1 / 63

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์. รายงานทางการเงิน Money Report Financial Money Report Managerial Money Report ดัชนีชี้วัดทางการเงิน Financial Indicators. Financial Money Report. งบดุล งบแสดงผลการดำเนินงาน งบทดลอง งบกระแสเงินสดทางอ้อม หมายเหตุประกอบงบ

idania
Download Presentation

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ • รายงานทางการเงิน Money Report • Financial Money Report • Managerial Money Report • ดัชนีชี้วัดทางการเงิน Financial Indicators

  2. Financial Money Report • งบดุล • งบแสดงผลการดำเนินงาน • งบทดลอง • งบกระแสเงินสดทางอ้อม • หมายเหตุประกอบงบ • โรงพยาบาลจัดทำเป็นรายงาน ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวมงบและจัดส่งกองคลัง กระทรวงสาธารณสุข ปีละ 2 ครั้ง

  3. งบดุล

  4. งบแสดงผลการดำเนินงาน

  5. Managerial Money Report • เป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหาร • ประกอบด้วย • งบดุลเพื่อการบริหาร • งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • งบกระแสเงินสดทางตรง • จัดทำทุก 3 เดือน จากข้อมูลงบทดลองซึ่งเป็น Electronic files จัดส่งให้สำนักพัฒนาการเงินการคลังสาธารณสุข

  6. งบดุลเพื่อการบริหาร • เป็นงบดุลตัดยอด ณ วันที่มีการรายงาน • นำเสนอเปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณนี้และปีงบประมาณที่ผ่านมาในงวดเดียวกัน • ประกอบด้วย • สินทรัพย์ • สินทรัพย์หมุนเวียน • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • หนี้สิน • หนี้สินหมุนเวียน • หนี้สินไม่หมุนเวียน • ส่วนของทุน

  7. สินทรัพย์หมุนเวียน • ประกอบด้วย • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสด เงินฝากคลัง เงินฝากสถาบันทางการเงิน-ในและนอกงบประมาณ และเงินทดรองราชการ • ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาล-สุทธิ แยกรายกองทุน และวิธีการจ่ายเงิน ได้แก่ การนำลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลที่มีการตั้งค่าเมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาพยาบาล หักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญของแต่ละกองทุน ซึ่งจะเป็นลูกหนี้ที่น่าจะได้รับเงินจริง ทั้งนี้ควรตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูล(ถ้าทำได้) เพื่อให้ยอดสินทรัพย์ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด • การแยกลูกหนี้รายกองทุนและวิธีจ่าย เพื่อประโยชน์ในการบริหารเงินจากแต่ละกองทุน และจะสอดคล้องกับ Money report อื่นๆ ต่อไป

  8. สินทรัพย์หมุนเวียน • วัสดุคงเหลือแยกเป็น ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุการแพทย์คงเหลือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของโรงพยาบาล และวัสดุคงเหลืออื่นๆ • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ได้แก่ • ลูกหนี้อื่น ๆ เช่น ลูกหนี้เงินยืม-เงินบำรุง ลูกหนี้เงินยืม-เงินประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลูกหนี้ค่าสิ่งส่งตรวจหน่วยงานภาครัฐ หรือบุคคลภายนอก ลูกหนี้ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/น้ำยา หน่วยงานภาครัฐ หรือบุคคลภายนอก เป็นต้น หักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญของลูกหนี้ดังกล่าว • รายได้ค้างรับ เช่น ดอกเบี้ยค้างรับ รายได้จากงบประมาณงบบุคลากรค้างรับ รายได้จากงบประมาณงบดำเนินงานค้างรับ รายได้ค้างรับอื่น หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น

  9. สินทรัพย์หมุนเวียน • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ได้แก่ • ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เช่น ภาษีหักส่งล่วงหน้า ค่าปรับหักส่งล่วงหน้า เงินรับฝากหักส่งล่วงหน้า(เงิน กบข.และ กสจ. ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหักจากเงินเดือนหรือค่าจ้างไว้) เป็นต้น • สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เช่น เงินลงทุนอื่น เป็นต้น

  10. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • ประกอบด้วย • อาคารและสิ่งปลูกสร้าง-สุทธิ ได้แก่ บัญชีที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ อาคารสำนักงาน อาคารเพื่อการพักอาศัย สิ่งปลูกสร้าง ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น หักค่าเสื่อมราคาสะสมของแต่ละรายการ • ครุภัณฑ์-สุทธิ ได้แก่ ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น หักค่าเสื่อมราคาสะสมของแต่ละรายการ • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิการเช่า เป็นต้น หักค่าตัดจำหน่ายสะสมของแต่ละรายการ • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น-สุทธิ ได้แก่ งานระหว่างก่อสร้าง เป็นต้น

  11. หนี้สินหมุนเวียน • ประกอบด้วย • เจ้าหนี้ แบ่งเป็น • เจ้าหนี้การค้า ซึ่งจะรับรู้หนี้สินเมื่อหน่วยงานมีการซื้อสินค้า แบ่งตามประเภทวัสดุ เป็น เจ้าหนี้การค้าค่ายา เวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของหน่วยงาน เจ้าหนี้การค้าค่าครุภัณฑ์ ซึ่งบ่งบอกภาระหนี้สินจากการลงทุน และ เจ้าหนี้การค้าอื่นๆ เช่น เจ้าหนี้การค้า-ค่าจ้างเหมาบริการ เจ้าหนี้การค้า-วัสดุยานพาหนะและขนส่ง เจ้าหนี้การค้า-วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย เป็นต้น • ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ได้แก่ ใบสำคัญค้างจ่าย ทั้งเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น-หน่วยงานภาครัฐ หรือ บุคคลภายนอก เป็นต้น

  12. หนี้สินหมุนเวียน • เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย เป็นจำนวนเงินที่หน่วยงานต้องชำระให้หน่วยบริการอื่นที่ให้การรักษาพยาบาล ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ของแต่ละกองทุน • เจ้าหนี้ค่าบริการ ได้แก่ เจ้าหนี้ค่าสิ่งส่งตรวจ-หน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลภายนอก • เจ้าหนี้อื่นๆ ได้แก่ สำรองเงินชดเชยความเสียหาย (หนี้สินที่ประมาณการขึ้นสำหรับจ่ายชดเชยความเสียหายที่หน่วยงานกระทำต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก)

  13. หนี้สินหมุนเวียน • เงินกองทุน คือ เงินที่ได้รับจากกองทุนประเภทต่างๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ ณ วันที่รายงาน ได้แก่ เงินกองทุน UC, เงินรับฝากกองทุน UC, เงินกองทุน UC งบลงทุน , เงินรับฝากกองทุน UC งบลงทุน และเงินกองทุน แรงงานต่างด้าว • เงินรับฝาก ได้แก่ • เงินกองทุนประกันสังคม เนื่องจาก ถูกมองว่าเป็นเงินรับฝากไว้เพื่อจ่ายให้ลูกข่าย ก่อนจึงรับรู้เป็นรายได้ จึงจัดเป็นเงินรับฝาก • เงินมัดจำ ได้แก่ เงินมัดจำค่ารักษา เงินมัดจำประกันสัญญา เงินมัดจำประกันซอง เงินมัดจำประกันผลงาน เงินประกันอื่นๆ • เงินรับฝากอื่นๆ ได้แก่ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่ายต่างๆ เงินรับฝากค่าจ้างส่วนกลาง เงินงบประมาณรอโอนให้หน่วยงานในสังกัด เงินรับฝากหักจากเงินเดือน เงินรับฝากรายได้แผ่นดินอื่น เงินรับฝากงบประมาณบุคลากร UC เงินสมทบประกันสังคมส่วนของลูกจ้าง เป็นต้น

  14. หนี้สินหมุนเวียน • รายได้รอการรับรู้ ได้แก่ รายได้เงินช่วยเหลือรอการรับรู้ เช่น เงินช่วยเหลือที่หน่วยงานได้รับจากรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ เมื่อหน่วยงานสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายแล้วจึงจะรับรู้เป็นรายได้เงินช่วยเหลือ เป็นต้น • รายได้รับล่วงหน้า ได้แก่ รายได้แผ่นดินรับล่วงหน้า รายได้ค่าบริการอื่นรับล่วงหน้า รายได้จากเงินกู้ของรัฐบาลรับล่วงหน้า • หนี้สินหมุนเวียนอื่น ได้แก่ ค่าปรับรอนำส่งคลัง เงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืนรอนำส่งคลัง รายได้ค่าเช่าสถานที่รอนำส่งคลัง รายได้แผ่นดินอื่นรอนำส่งคลัง เงินทดรองราชการรับจากคลัง เงินเบิกเกินส่งคืนรอนำส่งคลัง

