรการนำส่วนต่างๆของพืชโดยตรงเช่น ราก ใบ ลำต้น ดอก เปลือก หรือเมล็ด มาทำเป็นยาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ การสกัดเอาสารที่มีอยู่ในพืชออกมาทำให้บริสุทธิ์ เช่นยาควินิน จากสัตว์
E N D
สเตียรอยด์ การใช้ยา
แหล่งที่มาของยา • แหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ • จากพืช • ยาสมุนไพรการนำส่วนต่างๆของพืชโดยตรงเช่น ราก ใบ ลำต้น ดอก เปลือก หรือเมล็ด มาทำเป็นยาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ • การสกัดเอาสารที่มีอยู่ในพืชออกมาทำให้บริสุทธิ์ เช่นยาควินิน • จากสัตว์ • ยาที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ เช่น ตับ ดีหมู ดีวัว หรือสกัดจากอวัยวะของสัตว์เช่นน้ำมันตับปลา • จากแร่ธาตุ • จากแร่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นเกลือไอโอดีน และดินขาว • จากการสังเคราะห์ • มาจากการสังเคราะห์โดยอาศัยปฏิบัติการทางเคมีในห้องปฏิบัติการ win
การจำแนกประเภทยาที่จำหน่ายในท้องตลาดการจำแนกประเภทยาที่จำหน่ายในท้องตลาด • แบ่งตามหลักเภสัชวิทยา • จะแบ่งได้หลายกลุ่มเช่น กลุ่มยาลดไข้แก้ปวด ยาแก้แพ้ กลุ่มยาแก้เชื้อรา เป็นต้น • แบ่งตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 • ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยาสามัญประจำบ้าน ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก ยาใช้เฉพาะที่ ยาสมุนไพร ยาบรรจุเสร็จ win
เพราะเหตุใดจึงต้องทำยาในรูปแบบต่างๆเพราะเหตุใดจึงต้องทำยาในรูปแบบต่างๆ การทำยาในรูปแบบต่างๆมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ • รูปแบบของยาน้ำชนิดต่างๆ จะมีประโยชน์ในกรณีของเด็ก คนชรา หรือผู้ที่กลืนยายาก • เพื่อช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้เฉพาะที่ เช่น ครีมขี้ผึ้ง ยาหยอดหู ยาหยอดตา ยาหยอดจมูก ยาเหน็บช่องคลอด และยาเหน็บทวาร • เพื่อลดการเสื่อมสภาพของยาจากสภาพแวดล้อมหรือเพื่อปกผิดกลิ่นหรือรสชาติที่ไม่ดีของยา • เพื่อให้ยาบางตัวออกฤทธิ์อยู่ได้นาน win
รูปแบบของยาแบ่งออกได้ดังนี้รูปแบบของยาแบ่งออกได้ดังนี้ • ของแข็ง • เช่น ยาเม็ด แคปซูลเป็นต้น • ของเหลว • เช่น ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนตะกอน เป็นต้น • กึ่งของแข็ง • เช่น ครีม ขี้ผึง เจล เป็นต้น win
รูปแบบของยาที่เป็นของแข็งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาเหน็บ • ยาเม็ด ประกอบด้วยตัวยาสำคัญและส่วนอื่นๆ ดังต่อไปนี้ • Diluents สารช่วยเพิ่มปริมาณ เพื่อที่จะสามารถทำเป็นเม็ดได้ สารที่นิยมใช้เช่นแลคโตส เป็นต้น • Binders สารยึดเกาะ เป็นสารที่ใช้ในสภาพละลายเพื่อทำให้ผงส่วนผสมของสูตรยาเกาะกันเป็น granule ก่อนจะนำไปทำเป็นเม็ด • Disintegrants สารที่ทำให้เม็ดยาแตกตัว • Lubricants สารหล่อลื่น เพื่อป้องกันการติดของผงยาต่อเป้าตอกยา win
ชนิดของยาเม็ด แบ่งออกเป็น 6 ชนิด • ยาเม็ดชนิดที่ไม่เคลือบ • Compressed tablet ยาเม็ดที่ถูกอัดครั้งเดียว • multiple Compressed tablet ยาเม็ดที่ถูกอัดมากว่า ครั้ง • ยาเม็ดชนิดเคลือบ • Sugar-coated tabletยาเม็ดเคลือบน้ำตาล จะช่วยป้องกันไม่ให้ยาผสมกับอากาศหรือความชื่น หรือช่วยกลบรสหรือกลิ่นที่ไม่ดี • Film- coated tabletยาเม็ดเคลือบฟิล์ม ถูกเคลือบด้วยสารโพลีเมอ จะมีความทนทานและขนาดเล็กกว่ายาเม็ดเคลือบน้ำตาล • ยาเม็ดเคลือบเพื่อให้แตกตัวในลำไส้ ถูกเคลือบด้วยสารที่ไม่ละลายที่กระเพาะอาหาร หรือตัวยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร win
