490 likes | 618 Views
บำเหน็จลูกจ้าง. บำเหน็จลูกจ้าง. ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2552. บำเหน็จลูกจ้าง. ระเบียบนี้ใช้บังคับ. ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว. บำเหน็จลูกจ้าง.
E N D
บำเหน็จลูกจ้าง ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552
บำเหน็จลูกจ้าง ระเบียบนี้ใช้บังคับ • ลูกจ้างประจำ • ลูกจ้างชั่วคราว
บำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างประจำ หมายถึง • ลูกจ้างรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมง ลักษณะการจ้าง • กระทรวง ทบวง กรม จ้างไว้ปฏิบัติงานในลักษณะประจำ • ไม่มีกำหนดเวลา • ตามอัตราและจำนวนที่กำหนดไว้ • จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ • รวมลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างจากเงินทุนไปรษณีย์ด้วย
บำเหน็จลูกจ้าง ไม่รวม ลูกจ้างประจำที่มีสัญญาจ้าง ลูกจ้างที่จ้างให้ปฏิบัติงานของส่วนราชการในต่างประเทศ
บำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว หมายถึง ลูกจ้างรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง ลักษณะการจ้าง จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราว และหรือโดยมีกำหนดเวลาจ้าง จ่ายค่าจ้างจากเงินงบประมาณ
บำเหน็จลูกจ้าง ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จปกติ คือลูกจ้างประจำ
บำเหน็จลูกจ้าง ลูกจ้างประจำจะได้รับบำเหน็จปกติเมื่อต้องออกจากงานด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังนี้ ลาออกโดยไม่มีความผิด กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และถูกลงโทษปลดออกจากราชการ (เงื่อนไข ต้องทำงานเป็นลูกจ้างประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ป่วยเจ็บไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (แพทย์รับรองด้วย) ขาดคุณสมบัติเกี่ยวกับสัญชาติ ขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบบประชาธิปไตยฯ
บำเหน็จลูกจ้าง ขาดคุณสมบัติเนื่องจากไปดำรงตำแหน่งกำนันฯ ขาดคุณสมบัติเนื่องจากไปดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกายทุพพลภาพไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ฯ ขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง ขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นบุคคลล้มละลาย ทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง หย่อนความสามารถฯ
บำเหน็จลูกจ้าง ถูกสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฯ ถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากรับโทษจำคุกโดยคำสั่งศาลฯ ไปรับราชการทหาร (ต้องทำงานเป็นลูกจ้างประจำไม่น้อยกว่า 1 ปีบริบูรณ์)
บำเหน็จลูกจ้าง วิธีการคำนวณจ่ายบำเหน็จปกติ บำเหน็จปกติ = (ถ้ามีเศษของบาทปัดทิ้ง)
บำเหน็จลูกจ้าง กรณีลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิได้รับเสียชีวิตก่อนได้รับเงินบำเหน็จปกติ จ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก โดยอนุโลม จ่ายตามสัดส่วนของเงินมรดก โดยไม่ต้องกันส่วนเป็นสินสมรสก่อนแบ่ง เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นสินสมรส
บำเหน็จลูกจ้าง • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552 • มีผลบังคับตั้งแต่ 30 กย.52 • บำเหน็จปกติ • บำเหน็จรายเดือน • บำเหน็จพิเศษ • บำเหน็จพิเศษรายเดือน
บำเหน็จลูกจ้าง บำเหน็จปกติ • ลูกจ้างประจำ • มีเวลาราชการ 5 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป • จ่ายเพียงครั้งเดียว วิธีการคำนวณ สูตร = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x จำนวนเดือนที่ทำงาน / 12
ออกจากราชการ บำเหน็จรายเดือน • ลูกจ้างมีสิทธิรับบำเหน็จปกติ • มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป • แสดงความประสงค์ขอรับบำเหน็จรายเดือนแทนบำเหน็จปกติ • จ่ายเป็นรายเดือน • สิทธิรับบำเหน็จรายเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ลูกจ้างประจำออกจากงานจนกระทั่งถึงแก่ความตาย • เมื่อลูกจ้างประจำได้รับบำเหน็จปกติหรือบำเหน็จรายเดือนจากส่วนราชการผู้เบิกไปแล้วจะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์อีกไม่ได้
บำเหน็จรายเดือน= ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x จำนวนเดือนที่ทำงาน 12 50
บำเหน็จพิเศษ / บำเหน็จพิเศษรายเดือน จ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษ แต่ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จพิเศษรายเดือน ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อีกเลย จ่ายเพียงครั้งเดียวเรียกบำเหน็จพิเศษ จ่ายเป็นรายเดือน เรียกว่าบำเหน็จพิเศษรายเดือน
บำเหน็จพิเศษ /บำเหน็จพิเศษรายเดือน มี 2 กรณี กรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ กรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ในระหว่างที่มีการรบ การสงคราม การปราบปรามจลาจล หรือในระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก
กรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติกรณีปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ • ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้กำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร • คำนึงถึงความร้ายแรงของเหตุการณ์ • ประกอบความพิการและทุพพลภาพของลูกจ้าง • อัตราการจ่าย • บำเหน็จพิเศษ 6 –21 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย • ลูกจ้างชั่วคราวได้รับบำเหน็จพิเศษ 3 ใน 4 ส่วนของลูกจ้างประจำ • บำเหน็จพิเศษรายเดือน (เฉพาะลูกจ้างประจำ) 6 – 21 เท่าขอบค่าจ้างเดือนสุดท้าย / 50
กรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดกรณีปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้กำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร คำนึงถึงความร้ายแรงของเหตุการณ์ ประกอบความพิการและทุพพลภาพของลูกจ้าง อัตราการจ่าย บำเหน็จพิเศษ 36 –42 เท่าของค่าจ้างเดือนสุดท้าย ลูกจ้างชั่วคราวได้รับบำเหน็จพิเศษ 3 ใน 4 ส่วนของลูกจ้างประจำ บำเหน็จพิเศษรายเดือน (เฉพาะลูกจ้างประจำ) 36 –42 เท่าขอบค่าจ้างเดือนสุดท้าย / 50
ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ได้รับอันตราย ถึงแก่ความตายเพราะเหตุนั้นก่อนได้รับบำเหน็จพิเศษ • จ่ายบำเหน็จพิเศษให้แก่ทายาท • ตาม ปพพ.ว่าด้วยมรดกโดยอนุโลม ปฏิบัติหน้าที่ในเวลาปกติ จ่ายให้แก่ทายาท = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x 30 เดือน ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด จ่ายให้แก่ทายาท = ค่าจ้างเดือนสุดท้าย x 48 เดือน
ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ได้รับอันตราย เจ็บป่วย/ตาย • ลูกจ้าง หรือทายาท • มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยตามกฎหมาย ฯ เงินทดแทน หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน • จากทางราชการหรือหน่วยงานอื่นที่ทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงาน • ให้เลือกรับอย่างใดอย่างหนึ่ง
บำเหน็จลูกจ้าง • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2554 • มีผลบังคับตั้งแต่ 30 พ.ค. 54 • ผู้รับบำเหน็จรายเดือน หรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำเหน็จตกทอด 15 เท่าของบำเหน็จรายเดือน สูตร = บำเหน็จรายเดือน x 15 เท่า
บำเหน็จลูกจ้าง ทายาทผู้มีสิทธิ • บุตรได้ 2 ส่วน ถ้ามีบุตรสามคนขึ้นได้รับ 3 ส่วน • สามีหรือภรรยาได้รับ 1 ส่วน • บิดามารดา หรือบิดามารดาที่มีชีวิตอยู่ได้ 1 ส่วน • ในกรณีไม่มีทายาททั้งสามข้อ ให้จ่ายบุคคลที่ผู้ตายแสดงเจตนาไว้ กรณีที่ทายาทและบุคคลที่แสดงเจตนาไว้ได้ตายไปก่อนให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติ
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำ ลูกจ้างประจำมีสิทธิลาตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 ข้อ 9 วรรค สอง “การลาหยุดราชการของลูกจ้างประจำให้นำระเบียบการลาของข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม” ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 แบ่งเป็น 11 ประเภท 1. การลาป่วย 2. การลาคลอดบุตร 3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของลูกจ้างประจำ 4. การลากิจส่วนตัว 5. การลาพักผ่อน 6. การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล 8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน 9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ 10. การลาติดตามคู่สมรส 11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 1. ลาป่วยได้รับค่าจ้างอัตราปกติระหว่างลาในปีหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ แต่ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นสมควรให้จ่ายค่าจ้างระหว่างลาต่อไปอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 60 วันทำการ 2. ลาคลอดบุตร โดยได้รับค่าจ้างอัตราปกติระหว่างลาไม่เกิน 90 วัน หากประสงค์จะลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรเพิ่มอีก ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่อง โดยได้รับค่าจ้างระหว่างลาได้อีก 30 วันทำการ และให้นับรวมอยู่ในวันลากิจส่วนตัว 45 วันทำการด้วย
สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 3. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร ให้ได้รับค่าจ้างระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ แต่ถ้าเป็นการลาเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ภรรยาคลอดบุตร ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา เว้นแต่หัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือที่ได้รับมอบหมายเห็นสมควรให้จ่าค่าจ้างก็ได้ แต่ไม่เกิน 15 วันทำการ
สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 4. การลากิจส่วนตัว ได้รับค่าจ้างระหว่างลาปีละไม่เกิน 45 วันทำการ แต่ในปีที่เริ่มเข้าปฏิบัติงานให้ได้รับค่าจ้างระหว่างลาไม่เกิน 15 วันทำการ 5. การลาพักผ่อน ปีละ 10 วันทำการ และสามารถสะสมวันลาพักผ่อนที่ไม่ได้ใช้สิทธิได้อีกปีละไม่เกิน 10 วันทำการ สำหรับผู้ที่รับราชการติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิสะสมวันลาได้ 20 วันทำการ รวมกับวันพักผ่อนปีปัจจุบันต้องไม่เกิน 30 วันทำการ 6. การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน มีสิทธิลา โดยได้รับค่าจ้างอัตราปกติระหว่างลาได้ไม่เกิน 120 วัน
สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 7. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลูกจ้างประจำมีสิทธิลาไปรับการตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารตามกฎหมาย โดยได้รับค่าจ้างอัตราปกติในระหว่างลา แต่ถ้าพ้นระยะเวลาของการลาแล้วไม่มารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติงานภายใน 7 วัน จะไม่ได้รับค่าจ้างหลังจากนั้นจนถึงวันเข้าปฏิบัติงาน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะให้จ่ายค่าจ้างในระหว่างนั้นต่อไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 15 วัน ลูกจ้างรายวัน และรายชั่วโมง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์
สิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลาสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างลา 8. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ที่ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับหน้าที่ราชการที่ผู้นั้นปฏิบัติอยู่ ให้ได้รับค่าจ้างปกติระหว่างที่ไป 9. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ 10. การลาติดตามคู่สมรส ลูกจ้างประจำสามารถลาติดตามคู่สมรสได้ แต่ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา 11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับอัตราค่าจ้างระหว่างลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร แต่ไม่เกิน 12 เดือน
สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัว ได้แก่ 1. คู่สมรส 2. บิดามารดา 3. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ลำดับที่ 1-3 โดยให้นับลำดับการเกิดก่อน-หลัง ไม่ว่าจะเกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ และมีอายุครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี ทั้งนี้ไม่รวมบุตรบุญธรรม และบุตรที่บิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว
สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร 1. กรณีศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการ หลักสูตรระดับชั้นอนุบาลถึงระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด 2. กรณีศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นของเอกชน - หลักสูตรระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ และสายอาชีพ ให้ได้รับเต็มจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร - หลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรี และหลักสูตรปริญญาตรี ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
สวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ลูกจ้างประจำที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คนละ 1,000 บาทต่อเดือน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ลูกจ้างประจำซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจอนุญาตให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการ มี 2 ประเภท ได้แก่ 1.การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร - การเดินทางไปราชการชั่วคราว - การเดินทางไปราชการประจำ - การเดินทางกลับภูมิลำเนา 2.การเดินทางไปราชการต่างประเทศ - การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว - การเดินทางไปราชการประจำในต่างประเทศ (การเทียบตำแหน่ง ลูกจ้างประจำ เทียบเท่ากับข้าราชการพลเรือนตำแหน่ง “ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน”
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการชั่วคราว ค่าเบี้ยเลี้ยง : 240 บาท/วัน ค่าที่พัก - กรณีเลือกเบิกลักษณะจ่ายจริง - ห้องพักคนเดียว 1,500 บาท/วัน - ห้องพักคู่ 850 บาท/วัน - กรณีเลือกเบิกลักษณะเหมาจ่าย - อัตรา 800 บาท/วัน ค่าพาหนะ การเดินทางไปราชการโดยปกติให้ใช้ยานพาหนะประจำทางและเบิกค่าพาหนะได้โดยประหยัด ไม่เกินสิทธิ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางไปราชการประจำ ค่าเบี้ยเลี้ยง : เบิกได้เช่นเดียวกับการเดินทางไปราชการชั่วคราว ค่าที่พัก : ตนเองและบุคคลในครอบครัว เบิกอัตราเดียวกับ ผู้เดินทาง ผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการ ในตำแหน่งระดับต่ำสุด ค่าพาหนะ : ตนเองและบุคคลในครอบครัว เบิกอัตราเดียวกับ ผู้เดินทาง ผู้ติดตามให้เบิกได้เท่ากับข้าราชการ ในตำแหน่งระดับต่ำสุด ค่าใช้จ่ายอื่น : ให้เบิกได้โดยประหยัด ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว : อัตราเหมาจ่ายตามที่ กค.กำหนด
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว ตนเองและบุคคลในครอบครัว เบิกอัตราสำหรับ ตำแหน่งระดับสุดท้ายก่อนออกจากราชการหรือเลิกจ้าง
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพ ผู้เดินทางถึงแก่ความตายระหว่างเดินทางไปราชการ • ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับการส่งศพกลับ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินเส้นทาง ท้องที่ที่ถึงแก่ความตายท้องที่รับราชการ
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพ (ต่อ) • ค่าพาหนะเดินทางไปปลงศพ ไป-กลับ (ไม่ส่งศพกลับ) - เบิกได้สำหรับคู่สมรส บุตร บิดา มารดาของผู้ตาย เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามสิทธิของผู้ตาย เว้นแต่ ผู้เดินทางเป็นผู้มีสิทธิ เบิกค่าใช้จ่ายเดินทาง ให้เบิกตามสิทธิของตนเองไม่เกินเส้นทาง ท้องที่ที่รับราชการ ท้องที่ที่ถึงแก่ความตาย - ถ้าเบิกให้ผู้จัดการศพ เบิกได้เพียงคนเดียว กรณีเดินทางโดยเครื่องบินให้เบิกในอัตราต่ำสุด เว้นแต่ ผู้จัดการศพ เป็นผู้มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายเดินทาง ให้เบิกตามสิทธิ
ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 1.การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ไม่เกินวันละ 4 ชม. อัตราชั่วโมงละ 50 บาท 2.การปฏิบัติงานวันหยุดราชการไม่เกินวันละ 7 ชม. อัตราชั่วโมงละ 60 บาท