1 / 28

โครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ

โครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะผู้วิจัย 1. รศ.ดร. อำนาจ วงศ์บัณฑิต หัวหน้าโครงการ 2. รศ.ดร. พัชรี สิโรรส 3. ผศ.ดร. พินัย ณ นคร. กระบวนการจัดทำร่าง พรบ. ทรัพยากรน้ำ. 1. การเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำร่าง พรบ.

ilithya
Download Presentation

โครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. คณะผู้วิจัย 1. รศ.ดร. อำนาจ วงศ์บัณฑิต หัวหน้าโครงการ 2. รศ.ดร. พัชรี สิโรรส 3. ผศ.ดร. พินัย ณ นคร

  3. กระบวนการจัดทำร่าง พรบ. ทรัพยากรน้ำ 1. การเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำร่าง พรบ. เพื่อทราบกฎหมายน้ำในปัจจุบัน เพื่อทราบว่าต้องการ พรบ. น้ำหรือไม่ เพื่อทราบว่าต้องการประเด็นใดบ้าง 2. การรับฟังความคิดเห็นภายหลังร่าง พรบ. เพื่อทราบว่าร่าง พรบ. เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อนำความคิดเห็นไปปรับปรุงแก้ไขร่าง พรบ.

  4. การเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำร่าง พรบ. ทรัพยากรน้ำ 1. ประชุมผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 ครั้ง 2. เก็บข้อมูลภาคสนาม 12 จังหวัด (โดยการสัมภาษณ์) 3. จัดสัมมนา 9 ครั้ง ผู้เข้าร่วมสัมมนา 1,855 คน จาก 63 จังหวัด ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 35.4% ผู้ใช้น้ำ 28.5% องค์กรท้องถิ่น 15.7% องค์กรเอกชน 6.8% ผู้ทรงคุณวุฒิ 6.4% สื่อมวลชน 5.6% นักการเมือง 1.3% 4. แจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าสัมมนา และได้รับคืน 687 ฉบับ 5. คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการวิจัย 6. แหล่งอื่นๆ เช่น คุยส่วนตัว จดหมาย และรายงานการประชุม

  5. การรับฟังความคิดเห็นภายหลังร่าง พรบ. 1. จัดสัมมนา 14 ครั้ง ครั้งที่ 12 สงขลา ครั้งที่ 13 นครราชสีมา ครั้งที่ 14 กรุงเทพมหานคร 2. แจกแบบสอบถามไม่น้อยกว่า 5000 ฉบับ 3. วิธีการอื่นๆ เช่น การพูดคุยส่วนตัว จดหมาย รายงานการประชุมหรือสัมมนาอื่นที่เกี่ยวข้อง

  6. ปัญหาสำคัญของกฎหมายน้ำในปัจจุบัน(1)ปัญหาสำคัญของกฎหมายน้ำในปัจจุบัน(1) 1. น้ำในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ทุกคนมีสิทธิใช้น้ำอย่างเสรี (อยู่ต้นน้ำได้เปรียบ) ไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจนในการแก้ปัญหาการแย่งน้ำ กฎหมายควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตร แต่ไม่คุมการใช้น้ำอย่างอื่น ผันน้ำข้ามลุ่มน้ำได้ไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย 2. น้ำในทางน้ำชลประทาน ประกาศทางน้ำชลประทานโดยไม่ต้องฟังประชาชน ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการอนุญาตให้ใช้น้ำและการจัดสรรน้ำ 3. น้ำที่ไหลบ่าตามพื้นดิน เจ้าของที่ดินแปลงสูงอาจเก็บกักน้ำจนที่ดินแปลงต่ำเดือดร้อนได้ 4. ไม่มีกฎหมายควบคุมน้ำใต้ดินบางระดับความลึก

  7. ปัญหาสำคัญของกฎหมายน้ำในปัจจุบัน(2)ปัญหาสำคัญของกฎหมายน้ำในปัจจุบัน(2) 1. องค์กร ไม่มี พรบ. รองรับคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และลุ่มน้ำ คณะกรรมการดังกล่าวไม่สามารถทำให้การบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำของชาติเป็นเอกภาพ ไม่มีการกระจายอำนาจให้ลุ่มน้ำ องค์ประกอบองค์กรส่วนใหญ่มักมาจากภาครัฐ 2. มลพิษ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ลุ่มน้ำไม่มีบทบาทเรื่องมลพิษตามกฎหมาย ไม่จ่ายค่าบำบัดน้ำเสีย