ยาอมใต้ลิ้น(Sublingual tablet) ตัวยา ถูกดูดซึมได้ดีจากเยื้อบุช่องปาก ข้อดีคือออกฤทธิ์ได้เร็ว • ยาเม็ดที่ใช้เคี้ยว(Chewable tablet) ใช้เคี้ยวหรือให้ละลายในปาก เมื่อละลายจะมีรสหวาน • ยาเม็ดฟู (Efferviscent tablet) เป็นยาเม็ดที่เตรียมโดยวิธีการผสมสารที่สามารถให้ก๊าซ เมื่อผสมกับน้ำ • ยาเม็ดออกฤทธิ์เนิ่น(Time-released tablet) เพื่อให้ปล่อยตัวยาออกมาอย่างช้าๆ win
ยาแคปซูล(Capsules) มีตัวยาบรรจุอยู่ในหลอดซึ่งเตรียมจาดเจลาติน • แคปซูลชนิดอ่อน จะมีสารพวกกลีเซอรีน ผสมอยู่ด้วยเพื่อทำให้เจลาตินอ่อนตัวลงและยืดหยุ่นได้ แคปซูลชนิดนี้มีความชื่นมากว่าชนิดแข็ง • แคปซูลชนิดแข็ง • ยาผง(Powders) • หมายถึง ส่วนผสมที่เป็นผงละเอียดของตัวยาในรูปแบบแห้ง • ยาเหน็บ(Suppositories) • ยาเหน็บช่องทวาร(rectal suppositories) • ยาเหน็บช่องคลอด(vaginal suppositories หรือ pessaries) • จุดประสงค์ของการให้ยาเหน็บ เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ หรือใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ชอบกินยาหรือหมดสติ win
รูปแบบของยาที่เป็นของเหลวรูปแบบของยาที่เป็นของเหลว • ยาน้ำใส(Solutions) เช่น ยาอมบ้วนปาก ยาล้างตา น้ำเกลือชนิดต่างๆ น้ำเกลือชะแผล เป็นต้น • ยาน้ำเชื่อม(Syrups) ตัวยาสำคัญละลายอยู่ในสารละลายของน้ำเชื่อมที่ทำมาจากน้ำตาลหรือสารให้ความหวานตัวอื่น • อีลิกเซอร์(Elixir) เป็นยาเตรียมของสารละลายน้ำและแอลกอฮอล์ที่มีรสหวาน • ยาน้ำแขวนตะกอน(Suspension) มียาผงซึ่งเป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยอาศัยสารช่วยแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรดชนิดน้ำ win
ยาน้ำแขวนละออง(Emulsion) เป็นยาเตรียมซึ่งประกอบด้วยของเหลว 2 ชนิดซึ่งไม่ละลายในกันและกัน เช่น น้ำมันตับปลา • โลชั่น(Lotion) อาจมีคุณสมบัติเป็นยาน้ำใส ยาน้ำแขวนตะกอน หรือยาน้ำแขวนละอองก็ได้ ใช้สำหรับทาภายนอกเท่านั้น • ยาเตรียมปราศจากเชื้อ(Sterile products) มักเป็นยาในรูปของเหลวชนิดต่างๆ เช่น ยาฉีด ยาหยอดตา น้ำยาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ win
รูปแบบของยาที่เป็นกึ่งของแข็งรูปแบบของยาที่เป็นกึ่งของแข็ง • ครีม(Cream) ครีมเป็นอิลันชั่น(Emulsion) ที่มีลักษณะกึ่งของแข็ง • ชนิดน้ำมันในน้ำ ชนิดนี้ล้างออกได้ง่าย ไม่เปรอะเสื้อผ้าและสามารถทาง่าย • ชนิดน้ำในน้ำมัน ชนิดนี้ล้างยาก ป้องกันการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง กรณีน้ำร้อนลวก ไฟลวก • ยาขี้ผึ้ง(Ointment) มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ ตัวยาสำคัญ(active ingredients) และยาพื้น(base) • เจล(Gel) ประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กๆ ที่เรียกว่าคอลลอยด์และมี คุณสมบัติชอบน้ำ และความหนืดของเจลจะขึ้นอยู่กับปริมาณของอนุภาค win
วิธีการให้ยา แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ • วิธีการให้โดยต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร • วิธีฉีด • วิธีอื่นๆ win
วิธีการให้โดยต้องผ่านระบบทางเดินอาหารวิธีการให้โดยต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร • การให้ยาโดยการรับประทานทางปาก • เป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด เพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้ • ผู้ป่วยสามารถให้ยาได้ด้วยตนเอง • การให้ยาทางทวารหนัก • เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้ที่รับประทานอาหารยาก • การเหน็บยาต้องทำด้วยความนุ่มนวลและสอดยาเข้าไปให้ลึกมากที่สุดเท่าที่ทำได้ • การเหน็บยาเป็นวิธีที่ยุ่งยาก และตัวยาชนิดเดียวกันราคาแพงกว่ายาที่ให้โดยวิธีรับประทาน win
วิธีฉีด การให้ยาโดยวิธีนี้จะออกฤทธิ์เร็วกว่าการให้ยาโดยวิธีรับประทาน วิธีการให้ยาโดยการฉีดแบ่งออกเป็น • การฉีดเข้าเส้นเลือดดำ • จะทำให้ยาเข้าสู่กระแสเลือดได้เต็มที่ และยาสามารถออกฤทธิ์ได้เร็วทันที แต่อาจทำให้เกิดอาการพิษได้รวดเร็วและรุนแรง • การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง • การให้ยาโดยวิธีนี้ยาจะไปกระจายอยู่บนชั้นใต้ผิวหนังซึ่งอยู่บริเวณกล้ามเนื้อ การดูดซึมยาเป็นไปอย่างช้าๆ • การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ • จะทำให้ยาถูกดูดซึมได้เร็วกว่าและทำให้เกิดความระคายเคืองน้อยกว่าการให้ยาใต้ผิวหนัง • การฉีดเข้าเส้นเลือดแดง • เป็นวิธีที่ใช้กันน้อยมาก ใช้เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้ยาที่มีพิษสูง เช่น ยารักษามะเร็ง ให้ยาเข้าไปยังอวัยวะส่วนที่ต้องการรักษาโดยต้องการให้ยาแพร่ไปบริเวณอื่นน้อยกว่า win
การสูดดมและการพ่น ใช้กรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ที่ช่องจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูก หรือปอด เพื่อขยายหลอดลม การอมใต้ลิ้น ใช้สำหรับยาที่อาจถูกทำลายได้โดยกรดและน้ำย่อยในทางเดินอาหาร ความเข้มข้นของยาในเลือดหลังจากอมยาใต้ลิ้นในระยะแรกจะสูงกว่าความเข้มข้นของยาที่ได้รับจากากรดูดซึมผ่านทางเดินอาหาร เพราะการดูดซึมยาโดยการอมใต้ลิ้นจะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดโดยทันทีในระยะแรกโดยไม่ผ่านตับอ่อนก่อน การทายาเฉพาะที่ การเหน็บยาทางช่องคลอด การให้ยาโดยวิธีพิเศษ การให้ยาเข้าทางน้ำไขสันหลัง เข้าในช่องปอด ช่องท้อง เป็นต้น วิธีอื่นๆ win
ข้อดี ให้สะดวกปลอดภัยไม่เจ็บตัว ให้ได้ด้วยตนเอง ราคาถูก ให้ผลดีเหมือนยาฉีดและจะให้ผลดีกว่าด้วยสำหรับยาที่จำเป็นต้องถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับแล้วทำให้ฤทธิ์การรักษาดีขึ้น ข้อเสีย ถ้ายามีรส กลิ่นไม่ดี ทำให้ไม่อยากกินยานั้น ยาอาจถูกทำลายโดยน้ำย่อยและกรดในกระเพาอาหาร ใช้ไม่ได้ในผู้ป่วยที่อาเจียนหรือหมดสติ ข้อดีข้อเสียของการกินยา win
ข้อดี การฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ไม่มีปัญหาเรื่องการดูดซึม ยาออกฤทธิ์เร็ว ไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่มีปัญหายาถูกทำลายก่อนการดูดซึม การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การดูดซึมเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นาพอสมควร การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ยาจะถูกดูดซึมได้เร็ว และ ความระคายเคืองน้อยกว่าการให้ทางผิวหนัง ข้อเสีย เกิดอาการเป็นพิษได้มากและเร็ว ขนาดของยาอาจเป็นอันตรายได้อาจทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เม็ดเลือดแตก เม็ดเลือดรวมตัวกัน การติดเชื้อราคาแพง ยาบางอย่างที่ระคายเคือง อาจทำให้เกิดเป็นแผลตรงบริเวณที่ฉีดได้ การสะสมยาไว้ที่เนื้อเยื่อ จะทำให้การดูดซึมช้าลง ข้อดีข้อเสียของการฉีดยา win