  15. หนี้สินไม่หมุนเวียน • ประกอบด้วย • เงินทดรองราชการรับจากคลัง ได้แก่ เงินทดรองราชการรับจากคลัง-ระยะยาว • รายได้รอการรับรู้ ได้แก่ รายได้จากเงินบริจาครอการรับรู้ • หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ได้แก่ เงินความรับผิดทางละเมิด หนี้สินระยะยาวอื่น เงินรับฝากค่าบริหารจัดการประกันสังคม เงินยืมระยะยาวรับจากหน่วยบริการอื่น เงินมัดจำประกันสัญญา-ระยะยาว สำรองเงินชดเชยความเสียหาย-ระยะยาว

  16. งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหารงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • เป็นงบแสดงผลดำเนินงาน หรืองบกำไรขาดทุน ซึ่งแสดงยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงยอด ณ วันที่มีการรายงาน ในที่นี้จะรายงานเป็นงวดๆ ละ 3 เดือน • นำเสนอเปรียบเทียบระหว่างปีงบประมาณนี้และปีงบประมาณที่ผ่านมาสะสมจนถึงงวดเดียวกัน

  17. งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหารงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • หลักการคือ แสดงรายได้และรายจ่าย ประกอบด้วย • รายได้จากกิจกรรมหลัก คือรายได้จากการรักษาพยาบาล รวมถึงรายได้จากงบประมาณส่วนบุคลากร โดยมีการปรับยอดด้วยการหักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่ากองทุนแต่ละกองทุน เพื่อให้รายได้จากแต่ละกองทุนใกล้เคียงกับเงินที่ได้รับจริง และรวมรายได้กองทุนแต่ละกองทุนที่เหลืออยู่เข้าเป็นรายได้ด้วย • รายจ่ายจากกิจกรรมหลัก คือ ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ทั้งรวมค่าเสื่อมราคา และไม่รวมค่าเสื่อมราคา ซึ่งเป็นส่วน Front office • ค่าใช้จ่ายดำเนินการ เป็นส่วนสนับสนุนบริการ หรือ Back office • รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-เงินอุดหนุน

  18. รายได้จากการรักษาพยาบาลรายได้จากการรักษาพยาบาล • จำแนกตามกองทุน และวิธีการจ่ายเงินของกองทุน ได้แก่ • รายได้ UC แบ่งเป็น • รายได้ ค่ารักษาพยาบาล UC ได้แก่ รายได้ค่ารักษา OPD UC ใน Cup และรายได้ค่ารักษา IPDUC ใน Cup ในจังหวัด ต่างจังหวัด ต่างสังกัดสป. • หักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่ากองทุน UC ได้แก่ หนี้สงสัยจะสูญ-ลูกหนี้ค่ารักษา UC ทุกประเภท และหนี้สูญ-ลูกหนี้ค่ารักษา UC ทุกประเภท • รายได้จากการตามจ่าย UC ได้แก่ รายได้ค่ารักษา OPD UC นอก Cup (ในจังหวัด) ต่างจังหวัด และต่างสังกัดสป. • รายได้จากการจ่ายตรง (Disease Management/Vertical Program)

  19. รายได้จากการรักษาพยาบาลรายได้จากการรักษาพยาบาล • รายได้จากการเบิกต้นสังกัด ได้แก่ รายได้ค่ารักษาพยาบาลพยาบาลเบิกต้นสังกัด รายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเบิกตรงจากกรมบัญชีกลาง • รายได้จากประกันสังคม ได้แก่ รายได้ค่ารักษาประกันสังคม รายได้ค่ารักษากองทุนทดแทน • รายได้จาก พรบ.ประกันภัยบุคคลที่ 3 • รายได้จากแรงงานต่างด้าว • หักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่ากองทุนต่างด้าว ได้แก่ หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ-ลูกหนี้ค่ารักษา-แรงงานต่างด้าว • รายได้ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ รายได้ค่ารักษาชำระเงิน รายได้ค่ารักษาอื่น-หน่วยงานภายนอก

  20. รายได้จากการรักษาพยาบาลรายได้จากการรักษาพยาบาล • รายได้งบประมาณส่วนบุคลากร ได้แก่ รายได้งบประมาณงบบุคลากรในส่วนงบประมาณ และในส่วนของงบ UC • รายได้กองทุน UC (ส่วนต่างของลูกหนี้ที่ต่ำกว่ากองทุน UC) ได้แก่ รายได้กองทุนUC รายได้กองทุนUC(CF) ซึ่งเป็นเงินกองทุนที่เหลืออยู่หลังตัดลูกหนี้ UC ในงวดนั้นแล้ว ให้ถือเป็นรายได้ • รายได้กองทุนประกันสังคม(ส่วนต่างของลูกหนี้ที่ต่ำกว่างบประกันสังคม) เช่นเดียวกัน รายได้กองทุน UC • รายได้กองทุนอื่นๆ ได้แก่ รายได้กองทุนแรงงานต่างด้าว หรือกองทุนอื่นๆที่มีลักษณะการเหมาจ่ายล่วงหน้าเช่นเดียวกัน

