E N D
ความหมายของการวิจารณ์ความหมายของการวิจารณ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525ให้ความหมายของคำว่าวิจาน, วิจาระนะก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม เป็นต้นโดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไรหรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้างเช่นเขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่าวิพากษ์วิจารณ์เช่นคนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
การวิจารณ์หมายถึงการพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้นให้เห็นว่าน่าคิดน่าสนใจน่าติดตามมีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมาองค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชยองค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไรการวิจารณ์สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้มีเหตุมีผลมีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วยตามปกติแล้วเมื่อจะวิจารณ์สิ่งใดจะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สารวินิจสารและประเมินค่าสารให้ชัดเจนเสียก่อนแล้วจึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้สารที่ได้รับจากการฟังมีมากมาย แต่ก็ได้รับเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
ความหมายของการเขียนวิจารณ์ความหมายของการเขียนวิจารณ์ การเขียนวิจารณ์คือการค้นหาข้อดีและข้อไม่ดีของเรื่องที่จะวิจารณ์ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องพร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้นเป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์ลักษณะของการวิจารณ์1. การวิจารณ์เป็นการถ่ายทอดความคิดเห็นชี้จุดเด่นจุดด้อยตลอดจนความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่างๆเช่นผลงานด้านศิลปกรรมงานวรรณกรรมข่าวสารบ้านเมืองเหตุการณ์ในสังคมเรื่องราวของบุคคลเป็นต้นอย่างสมเหตุสมผล มีข้อมูลสนับสนุนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์ เช่นหนังสือที่เราจะวิจารณ์นั้นมีอะไรให้เนื้อหาสาระแก่ผู้อ่านมากน้อยเพียงใดเป็นต้น
2. เป็นข้อเขียนที่ชัดเจนในการบอกให้ผู้อ่านทราบถึงรายละเอียดของสิ่งนั้น ดังนั้นผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเรื่องที่วิจารณ์เป็นอย่างดีเช่น การวิจารณ์วรรณกรรมจะต้องรู้ว่าเป็นหนังสือประเภทใดใครเป็นผู้แต่งมีเนื้อเรื่องวิธีการแต่งการใช้ภาษาเป็นอย่างไรเป็นต้นแล้วจึงสามารถวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่จะวิจารณ์ได้ว่าดีหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในการตัดสินใจเลือกชมเลือกซื้อเลือกอ่านสิ่งนั้น 3. เป็นข้อเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายน่าอ่านทำให้ผู้อ่านติดตามอ่านจนจบใช้ถ้อยคำอย่างสร้างสรรค์ไม่ใช้ถ้อยคำในเชิงประจานหรือโจมตีผู้เขียนอย่างรุนแรงนอกจากนี้บทวิจารณ์ที่ดีจะต้องให้ความรู้ความคิดข้อเสนอแนะแก่ผู้อ่านชี้ให้เห็นคุณค่าพิเศษที่อยู่ในงานเขียนเรื่องนั้น
การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์ เป็นการพูดสนับสนุนหรือโต้แย้งเรื่องที่อ่านหรือฟัง ด้วยหารพูดแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากอคติ ผู้พูดจะต้องบอกเหตุผลสนับสนุน หรือโต้แย้งในเรื่องที่ฟังได้
การแยกแยะเพื่อพิจารณาไตร่ตรอง หาข้อดีข้อเสีย หาจุดเด่นจุดด้อย หาเหตุผล ในการจะนำไปสู่การวินิจฉัยตัดสินใจ เพื่อประเมินคุณค่าของหนังสือในด้านต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น เพื่อความซาบซึ้ง เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อแนะนำหนังสือ เป็นต้น
ที่มา http://www.panyathai.or.th http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2422 http://sirimajan.exteen.com/20120606/entry-1