เงื่อนไขต่างๆ ในการให้ยา • ชนิดของยา • ยาบางชนิดจำเป็นต้องใช้การฉีด • สภาพของผู้ป่วย • ไม่สามารถกินได้ อาเจียน • อาการและความรุนแรงของโรค • ตำแหน่งที่ยาไปออกฤทธิ์ win
ข้อเสียของยาฉีด • ยาฉีด อาจทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรงจนถึงตายได้ • เข็มและเครื่องมือที่ใช้ฉีดยา ถ้าท่าฆ่าเชื้อหรือใช้เทคนิคการฉีดไม่ดีพอ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายทำให้เป็นฝีหนอง • ผู้ที่ขาดความชำนาญ หรือหลงตัวเองว่าตัวเองชำนาญ อาจปักเข็มไปถูกเส้นประสาทหรืออวัยวะสำคัญได้ • ค่าใช้จ่ายแพงและยุ่งยาก • คนไข้ต้องเจ็บตัว win
ข้อดี ยาออกฤทธิ์เร็ว ให้ยาได้ด้วยตัวเอง ออกฤทธิ์เฉพาะแห่ง ข้อเสีย วิธีการให้ไม่สะดวกแก่การรักษา ปริมาณยาไม่แน่นอน ทำให้เกิดการระคายเคือง หลอดลมตีบตัว ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ การสูดดมและการพ่นยา win
ข้อดี ความเข้มข้นของยาในเลือดในระยะแรกจะสูงกว่าความเข้มข้นของยาที่ได้จากากรดูดซึมทางลำไส้เล็กเพราะว่ายาถูกทำลายช้าลงเนื่องจากไม่ต้องผ่านตับอ่อนในตอนแรก เพื่อหลีกเลี่ยงข้อเสียที่จะเกิดจากการให้ยาทางระบบทางเดินอาหาร ข้อเสีย ยาบางชนิดมีรสไม่ดีและอาจทำให้เกิดการระคาย การให้ยาโดนวิธีนี้กินเวลานาน ไม่ค่อยสะดวกพูดไม่ได้ การอมใต้ลิ้น win
ข้อดี เหมาะกับเด็ก หรือผู้กินยายาก ออกฤทธิ์เฉพาะแห่งและทั่วทั้งตัว ข้อเสีย ยุ่งยาก ต้องเสียเวลานอน ราคาแพง การเหน็บ รศ. นายแพทย์กำพล ศรีฒนกุล เภสัชกร ดร.จุฑามณี จารุจินดา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล win
อันตรายจากการใช้ยา แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ 4 หัวข้อดังนี้ • อาการอันไม่พึงประสงค์ที่มีผลขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ใช้ • อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของยาซึ่งที่สำคัญได้แก่การแพ้ยา • ผลที่ได้จากการรับยาติดต่อกันเป็นเวลานาน • ผลของยาต่อทารกในครรภ์ win
อาการอันไม่พึงประสงค์ที่มีผลขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ใช้อาการอันไม่พึงประสงค์ที่มีผลขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ใช้ • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา • เช่นยาพวกแอสไพริน ทำให้หูอื้อ • เตตร้าซัยคลิน อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน ทำให้เด็กฟันเหลืองตลอดชีวิต • คลอแรมเฟนิคอล อาจทำให้การสร้างเม็ดเลือดขาวเสียไป • สเตร๊ปโตมัยซิน ทำให้ประสาทเกี่ยวกับการได้ยินเสีย • พิษของยาจากการได้รับยาเกินขนาด win
อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของยาอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของยา การแพ้ยา(Drug Allergy) • ลักษณะเด่นของการแพ้ยา • อาการแพ้ยานั้น สามารถพิสูจน์ได้ว่าร่างกายสร้างสิ่งต่อต้าน ต่อยานั้นได้ • ลักษณะอาการที่เกิดมีแบบแผน ทำนองเดียวกับอาการแพ้ของสารทั่วไป • ถ้าได้รับยาซ้ำอีกก็จะเกิดอาการแพ้อีก • ปฏิกิริยาเกิดรวดเร็วมากหลังจากถูกกระตุ้น • การแพ้ยาไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ได้รับ • สามารถช่วยเหลือได้ด้วย ยาแก้แพ้ ยาแก้อักเสบ และยากระตุ้น ประสาทซิมพาเธติค เช่น อะดีนาลีน win