  8. ปัญหาสำคัญของกฎหมายน้ำในปัจจุบัน(3)ปัญหาสำคัญของกฎหมายน้ำในปัจจุบัน(3) 1. การพัฒนา ฟื้นฟู คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ สูญเสียป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร รุกล้ำแหล่งน้ำและที่สาธารณะ เขตแหล่งน้ำไม่ชัดเจน โครงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์แหล่งน้ำ 2. ปัญหาน้ำขาดแคลนและน้ำท่วม ไม่มีกฎหมายเพื่อควบคุมการผันน้ำสำหรับแก้ปัญหา น้ำขาดแคลนและปัญหาน้ำท่วม

  9. วัตถุประสงค์ของร่างพรบ. ทรัพยากรน้ำ • เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ • เพื่อกระจายอำนาจไปยังชุมชนในลุ่มน้ำและ • ให้ประชาชนในลุ่มน้ำมีส่วนร่วม • เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การจัดสรรน้ำที่เป็นธรรม • เพื่อประกันว่าทุกคนเข้าถึงน้ำได้ตามหลักสิทธิมนุษยชน • เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม

  10. ขอบเขตการใช้บังคับและขอบเขตการใช้บังคับและ ความสัมพันธ์กับกฎหมายอื่น • ครอบคลุมแหล่งน้ำสาธารณะ(จืดและเค็ม) น้ำพุ น้ำที่ไหล • บ่าตามพื้นดิน และน้ำใต้ดิน • ไม่ครอบคลุมน้ำที่มีกฎหมายอื่นบังคับอยู่แล้ว เว้นแต่กฎหมาย • อื่นนั้นมีมาตรฐานต่ำกว่า พรบ. ทรัพยากรน้ำ หรือกฎหมายนี้ • บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น • น้ำในเขตชลประทานอยู่ภายใต้ พรบ. การชลประทานหลวง แต่ • ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ กทช. หรือลุ่มน้ำ • ไม่คลุมมลพิษทางน้ำเพราะมีกฎหมายอื่นโดยเฉพาะอยู่แล้ว

  11. สาระสำคัญของร่าง พรบ. ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำและสิทธิในทรัพยากรน้ำ องค์กร คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการลุ่มน้ำและลุ่มน้ำย่อย สำนักงานคณะกรรมการลุ่มน้ำและลุ่มน้ำย่อย องค์กรของผู้ใช้น้ำ กองทุน การพัฒนา ฟื้นฟู คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำขาดแคลน

  12. ทรัพยากรน้ำและสิทธิในทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำและสิทธิในทรัพยากรน้ำ • น้ำเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน • ทุกคนมีสิทธิใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะตามความจำเป็น • โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเกินควรแก่เจ้าของที่ดินริมทางน้ำ • หรือผู้ที่เคยใช้น้ำจากทางน้ำนั้นมาก่อน • ในภาวะขาดแคลนน้ำ อาจสั่งให้งดหรือลดการใช้น้ำได้ • หากเกิดหรืออาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม อาจสั่ง • ให้งดหรือลดการใช้น้ำเป็นการชั่วคราวได้

  13. การใช้ทรัพยากรน้ำแบ่งเป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1 (ขนาดเล็ก) ไม่ต้องขออนุญาต เช่น การใช้ในครัวเรือน อุตสาหกรรมในครัวเรือน เกษตรกรรมแบบยังชีพ ประเภทที่ 2(ขนาดกลาง) ต้องขออนุญาตลุ่มน้ำหรือลุ่มน้ำย่อย เช่น การใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม ธุรกิจ เกษตรเชิงพาณิชย์ และท่องเที่ยว ประเภทที่ 3 (ขนาดใหญ่) ต้องขออนุญาตคณะกรรมการทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ เช่น การผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ การสร้างเขื่อน หรือกิจกรรม อื่นที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางหรือข้ามลุ่มน้ำ

  14. วิธีการกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การใช้น้ำวิธีการกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การใช้น้ำ การใช้น้ำประเภทที่ 1 และ 2 ให้แต่ละลุ่มน้ำเสนอรัฐมนตรีออกกฎกระทรวง โดยต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ การใช้น้ำประเภทที่ 3 รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงโดยความเห็นชอบของคณะ กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หมายเหตุ มีการถ่วงดุลกันระหว่างลุ่มน้ำ รัฐมนตรี และคณะ กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

