280 likes | 473 Views
นโยบายพลังงาน. โดย นางสาว พรชนก นัน ทานนท์ 55440555. ความต้องการพลังงานในอนาคต.
E N D
นโยบายพลังงาน โดย นางสาว พรชนก นันทานนท์ 55440555
ความต้องการพลังงานในอนาคตความต้องการพลังงานในอนาคต แนวโน้มการใช้พลังงานของโลกยังมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่แหล่งพลังงานประเภทฟอสซิลมีปริมาณสำรองลดลง และจะหมดไปในที่สุด หากไม่มีการค้นพบเพิ่มเติม ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2546 พบว่าถ่านหินจะมีปริมาณ 192 ปี แก๊สธรรมชาติ ประมาณ 67 ปี และน้ำมันดิบ 41 ปี ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงานที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ ภาพรวมการใช้พลังงานในปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา การใช้พลังงานของประเทศไทยเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.9 ซึ่งชะลอลงจากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.3 เนื่องจากประชาชนให้ความร่วมมือประหยัดพลังงานมากขึ้น การรณรงค์ประหยัดพลังงานของภาครัฐ รวมถึงปัจจัยทางด้านความผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทำให้การนำเข้าพลังงานลดลงจากปี พ.ศ. 2547 ถึงร้อยละ 2.3
ด้านการใช้น้ำมันสำเร็จรูป พบว่าน้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงร้อยละ 5.3 น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ขณะที่น้ำมันเตามีการใช้สูงขึ้นร้อยละ 6.8 เนื่องจากต้องนำไปใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และแก๊สหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.5 เพราะมีการนำไปใช้ในรถยนต์สูงขึ้นจากเดิมทั้งในส่วนการใช้ไฟฟ้า พบว่ามีปริมาณการใช้ที่ชะลอตัวลงโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หากเทียบกับปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีปริมาณการใช้อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5 อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมการใช้พลังงานจะลดลง และมีอัตราการนำเข้าลดลง ตาค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานทั้งประเทศสูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ถึงร้อยละ 19 หรือคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1.22 ล้านล้านบาท ขณะที่การนำเข้าพลังงาน พบว่ามูลค่าสูงถึง 7.44 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ถึงร้อยละ 36.7
สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานในปี พ.ศ. 2549 จาการประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าปี พ.ศ. 2549 การใช้พลังงานจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7-5.7 จึงคาดการณ์ว่าภาพรวมการใช้พลังงานของประเทศจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.6 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 3.9 แบ่งเป็น น้ำมันเบนซิน สูงขึ้นร้อยละ 2.4 แต่น้ำดีเซลจะยังปรับตัวลดลง จากผลของการขึ้นราคาในช่วงกลางปี โดยลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนน้ำมันเตาคาดว่าจะใช้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.8 เนื่องจากต้องนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. เพราะท่อแก๊สธรรมชาติเส้นที่ 3 ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย โดยในปี พ.ศ. 2549 การใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7
นโยบายการประหยัดพลังงานนโยบายการประหยัดพลังงาน นโยบายการประหยัดพลังงานของประเทศไทยได้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งอยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้กำหนดมาตรการมีลักษณะชั่วคราว เช่น ลดการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างในทางสาธารณะลงร้อยละ 50 จำกัดขนาดเครื่องยนต์ของส่วนราชการที่จัดซื้อใหม่ไม่เกิน 1300 ซีซี เป็นต้น
ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยกเลิกไปหมดแล้วเมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลง สำหรับมาตรการด้านอนุรักษ์พลังงาน หรือการประหยัดการใช้พลังงานที่ใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการใช้น้ำมันยังอัตราที่สูงมาก มาตรการประหยัดพลังงานในขณะนั้นครอบคลุมทั้งการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ภาคส่วนราชการซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการชั่วคราวที่เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น จำกัดความเร็วรถยนต์นั่ง และรถบรรทุก กำหนดบัสเลนห้ามจอดรถในถนนสายหลัก ห้ามไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) สาธิตการประหยัดพลังงาน กำหนดเวลาเปิด-ปิดของสถานบริการ สถานเริงรมย์ ลดเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงเย็น เป็นต้น
จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ใช้เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำมัน และไฟฟ้าในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาแพง และขาดแคลนนั้น ยังไม่สามารถลดการใช้น้ำมัน และลดการพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) จึงได้มีการกำหนดนโยบายทางด้านพลังงานไว้ เพื่อใช้เป็นหลักในการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ โดยรวมถึงการปรับโครงสร้างการผลิต และการใช้พลังงานให้ลดลง มาตรการประหยัดพลังงานที่นำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรมและคมนาคมขนส่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 นั้นกำหนดให้เน้นถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตให้เกิดการประหยัด และลดการใช้พลังงานลง โดยให้มีการดำเนินงานในรูปโครงการประหยัดพลังงานของประเทศ
โครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และขยายขอบเขตกว้างขวางเพิ่มขึ้นจนถึงในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) จึงได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มขึ้นให้มีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัยด้วย ในปี พ.ศ.2529 ภายหลังจากที่ได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน จนได้ผลมาในระดับหนึ่ง แต่จากการที่เศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในด้านการส่งออก การลงทุน และการท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขยายตัวขึ้นสูงตามไปด้วย จึงเป็นภาระของทั้งภาครัฐ และเอกชนในการจัดหาพลังงานมาสนองตอบความต้องการใช้ให้เพียงพอ การอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิผล และยั่งยืนจะเป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพทางด้านพลังงานของประเทศได้ และจากการเห็นผลสำเร็จของต่างประเทศในการอนุรักษ์พลังงาน อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา ซึ่งประเทศเหล่านี้มีกฎหมายอนุรักษ์พลังงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแก่ภาคเอกชน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ยกร่างกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา และได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2535
แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ความเป็นมา นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2544 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายประหยัดพลังงานของประเทศขึ้น ตลอดจนบรรลุผลสำเร็จตามแนวนโยบายของรัฐ ซึ่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 3 คณะ ประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน อาคาร และบ้าน • คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง • คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อจัดทำแผนและเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศในระยะต่อไป ต่อมาได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ขึ้น และได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 และวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ตามลำดับ
กรอบความคิดและแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานกรอบความคิดและแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน คณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เห็นชอบทางการดำเนินงานแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 มีกรอบความคิดและแนวทางหลัก ๆ ดังนี้ - เร่งเตรียมการปรับโครงสร้างการบริหารการจัดการพลังงานให้เหมาะสม และแก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้ออำนวยต่อโครงสร้างใหม่ - เร่งให้มีการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวล และพลังงานทดแทนอื่น ๆ เพื่อช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิง และพลังงานนำเข้า ซึ่งต้องคำนึงถึงความพร้อมของนโยบายด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
- เร่งจัดทำแผนประหยัด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกสาขา โดยเน้นการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง และให้ความสำคัญกับงานศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง พร้อมทั้งเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอ และวางรากฐานการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว - เร่งสร้างเครือข่ายเพื่อรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ
1. ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย - การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน / อาคาร และบ้านที่อยู่อาศัย มุ่งส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะ และการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาบุคลากร พร้อมทั้งเร่งปรับปรุงกฎกระทรวง ระเบียบ และขั้นตอนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ตลอดจนปรับปรุงรูปแบบของการให้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานของประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้าลดลงในอัตราร้อยละ 4.21 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 1,862.8 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี
- การอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจร และการขนส่งคน และสินค้า รวมทั้งการดำเนินการที่ทำให้มีการนำรถใหม่ที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันสูง และมีมลพิษต่ำมาใช้แทนรถเก่า รวมทั้งสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับส่งเสริมการขนส่งสาธารณะให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งรายย่อยรวมตัวกันเพื่อจัดธุรกิจศูนย์ขนส่งสินค้า (Depot) กระจายทั่วประเทศ ซึ่งหาการดำเนินการตามแผนประสบผลสำเร็จ คาดว่าจะช่วยให้ความต้องการใช้น้ำมัน และเชื่อเพลิงอื่นๆ ของประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้าลดลงในอัตราร้อยละ 22.16 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 7,094.65 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี
2. ด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสนับสนุนให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย และทุนพัฒนา นักวิจัยในแต่ละเทคโนโลยี และเร่งสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และผู้แทนประชาชน ตลอดจนเร่งทำให้ราคารับซื้อเพลิงอยู่ในระดับที่เหมาะสมรวมทั้งเร่งแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ขนาดเล็กมาก และสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูล เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพในระยะ 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีการใช้พลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 9.39 ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ได้ถึง 5,068.83 พันตัน เทียบเท่าน้ำดิบต่อปี
3. ด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มจำนวน และคุณภาพของบุคลากรให้เพียงพอในการนำเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งดำเนินการให้เกิดองค์กรความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานหมุนเวียน บูรณาการอยู่ในหลักสูตรประถมศึกษามัธยมศึกษา และอุดมศึกษาของประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้วได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียน
4. ด้านการประชาสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงความสำคัญ และผลกระทบของการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเผยแพร่วิธีการประหยัดพลังงานที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน และมีการลงทุนต่ำหรือไม่มีเลย ตลอดจนรายงานผลสำเร็จ และผลตอบแทนการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ประชาชนทราบ เพื่อจูงใจให้มีผู้อนุรักษ์พลังงาน และใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เมื่อแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2545-2554 ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว จะทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดความต้องการใช้พลังงานของประเทศลง โดยจะมีการผลิต และการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากต่างประเทศลง และจะทำให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงาน และหันมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนจะทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน พ.ศ.2547-2552 แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานนับเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาด้านพลังงานที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) บรรลุผล ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนในเวทีโลกให้สูงขึ้น สำหรับวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ได้กำหนดเป้ามายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานไว้ดังนี้
“สร้างโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนด้านไฟฟ้า แก๊สธรรมชาติ และน้ำ ด้วยโครงการสายส่งไฟฟ้าอาเซียน(ASEAN Power Grid:APG) โครงการท่อส่งแก๊สธรรมชาติอาเซียน(Trans-ASEAN Gas Pipeline:TAGP) และโครงการท่อส่งน้ำอาเซียน (ASEAN Water Pipeline) โดยมุ่งมั่นในการสร้างกลไกการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนในภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น”
แผนงานดำเนินการภายใต้กรอบของแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานประกอบด้วยแผนงาน 6 ส่วนหลัก คือ 1. การเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน เพื่อเอื้อต่อการดำเนินงาน และเกิดกรอบนโยบายสำหรับโครงข่างไฟฟ้า 2. การเชื่อมโยงระบบท่อส่งแก๊สธรรมชาติอาเซียน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ และการสร้างความตระหนักถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมระบบท่อส่งแก๊สธรรมชาติอาเซียน เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น และมีแหล่งแก๊สธรรมชาติที่มั่นคง 3. กลุ่มงานด้านถ่านหิน เพื่อร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาการใช้ถ่านหินอย่างยั่งยืนพร้องกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือปัญหาที่เกี่ยวกับถ่านหินในอาเซียน 4. ด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานผ่านการสร้างขีดความสามารถของทางราชการและเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยยกระดับความตระหนักของสาธารณชนพร้อมไปกับการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ด้านพลังงานทดแทน เพื่อกำหนดและรักษาการพัฒนาที่ยั่งยืนในการใช้พลังงานทดแทนและเทคโนโลยีของพลังงานทดแทน 6. ด้านนโยบายและแผนพลังงานระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์นโยบายพลังงานของแต่ละประเทศ และภูมิภาค และวางแผนให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน พ.ศ. 2547-255 เป็นเอกสารที่สะท้อนให้เห็นถึงลำดับความสำคัญของความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาค แผนนี้จะได้รับการพิจารณาเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปีเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ และตอบสนองต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาค