90 likes | 291 Views
โครงงานการบริหารจิตในการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อลดโรคไม่ติดต่อ. จัดทำโดย ด.ช.ประธาน โสมาสี ม.3/1 เลขที่06 เสนอ คุณครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ. 1.การบริหารจิต.
E N D
โครงงานการบริหารจิตในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดโรคไม่ติดต่อโครงงานการบริหารจิตในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ จัดทำโดย ด.ช.ประธาน โสมาสี ม.3/1 เลขที่06 เสนอ คุณครู ทัศนีย์ ไชยเจริญ
1.การบริหารจิต • การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเองสมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอื่นหรือเรื่องอื่นจากสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรืออารมณ์เดียวและจิตตั้งมั่นนั้นจะต้องเป็นกุศล ลักษณะของสมาธิ คือ จิตจะเกิดความสงบ เยือกเย็น สบายใจ มีความผ่อนคลาย เอิบอิ่มใจ ปลอดโปร่ง และมีความสุข ในวันหนึ่ง ๆ จิตของเราคิดเรื่องต่าง ๆ มากมาย จิตย่อมจะเหนื่อยล้า หากไม่ได้มีการบำรุงรักษาหรือบริหารจิตของเราให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ จิตจะอ่อนแอ หวั่นไหวต่อเหตุการณ์รอบตัวได้ง่าย เช่น บางคนจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาจนเกินเหตุ เมื่ออยู่ในอาการตกใจ เสียใจ โกรธ ดีใจ หรือเกิดความอยากได้ เพราะจิตใจอ่อนแอ ขุ่นมัว
การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือ การฝึกจิตให้มีสติสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่เรากระทำ โดยระลึกอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีสมาธินั่นเอง เป็นการควบคุมจิตใจให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะหยุดทำสมาธิอุบายที่จะทำให้เกิดสมาธิ • การทำจิตใจให้ผ่องใสหรือการฝึกจิต คือ การฝึกจิตให้มีสติสามารถควบคุมจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่เรากระทำ โดยระลึกอยู่เสมอว่า ตนกำลังทำอะไรอยู่ ต้องทำอย่างไร พร้อมกับระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือมีสมาธินั่นเอง เป็นการควบคุมจิตใจให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะหยุดทำสมาธิอุบายที่จะทำให้เกิดสมาธิ อ้างอิง http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%208/borihanchit/borihanjit.htm
2.การเสริมสร้างสุขภาพ • 1.สัมมาทิฐิต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องในการสร้างเสริมจะต้องทำเอง ไม่มีขาย ไม่มีให้ขอ สุขภาพของเราจะต้องทำเอง มีเงินก็ซื้อไม่ได้ ถ้าท่านคิดว่าสุขภาพหมอทำให้ท่านคิดผิด ท่านก็ไม่สำเร็จผมจะเล่าเรื่องให้ฟังเรื่องหนึ่ง ผมเป็นหมอเมื่อปี 2498 อยู่โรงพยาบาลสระบุรีมีคนไข้คนหนึ่งคนไข้คนนี้เป็นคนที่มีรถเก๋งในจังหวัด คนทั้งจังหวัดไม่มีรถเก๋ง นอกจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีรถประจำตำแหน่ง คนไข้คนนี้เป็นคนรวยที่สุดในจังหวัดป่วยเป็นวัณโรคปอด ปอดพรุนหมด มาหาผมให้รักษา ผมไม่ได้เก่งอะไรหรอกแต่บังเอิญในช่วงนั้นยาปฏิชีวนะมันเข้ามาพอดี ผมเอายานี้รักษา แต่ก่อนไม่มียาใครเป็นวัณโรคปอดนี้มีแต่ตายลูกเดียว พอแกได้รับยานี้เข้าไปแกหาย พอแกหายดีใจมากแต่อย่าลือว่าปอดนี้ถ้าเป็นวัณโรคมันก็เหมือนไม้ที่มีปลวกไปเจาะ เราเอาเซลไดร์ฉีดเข้าไป ปลวกตายหมด แต่ไม้ก็ยังพรุนอยู่ มันไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีปลวก อยู่สระบุรีจะมากรุงเทพฯ มาลำบาก แกชวนไปเที่ยววันฉลองรัฐธรรมนูญ เอารถเก๋งมาส่ง ก็มาเที่ยวกันเดินไปได้สัก 100 เมตร ก็บอกว่า คุณหมอไปเถิดผมจะนั่งคอย ผมไปไม่ไหว เพราะปอดแก่ไม่ดี และแก่พูดอยู่คำหนึ่งซึ่งผมอยากจะนำเอาคำพูดมาบอกท่านทั้งหลาย คือว่า " มีเงินเท่าไหร่ ๆ ก็ช่วยอะไรไม่ได้" นี่แหละมีเงินก็ซื้อไม่ได้ สุขภาพต้องทำเอง
2. สุขภาพเป็นขบวนการที่ต่อเนื่อง คือเมื่อเราเกิดอยู่ในท้องพ่อท้องแม่ อยู่ในมดลูกของแม่ในขณะที่อยู่ในมดลูกถ้าแม่แข็งแรงลูกก็แข็งแรง ถ้าลูกแข็งแรงคลอดออกมาเป็นเด็กก็แข็งแรง ถ้าเด็กแข็งแรงเป็นผู้ใหญ่ก็แข็งแรง ถ้าเป็นผู้ใหญ่แข็งแรงเป็นผู้อายุก็แข็งแรง สุดท้ายชีวิดมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา ไม่มีใครที่จะไม่ตาย พระพุทธเจ้าเคยถามพระอานนท์ว่าเธอคิดถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้าคิดถึงความตาย วันละ 7 ครั้ง พระพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ว่า อานนท์เธอยังประมาทอยู่ เธอต้องคิดถึงความตายทุกลมหายใจ เธอจะไม่ได้ประมาท เพราะฉะนั้นทุกคนต้องตายไม่มีไม่ตาย ปัญหาอยู่ว่า ถ้าเราสามารถจัดการ ป่วยให้สั้นๆ แล้วก็ตาย ถ้าทำเช่นนี้ได้ผมว่าคุณภาพชีวิตดี คุ้มค่าที่เกิดมาเป็นคน ดังนั้นในการทำสุขภาพนี้ เมื่ออายุมาก แล้วจึงจะมาเริ่มทำสุขภาพ บางทีมันสายไปเสียแล้ว แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ามันจะสายก็ยังดีกว่าไม่ทำเสียหาย
โรคไม่ติดต่อ • โรคไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคนิ่วโรคจิต และโรคประสาทโรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น • ขณะนี้ความสำคัญของโรคไม่ติดต่อกำลังเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะประเทศไทย แต่รวมถึงประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยโรคติดต่อลดลงเหลือเพียง 3 โรคใหญ่ คือ โรคเอดส์วัณโรค และไข้เลือดออก แต่โรคไม่ติดต่อกำลังมีบทบาทในการเป็นภัยต่อสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และที่เป็นปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ
สำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อ ที่ผ่านมาคือวัยทำงาน เพราะมีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งแต่แม่และเด็ก แม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก เพราะเด็กไทยเป็นเด็กที่อ้วนมากขึ้น อย่างน่าเป็นห่วง และเด็กที่อ้วนเมื่อเติบโตก็จะเป็นคนอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ซึ่งขณะนี้เด็กไทยที่เป็นโรคเบาหวานก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น ตอนนี้ทุกกลุ่มต้องทราบว่าตัวเองมีสิทธิ์จะมีความเสี่ยง (น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
คำคม • เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนัก จงปฏิบัติกับมัน ราวกับว่า มันไม่มีทางที่จะล้มเหลวเป็นอันขาด
ที่มา • http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%208/borihanchit/borihanjit.htm • http://www.thaihealth.or.th/forum/105/5840