1 / 8

สินค้าลิขสิทธิ์

N. S. P. MD Says: Credit Carbon. กฎใหม่ลังไม้ไปไต้หวัน. สินค้าลิขสิทธิ์. การขอรับเงินชดเชย. ทำอย่างไรเมื่อสินค้าถูกจับ. S. Credit Carbon

ina
Download Presentation

สินค้าลิขสิทธิ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P MD Says: Credit Carbon กฎใหม่ลังไม้ไปไต้หวัน สินค้าลิขสิทธิ์ การขอรับเงินชดเชย ทำอย่างไรเมื่อสินค้าถูกจับ

  2. S Credit Carbon ภาวะเรือนกระจก  (Greenhouse Effect) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่แสงอาทิตย์ผ่านลงมาและ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่พอกพูนอยู่ในบรรยากาศระดับต่ำ จะตัดความร้อนเอาไว้ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เหมือนกับเรือนกระจกที่ใช้ปลูกต้นไม้ในเมืองหนาวก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซชนิดที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ เป็นตัวการสำคัญที่สุดของปรากฏการณ์เรือนกระจกที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ซึ่งในอดีตมนุษย์เราคาดไม่ถึงว่าภาวะเรือนกระจกนั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์เรามากนัก จึงไม่มีความกระตือรือร้นที่จะร่วมกันรณรงค์ในการปกปักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมมาชาติหลายๆอย่าง และทำให้เราพบกับความแปรปรวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการที่ภัยพิบัติเกิดอย่างกะทันหันก่อให้เกิดการเสียชีวิตของมนุษย์ ในรูปแบบใหม่ อาทิเช่น เสียชีวิตจากความร้อนจัด (ร้อนตาย) เสียชีวิตจากจมน้ำ หรือโคลนถล่มในบางพื้นที่ เป็นต้น N P ต่อหน้า 2

  3. หน้า 2 ต่อมาในระยะหลัง ช่วง10กว่าปีที่ผ่านมานี้ มนุษยชาติเกิดการตื่นตัวในเรื่องภาวะเรือนกระจกมากขึ้น นานาประเทศนำโดยประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ EU จึงได้ร่วมกันทำข้อตกลงที่เรียกว่า การซื้อ-ขาย Credit Carbon กันขึ้น โดยเมื่อเขาเชื่อว่าคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสาเหตุของแก๊สเรือนกระจก เขาก็ตั้งเงื่อนไขให้คนทั้งโลกลดการสร้างแก๊สเรือนกระจก โดยคิดเป็นร้อยละ 0.5 ต่อจำนวนหน่วยประชากร ว่าแต่ละประเทศจะผลิตได้เท่าไหร่ หากประเทศไหนที่มีการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์เกินกำหนด ก็จะต้องลดการผลิต แต่ถ้าหากลดไม่ได้ก็จะต้องออกเงินไปซื้อสิทธิของประเทศที่ผลิตได้น้อยกว่า เรียกกันว่า Credit Carbon เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีประชากรและกำลังการผลิตด้านอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงไม่สามารถที่จะลดการผลิต คาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามกำหนด จึงจำเป็นที่จะต้องไปขอซื้อcredit carbon จากประเทศในแถบแอฟริกาแทน แต่เมื่อไม่กี่วันมานี้ สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ EU ได้ร่วมกันแถลงข่าวออกมาว่า จะออกมาตรการการสกัดกั้นสินค้าจากประเทศที่ไม่สามารถควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ ในขณะนี้ประเทศไทยยังมีอัตราการปล่อยอยู่ที่ 0.75 ซึ่งถ้ามาตรการอันนี้มีผลบังคับใช้จริง ผมคาดว่าผู้ส่งออกไทยจะต้องได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน ปัญหาก็คือ ทำอย่างไรที่เราจะสามารถควบคุมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยให้ลดลงได้ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. S เป็นที่ทราบกันดีว่าการส่งออกลังไม้ไปประเทศแถบยุโรป จะต้องทำการ Fumigate หรือรมยาก่อนประเทศไต้หวัน ก็ได้ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้บรรจุ/ ขนส่งสินค้า เนื่องจากวัสดุไม้อาจเป็นพาหะศัตรูพืชระบาดที่ทำความเสียหายให้กับพืชปลูกและป่าไม้ในประเทศคู่ค้าได้ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จะครอบคลุมลังไม้ กล่องไม้ไม้รองรับสินค้าไม้รองลาก กรอบไม้ ถังไม้ แกนหรือเพลาที่ทำด้วยไม้ วัสดุไม้กันกระแทก ไม้หมอน ไม้ท่อน ฯลฯ ซึ่งใช้ในการขนส่ง บรรจุ รอง หนุน ผนึกสินค้า โดยยกเว้นวัสดุไม้ต่อไปนี้ 1.1 ทำจากไม้ที่มีความหนาน้อยกว่า 6 มม. 1.2 ประดิษฐ์โดยใช้กาว ความร้อน และโดยใช้ความดันหรือหรือใช้กาวและความร้อนร่วมกัน 1.3 เป็นไม้ที่ทาสีหรือย้อมสี 1.4 เป็นไม้ที่ใช้สาร tar หรือวัตถุกันเสียอื่นๆ 1.5 ใช้เป็นตู้บรรจุสินค้าที่เป็นของเหลว 2. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของ ISPM # 15 (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15) ก่อนส่งออกภายใต้การควบคุมของหน่วยงานกักกันพืชของประเทศผู้ส่งออก ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ N P ต่อหน้า 2

