2k likes | 3.56k Views
สิทธิคนพิการตามกฎหมายที่สำคัญ. พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534. มาตรา 15 ได้ระบุว่า “ คนพิการที่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา 14 ให้ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังต่อไปนี้.
E N D
สิทธิคนพิการตามกฎหมายที่สำคัญสิทธิคนพิการตามกฎหมายที่สำคัญ
พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 • มาตรา 15 ได้ระบุว่า “ คนพิการที่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา 14 ให้ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังต่อไปนี้ 1 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 2 การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับหรือการศึกษาสายอาชีพ หรืออุดมศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสม ซึ่งให้ได้รับโดยการจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะหรือจัดรวมในสถานศึกษาธรรมดาก็ได้ โดยให้ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้การสนับสนุนตามความเหมาะสม
3 คำแนะนำชี้แจง และปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย และสมรรถภาพที่มีอยู่เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ 4 การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับคนพิการ 5บริการจากรัฐ ในการเป็นคดีความและในการติดต่อกับทางราชการ
กฎกระทรวงฉบับที่ 3 ( พ.ศ. 2537 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534
ข้อ 1 ให้คนพิการที่ลงทะเบียนตามมาตรา 14 ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้ (1) การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่นๆ (2) การให้คำแนะนำปรึกษา (3) การให้ยา (4) การศัลยกรรม (5) การพยาบาลเวชกรรมฟื้นฟู (6) กายภาพบำบัด (7) กิจกรรมบำบัด ( อาชีวบำบัด ) (8) พฤติกรรมบำบัด (9) จิตบำบัด (10) สังคมสงเคราะห์ และสังคมบำบัด (11) การแก้ไขการพูด ( อรรถบำบัด ) (12) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน และการสื่อความหมาย และ (13) การให้อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยคนพิการ
ข้อ 2 ภายใต้บังคับข้อ 5 คนพิการซึ่งรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข หรือสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือรับวิสาหกิจที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และค่าอุปกรณ์ตามข้อ 1 ดังต่อไปนี้ (1) ค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1 และ (2) ค่าห้อง และค่าอาหารไม่เกินอัตราที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตลอดเวลาที่รับการรักษาพยาบาล
ข้อ 3 ในกรณีที่คนพิการซึ่งเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามข้อ 2 ต้องใช้อุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการให้สถานพยาบาลดังกล่าวจัดหา อุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการให้แก่คนพิการนั้น และในกรณีที่สถานพยาบาลไม่มีอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการดังกล่าว ให้สถานพยาบาลนั้นขอเบิกจากศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 • มาตรา 55 ระบุว่า “ บุคคลซึ่งพิการ หรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก อันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ” • มาตรา 80 ระบุว่า “ รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งตนเองได้ ”
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 10 ระบุว่า “การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย • การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ • การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รีบสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 60 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประทศไทย โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา ดังนี้.......................................... (3) จัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษา สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษแต่ละกลุ่มตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยคำนึงถึงความเสมอภาค ในโอกาสทางการศึกษา และความเป็นธรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง • กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2545
กฎกระทรวงนี้ ออกตามความในมาตรา 10 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สาระที่สำคัญคือการให้สิทธิประโยชน์แก่คนพิการ หรือผู้ปกครอง ดังนี้ • 1. ขอยืมสิ่งอำนวยความสะดวก และสื่อทางการศึกษา ตามรายการใน บัญชี ก โดยต้องทำสัญญายืม และสัญญาค้ำประกัน • 2. ขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามบัญชี ข. และขอรับ “ บริการ ” ตาม บัญชี ค. • 3. ขอรับเงินอุดหนุนเป็นคูปอง เพื่อนำไปรับ “ บริการ ”ตามบัญชี ค • 4 ขอยืมเงิน เพื่อจัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามบัญชี ข. และบัญชี ค. และส่งหลักฐานการจ่ายเงินให้หัวหน้าสถานศึกษา • กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2545
กฎกระทรวงนี้ ออกตามความในมาตรา 10 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สาระที่สำคัญคือ “ ให้จัดสรรงบประมาณแต่ละปีเป็นเงินอุดหนุนสำหรับคนพิการตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2545 ในอัตราที่มากกว่าแต่ไม่เกินห้าเท่าของเงินอุดหนุนด้านสื่อ และวัสดุการศึกษาที่จัดสรรให้แก่นักเรียนทั่วไปต่อคน ” • ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 คนพิการได้รับเงินอุดหนุนตามกฎกระทรวงนี้ คนละ 2,000 บาท