  21. ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล • เป็นรายจ่ายจากกิจกรรมหลักของสถานบริการ ประกอบด้วย • ต้นทุนยา ได้แก่ ยาใช้ไป ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายค่ายาที่ใช้ไป • ต้นทุนเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ได้แก่ เวชภัณฑ์มิใช่ยาใช้ไป วัสดุทางการแพทย์ใช้ไป วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้ไป • เงินเดือนและค่าจ้าง(บริการ) ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินประจำตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ เงินประจำตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ เงินประจำตำแหน่งอื่น เงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของอันดับ เงินตอบแทนพิเศษของลูกจ้างประจำผู้ได้รับค่าจ้างถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่ง ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว เงินเดือนพนักงานราชการ เงินตอบแทนพนักงานราชการ เงินตอบแทนรายเดือนสำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ในส่วนของบุคลากรที่ทำงานในงานบริการของสถานบริการ (ในปีงบประมาณนี้ อาจใช้การประมาณการข้อมูลย้อนหลัง)

  22. ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล • ค่าตอบแทน(บริการ) ได้แก่ ค่าตอบแทนเงินเพิ่มพิเศษแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรไม่ทำเวชปฏิบัติ ค่าตอบแทนแพทย์สาขาส่งเสริมพิเศษ ค่าตอบแทนส่งเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย รพช./สอ. ค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข(พตส.) เงินรางวัลประจำปีสำหรับหน่วยงาน ค่าตอบแทนพยาบาลเวรบ่าย-ดึก(บริการ) เงินตอบแทนในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข(บริการ) • ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ค่าไปรษณีย์และโทรเลข • ค่ารักษาตามจ่าย ได้แก่ ค่ารักษาตามจ่าย UC ในสังกัดสป.และนอกสังกัด สป. ค่ารักษาตามจ่ายประกันสังคม ค่ารักษาตามจ่ายแรงงานต่างด้าว • ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ

  23. ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล • ค่าตัดจำหน่าย (บริการ) มูลค่าจากการจำหน่ายอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ถือเป็นต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ ค่าจำหน่าย-อาคารสำนักงาน ค่าจำหน่าย-ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าตัดจำหน่าย-โปรแกรมคอมพิวเตอร์ • ค่าเสื่อมราคา (บริการ) ค่าใช้จ่ายที่รับรู้อย่างเป็นระบบในช่วงอายุการใช้งานของอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ถือเป็นต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา-อาคารสำนักงาน ระบบประปายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์และการแพทย์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว • การจำแนกอาคารและครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ข้างต้น ถือเป็นการประมาณการโดยภาพรวม ในอนาคตอาจมีการแยกที่ชัดเจนกว่านี้

  24. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • เป็นรายจ่ายจากกิจกรรมสนับสนุนของสถานบริการ หรือ งาน Back office ประกอบด้วย • เงินเดือนและค่าจ้าง(สนับสนุน) ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินประจำตำแหน่งระดับสูง/ระดับกลาง เงินประจำตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ เงินประจำตำแหน่งอื่น เงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของอันดับ เงินตอบแทนพิเศษของลูกจ้างประจำผู้ได้รับค่าจ้างถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่ง ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว เงินเดือนพนักงานราชการ เงินตอบแทนพนักงานราชการ เงินตอบแทนรายเดือนสำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ในส่วนของบุคลากรที่ทำงานในงานสนับสนุนของสถานบริการ (ในปีงบประมาณนี้ อาจใช้การประมาณการข้อมูลย้อนหลัง)

  25. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • ค่าตอบแทน(สนับสนุน) ได้แก่ ค่าล่วงเวลา(สนับสนุน) เงินรางวัลประจำปีสำหรับผู้บริหาร ค่าตอบแทนอื่น • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมในและต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมบุคคลภายนอก ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าซ่อมแซมอาคารและครุภัณฑ์ ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ค่าจ้างเหมา ค่าจัดพิมพ์ ค่าเบี้ยประชุม ค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าเบี้ยประกันภัย วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่นใช้ไป ค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการประชุม ค่ารับรอง ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์-บุคคลภายนอก เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายด้านสังคมสงเคราะห์

  26. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • หนี้สงสัยจะสูญอื่นๆจากการเรียกเก็บ และ หนี้สูญจากการเรียกเก็บ เนื่องจากตัวหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญที่เกิดขึ้น เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพในการเรียกเก็บ จึงถือเป็นค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ได้แก่ หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญจาก ลูกหนี้ค่ารักษา-เบิกต้นสังกัดและเบิกคลัง ลูกหนี้ค่าสิ่งส่งตรวจ ค่าตรวจสุขภาพค่าวัสดุ/อุปกรณ์/น้ำยาค่าสินค้า-หน่วยงานภาครัฐและบุคคลภายนอก ลูกหนี้ค่ารักษา-หน่วยงานภาครัฐอื่น ลูกหนี้ค่ารักษา-ชำระเงิน ลูกหนี้ค่ารักษาประกันสังคม-เครือข่ายและนอกเครือข่าย ลูกหนี้ค่ารักษาประกันสังคม-กองทุนทดแทน ลูกหนี้ค่ารักษาประกันสังคม-ค่าใช้จ่ายสูง/อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ลูกหนี้ค่ารักษา-พรบ.รถ

  27. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • ค่าเสื่อมราคา (สนับสนุน) ค่าใช้จ่ายที่รับรู้อย่างเป็นระบบในช่วงอายุการใช้งานของอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานสนับสนุน ถือเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา-อาคารเพื่อการพักอาศัย อาคารเพื่อประโยชน์อื่น สิ่งปลูกสร้าง ระบบโทรศํพท์ ระบบถนนภายใน ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ ครุภัณฑ์การเกษตร ครุภัณฑ์ก่อสร้าง ครุภัณฑ์อื่น อาคารและสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด • ค่าตัดจำหน่าย (สนับสนุน) มูลค่าจากการจำหน่ายอาคารและครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานสนับสนุน ถือค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้แก่ ค่าจำหน่าย- อาคารเพื่อการพักอาศัย อาคารเพื่อประโยชน์อื่น สิ่งปลูกสร้าง ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ ครุภัณฑ์การเกษตร ครุภัณฑ์ก่อสร้าง อุปกรณ์อื่นๆ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น อาคารและสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด ค่าตัดจำหน่าย-สิทธิการเช่า ค่าตัดจำหน่าย-สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอื่น • การจำแนกอาคารและครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ ข้างต้น ถือเป็นการประมาณการโดยภาพรวม ในอนาคตอาจมีการแยกที่ชัดเจนกว่านี้

  28. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • วัสดุใช้ไป ประกอบด้วย • ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุทุกประเภทจากบุคคลภายนอก หรือจากหน่วยงานภาครัฐ • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการปรับปรุงวัสดุที่เบิกใช้ไปในระหว่างงวด • ค่าใช้จ่ายวัสดุสำนักงาน วัสดุยานพาหนะและขนส่ง วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ วัสดุคอมพิวเตอร์ วัสดุงานบ้านงานครัว วัสดุบริโภค วัสดุเครื่องแต่งกายวัสดุก่อสร้าง วัสดุอื่น สินค้า ที่เบิกใช้ไปในระหว่างงวด • ค่าครุภัณฑ์ • สินทรัพย์โอนให้ลูกข่าย(ที่ไม่ใช่ UC) ได้แก่ สินค้า วัสดุ ครุภัณฑ์ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ ที่โอนไปรพศ./รพท./รพช./สอ.ซึ่งเป็นลูกข่าย หรือที่เรียกว่า ค่าใช้จ่ายระหว่างกัน

  29. ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • ค่าใช้จ่ายโครงการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายตามโครงการ(PP) • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายบุคลากรอื่น เงินช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวด้านการศึกษา เงินช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวด้านการรักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ

  30. รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-งบลงทุน ได้แก่ รายได้จากเงินงบประมาณไว้ใช้จ่ายเป็นค่าครุภัณฑ์ที่ดินสิ่งก่อสร้างตามที่สำนักงบประมาณกำหนด • รายได้งบลงทุนUC ได้แก่ รายได้กองทุน UC (งบลงทุน) • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-อื่นๆ ได้แก่ รายได้งบประมาณงบดำเนินการ รายได้งบประมาณงบรายจ่ายอื่น รายได้งบประมาณงบกลาง • รายได้จากการรับบริจาค ได้แก่ เงินหรือสินทรัพย์อย่างอื่นนอกจากสินทรัพย์ถาวรที่ได้รับบริจาคเพื่อไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานซึ่งรับรู้เป็นรายได้ในงวดปัจจุบัน • รายได้ดอกเบี้ย ได้แก่ ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่สถาบันการเงิน รายได้ดอกเบี้ยเงินทดรอง รายได้ดอกเบี้ยอื่น

  31. รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • สินทรัพย์รับโอนจากแม่ข่าย(ไม่ใช่เงิน UC) ได้แก่ สินค้า วัสดุ ครุภัณฑ์ เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ รับโอนจากสสจ./รพศ./รพท./รพช. นับเป็นรายได้ • รายได้ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน ได้แก่ รายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เรียกเก็บจากโครงการต่างๆ และเรียกเก็บได้มากกว่าที่จ่ายจริง เช่น รายได้ค่ารักษา UC ส่วนเกิน รายได้ค่ารักษาประกันสังคมส่วนเกิน • หนี้สูญได้รับคืน คือ รายได้ของหน่วยงานที่เกิดจากยอดลูกหนี้ที่หน่วยงานตัดเป็นหนี้สูญไปแล้วในงวดบัญชีก่อนๆแต่ได้รับชำระในงวดปัจจุบัน • รายได้อื่นๆเช่นรายได้ค่าเช่า ได้แก่ รายได้ค่าปรับ รายได้ค่าวัสดุ/อุปกรณ์/น้ำยา-หน่วยงานภาครัฐหรือบุคคลภายนอก รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าใบรับรองแพทย์ รายได้ค่าลงทะเบียน รายได้จากโครงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ รายได้ลักษณะอื่น รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ค่าบริหารจัดการโครงการ UC รายได้ค่าบริหารจัดการประกันสังคม เป็นต้น

  32. รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ • ค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่นขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์, ค่าใช้จ่ายในการบริจาค ได้แก่ ค่ารักษา UC ส่วนขาด ค่าใช้จ่ายอุดหนุนให้กับสสอ. ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ค่าใช้จ่ายอุดหนุนเพื่อการดำเนินงานอื่น ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการลงทุน ค่าใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย รายได้แผ่นดินนำส่งคลัง ค่าชดใช้ของเสียหาย ค่าใช้จ่ายโครงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ คืนเงินค่ารักษาพยาบาลอุปกรณ์และอวัยวะเทียม ค่าใช้จ่ายที่ดิน ค่าใช้จ่ายลักษณะอื่น ค่าใช้จ่ายรายการพิเศษนอกเหนือการดำเนินงานปกติ เป็นต้น นับเป็นค่าใช้จ่าย • รายได้จากงบประมาณแผ่นดิน-เงินอุดหนุน คือ รายได้จากเงินงบประมาณไว้ใช้จ่ายเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปและอุดหนุนเฉพาะกิจตามที่สำนักงบประมาณกำหนด ถือเป็นรายได้เพิ่มเติมเฉพาะกิจจึงแยกออกมาจากรายได้อื่น และต่อท้ายงบแสดงผลการดำเนินงาน

  33. ข้อสังเกตจาก งบดุลเพื่อการบริหาร และงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • รายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายสุทธิ ในงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร จะต้องเท่ากับ รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบันในงบดุลเพื่อการบริหาร เสมอ • จากงบดุลเพื่อการบริหาร จะได้ข้อมูลในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งจะใกล้เคียงกับความเป็นจริง ถ้ามีการตัดหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญอย่างสม่ำเสมอ • จากงบดุลเพื่อการบริหาร จะได้ข้อมูลในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนซึ่งจะจำแนกได้อย่างชัดเจนใน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้การตามจ่าย รวมถึงเงินกองทุนต่างๆที่ยังคงค้างเหลืออยู่

  34. ข้อสังเกตจาก งบดุลเพื่อการบริหาร และงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร • งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร ข้อมูลรายได้จากการรักษาจะใกล้เคียงกับรายได้ที่มีการรับเงินจริง มิใช่เป็นแค่ราคาเรียกเก็บ(Charge) เนื่องจากจะต้องมีการหักส่วนเกินของลูกหนี้ที่สูงกว่าเงินที่แต่ละกองทุนจ่ายให้อย่างสม่ำเสมอ • งบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร จะให้ข้อมูลต้นทุนค่ารักษาพยาบาล ซึ่งน่าจะเป็น Direct cost ของงานรักษาซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของสถานบริการ นำไปวิเคราะห์ในเรื่องต้นทุนได้ • จากงบแสดงผลการดำเนินงานเพื่อการบริหาร จะมองเห็นผลต่างของรายได้รายจ่ายในแต่ละขั้นตอนชัดเจนขึ้น สามารถชี้ชัดได้ว่า การประกอบการส่วนใดที่มีปัญหาทางการเงิน เช่น มีต้นทุนการรักษาสูง หรือมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงเป็นต้น • จากรายงานทางการเงินทั้ง 2 รายงาน จะได้ขนาดของปัญหา เช่น ยอดหนี้สิน ยอดเงินสดที่มี ซึ่งจะต้องนำไปพิจารณาต่อไป

  35. งบกระแสเงินสดทางตรง • จัดทำขึ้นจากงบทดลองตามบัญชีเกณฑ์คงค้าง แต่ลักษณะคล้ายรายงานจากบัญชีเกณฑ์เงินสดที่เคยจัดทำกันมา • ซึ่งแสดงผลข้อมูลยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงยอด ณ วันที่มีการรายงาน ในที่นี้จะรายงานเป็นงวดๆ ละ 3 เดือน • ประกอบด้วย • กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน • กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน • กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

  36. งบกระแสเงินสดทางตรง • กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ประกอบด้วย • เงินสดรับได้แก่ • จากค่ารักษาพยาบาลแยกตามประเภทสิทธิ และลักษณะการจ่ายเงิน ซึ่งจะเป็น ยอดเงินสดที่แต่ละกองทุนสิทธินั้นๆ โอนเงินสดให้กับสถานบริการ • จากงบประมาณส่วนบุคลากร เป็นยอดเงินงบประมาณส่วนบุคลากร ที่ได้รับ • จากเงินกองทุน UC งบลงทุน เป็นยอดงบลงทุน UC ที่ได้รับ • จากงบประมาณอื่นๆ • จากเงินบริจาค • จากค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน • จากรายได้อื่นๆ

  37. งบกระแสเงินสดทางตรง • เงินสดจ่าย ได้แก่ • ใช้ไปในยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ เป็นยอดเงินสดที่จ่ายเป็นค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ในงวดนั้นๆ • ใช้ไปในเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทน (บริการ) • ใช้ไปต้นทุนบริการอื่นๆ ยอดเงินสดที่จ่ายเป็นต้นทุนบริการอื่นๆ • ใช้ไปในค่าใช้จ่ายดำเนินงาน • กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ได้แก่ เงินสดจ่ายซื้อครุภัณฑ์ เป็นยอดเงินสดที่จ่ายซื้อครุภัณฑ์ ในงวดนั้นๆ • กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ได้แก่ เงินสดรับจากเงินมัดจำ

  38. ข้อสังเกตจากงบกระแสเงินสดทางตรงข้อสังเกตจากงบกระแสเงินสดทางตรง • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือณ. วันปลายงวด ในงบกระแสเงินสดทางตรง จะต้องเท่ากับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ในงบดุลเพื่อการบริหาร เสมอ • จากงบกระแสเงินสดทางตรง จะได้เห็นรายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินสดในแต่ละงวด และมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากจัดทำขึ้นจากข้อมูลบัญชีเช่นเดียวกับ งบดุล และงบแสดงผลการดำเนินงาน

  39. ดัชนีชี้วัดทางการเงินดัชนีชี้วัดทางการเงิน • Ratio Analysis • สภาพคล่องทางการเงิน Liquidity Ratio • ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • Profitability Ratio • ตัวชี้วัดกลุ่มนี้ จะบอกเป็นอัตราส่วนซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหา แต่ไม่บอกขนาดของปัญหา • Common size analysis • Cost analysis

  40. Liquidity Ratio • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) • บอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน • คำนวณโดย อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)=( สินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ) (หนี้สินหมุนเวียน) • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio) • บอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนเร็ว • Quick ratio = ( เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด+ลูกหนี้สุทธิ ) ( หนี้สินหมุนเวียน )

  41. Liquidity Ratio • อัตราส่วนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต่อหนี้สินหมุนเวียน (Cash ratio) • บอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • คำนวณโดย Cash ratio= เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หนี้สินหมุนเวียน

