1 / 19

ซอฟต์แวร์ที่สนใจ

ซอฟต์แวร์ที่สนใจ. Linux. Linux.

ira-pollard
Download Presentation

ซอฟต์แวร์ที่สนใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ซอฟต์แวร์ที่สนใจ Linux

  2. Linux • ลินุกซ์(Linux) คือระบบปฏิบัติการที่นิยมตัวหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนเซอร์ ลินุกซ์มีลักษณะคล้ายระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยมีลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน • เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย และราคาต่ำ ปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่างๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ • ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPLเช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft

  3. ประวัติของลินุกซ์ • ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์เป็นคนแรก คือ ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ปี พ.ศ. 2526 ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนู (GNU)ขึ้น จุดมุ่งหมายโครงการ คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม คอมไพเลอร์ โปรแกรมแก้ไขข้อความ และเปลือกระบบยูนิกซ์ ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนลเท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล ลีนุส ทอร์วัสด์ส

  4. ประวัติของลินุกซ์ (ต่อ) • ในพ.ศ.2534Torvaldsเริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัยMinixซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับUnixซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดยTorvaldsเขาพัฒนาโดยใช้IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการEric S. Raymondได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่องThe Cathedral and the Bazaar • ในรุ่น0.01นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบPOSIXที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนูBash Shellและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว • Torvaldsยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบนX WindowSystemและมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อTuxให้เป็นตัวนำโชคหรือMascotของระบบลินุกซ์ Tuxสัญลักษณ์ของลินุกซ์

  5. ความเป็นมาของ "ลินุกซ์ทะเล" • หลายคนที่ได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์ในอดีตจะต้องเคยคิดที่อยากจะได้คอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้กับภาษาไทย แทนที่ต้องอ่านเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือไม่ก็ต้องทนใช้อักษรโรมันเขียนเป็นคำอ่านสำหรับคำไทย. ยิ่งคนที่มีโอกาสเรียนรู้วิธีเขียนโปรแกรมแล้วก็ยิ่งอยากจะท้าทายตัวเองโดยการเขียนโปรแกรมให้สามารถพิมพ์และแสดงผลภาษาไทย. "ดวงจันทร์", "ขวัญใจนักพิมพ์ดีด", "เวิร์ดสตาร์ภาษาไทย", "เวิร์ดจุฬา", "เวิร์ดรามา", "เวิร์ดราชวิถี" จึงได้ปรากฏให้เห็นต่อๆ กันมา. รหัสสำหรับอักษรไทยก็ได้มีความพยายามเสนอกันขึ้นมามากมายจนในที่สุดก็ได้ tis-620, iso-8859-11 เป็นมาตรฐาน, โดยมี Windows-874เป็น defacto standardที่แพร่หลายมากแม้ในขณะนี้.

  6. ความเป็นมาของ "ลินุกซ์ทะเล" (ต่อ) • เมื่อจำเป็นต้องใช้ UNIXเพื่องานวิจัยการแก้ปัญหาจึงต่างออกไป เนื่องจาก ตั้งแต่ความเป็นระบบที่ใหญ่ขึ้นมีความซับซ้อนมากจึงได้มีการแยกการประมวลผลเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน. มี UNIX เป็นแกน (kernel) แล้วมีโปรแกรมประยุกต์ประกอบอยู่รอบๆ เป็น shell. X Windowก็ได้พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มีวิธีการ (method) ที่เป็นไปในทำนองเดียวกัน. X Windowจึงได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับโดยมี Graphical User Interface (GUI) ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น object-oriented classหรือที่เรียกว่า widgetใน X Toolkit(Xtและ Xaw --Athena Widget--) หรือ XFree86 ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายบนลินุกซ์ใน ปัจจุบันนี้. จาก tterm สู่ txeditจนในที่สุดเป็นwidgetใน X Toolkitที่สนับสนุนการ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับใช้งานภายใต้ X Windowจึงเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่มุ่งสู่การ เปิดโลกสำหรับการใช้งานภาษาไทยภายใต้ระบบปฏิบัติการ UNIX.

  7. ความเป็นมาของ "ลินุกซ์ทะเล" (ต่อ) • เมื่อกันยายน 2535 ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาภาษาและวิทยาการความรู้ (Linguistics and Knowledge Science Laboratory) หรือที่รู้จักกันในนามของ LINKSได้ตั้งขึ้นเพื่อบุกเบิกงานวิจัยด้านการประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing). ความตั้งใจแรกสุดคือการพัฒนาระบบแปลภาษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และพจนานุกรม อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่ได้เริ่มไปบ้างแล้วในครั้งเมื่อเนคเทคได้มีโอกาสเข้าร่วมใน โครงการวิจัยระบบแปลภาษาแบบหลากภาษากับประเทศต่างๆ ในเอเชีย. ผลพลอยได้จากงาน วิจัยนี้เองทำให้เราได้ฟอนต์บิทแม็ป, ระบบป้อนอักขระไทย, ระบบแสดงผล, โปรแกรมตัดคำโดยใช้พจนานุกรม, ระบบพจนานุกรมแบบ btreeและ trie,ตลอดจนโปรแกรมเครื่องมือต่างๆ ในการแปลงรหัสที่มีอยู่มากชนิดในขณะนั้น. ด้วยงานส่วนใหญ่ได้พัฒนาภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกส์และ X Windowกอปรกับความต้องการที่จะเผยแพร่และเสนอเป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคตจึงได้มีการ รวบรวมผลงานเพื่อประกอบให้กับลินุกซ์และ Emacsเป็นการประเมินงานวิจัยในการใช้งานจริง.

  8. ความเป็นมาของ "ลินุกซ์ทะเล" (ต่อ) • มหกรรมโอเพนซอร์ส/ลินุกซ์ ครั้งที่ 1จึงได้จัดขึ้นเมื่อ 15ก.ค. 2542. งานครั้งนี้ถือเป็นกำเนิดของ "ลินุกซ์ทะเล (LinuxTLE)" ("ลินุกซ์ทะเล (LinuxTLE)" เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการพร้อมโลโก้ปลาโลมาตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 เป็นต้นมา) โดยเกิดจากความมุ่งมั่นจากหลายฝ่ายทีเดียว: ไม่ว่าจะเป็น ผู้คนในห้องแล็ป LINKS,เนคเทคที่ช่วยพัฒนาและประสานงาน; Dr Satoru Tomura, Dr Mikiko Nishikimi, Dr Ken-ichi Handa, Dr Naoto Takahashiจากกลุ่ม Free Softwareใน ETL (Electro-Technical Laboratory, Japan) ที่เป็นแหล่งพักพิงและให้ความช่วยเหลือมากมายเมื่อยามเริ่มหาทางให้กับลินุกซ์ฉบับภาษาไทย และ Emacsสำหรับภาษาไทย; Mr Steve Baur, Mr Martin Buchholzและ Dr Tomohiko Moriokaจากกลุ่ม Free Softwareใน ETL ที่ช่วยให้ Thai-XTISได้ทดลองใช้ใน XEmacs; Dr Yannis Haralambousและ Ms Tereza Tranakaภรรยา ที่ช่วยพัฒนาให้ฟอนต์ต้นฉบับสำหรับสร้างเป็นฟอนต์นรสีห์เป็นจริงขึ้นมาได้; กลุ่ม TLWG (Thai Linux Working Group) ที่ช่วยทำ packageและทดสอบให้กับลินุกซ์ทะเล; และที่ขาดเสียมิได้คือ Mr Masaki Komurasakiจาก CICCญี่ปุ่นประจำสิงคโปร์ที่เห็นความสำคัญให้เงินทุนอุดหนุนทั้งการจัดงานและผลิตซีดีรอมทั้งหมด.

  9. ความเป็นมาของ "ลินุกซ์ทะเล" (ต่อ) • จึงกล่าวได้ว่า "ลินุกซ์ทะเล" กำหนดขึ้นได้จากความเหมาะเจาะและลงตัวของหลายๆ สิ่งซึ่งเราอาจไม่มีตัวเลือกมากนักในงานสร้างสรรค์เช่นนี้. บุคคลดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคนที่อยู่เบื้องหลังความพยายามทั้งหมด. ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้รวมทั้ง Richard Stallmanที่จุดประกายและ Linus Torvaldsที่สร้าง GNU/Linuxขึ้นมาเป็นต้น. "ลินุกซ์ทะเล" จึงเป็นของทุกคนมีคุณค่าแก่การรักษาและให้คงอยู่สืบไปตามเจตนารมณ์แห่งโอเพน ซอร์ส