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
มาตรา 5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้ • คณะกรรมการอาจกำหนดให้ บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ • ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขของทหารผ่านศึก และคนพิการ • ข้อ 2 ให้ทหารผ่านศึกหรือคนพิการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขภายใต้ประเภท และขอบเขตบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ณ หน่วยบริการประจำของตน เว้นแต่ในกรณีมีความจำเป็นอาจไปใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการอื่นของรัฐ ก็ได้
สิทธิที่สำคัญของคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้แก่ • ๑. การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำมิได้ • ๒. คนพิการอาจยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคำขอแทนก็ได้
๓. คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ เช่น • (๓.๑) การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ • (๓.๒) การศึกษา • (๓.๓) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ • (๓.๔) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างเต็มที่ • (๓.๕) การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและบริการอันเป็น สาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี (๓.๖) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภท
(๓.๗) บริการล่ามภาษามือ • (๓.๘) สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ • (๓.๙) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ และ • (๓.๑๐) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่น • ๔. ผู้ช่วยคนพิการ ให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าบริการและค่าธรรมเนียม • ๕.คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น • ๖. ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้พึ่งตนเองได้
๗.คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด • ๘.องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนด มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่าย • ๙.เงินสนับสนุนแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ • ๑๐.สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยได้รับเงินสนับสนุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ • ๑๑.กู้เงินเพื่อการประกอบอาชีพ
๑๒.เข้าทำงาน โดยนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงาน • ๑๓.เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น • ๑๔.เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการสำหรับคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดและ
๑๕.นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการที่จ้าง คนพิการเข้าทำงานมากกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใดมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้นตามที่กฎหมายกำหนด • (ข้อมูลจาก มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๐ ส.ค. ๒๕๕๒ )
สิทธิประโยชน์ที่สำคัญของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายต่างๆ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 เป็นต้น ได้แก่
1. เบี้ยความพิการ – คนพิการทุกคนที่มีสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการมีสิทธิลงทะเบียนขอรับเบี้ยความพิการคนละ 500 บาท/เดือน ในอนาคตจะมีการพิจารณาเพิ่มเบี้ยความพิการให้กับคนพิการที่มีฐานะยากจน และคนพิการระดับรุนแรงด้วย ทั้งนี้ คนพิการจะต้องแจ้งยืนยันว่าจะรับเบี้ยความพิการต่อทุกปีในเดือนพฤศจิกายน ถ้าไม่แจ้ง แสดงว่า สละสิทธิรับเบี้ยความพิการในปีถัดไป • 2. การลดหย่อนภาษีเงินได้ - สำหรับคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการที่มีรายได้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้คนละ 60,000 บาท ตั้งแต่รายได้ของปี 2552 โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาลให้คนพิการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ดังนั้น คนพิการต้องระบุชื่อผู้ดูแลคนพิการในสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการเพื่อขอรับสิทธิดังกล่าวและสิทธิอื่นๆ • 3. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ – คนพิการมีสิทธิได้รับบริการ ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ รวม 26 รายการ ได้แก่
3.1 การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่นๆ ตามชุดสิทธิประโยชน์ • 3.2 การแนะแนว การให้คำปรึกษา และการจัดบริการเป็นรายกรณี • 3.3 การให้ยา ผลิตภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และหัตถการพิเศษอื่นๆ เพื่อการบำบัด ฟื้นฟู เช่น การฉีดยาลดเกร็ง การรักษาด้วยไฟฟ้า Hemoencephalography (HEG )เป็นต้น • 3.4 การศัลยกรรม • 3.5 การบริการพยาบาลเฉพาะทาง เช่น พยาบาลจิตเวช เป็นต้น • 3.6 กายภาพบำบัด • 3.7 กิจกรรมบำบัด • 3.8 การแก้ไขการพูด ( อรรถบำบัด) • 3.9 พฤติกรรมบำบัด • 3.10จิตบำบัด
3.11 ดนตรีบำบัด • 3.12 พลบำบัด • 3.13 ศิลปะบำบัด • 3.14 การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน • 3.15 การพัฒนาทักษะในการสื่อความหมาย • 3.16 การบริการส่งเสริมพัฒนาการหรือบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม • 3.17 การบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เช่น นวดไทย ผังเข็ม เป็นต้น • 3.18 การพัฒนาทักษะทางสังคม สังคมสงเคราะห์ และสังคมบำบัด เช่น กลุ่มสันทนาการเป็นต้น • 3.19 การประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพหรือการประกอบอาชีพ • 3.20 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว
3.21 การบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อในรูปแบบที่เหมาะสมกับความพิการซึ่งคนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ • 3.22 การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะแก่คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้ช่วยคนพิการ • 3.23 การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน การเยี่ยมบ้าน กิจกรรมการให้บริการเชิงรุก • 3.24 การฝึกทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน เช่น การฝึกทักษะชีวิต การฝึกทักษะการดำรงชีวิตสำหรับคนพิการ การฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เป็นต้น • 3.25 การบริการทันตกรรม เช่น การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นต้น • 3.26การให้บริการเกี่ยวกับกายอุปกรณ์เทียม กายอุปกรณ์เสริม เครื่องช่วยความพิการ หรือสื่อส่งเสริมพัฒนาการ • 4. บริการจัดการศึกษา – คนพิการมีสิทธิเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาของรัฐทั้งการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี รวมถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูง และระดับปริญญาตรี
5. บริการจ้างงานคนพิการ - กระทรวงแรงงานกำลังดำเนินการกำหนดระเบียบให้สถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนจำนวนลูกจ้างทั้งหมด 50 คน ต่อ คน 1 พิการ ทั้งนี้ หากสถานประกอบการเอกชนไม่รับคนพิการเข้าทำงานจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ เช่น ให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ทั้งนี้หน่วยงานราชการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานไปต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ แต่ต้องส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเช่นเดียวกัน
6. บริการล่ามภาษามือ – คนพิการหรือคนหูหนวกมีสิทธิขอบริการล่ามภาษามือในกรณีต่อไปนี้ • 6.1การใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข • 6.2 การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ • 6.3 การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น • 6.4 การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรม รวมทั้งเป็นผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินเข้าร่วมด้วย • 6.5 บริการอื่นใดตามที่คณะอนุกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือประกาศกำหนด
7. บริการสวัสดิการสังคม – คนพิการมีสิทธิได้รับสวัสดิการตามความเหมาะสม ดังนี้ • 7.1 ผู้ช่วยคนพิการ (สำหรับคนพิการระดับรุนแรง) ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐาน และลงทะเบียนแล้ว • 7.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่สถานที่พัก • 7.3 สถานที่เลี้ยงดูสำหรับคนพิการไร้ที่พึ่ง • 8. บริการสิ่งอำนวยความสะดวก– หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องจัดให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ได้ เช่น บริการข้อมูลข่าวสาร บริการขนส่งสาธารณะ บริการในการเดินทาง และบริการให้สัตว์นำทางเดินทางกับคนพิการ เป็นต้น • 9. บริการเงินกู้ – คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิขอกู้เงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพได้ ทั้งการกู้รายบุคคลและการกู้เป็นกลุ่ม ทั้งนี้ ในกรณีการประกอบอาชีพเกิดความเสียหายจากภัยพิบัติใดๆ จะได้รับการพิจารณาตัดหนี้สูญด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและข้อมูลข่าวสารของคนพิการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและข้อมูลข่าวสารของคนพิการ • 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 ข้อ (6) บัญญัติไว้ว่า คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดในกฎกระทรวง และครอบคลุมถึงการบริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
3. แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓)ข้อ ๔.๓ ด้านการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการสังคม กำหนดไว้ว่ามุ่งเน้นการเร่งนำบริการโทรคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอันที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมไทย โดยเฉพาะในท้องถิ่นชนบทห่างไกล อาทิ การใช้โทรคมนาคมเพื่อพัฒนาการศึกษา การสาธารณสุข โดยการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนในพื้นที่ชนบทห่างไกล และประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีโอกาสในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมตามความเหมาะสม การส่งเสริมให้มีการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมและทั่วถึง การจัดสรรเงินกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ ๆที่เหมาะสม มีต้นทุนที่สามารถยอมรับได้ มาปรับใช้ในการให้บริการโทรคมนาคม ให้เกิดความเท่าเทียมในการใช้บริการ บนมาตรฐานคุณภาพและอัตราค่าบริการที่เหมาะสม
4. แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550-2554แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2550-2554 ได้รับการกำหนดขึ้นเป็นกรอบ ทิศทาง แนวทางในการดำเนินงานด้านคนพิการ ให้ภาคีภาครัฐและองค์กรเอกชนด้านคนพิการใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการ การดำเนินงานตามภารกิจขององค์กรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ว่า "คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิ มีคุณภาพชีวิตที่ดีเต็มตามศักยภาพ มีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่และเสมอภาค ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค"สิทธิในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและข้อมูลข่าวสารของคนพิการ กำหนดไว้ใน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของคนพิการ ซึ่งมีแนวทางและมาตรการ ดังนี้
1. ผลักดันให้มีนโยบายและวาระแห่งชาติในการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจาก อุปสรรค (Accessible Environment) และส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อก้าวสู่สังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อคนทั้งมวล ( Barrier free Society for All ) และผลักดันให้มีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ • 2. ยกร่าง / ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาคาร สถานที่ การขนส่ง บริการสาธารณะ โทรคมนาคม ( Telecommunication ) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technology ) รวมทั้งเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ( Assistive Technology ) ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค และบริการทุกด้านแก่คนพิการ • 3. ส่งเสริมการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนด้านการออกแบบที่ เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design ) • 4. ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบ ที่เป็นสากลและเป็นธรรม ( Universal Design)
5. พัฒนาและขยายศูนย์ส่งเสริมและสาธิตให้บริการด้านการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรม ( Universal Design) ทั้งสำหรับการเรียนการสอน และการขยายบริการสู่ชุมชน • 6. สร้างกลไกการติดตาม กำกับ ดูแล และตรวจสอบด้านสภาพแวดล้อม และการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ปราศจากอุปสรรค • 5. แผนพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT พ.ศ. 2551 - 2553แผนพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT พ.ศ. 2551-2553 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการลดช่องว่างดิจิตอล (Digital Divide) เพื่อสร้างสังคมแห่งเท่าเทียมด้วย ICT ตามวิสัยทัศน์การพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10แผนพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT พ.ศ.2551-2553 ประกอบด้วยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 4 ประการ และภายใต้กรอบการดำเนินงานตามแผนฯ จะต้องมีการจัดทำโครงการ 16 โครงการ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการเข้าถึง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับประชาชนทุกภาคส่วนตามหลักการ Universal Design ด้าน ICT นอกจากนี้ การจัดทำแผนพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT พ.ศ.2551-2553 ยังได้จัดทำมาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ภายใต้ ชื่อ Thai Web Content Accessibility Guideline 2008 (TWCAG 2008) ซึ่งอิงมาตรฐานสากล WCAG 2.0 จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการเข้าถึงเว็บไซต์ WAI (WebAccessibility Initiative) ขององค์กรกลาง W3C (World Wide Web Consortium) ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถใช้มาตรฐาน TWCAG 2008 เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ที่ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ เข้าถึงได้ในการรับข้อมูลสารสนเทศและรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและภาคเอกชนแผนพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT พ.ศ.2551- 2553 กำหนดและวางแผนยุทธศาสตร์ของแผนฯ ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550-2554 และสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ได้รับความสำคัญโดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสารสนเทศได้ • ยุทธศาสตร์ที่ 2ส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่และบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ • ยุทธศาสตร์ที่ 3ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีการเข้าถึงเว็บไซต์ • ยุทธศาสตร์ที่ 4ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุให้เข้าสู่วงจรการเรียนรู้เพื่อให้เป็นประชาชนที่มีคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจในส่วนของการนำแผนพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ประการ เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ สามารถมีความเท่าเทียมในด้านต่างๆโดยการเข้าถึง ICT อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น กำหนดให้มีการดำเนินงานใน 3 ระดับ
ระดับเป้าหมายของแผน ระดับยุทธศาสตร์ และ ระดับโครงการ โดยกำหนดให้มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติทราบถึงความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดระยะเวลาตามแผน เพื่อดำเนินการให้มีความเหมาะสมและทันต่อสภาวการณ์
6. ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย • จากบทบัญญัติเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของ คนพิการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประกอบกับ ปฏิญญาขององค์การสหประชาชาติ ประกาศการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และความเสมอภาคของคนพิการในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งแผนงานและกฎระเบียบอื่น ๆ นำมาซึ่งเจตนารมณ์ในเรื่องการส่งเสริมสิทธิ โอกาส และความเสมอภาคของคนพิการ ดังนั้น ผู้แทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งภาครัฐและเอกชน และองค์กรคนพิการ จึงได้ร่วมกันจัดทำปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทยขึ้น เพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนพิการ โดยปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทยนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการได้ระบุไว้ในในข้อ 12 ว่า คนพิการมีสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของคนพิการ ทั้งนี้ ต้องได้รับการสนับสนุนให้มีสื่อทุกประเภทที่เหมาะสมกับความพิการ รวมทั้งต้องจัดให้มีล่ามภาษามือ อักษรเบรลล์ สื่ออิเล็กโทรนิกส์ หรืออุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร และระบุไว้ในข้อ 13 ว่า คนพิการและครอบครัว ชุมชน สังคม มีสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร เพื่อทราบถึงสิทธิอันระบุไว้ในปฏิญญาฉบับนี้โดยทั่วถึง
“ปฏิญญา” หมายถึง การให้คำมั่นสัญญาหรือแสดงการยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง ส่วนคำว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หมายถึง การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันถึงสิทธิหรือำนาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เมื่อพิจารณาความหมายของปฏิญญาฯ จะเห็นได้ว่า ปฏิญญาฯ มิใช่กฎหมาย แต่เป็นเพียงคำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของบรรดารัฐสมาชิกเพื่อที่จะกำหนด มาตรฐาน แห่งการอยู่ร่วมกัน ที่ควรจะเป็น ของมวลมนุษยชาติเท่านั้น (อำนวย ยัสโยธา. 2541. กระบวนทัศน์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในพุทธศาสนา ศึกษาโดยวิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวคิดแบบตะวันตก) • ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ • (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน • (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น • (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบางเรื่อง
คำประกาศ หรือ ปฏิญญา • ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น
พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 • ฏกกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 • ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย • คนพิการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพแห่งบุคคล • คนพิการมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง • คนพิการมีสิทธิเข้าร่วมตัดสินใจกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ • คนพิการมีสิทธิได้รับการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเกิด และแรกเริ่มที่มีความพิการ • คนพิการมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ • คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพในทุกระดับ • คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ • คนพิการมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองและความช่วยเหลือ
คนพิการมีสิทธิอยู่ร่วมกับครอบครัวและมีส่วนร่วมในชุมชนสังคมคนพิการมีสิทธิอยู่ร่วมกับครอบครัวและมีส่วนร่วมในชุมชนสังคม • คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือจากรัฐ • คนพิการมีสิทธิได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ • คนพิการมีสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องสิทธิของคนพิการ • คนพิการและครอบครัว ชุมชน สังคม ได้รับ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามปฏิญญาฉบับนี้ • รัฐต้องให้พิการความสำคัญและปฏิบัติตามเป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับคน
รัฐให้อะไรกับคนพิการ?รัฐให้อะไรกับคนพิการ? • บริการทางการแพทย์ • โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด • โดย โรงพยาบาลจังหวัด • บริการทางการศึกษา • โดย ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด • บริการทางด้านอาชีพ • โดย ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด • โดย สำนักงานประกันสังคมจังหวัด • โดย สำนักงานจัดหางานจังหวัด • บริการทางสังคม • โดย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด • โดย ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัด • โดย สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด
เป็นการให้บริการของรัฐในเบื้องต้นแก่คนพิการ ที่ทำให้คนพิการได้มีหลักฐานเพื่อแสดงตนว่าเป็นคนพิการที่ประสงค์จะได้รับสิทธิในการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 โดยคนพิการที่ประสงค์จะรับสิทธิและโอกาสดังกล่าว สามารถจดทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียน (สำหรับผู้พิการ) 1. เอกสารรับรองความพิการ โดยแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีผู้เยาว์ใช้สูติบัตร พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด3. ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูปหลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียน(สำหรับผู้จดทะเบียนแทนผู้พิการ) 1.เอกสารหลักฐานของคนพิการ2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมทั้งต้นฉบับตัวจริง3.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมต้นฉบับตัวจริง4.ใบมอบอำนาจจากคนพิการหรือหนังสือรับรองจากทางราชการ5.คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไร้ความสามารถหรือการจัดตั้งผู้ปกครองกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง