1 / 56

นิราศนริทร์คำโคลง

นิราศนริทร์คำโคลง. ผู้แต่ง นายนรินทรธิ เบศร์ ( อิน). ประวัติผู้แต่ง.

iden
Download Presentation

นิราศนริทร์คำโคลง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นิราศนริทร์คำโคลง ผู้แต่งนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)

  2. ประวัติผู้แต่ง นายนรินทรธิเบศร์ มีนามเดิมว่า อิน ไม่มีหลักฐานพอที่จะสอบสวนประวัติได้ชัดแจ้ง กล่าวกันว่าเกิดที่ตำบลบางบ่อ จังหวัดฉะเชิงเทรา และเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหุ้มแพร ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า วังหลังในรัชกาลที่ ๒ มีบรรดาศักดิ์เป็นนายนรินทรธิเบศร์

  3. ลักษณะคำประพันธ์ ร่ายสุภาพจำนวน ๑บทและโคลงสี่สุภาพ๑๔๓บท

  4. ร่ายสุภาพ ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

  5. ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ ๑. คณะ ร่ายสุภาพ ๑ บท มี ตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่เมื่อลงท้ายต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ ๒.สัมผัส มีสัมผัสจากวรรคหน้าไปยังสัมผัสรับในคำที่ ๑ ,๒,หรือ ๓ ของวรรคต่อไป วรรคที่อยู่ ข้างหน้าของ ๓ วรรคสุดท้าย จะส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑,๒ หรือ๓ ของบาทต้นในโคลงสองสุภาพ ๓. คำสร้อย เติมได้ ๒ คำ ท้ายบท เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ

  6. ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์ บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )ห้า- สองห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง

  7. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร? คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุกต์โท กำกับ อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด (ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)

  8. คำตาย คือ 1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ 2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน

  9. คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้ เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ" ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ" เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ

  10. ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผังตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ลิลิตพระลอ

  11. จุดมุ่งหมายในการแต่ง คร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก

  12. ความเป็นมา นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื้อหานิราศโดยทั่วไปมักเป็น การคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก เนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกล ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม สำหรับนิราศนรินทร์คำโคลง มีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือ มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา

  13. เรื่องย่อ นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึง ความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป

  14. เนื้อเรื่องนิราศนรินทร์เนื้อเรื่องนิราศนรินทร์ ๑.ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญท้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่วนเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเกริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ

  15. บ้านเมืองสงบสุขเพราะบุญมารมีของพระมหากษัตริย์ กรุงเทพ ฯ (ศรีอยุธยเยนทร์ เป็นสร้อยนามของกรุงเทพ ฯ) เป็นเมืองที่กว้างใหญ่สวยงามกว่าเมืองใดในโลกจนชนะเมืองสวรรค์ได้ พระมหากษัตริย์ทรงผดุงแผ่นดินนี้ให้กว้างขวางราวเมืองสวรรค์ กรุงเทพ ฯ งามรุ่งเรืองในท้องฟ้า สว่างกว่าแสงจันทร์ สว่างราวแสงอาทิตย์ที่ส่องโลก พระมหากษัตริย์มีแม่ทัพกล้าหาญ พระองค์ทรงขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร ทรงปราบศัตรูได้ราบคาบ พระเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือยำเกรง พระเจ้าแผ่นดินเมืองอื่น ๆ พากันนอบน้อมขอเป็นเมืองขึ้น พระองค์ทรงขยายอาณาเขต ทรงบำรุงทหารให้กล้าแข็งทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระบุญญาธิการ

  16. ๒.อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร- เจิดหล้า บุญเพรงพระหากสรรค์ ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง

  17. ทาน (ทานํ) หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย ศีล (สีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม ความซื่อตรง(อาชฺชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ความอ่อนโยน(มทฺทวํ) คือ การมีความอ่อนโยน มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า ความเพียร(ตปํ) คือ มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน ความไม่โกรธ(อกฺโกธํ) คือ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏเห็นเช่นทำร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล ความไม่เบียดเบียน(อวิหิงสา) คือ การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ความอดทน(ขนฺติ) คือ การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ความเที่ยงธรรม(อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

  18. กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวยงามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหลหลังจากการเสียกรุง

  19. ๓.เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์

  20. ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็นประจำ เจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้า เสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์

  21. ๔. โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น ไพหาร ธรรมาสน์ศาลาลาน พระแผ้ว หอไตรระฆังขานภายค่ำ ไขประทีปโคมแก้ว ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์

  22. โบสถ์ วิหาร ระเบียง ธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้น กว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์ หอพระไตรปิฎก เสียงระฆังในหอระฆังยามพลบค่ำ และแสงตะเกียงจากโคมอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง

  23. ๘. จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย เยียวยาแดเดียวยก แยกได้ สองซีกแล่งทรวงตก แตกภาค ออกแม่ ภาคพี่ไปหนึ่งไว้ แนบเนื้อนวลถนอม

  24. เมื่อจำต้องจากนางอันเป็นที่รักไปด้วยความอาลัยเหมือนกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปกับนาง ถ้าหากว่าดวงใจสามารถแบ่งออกได้ก็จะผ่าออกป็นสองซีก ซีกหนึ่งจะเก็บไว้กับตนเอง แต่อีกซีกหนึ่งจะมอบให้นางรักษาไว้

  25. .โฉมควรจักฝากฟ้าฤาดิน ดีฤาเกรงเทพไท้ธรณินทร์ลอบกล้ำฝากลมเลื่อนโฉมบินบนเล่านะแม่ลมจะชายชักช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน

  26. จะฝากน้องกับฟ้าหรือดินดี  ถ้าฝากฟ้าก็ไม่ไว้ใจเทวดา  ฝากกับลม ลมก็จะทำให้น้องบอบช้ำ

  27. .ฝากอุมาสมรแม่แล้ลักษมีเล่านาทราบสวยภูวจักรีเกลือกใกล้เรียมคิดจนจบตรีโลกล่วงแล้วแม่.ฝากอุมาสมรแม่แล้ลักษมีเล่านาทราบสวยภูวจักรีเกลือกใกล้เรียมคิดจนจบตรีโลกล่วงแล้วแม่ โฉมฝากใจแม่ได้ยิ่งด้วยใครครอง

  28. จะฝากนางไว้กับฟากฟ้าหรือผืนดินดี เพราะกลัวว่าพระเจ้าแผ่นดินจะมาลอบเชยชมนาง จะฝากนางไว้กับสายลมช่วยพัดพานางบินหนีไปบนฟ้า แต่ก็กลัวลมพัดทำให้ผิวนางมีรอยช้ำ

  29. . จากมามาลิ่วล้ำลำบางบางยี่เรือราพลางพี่พร้องเรือแผงช่วยพานางเมียงม่านมานาบางบ่รับคำคล้องคล่าวน้ำตาคลอ

  30. เดินทางมาโดยทางน้ำล่วงหน้ามาจนถึงตำบลบางยี่เรือ ขอให้เรือแผงช่วยพานางมาด้วย แต่บางยี่เรือไม่รับคำขอน้ำตาพี่จึงไหลนอง

  31. .บ้านบ่อน้ำบกแห้งไป่เห็นบ่อเนตรคงขังเป็นเลือดไล้อ้าโฉมแม่แบบเบญ-จลักษณ์เรียมเอยมาซับอัสสุชลให้พี่แล้วจักลา.บ้านบ่อน้ำบกแห้งไป่เห็นบ่อเนตรคงขังเป็นเลือดไล้อ้าโฉมแม่แบบเบญ-จลักษณ์เรียมเอยมาซับอัสสุชลให้พี่แล้วจักลา

  32. เดินทางต่อไปจนถึงตำบลบางบ่อ ซึ่งน้ำแห้งเหือดจนมองไม่เห็น มีแต่บ่อน้ำตาที่คงเต็มไปด้วยเลือด พี่ก็อยากให้นางผู้มีความงาม๕ประการมาซับน้ำตาพี่แล้วค่อยจากไป

  33. เห็นจากจากแจกก้านแกมระกำถนัดระกำกรรมจำจากช้าบาปใดที่โททำแทนเท่าราแม่จากแต่คาบนี้หน้าพี่น้องคงถนอมเห็นจากจากแจกก้านแกมระกำถนัดระกำกรรมจำจากช้าบาปใดที่โททำแทนเท่าราแม่จากแต่คาบนี้หน้าพี่น้องคงถนอม

  34. เห็นต้นแตกจากกิ่งก้านสลับกับต้นระกำ ทำให้ชอกช้ำระกำใจว่าเคยเป็นเวรกรรมที่คงเคยทำกันมาทำให้เราต้องจากกันไกล ขอให้ครั้งหน้าเราคงได้อยู่ร่วมกัน

  35. .ชมแขคิดใช่หน้านวลนางเดือนตำหนิวงกลางต่ายแต้มพิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปรางจักเปรียบใดเลยขำกว่าแขไขแย้มยิ่งยิ้มอัปสร.ชมแขคิดใช่หน้านวลนางเดือนตำหนิวงกลางต่ายแต้มพิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปรางจักเปรียบใดเลยขำกว่าแขไขแย้มยิ่งยิ้มอัปสร

  36. เป็นการเปรียบเทีนบของหน้านางกับดวงจันทร์ แต่ดวงจันทร์มีรอยตำหนิเป็นรอยกระต่าย แต่ใบหน้าของน้องนางสวยงามไม่มีตำหนิไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบ เพราะใบหน้าของน้องงามกว่าดวงจันทร์ ยิ่งมองยิ่งงามกว่านางฟ้า

  37. . ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำสงสารอรเอยจรศึกโศกมานานเนิ่นช้าเดินดงท่งทางละหานหิมเวศสารสั่งทุกหย่อมหญ้า ย่านน้ำลานาง