  15. การเก็บค่าน้ำ ไม่มีการเก็บค่าน้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่ 1 จะเก็บค่าน้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่ 2 หรือไม่ ขึ้นกับคณะกรรมการลุ่มน้ำในแต่ละพื้นที่ จะเก็บค่าน้ำสำหรับการใช้น้ำประเภทที่ 3 หรือไม่ ขึ้นกับรัฐมนตรีและคณะกรรมการทรัพยากร น้ำแห่งชาติ

  16. องค์กร ส่วนที่ 1 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ส่วนที่ 2 ลุ่มน้ำและคณะกรรมการลุ่มน้ำ ส่วนที่ 3 ลุ่มน้ำย่อยและคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อย ส่วนที่ 4 สำนักงานคณะกรรมการลุ่มน้ำและลุ่มน้ำย่อย ส่วนที่ 5 กรมทรัพยากรน้ำ ส่วนที่ 6 องค์กรของผู้ใช้น้ำ

  17. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประธานกรรมการ นายกรัฐมนตรี ภาคประชาชน 12 คน ลุ่มน้ำ 4 ผู้ใช้น้ำ 4 ท้องถิ่น 3 องค์กรเอกชน 1 ภาครัฐ 12 คน ราชการ 9 รัฐวิสาหกิจ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 (3+3)

  18. อำนาจหน้าที่หลักของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติอำนาจหน้าที่หลักของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ • เสนอนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำของชาติ • พิจารณาให้ความเห็นต่อแผนและโครงการของบประมาณ • พิจารณาแผนแม่บทลุ่มน้ำ • กำหนดสิทธิในทรัพยากรน้ำของแต่ละลุ่มน้ำ • พิจารณาอนุญาตใช้น้ำประเภทที่ 3 (ขนาดใหญ่) • พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนแก่กองทุนลุ่มน้ำ • ไกล่เกลี่ยและตัดสินข้อพิพาทระหว่างลุ่มน้ำ

  19. ลุ่มน้ำและคณะกรรมการลุ่มน้ำลุ่มน้ำและคณะกรรมการลุ่มน้ำ • การกำหนดลุ่มน้ำให้ตราพระราชกฤษฎีกาและรับฟังความคิด • เห็นประชาชน • องค์ประกอบและจำนวนของคณะกรรมการลุ่มน้ำให้เป็นไปตาม • กฎกระทรวงโดยจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและโดย • ความเห็นชอบของ กทช. • ภาคประชาชนคัดเลือกผู้แทนกันเองเพื่อเป็นกรรมการ • ผู้ทรงคุณวุฒิที่ภาครัฐแต่งตั้งต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของผู้ทรงคุณวุฒิ • ที่คัดเลือกโดยภาคประชาชน

  20. อำนาจหน้าที่หลักของคณะกรรมการลุ่มน้ำอำนาจหน้าที่หลักของคณะกรรมการลุ่มน้ำ • พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทลุ่มน้ำ • พิจารณาแผนและโครงการของจังหวัดในลุ่มน้ำ • พิจารณาออกใบอนุญาตใช้น้ำประเภทที่ 2 (ขนาดกลาง) • ควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามสิทธิของลุ่มน้ำ • พิจารณาให้ความเห็นต่อการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำและกิจกรรมอื่น • ที่อาจมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ • ออกข้อกำหนดภายในลุ่มน้ำ

  21. ลุ่มน้ำย่อยและคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อยลุ่มน้ำย่อยและคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อย • ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนดลุ่มน้ำย่อย โดยมีการรับฟังความ • คิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ • องค์ประกอบและจำนวนกรรมการกำหนดโดยกรรมการลุ่มน้ำ • อำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เช่น • เสนอแผนและโครงการภายในลุ่มน้ำย่อย • พิจารณาอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ 2 (ขนาดกลาง) • ออกระเบียบบังคับภายในลุ่มน้ำย่อย

  22. สำนักงานคณะกรรมการลุ่มน้ำและลุ่มน้ำย่อยสำนักงานคณะกรรมการลุ่มน้ำและลุ่มน้ำย่อย • สำนักงานคณะกรรมการลุ่มน้ำไม่ขึ้นกับกรมทรัพยากรน้ำ • ทำหน้าฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการลุ่มน้ำ • ผู้อำนวยการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการลุ่มน้ำ • เจ้าหน้าที่ของสำนักงานไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ • อาจร้องขอความช่วยเหลือด้านบุคลากรจากส่วนราชการ • ขอเงินอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านกรมทรัพยากรน้ำ • สำนักงานคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อยสังกัดสำนักงานคณะ • กรรมการลุ่มน้ำ

