500 likes | 1.04k Views
กฎหมายลักษณะหนี้. อ.จักรภพ ศิ ริภากร กาญจน์. หนี้ Obligation. นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ มี วัตถุแห่งหนี้ เป็นการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินจากบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ วัตถุแห่งหนี้ ?
E N D
กฎหมายลักษณะหนี้ อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์
หนี้ Obligation • นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินจากบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ • วัตถุแห่งหนี้? • การกระทำ, งดเว้นการกระทำ, ส่งมอบทรัพย์สิน
ปพพ. มาตรา 194 • “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”
มูลแห่งหนี้ • 1. สัญญา • 2. ละเมิด • 3. จัดการงานนอกสั่ง • 4. ลาภมิควรได้ • 5. กฎหมาย
กำหนดเวลาชำระหนี้ • 1. หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามปฏิทิน • ปพพ. มาตรา 203 • “ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นไม่ได้กำหนดลงไว้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน”
เจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ผิดนัด • การเตือนของเจ้าหนี้อาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาก็ได้ และต้องให้เวลาอันสมควรที่จะให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วย จึงจะเป็นการเตือนโดยชอบ
2. หนี้มีกำหนดเวลาชำระตามปฏิทิน • เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นไม่ได้
ปพพ. มาตรา 204 • “ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันเวลาแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย”
3. กรณีละเมิด • ปพพ. มาตรา 206 • “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด”
การบังคับชำระหนี้ • ปพพ. มาตรา 214 • “เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย”
ปพพ. มาตรา 213 • “ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้”
การเรียกค่าเสียหาย • ปพพ. มาตรา 215 • “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้” • ใช้บังคับแก่หนี้ที่เกิดจากมูลสัญญาเท่านั้น ไม่ใช้แก่หนี้ที่เกิดจากมูลละเมิดที่มีมาตรา 438-447 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ความเสียหายปกติ • ปพพ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง • “การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ • ปพพ. มาตรา 222 วรรคสอง • “เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว
ผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วยผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย • ปพพ. มาตรา 223 • “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร”
ดอกเบี้ยในหนี้เงิน • ปพพ. มาตรา 224 • “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น”
การชำระหนี้พ้นวิสัย • วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย? • การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย หมายความว่าไม่สามารถทำการชำระหนี้ให้สำเร็จตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ได้เป็นการถาวร
กรณีใดจะถือว่าการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยต้องพิเคราะห์ตามวัตถุแห่งหนี้ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ คือ กระทำการ งดเว้นกระทำการ และโอนทรัพย์สิน
เหตุที่ทำให้การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยเหตุที่ทำให้การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย • 1. การกระทำของธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า • 2. การกระทำของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการกระทำของลูกหนี้ การกระทำของเจ้าหนี้ หรือการกระทำของบุคคลภายนอก • 3. มีกฎหมายห้าม
การชำระหนี้พ้นวิสัยก่อนลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้พ้นวิสัยก่อนลูกหนี้ผิดนัด
1.1 พฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ • ปพพ. มาตรา 219 • “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้” • ปพพ. มาตรา 372 • “ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่”
1.2 พฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ • ปพพ. มาตรา 218 • “ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น”
การชำระหนี้พ้นวิสัยหลังลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้พ้นวิสัยหลังลูกหนี้ผิดนัด • ปพพ. มาตรา 217 • “ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง”
มาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้มาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้
ปพพ. มาตรา 214 • “เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย”
1.การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้1.การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ • ปพพ. มาตรา 233 • “ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้” • ปพพ. มาตรา 234 • “เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย”
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ • 1) ต้องมีหนี้อยู่ 2 หนี้ หนี้ที่ 1 เป็นหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ หนี้ที่ 2 เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อบุคคลภายนอกไปบังคับเอาแก่บุคคลภายนอก • 3) ลูกหนี้ขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องตามที่ตนมีอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของหนี้ที่ 2 • 4) เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ • 5) จะต้องดำเนินการทางศาล
ผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ • เมื่อศาลพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี บุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้ของลูกหนี้ย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
2. การเพิกถอนการฉ้อฉล • ปพพ. มาตรา 237 • “เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้”
ผลของการเพิกถอนการฉ้อฉลผลของการเพิกถอนการฉ้อฉล • ทรัพย์สินที่โอนไปย่อมกลับมาสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้
การระงับแห่งหนี้ • 1. การชำระหนี้ • ปพพ. มาตรา 315 • “อันการชำระหนี้นั้น ต้องทำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ การชำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์”
2. ปลดหนี้ • ปพพ. มาตรา 340 • “ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป • ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย”
3. หักกลบลบหนี้ • ปพพ. มาตรา 341 • “ถ้าบุคคลสองคนต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบกันได้”
4. การแปลงหนี้ใหม่ • ปพพ. มาตรา 349 • “เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่”
5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน • ปพพ. มาตรา 353 • “ถ้าสิทธิและความรับผิดในหนี้รายใดตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน ท่านว่าหนี้รายนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”
อายุความ • ปพพ. มาตรา 193/9 • “สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” • ปพพ. มาตรา 193/10 • “สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้”
ปพพ. มาตรา 193/14 • อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้ • (1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้บางส่วนให้ ชำระดอกเบี้ย ให้ประกันหรือกระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง • (2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
ปพพ.มาตรา 193/15 • “เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ”
ปพพ. มาตรา 193/30 • “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี” • ปพพ. มาตรา 193/29 • “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้”