องค์ประกอบที่ทำให้แพ้ยาองค์ประกอบที่ทำให้แพ้ยา • ชนิดของยา • วิธีการให้ยา การสัมผัสจะทำให้เกิดการแพ้ง่ายที่สุด • พันธุกรรมของผู้ได้รับยา • การได้รับการกระตุ้นมาก่อนและการเกิดปฏิกิริยาไขว้ของยาในกลุ่มเดียวกัน win
ชนิดของการแพ้ยา การแพ้ยาในทันทีทันใด • จะเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือดโดยโปรตีนนี้จะจับกับ มาสต์เซลล์(Mast cell) เมื่อได้รับยาครั้งต่อมา มาสต์เซลล์จะกระตุ้น ทำให้เซลล์แตก และหลั่งสารพิเศษทำให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ • อะนะฟัยแลกซีส(Anaphylaxis) ทำให้หลอดลมตีบ บวมบริเวณกล่องเสียง(หายใจไม่ได้) เส้นเลือดขยายตัวมาก • อาการแพ้อื่นๆ ผื่นคัน บวม win
อาการแพ้ชนิดทิ้งช่วง • อาการทางผิวหนัง • อาการผื่นแดง คัน อักเสบ • เม็ดเลือดขาวลดลงเกิดได้ 2 กรณี • ถ้าเกิดจาการทำงานของไขกระดูกสันหลัง ใช้สเตียรอยด์ไม่ได้ผล • ถ้าการทำลายเม็ดเลือดขาวที่ส่วนปลายไม่ใช่ไขกระดูกสันหลังอาการเช่นนี้จะหายไปเมื่อหยุดใช้ยาและใช้สเตียรอยด์ อาจให้ยาปฏิชีวนะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการขาดเม็ดเลือดขาว • โลหิตจาง • ยังไม่ทราบขบวนการที่แน่นอนว่าเกิดจากอาการแพ้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น คลอแรมเฟนิคอน จะไปกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้อัตราการตายสูง และการฟื้นจากการแพ้เป็นไปอย่างช้าๆ
ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตและมีบทบาทในการใช้รักษาโรคอย่างกว้างขวาง คือยาประเภทสเตียรอยด์หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือกูโคคอร์ติคอย์ ซึ่งนอกจากจะใช้ทดแทนในกรณีร่างกายขาดฮอร์โมนดังกล่าวแล้วยังนำไปใช้ในการรักษาโรคต่างๆ หลายชนิด win
การใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ตามหลักการที่ถูกต้องมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ • เพื่อเป็นการทดแทนระดับของฮอร์โมนในร่างกายที่ลดต่ำลง • เนื่องจากต่อมพิทุอิตารี(Pituitary)และต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ขนาดของยาจะให้ขนาดต่ำและใกล้เคียงกับปริมาณของฮอร์โมนในร่างกายที่มีการหลั่งตามธรรมชาติ • เพื่อหวังผลในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาบางประการ • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้ในการรักษาโรค win
ผลของสเตียรอยด์ต่อร่างกายผลของสเตียรอยด์ต่อร่างกาย • ผลต่อขบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย สเตียรอยด์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงและการทำลายพวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบฮัยเดรทในร่างกาย ฮอร์โมนจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และกระตุ้นให้มีการทำลายโปรตีน และไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อให้เซลต่างๆในร่างกายมีพลังงานใช้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ win