  5. หน้า 2 2. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของ ISPM # 15 (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15) ก่อนส่งออกภายใต้การควบคุมของหน่วยงานกักกันพืชของประเทศผู้ส่งออก ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ 2.1 วิธีรมด้วยสาร Methyl bromide (MB) ไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านการรมด้วยสาร Methyl bromide ตามอุณหภูมิ อัตรา เวลาและความเข้มข้นตามที่กำหนด ทั้งนี้ อุณหภูมิขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 10 o C และระยะเวลารมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง 2.2   วิธีอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) ไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านวิธีการอบด้วยความร้อนจนแกนกลางของไม้ได้รับความร้อนไม่น้อยกว่า 56 o C เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที 3. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านกรรมวิธีตามข้อ 2 จะต้องประทับตราเครื่องหมายรับรองตามมาตรฐาน ISPM #15 ดังนี้ S N P • - สัญลักษณ์ IPPC • - XX      : ISO two letter country code • - 000    : unique number assigned by the NPPO (National Plant Protection Organization) to the •               producer of the WPM • YY      : the approved measure used (Methyl bromide fumigation; HT : heat treatment) • ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะส่งออกวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้หรือใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อบรรจุสินค้าส่งออก ไปยังประเทศใต้หวันแล้วจำเป็นจะต้องมีลังไม้ หรือ พาเลทไม้ ทาง S.N.P. จะดำเนินการและออกใบรับรองให้กับท่าน ตามที่ทางประเทศใต้หวันกำหนด กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  6. การนำเข้าสินค้าที่มีลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก มีผู้ประกอบการหลายรายที่พยายามที่จะหลบเลี่ยงในการนำเข้าสินค้าที่แบรนด์มีลิขสิทธิ์ไว้อยู่แล้ว โดยที่ถูกตรวจพบบ่อยครั้งมักจะเป็นสินค้าประเภทอะไหล่รถยนต์ ซึ่งบทลงโทษของการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นค่อนข้างหนัก คือ สินค้าที่ถูกจับข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จะต้องถูกยึดไว้ทั้งหมด และจะต้องถูกทำลาย นอกจากนี้ ผู้ละเมิดยังต้องถูกปรับ 4 เท่าจากราคาสินค้าทั้งหมดอีกด้วย สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการท่านหนึ่ง ได้นำสินค้าเข้ามาเป็นอะไหล่รถยนต์ โดยมีแบรนด์ซึ่งมีลิขสิทธิ์ติดมาบนสินค้าด้วย ทางผู้ประกอบการท่านนี้ได้สั่งซื้อสินค้ามาจากทางประเทศต้นทางอย่างถูกต้องไม่ได้มีเจตนาจะทำการลอกเลียนแบบแต่อย่างใด โดยไม่ทราบว่า แม้จะมีการซื้อขายกันมาอย่างถูกต้อง จากประเทศต้นทางแล้วก็ตาม แต่การจะนำส่งออกเพื่อไปยังประเทศปลายทางจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาต หรือเอกสารที่ยืนยันว่า ผู้ประกอบการท่านนั้นได้รับอนุญาต ให้เป็นตัวแทนในการขายสินค้าตามแบรนด์นั้นๆ เมื่อนำเข้ามา ทางเราได้ตรวจเอกสารและพบว่ามีแบรนด์ดังกล่าวปรากฏใน Invoice และ Packing List จึงได้รีบแจ้งกลับไปทางผู้ประกอบการเพื่อขอเอกสารยืนยันการเป็นตัวแทนนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าว มิเช่นนั้นแล้วจะต้องถูกปรับโทษตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนั้น ดังนั้นแล้วหากท่านผู้ประกอบการต้องการนำสินค้าเข้าในลักษณะที่ต้องมีแบรนด์ที่อาจจะติดลิขสิทธิ์ ต้องมีการเตรียมเอกสารการเป็นตัวแทนนำเข้าให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะถึงแม้ท่านจะไม่มีเจตนา หรือสินค้าดังกล่าว เป็นของแบรนด์ดังกล่าวอย่างถูกต้องจริงๆ ก็อาจจะถูกจับ ปรับ และทำลาย ได้ ซึ่งนำมาซึ่งความเสียหายทางต้นทุนจำนวนมาก หากท่านผู้ประกอบการท่านต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่ คุณต้นวงศ์ หมั่นผจง โทรศัพท์ 02-333-1199 ต่อ 207โทรสาร 02-333-0930 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  7. ผู้ประกอบการรายหนึ่ง ใช้สิทธิประโยชน์ขอรับเงินชดเชย  โดยตามหลักการของการขอรับเงินชดเชยนั้น คือ ต้องมีเงินโอนเข้ามาจากต่างประเทศ โดยหลักฐานที่จะยืนยันได้ว่ามีการโอนเงินเข้ามาจริง คือ ใบเข้าบัญชี (CREDIT NOTE , CREDIT ADVICE ) แต่ประเทศที่ผู้ประกอบการรายนี้ส่งสินค้าไปขาย ไม่มีธนาคารที่ผู้ประกอบการเปิดบัญชีไว้ ทำให้ผู้ซื้อต้องโอนเงินเข้าธนาคารในประเทศไทยอีกธนาคารหนึ่ง และธนาคารในประเทศไทยที่รับเงินต้องทำการโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ผู้ประกอบการเปิดบัญชีไว้ ดังนั้นเท่ากับว่า จะมีใบเข้าบัญชี 2 ฉบับ คือ 1. ฉบับที่ผู้ซื้อจากต่างประเทศโอนเงินเข้าธนาคารในประเทศไทย และ 2. ฉบับที่ธนาคารในประเทศไทยโอนให้กับธนาคารของผู้ประกอบการ  เมื่อผู้ประกอบการจะยื่นขอรับเงินชดเชย จึงนำใบเข้าบัญชีฉบับที่ 2 มาใช้ประกอบชุด แต่ที่ถูกต้องคือ ต้องนำใบเข้าบัญชีฉบับที่ 1 มาแนบด้วย เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีเงินโอนเข้ามาจากต่างประเทศจริง  และในการที่จะขอใบเข้าบัญชีฉบับที่ 1 จากธนาคารในประเทศไทยนั้น ต้องอย่าให้ข้ามปี เพราะถ้าข้ามปี บางธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการติดตามใบเข้าบัญชี  โดยค่าธรรมเนียมในแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน ในกรณีนี้ ทางบริษัท SNP ได้ทำการแจ้งไปยังผู้ประกอบการโดยที่ทางผู้ประกอบการให้ทางบริษัทติดต่อไปยังธนาคารอีกที การเตรียมเอกสารให้พร้อมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งในการขอรับเงินชดเชย ซึ่งหากเอกสารไม่ครบก็จะทำให้เกิดความล่าช้าในการออกบัตรและส่งผลให้ได้รับเงินชดเชยล่าช้าตามมา หากผู้ประกอบการท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ คุณ วรรณทนา มีจำนงค์ โทร. 02-333-1199 ต่อ 301 ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  8. สินค้าถูกจับคือ สินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก ไม่ตรงกับการสำแดงในเอกสารที่ยื่นต่อกรมศุลกากร ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณ คุณภาพ ชนิดน้ำหนัก และราคาของ ถือว่าเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรอีกด้วย แล้วต้องทำอย่างไรเมื่อสินค้าถูกจับ ? 1.      ยอมรับผิด แล้วชำระค่าปรับและอากรที่ขาดในกรณีที่ไม่มีเจตนา ซึ่งอาจถูกระบุโทษน้อยลงหน่อยคือตามมาตรา 99โดยปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับเพิ่มอีกหรือไม่แล้วแต่ดุลพินิจเจ้าของหน้าที่ 2.      ไม่ยอมรับผิด แล้วต่อสู้คดีโดยการวางประกันเพื่อออกของไปก่อน หลังจากนั้นก็มาชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่พร้อมหลักฐาน ถ้าเจ้าหน้าที่พอใจ คดีก็จะระงับ ค่าปรับก็จะถูกผ่อนผันลง แต่ถ้าต่อสู้แล้วหลักฐานไม่พอหักล้างเจ้าหน้าที่ยืนยันความผิดก็จะต้องชำระค่าปรับตามกฎหมายและอาจถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงภาษีตามมาตรา 27 คือมีโทษปรับ 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งจำทั้งปรับ สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ 08/07/2009 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related