1 / 18

เป้าหมายของงาน IC

IC. เป้าหมายของงาน IC. คุ้มครองผู้ป่วย คุ้มครองเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ. ระบบ IC ที่ดี. = มีการนำความรู้ด้านระบาดวิทยาโรงพยาบาลมาปฏิบัติ ได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง ศึกษาความเสี่ยง ขจัดหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

ila-pate
Download Presentation

เป้าหมายของงาน IC

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IC

  2. เป้าหมายของงาน IC • คุ้มครองผู้ป่วย • คุ้มครองเจ้าหน้าที่ • ส่งเสริมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ระบบ IC ที่ดี • = มีการนำความรู้ด้านระบาดวิทยาโรงพยาบาลมาปฏิบัติ ได้แก่ • การค้นหาความเสี่ยง • ศึกษาความเสี่ยง • ขจัดหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด • การค้นหาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดย • การเฝ้าระวัง • ใช้หลักการทางระบาดวิทยา และ • ทำความเข้าใจกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ

  4. การขจัด/ลดความเสี่ยง • การตรวจสอบ และจัดการแก้ไขป้องกัน • จัดให้มีแนวทางปฏิบัติงาน • ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ • ศึกษาปัจจัยเสี่ยง • เรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา

  5. บทบาทใหม่ของงาน IC • เดิมเน้นที่การนับจำนวนการติดเชื้อและการควบคุมให้ผู้คนปฏิบัติตามข้อกำหนด  มุ่งลดผลกระทบของการติดเชื้อและความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ ด้วยการกำหนดเป้าหมาย วัดวิเคราะห์ สร้างแนวร่วม และปฏิบัติบนพื้นฐานของหลักฐานวิชาการ

  6. ระบบ IC ที่ได้ผล : องค์ประกอบที่จำเป็น • มี ICN เต็มเวลา 1 คนต่อ 250 เตียง • มีแพทย์ซึ่งได้รับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง IC • มีการเฝ้าระวังและป้อนข้อมูลอัตราการติดเชื้อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยเก็บข้อมูลในจุดที่มีความสำคัญ • ใช้หลักระบาดวิทยา • ให้แพทย์มีส่วนร่วม • เน้นแนวทางปฏิบัติงานที่ให้ผลลัพธ์ดีกว่า • มีคู่มือและการฝึกอบรมที่เพียงพอ

  7. หน้าที่และกิจกรรมของระบบ IC • เฝ้าระวัง (Surveillance) • สุขภาพอนามัยเจ้าหน้าที่ (Employee Health) • ฝึกอบรม (Education) • ให้คำปรึกษา (Consultation) • จัดทำนโยบายและวิธีปฏิบัติ • ดูแลกำกับให้มีการปฏิบัติตามนโยบายวิธีปฏิบัติ (Regulations Guideline Standards) • สอบสวนเมื่อมีการระบาด • พัฒนาคุณภาพ • บริหารจัดการ (Program Management)

  8. Pitfall : ระบบเฝ้าระวัง • ไม่ชัดเจนว่าจะให้เฝ้าระวังเหตุการณ์อะไรบ้าง ในกลุ่มผู้ป่วยใดบ้าง เช่น ผู้ป่วยล้างไตแต่ละแบบ • เก็บข้อมูลแต่แปลผล แปลความหมายของข้อมูลได้น้อย ทำให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลในการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง • ไม่มีการแบ่งปันข้อมูลในกลุ่มผู้รับผิดชอบหลัก • ใช้ตัวหารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ • Passive surveillance ทำให้ได้ข้อมูลต่ำกว่าความเป็นจริง Active surveillance โดย ICN ที่ได้รับการฝึกอบรมจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น

  9. Pitfall : Employee Health • ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยของเจ้าหน้าที่ว่ามีความสัมพันธ์กับการทำงานหรือไม่ • ขาดการสำรวจพฤติกรรม สภาพแวดล้อม และความเสี่ยงในการทำงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ • การติดตามสภาวะสุขภาพหลังประสบภาวะเสี่ยง

  10. Pitfall : การทำความสะอาด/การใช้น้ำยา • ไม่มีอ่างล้างมือ • ไม่มีสบู่ ภาชนะใส่สบู่ ไม่มีการระบายที่ดี • ผ้าเช็ดมือใช้แล้วใช้อีก • ไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด • การจัดแบ่งพื้นที่ • การนำส่งของสกปรก • การปนเปื้อนจากการคัดแยกผ้าเปื้อน • เวลาสัมผัสนานไม่สอดคล้องกับ spec ที่กำหนด