ผลต่อปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายผลต่อปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย มีผลทำให้มีการดูดซึมของน้ำและเกลื่อแร่ (ที่สำคัญคือโซเดียม) จากปัสสาวะ ในท่อไตส่วนปลายกลับสู่ร่างกายมากขึ้นในการดูดซึมกลับของเกลือโซเดียมจะทำให้การแลกเปลี่ยนการขับถ่ายโปแตสเซียมออกจากร่างกายซึ่งผลรวม คือ จะทำให้มีเกลือโซเดียมและน้ำคั่งอยู่ในร่างกายมากขึ้น และระดับโปแตสเซียมในร่างกายจะต่ำลง win
ผลต่อระบบไหลเวียนเลือดผลต่อระบบไหลเวียนเลือด สเตียรอยด์มีบาทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบไหลเวียนเลือดเป็นปกติ กลูโคคอร์ติคอยด์มีผลเสริมฤทธิ์การหดตัวของหลอดเลือดของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติค ถ้าขาดสเตียรอยด์จะทำให้การตอบสนองในการหดตัวของหลอดเลือดลดน้อยลงความดันเลือดต่ำ และทำให้ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำและสารต่างๆออกจากเส้นเลือดฝอยเพิ่มขึ้น win
ผลต่อระบบเม็ดเลือด สเตียรอยด์มีผลทำให้ระดับเม็ดเลือดแดงฮีโมโกบิล และเม็ดเลือดขาว ชนิดโปลิมอร์โฟนิวเคียล ลิวโคซัยท์ (PMN) ในเลือดสูงขึ้น win
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลางผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง สเตียรอยด์มีผลต่ออารมณ์ ลักษณะการนอนหลับและการทำงานของคลื่นสมอง สเตียรอยด์มีผลดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่สเตียรอยด์ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึมของคาร์โบฮัยเดรท สมดุลย์ของเกลือแร่และปริมาณของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในภาวะที่ขาดฮอร์โมนนี้ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงในรูปของอาการซึมเศร้าและหวั่นไหวง่าย win
ผลต่อระบบกล้ามเนื้อ สเตียรอยด์มีความสำคัญ ที่จะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นปกติ ในภาวะที่ขาดฮอร์โมนจะมีการอ่อนเปลี้ยของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลของสเตียรอยด์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของ คาร์โบฮัยเดรท สมดุลย์ของเกลือแร่ และปริมาณของเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากกว่าที่จะเป็นผลโดยตรง win
ประโยชน์ที่ใช้ในการรักษาประโยชน์ที่ใช้ในการรักษา • การให้สเตียรอยด์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนชนิดนี้ สเตียรอยด์ใช้ในการรักษาภาวะการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต การให้ยาโดยวิธีนี้จะต้องระวังผลการระคายเคืองของกระเพาะอาหารหลีกเลี่ยงการรับประทานยาตอนท้องว่าง หรือรับประทานพร้อมนมได้ win
โรคภูมิแพ้ ยาพวกสเตียรอยด์จะมีผลดีและรวดเร็วในอาการหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับโรคภูมิแพ้ เช่นโรคหืด ไข้หวัดเรื้อรังชนิดแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง แพ้ยาและโรคผื่นคันตามผิวหนังที่เกิดจากอาการแพ้ ไม่ควรใช้สเตียรอยด์เป็นยาตัวแรกในการรักษา และถ้าจำเป็นจะต้องใช้ก็ควรใช้เฉพาะในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น win
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเลือดโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเลือด ยาพวกสเตียรอยด์ได้ผลดีมากในการป้องกันอาการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงในโรค autoimmunchemolytic anemia สเตียรอยด์ยังมีประโยชน์ในการรักษาอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมะเร็ง เช่น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตกทำลาย และระดับแคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น win