  42. Liquidity Ratio • Ratio ทั้ง 3 บ่งบอกถึงสภาพคล่องทางการเงิน ณ ขณะนั้น ไม่บ่งบอกถึงสถานการณ์ก่อนหน้า หรือแนวโน้มแต่อย่างใด • โดยปกติจะใช้ ตัวชี้วัดดังกล่าว เพื่อบ่งบอกว่า สถานประกอบการนั้นในขณะนั้นมีสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ โดยจะใช้เป็นตัวชี้วัดตัวแรก เพื่อบ่งบอกสภาพดังกล่าว ก่อนจะไปวิเคราะห์หาสาเหตุโดยตัวชี้วัดอื่นต่อไป • ค่ามาตรฐานที่ใช้(Benchmark) เนื่องจาก โรงพยาบาลของรัฐเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ดังนั้น ค่ามาตรฐานที่ใช้อาจไม่ใช่ค่าสากลเหมือนกรณีเอกชน แนะนำให้หาค่ากลางจากข้อมูลที่จัดเก็บได้ โดยระบุค่ามาตรฐานอยู่ที่ x +2SD และให้แยกค่ามาตรฐานสำหรับโรงพยาบาลแต่ละระดับ โดยแบ่งระดับของโรงพยาบาลตามขนาดเตียง และจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ ซึ่งสำนักพัฒนาการเงินการคลังจะคำนวณค่า Benchmark ดังกล่าว และจะประกาศค่าดังกล่าวให้ใช้ต่อไป

  43. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บลูกหนี้ค่ารักษา UC (Average Collection period for UC Account Receivables ) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยที่มีการชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาล UC จากกองทุน UC แสดงความเพียงพอของเงิน UC = ช่วงเวลา(วัน) รายได้ค่ารักษาUC-หนี้สงสัยจะสูญUC-หนี้สูญUC ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลสิทธิucสุทธิ { }

  44. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บลูกหนี้ค่ารักษา non uc (Average Collection period for Non UC Account Receivables ) • บอกความสามารถในการเรียกเก็บหนี้ว่ามีความพยายามในการเปลี่ยนลูกหนี้เป็นเงินสดทำให้มีกระแสเงินมากขึ้น = ช่วงเวลา(วัน) รายได้ค่ารักษา non-UC-หนี้สงสัยจะสูญ non-UC-หนี้สูญ non-UC ลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลสิทธิ non-uc สุทธิเฉลี่ย { }

  45. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการหมุนเวียนของวัสดุคงคลัง (Average Days of non Medical Inventory turnover) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการใช้การหมุนเวียนของวัสดุคงคลัง แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังให้มีเพียงพอแต่ไม่มากเกินไปถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีวัสดุคงคลังมากเกินไป = ช่วงเวลา(วัน) (วัสดุใช้ไป/ วัสดุคงคลังเฉลี่ย)

  46. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการหมุนเวียนของค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลัง (Average Days of Medical Inventory turnover) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการใช้การหมุนเวียนของยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลังให้มีเพียงพอแต่ไม่มากเกินไปถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมียาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลังมากเกินไป = ช่วงเวลา(วัน) (ยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ใช้ไป/ ยาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์คงคลังเฉลี่ย)

  47. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระเจ้าหนี้การค้า (Average Payment Period for Total Account Payables) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าทุกประเภท แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้การค้าทุกประเภทรวมกัน ถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีการชำระหนี้ช้า = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้า มูลค่าวัสดุทั้งหมดที่ซื้อในงวดนี้ หรือ = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้า ผลรวมเจ้าหนี้การค้าช่องเครดิตงวดนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงงวดนี้

  48. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระเจ้าหนี้การค้าสำหรับค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ (Average Payment period for Medical Account Payables) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าประเภทค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้การค้าประเภทค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีการชำระหนี้ช้า = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้าค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ มูลค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ทั้งหมดที่ซื้อในงวดนั้นๆ หรือ = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้การค้าค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ ผลรวมเจ้าหนี้การค้าค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ช่องเครดิตงวดนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงงวดนี้

  49. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระเจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย (Average Payment period for Account Payables on Refer Patients) • บอกรอบระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระหนี้เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มที่จะมีการชำระหนี้ช้า = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายทั้งหมดในงวดนั้นๆ หรือ = ช่วงเวลา(วัน) x เจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่าย ผลรวมเจ้าหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามจ่ายช่องเครดิตงวดนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงงวดนี้

  50. ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการบริหารจัดการ • การหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) • บอกสัดส่วนของรายได้กับสินทรัพย์ถาวรที่มี แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรให้เกิดผลประกอบการ ถ้าค่าได้มากมีแนวโน้มว่ามีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์สูง = รวมรายได้จากค่ารักษาพยาบาล รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

More Related