  11. Pitfall : การดูแลพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง • ห้องผ่าตัด • ห้องคลอด • หอผู้ป่วยวิกฤติ • หน่วยซักฟอก • หน่วยจ่ายกลาง • โรงครัว • หน่วยกายภาพบำบัด • ห้องเก็บศพ

  12. Pitfall : การควบคุมสิ่งแวดล้อม • มีการประเมินความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม แต่การนำไปใช้ประโยชน์ ? • การจัดการกับขยะติดเชื้อ / การควบคุมแมลง • การประเมินระบบระบายอากาศ / ความดันอากาศ • การควบคุมฝุ่นละอองระหว่างการก่อสร้าง • การติดตามประสิทธิผลของการกรองอากาศและมาตรการควบคุมฝุ่นละออง • การป้องกันการปนเปื้อนทางอากาศในห้องผ่าตัดเมื่อมีการผ่าตัดผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค • การติดตาม endotoxin ในน้ำที่ใช้สำหรับ hemodialysis

  13. Pitfall : Isolation Precautions • เข้าใจแนวทางไม่ตรงกัน • ขาดการสื่อสารข้อมูล case ที่ควรเฝ้าระวัง • ขาดการกำกับดูแลเมื่อมี case ที่ควรใช้หลัก IP • การจัดพื้นที่รองรับ

  14. Pitfall : Sterilization • การทำความสะอาดเครื่องมือ • การนำส่งเครื่องมือสะอาด – สกปรก • สถานที่และการติดตามตรวจสอบการจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ สารน้ำ • การบรรจุหีบห่อ การทำ marker เพื่อให้ง่ายต่อการทวนสอบ / ขอคืนอุปกรณ์ • การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ให้ได้มาตรฐาน • การตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการทำให้ปราศจากเชื้อ

  15. Pitfall : การติดเชื้อ • ขาดการย้อนมองกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการติดเชื้อให้ครบถ้วน เช่น • แผนการรักษา/ประเมินซ้ำของแพทย์เพื่อลดวันนอนในการใช้เครื่องช่วยหายใจ • การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม / ไม่มีการ feedback การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม • การแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย • การแทรกแซง/ให้คำปรึกษาของแพทย์ ICN

  16. Pitfall : การพัฒนาคุณภาพ • การปรับปรุงกระบวนการทำได้เฉพาะส่วนของพยาบาล กระบวนการที่อยู่ในความรับผิดชอบของวิชาชีพอื่น ๆ มีน้อย เช่น บทบาทแพทย์ในการลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ บทบาททีมเภสัชและห้อง lab ในการ feedback เรื่องยาแก่แพทย์ / ให้ภาพรวม / เกาผิดคน • ใช้ผลลัพธ์ที่มีผลกระทบน้อยในการพัฒนาคุณภาพ ; sepsis – septicemia • การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานในการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพ

  17. Pitfall : การพัฒนาคุณภาพ • ขาดข้อมูลในการชี้นำเพราะขาดการเชื่อมโยงข้อมูลจากเวชสถิติ / ไม่มีกิจกรรมค้นหา NI จากการทบทวนเวชระเบียนในผู้ป่วยที่ทรุดลงส่งต่อ / ย้ายเข้า ICU โดยไม่ได้วางแผน • การกำหนด target ของเครื่องชี้วัดไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพ ทำได้เพียง QA • ? ทักษะความรู้เรื่องระบาดวิทยาของแพทย์และ ICN เพื่อชี้นำกระบวนการสำคัญในการทบทวนปัญหา

  18. Pitfall : ด้านการบริหารจัดการ • แผนประจำปี routine • ปัญหาเรื่องการสื่อสารเป้าหมายและแผนงาน IC ให้รู้ทั่วกัน • การประเมินประสิทธิผล ประสิทธิภาพไม่ครอบคลุมนโยบาย เป้าหมายที่กำหนดไว้ • การกำหนดเนื้อหาเพื่อประเมินทักษะของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องสำคัญไม่ชัดเจน เช่น การเฝ้าระวัง การประเมินผลการแก้ปัญหา การสื่อสารแทรกแซงเมื่อเห็นปัญหา/ความเสี่ยง • กรรมการ IC ไม่มีอำนาจในการจัดการ … บทบาทฝ่ายบริหาร?

More Related