ภาวะสมองบวม สเตียรอยด์ได้ผลดีที่สุดในการลดอาการบวมของสมอง และได้ผลดีในอาการบวมของสมองที่เกิดจากฝีในสมอง แต่จะไม่ได้ผล หากอาการสมองบวมเกิดจากอุบัติเหตุที่มีการกระทบกระเทือนต่อสมอง win
โรคความผิดปกติของเนื้อเยื้อคลอลาเจนโรคความผิดปกติของเนื้อเยื้อคลอลาเจน ยาสเตียรอยด์มีประโยชน์ในการรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติในระบบนี้ ถ้าใช้ในขนาดสูงในระยะแรกของโรคที่มีอาการเฉียบพลัน สเตียรอยด์จะมีผลควบคุมอาการต่างๆของโรคเอสแอลอี(SLE)ได้ ในกรณ๊ที่อาการแสดงที่ผิวหนังก็ใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก แต่ถ้ามีอาการของระบบอื่นในร่างกาย เช่น ทางไต ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบเลือด ก็จำเป็นต้องใช้การกินหรือการฉีด win
โรคผิวหนัง ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกจะสามารถลดอาการทางผิวหนังที่เกิดจาการแพ้ การอักเสบและโรคผิวหนังนี้ทำให้เกิดอาการคันต่างๆ สเตียรอยด์ไม่ได้เป็นยาที่รักษาต้นเหตุที่ผิวหนัง สเตียรอยด์อาจมีผลยับยั้งอาการคันและอักเสบที่เกิดจากเชื้อราได้ แต่เมื่อหยุดใช้ยาก็จะมีอาการขึ้นมาอีก และในบางครั้งก็กลับมีผลที่ทำให้การติดเชื้อลุกลามกว้างขึ้น win
โรคข้อชนิดรูมาตอยด์ ไม่ควรเลือกใช้สเตียรอยด์เป็นยาตัวแรกในการรักษา สเตียรอยด์จะมีผลเฉพาะในระยะที่มีอาการอักเสบรุนแรงเท่านั้น กรณีที่มีการอักเสบเฉพาะบางข้อ การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อนานๆครั้ง อาจช่วยลดอาการอักเสบได้ในระยะแรก แต่หลังการหยุดยา อาการอักเสบอาจกลับมารุนแรงกว่าเดิมอีก win
ใช้ลดระดับแคลเซียมในเลือดใช้ลดระดับแคลเซียมในเลือด สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลลดระดับของแคลเซียมในทางเดินอาหาร เนื่องจากยามีผลต้านฤทธิ์วิตามินดี จึงได้ผลดีในการรักษาภาวะที่แคลเซียมในเลือดสูง win
โรคตับ การเลือกใช้สเตียรอยด์รักษาโรคตับ ที่สำคัญคือลักษณะและสาเหตุของโรคและสภาพของผู้ป่วย และควรลดขนาดลงเมื่อผ็ป่วยมีอาการดีขึ้น สเตียรอยด์ไม่มีประโยชน์ที่ใช้รักษาตับอักเสบอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัส win
โรคไต ในผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติน้อย อาจใช้ สเตียรอยด์รักษาได้ผลดี ในผู้ใหญ่ก็ได้ผลดี ซึ่งผลการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะทางพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อไต win
โรคของระบบทางเดินหายใจโรคของระบบทางเดินหายใจ สเตียรอยด์มีประโยชน์ในการรักษาโรคหืดที่ใช้ยาขยายหลอดลมไม่ได้ผล รูปแบบของยาที่ควรให้คือ รูปแบบของยาสูดดม เพื่อให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ win
โรคตา สเตียรอยด์ใช้ได้ผลในการรักษาโรคของตาที่เกิดจากอาการแพ้ และอาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจาการติดเชื้อ วิธีการที่นิยมใช้คือ วิธีหยอด ห้ามใช้ยานี้ในกรณีจากการติดเชื้อ ไม่มีผลในการรักษาต่อกระจก ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆมีผลทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นจนเป็นโรคต่อหินได้ win