  10. การใช้งาน • การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท • ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMPย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Pythonซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง • เนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว • ระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น

  11. การติดตั้ง • การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่น สามารถเบิร์นได้จาก ISO imageที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือ สามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากลิขสิทธิ์ของโปรแกรมเป็นแบบGPL • ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง

  12. การติดตั้ง(ต่อ) • การทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงที่ราคาถูกกว่าเครื่องทั่วไป

  13. เหตุผลที่สนใจ • ลินุกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่ได้ยินชื่อมานานแล้วแต่ยังเคยรู้จักโปรแกรมนี้อย่างละเอียดจึงทำให้เกิดความสนใจว่ามีที่มาอย่างไรมีความสามารถอะไรบ้างและใช้งานได้อย่างไร

  14. การเลือกซื้อซอฟต์แวร์การเลือกซื้อซอฟต์แวร์ • 1. ความต้องการ ต้องกำหนดงานที่เราจะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เขียนเหตุผลคร่าวๆ และก็เริ่มศึกษารายละเอียด • 2. ผู้จำหน่าย มีความเต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลือ หรือให้ความรู้หรือ พวกเขาสามารถตอบคำถามได้ทุกคำถามหรือไม่ • 3. การสาธิต เขาสาธิต หรือแสดงวิธีการต่าง ๆ ที่เราอยากรู้อยากเข้าใจให้เราได้ดูหรือไม่ • 4. ความรู้ความเข้าใจ พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เขากำลังอธิบายอยู่จริงหรือไม่ • 5. การแข่งขัน ผู้จำหน่ายแต่ละแห่ง กำหนดราคาสินค้าอย่างไร ในสินค้าที่มีคุณภาพและลักษณะใกล้เคียง

  15. การเลือกซื้อซอฟต์แวร์(ต่อ)การเลือกซื้อซอฟต์แวร์(ต่อ) • 6. การสนับสนุนและการช่วยเหลือหลังการขาย เปรียบเทียบบริการหลังการขายอย่างละเอียดไม่ว่าร้านนั้นเป็นประเภทบริการเต็มรูปแบบ บริการอย่างจำกัด • 7. การฝึกอบรม ผู้ขายแต่ละแห่ง แห่งใดบ้าง ที่มีการฝึกอบรมก่อนใช้หรือในระหว่างการใช้การฝึกอบรมมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร • 8. การบริการ การบริการที่ทางร้านให้ผู้ซื้อนั้น มีอะไรบ้าง ให้บริการอย่างไร • 9. ข้อตกลงในการบริการ ข้อตกลงหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อนั้น มีรายละเอียด อย่างไรมีวิธีการอย่างไร

  16. ข้อปฏิบัติหลังจากการซื้อข้อปฏิบัติหลังจากการซื้อ • 1. ตรวจสอบราคาและค่าบริการต่าง ๆ โดยดูในรายการของ ใบส่งของ และใบเสร็จรับเงิน อย่างถูกต้อง ทางร้านควรแยกรายละเอียดลงใน ใบส่งของ หรือใบเสร็จรับเงิน • 2. รู้ได้อย่างแน่นอนว่า เมื่อซื้อแล้ว บริการที่ได้รับหลังจากการซื้อได้แก่อะไรบ้าง เช่น บริการหลังการขายชนิดเต็มรูปแบบ หรือชนิดจำกัด • 3. ในระยะประกัน(Warranty Period) นั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผู้ซื้อได้รู้อย่างแน่นอนว่าต้องแจ้งปัญหาไปที่แผนกใด หรือผู้ใดและจะสามารถรับการบริการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพียงใด

  17. ลิงค์ดาวน์โหลดและแหล่งข้อมูลอื่นๆลิงค์ดาวน์โหลดและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ลิงค์ดาวน์โหลด • http://www.linux.org/dist/download_info.html • http://www.pandasoftware.com/download/linux/linux.asp • http://www.linux.org/dist/ftp.html แหล่งข้อมูลอื่นๆ • ชุนชนผู้ใช้และผู้พัฒนาลินุกซ์ของไทย ไทยลินุกซ์เวิร์กกิ้งกรุ๊ป • Linux International

  18. ผลงาน

  19. ผลงาน

More Related