  38. เดินทางมาถึงตะนาวศรีความโศกเศร้าก็กระหน่ำซ้ำเติมเข้ามา ความโศกเศร้าที่จากนางไม่ว่าจะเดินผ่านทุ่งนา ป่า ท้องน้ำ หรือสถานที่ใด ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ ก็สามารถสั่งความไปถึงน้ำได้ตลอด

  39. พันเนตรภูวนาถตั้งตาระวังใดฮาพักตร์สี่แปดโสตฟังอื่นอื้อกฤษณนิทรเลอหลังนาคหลับฤาพ่อสองพิโยคร่ำรื้อเทพท้าวทำเมินพันเนตรภูวนาถตั้งตาระวังใดฮาพักตร์สี่แปดโสตฟังอื่นอื้อกฤษณนิทรเลอหลังนาคหลับฤาพ่อสองพิโยคร่ำรื้อเทพท้าวทำเมิน

  40. ไม่ว่าจะเป็นพระอินทร์ ผู้มีพันตา ผู้เฝ้าดูระวังโลก พระพรหมผู้มีสี่หน้าแปดหูที่คอยฟังสรรพเสียงใดๆ หรือจะเป็นพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่หลังนาค เมื่อเราทั้งสองต้องพลัดพลากจากกัน เราสองคร่ำครวญอยู่ซ้ำซากแต่เทพพระองค์ก็ไม่สนใจ

  41. .นทีสี่สมุทรม้วยหมดสายติมิงคล์มังกรนาคผายผาดส้อนหยาดเหมพิรุณหายเหือดโลกแล้งแม่แรมราคแสนร้อยร้อนฤเถ้าเรียมทน.นทีสี่สมุทรม้วยหมดสายติมิงคล์มังกรนาคผายผาดส้อนหยาดเหมพิรุณหายเหือดโลกแล้งแม่แรมราคแสนร้อยร้อนฤเถ้าเรียมทน

  42. แม่น้ำทั้ง ๔สายก็เหือดแห้ง เหล่าปลาใหญ่ มังกร พญานาคต่างพากันหาที่ซ้อนตัว แม้แต่หยาดฝน หยุดฝนก็ไม่มีสักหยด แดดก็ร้อนแต่ถึงแม้กายจะร้อนแต่ก็ไม่ร้อนเท่าใจของพี่

  43. .ลมพัดคือพิษต้องตากทรวงหนาวอกรุมในดวงจิตช้ำโฉมแม่พิมลพวงมาเลศกูเอยมือแม่วีเดียวล้ำยิ่งล้ำลมพาน.ลมพัดคือพิษต้องตากทรวงหนาวอกรุมในดวงจิตช้ำโฉมแม่พิมลพวงมาเลศกูเอยมือแม่วีเดียวล้ำยิ่งล้ำลมพาน

  44. ลมที่พัดมาต้องอก(กาย)นั้นดังหนึ่งพิษความหนาวกลุ้มอยู่ในนอกรู้สึกช้ำใจอ้า...น้องผู้ประหนึ่งพวงดอกไม้อันงามของข้าน้องพัดให้ครั้งเดียวก็รู้สึกเย็นยิ่งกว่าลมพัดลมที่พัดมาต้องอก(กาย)นั้นดังหนึ่งพิษความหนาวกลุ้มอยู่ในนอกรู้สึกช้ำใจอ้า...น้องผู้ประหนึ่งพวงดอกไม้อันงามของข้าน้องพัดให้ครั้งเดียวก็รู้สึกเย็นยิ่งกว่าลมพัด

  45. เอียงอกเทออกอ้างอวดองค์ อรเอยเมรุชุบสมุทรดินลงเลขแต้มอากาศจักจารผจงจารึก พอฤาโฉมแม่หยาดฟ้าแย้มอยู่ร้อนฤาเห็น

  46. ในอกของพี่นั้นมันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อยากจะระบายออกมาบรรยายให้น้องได้ทราบความรู้สึกของพี่นั้นมากมาย ดังนั้นพี่จึงเอาเขาสุเมรุมาเป็นปากกา เอามหาสมุทรเป็นน้ำหมึก แล้วเขียนเป็นตัวหนังสือในอากาศเป็นแผ่นกระดาษ จารึกลงไปก็ยังไม่พอ เพราะความรู้สีกของพี่นั้นมีมาก ผู้เลอโลมลงมาจากฟ้า จะรับรู้สึกในใจของพี่หรือไม่

  47. .ตราบขุนคิริข้นขาดสลายแลแม่รักบ่หายตราบหายหกฟ้าสุริยจันทรขจายจากโลกไปฤาไฟแล่นล้างสี่หล้าห่อนล้างอาลัย.ตราบขุนคิริข้นขาดสลายแลแม่รักบ่หายตราบหายหกฟ้าสุริยจันทรขจายจากโลกไปฤาไฟแล่นล้างสี่หล้าห่อนล้างอาลัย

  48. ๑) ของธาตุชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)-มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว-มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)-มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน-สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี แต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง-ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน-ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก "ชมพู

More Related