  23. องค์กรของผู้ใช้น้ำ • ผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำเดียวกันอาจตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ • องค์กรผู้ใช้น้ำ 10 องค์กรอาจตั้งเป็นสหพันธ์ผู้ใช้น้ำ • สหพันธ์ผู้ใช้น้ำ 5 แห่งอาจตั้งเป็นสมาพันธ์ผู้ใช้น้ำ • องค์กรเหล่านี้เป็นนิติบุคคล • รายละเอียดการก่อตั้ง การดำเนินงาน กำหนดในกฎกระทรวง • ผู้ใช้น้ำอาจตั้งองค์กรตามกฎหมายอื่นได้ เช่น สมาคมผู้ใช้น้ำ • สหกรณ์ผู้ใช้น้ำ มูลนิธิผู้ใช้น้ำ กลุ่มผู้ใช้น้ำ หรือองค์กร • เหมืองฝาย เป็นต้น

  24. กองทุนทรัพยากรน้ำ • ตั้งกองทุนทรัพยากรน้ำในกรมทรัพยากรน้ำ • วัตถุประสงค์ • ศึกษา วิจัย พัฒนา คุ้มครอง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ • ช่วยเหลือชุมชนได้รับผลกระทบหรือผู้ที่คุ้มครองแหล่งน้ำ • ช่วยกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก • ช่วยเหลือ กทช. คณะกรรมการลุ่มน้ำ และสำนักงาน • รายได้ • รัฐบาล ท้องถิ่น ส่วนแบ่งค่าใช้น้ำ ค่าปรับผู้ก่อมลพิษ • การบริจาค ดอกผล และเงินอื่นๆ • คณะกรรมการบริหารกองทุนทรัพยากรน้ำ(มีผู้ใช้น้ำ ลุ่มน้ำ ท้องถิ่นด้วย)

  25. กองทุนลุ่มน้ำ • คณะกรรมการลุ่มน้ำอาจเสนอให้ตั้งกองทุนลุ่มน้ำ • วัตถุประสงค์ • ศึกษา วิจัย พัฒนา คุ้มครอง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ • ช่วยเหลือชุมชนได้รับผลกระทบหรือผู้ที่คุ้มครองแหล่งน้ำ • ช่วยกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก • ช่วยเหลือคณะกรรมการลุ่มน้ำ และสำนักงาน • รายได้ • รัฐบาล ท้องถิ่น ส่วนแบ่งค่าใช้น้ำ ค่าปรับผู้ก่อมลพิษ • การบริจาค ดอกผล และเงินอื่นๆ

  26. การพัฒนา คุ้มครอง ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ • คณะกรรมการลุ่มน้ำอาจประกาศว่ากิจกรรมใดจะต้องรับฟังความ • คิดเห็นของคณะกรรมการลุ่มน้ำก่อนดำเนินการ • รัฐมนตรีอาจสั่งให้ผู้ใช้น้ำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม • หยุดหรือลดการใช้น้ำชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาได้ • ให้มีการสำรวจและจัดทำแนวเขตแหล่งน้ำสาธารณะ

  27. การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำขาดแคลนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำขาดแคลน • ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำจัดทำแผน • เมื่อเกิดภาวะน้ำขาดแคลน รัฐมนตรีอาจสั่งให้ผู้ใช้น้ำหยุดหรือลด • การใช้น้ำเพื่อนำไปแบ่งปันผู้อื่น แต่ต้องจ่ายค่าทดแทน • กรณีจำเป็น รัฐมนตรีอาจสั่งให้มีการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำเพื่อป้องกัน • และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหรือน้ำขาดแคลนได้ แต่ต้องจ่ายค่าทดแทน • แก่กองทุนลุ่มน้ำที่เสียประโยชน์หรือจัดทำโครงการช่วยเหลือ • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รื้อ ถอน ทำลายสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำ • ในกรณีน้ำท่วมฉุกเฉินได้ แต่ต้องจ่ายค่าทดแทน

  28. การบริหารจัดการน้ำในทางน้ำชลประทานการบริหารจัดการน้ำในทางน้ำชลประทาน • ให้เป็นไปตาม พรบ. การชลประทานหลวง 2485 • ต้องจัดรับฟังความคิดเห็นก่อนประกาศทางน้ำชลประทาน • กรมชลประทานยังเป็นผู้จัดสรรน้ำและอนุญาตใช้น้ำเช่นเดิม • แต่การจัดสรรน้ำและอนุญาตใช้น้ำต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ • ที่ กทช. หรือคณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด • การวางหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์เดิมของ • โครงการ และข้อผูกพันตามกฎหมายหรือสัญญา

More Related