300 likes | 568 Views
การแต่งตั้งข้าราชการ กรณี การเลื่อนระดับ ประเภท การเลื่อนข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ได้รับคัดเลือก ( ตำแหน่งระดับควบ ) โดย นายชาตรี เทียนทอง ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง. การเลื่อนข้าราชการ. การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
E N D
การแต่งตั้งข้าราชการ กรณี การเลื่อนระดับ ประเภท การเลื่อนข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ได้รับคัดเลือก (ตำแหน่งระดับควบ) โดย นายชาตรี เทียนทอง ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
การเลื่อนข้าราชการ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 กรณี การเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกในระดับควบ
ก. ทั่วไป การเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงในตำแหน่งระดับควบ เป็นการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานต่างๆ ของตำแหน่งในระดับบรรจุ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ก.พ. มีมติให้กำหนดให้เป็นระดับที่ปรับสูงขึ้นได้ 2 ระดับ โดยไม่เปลี่ยนสายงาน ไม่เปลี่ยนเลขที่ตำแหน่งและส่วนราชการ และสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นระดับต่ำลงได้ภายในระดับที่ ก.พ.กำหนดไว้
การเลื่อนระดับควบ แบ่งได้เป็น 2 กรณี 1. กรณีระดับควบขั้นต้น เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 เลื่อนเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 2. กรณีระดับควบขั้นสูง เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ 2 เลื่อนเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ 3
ข. การกำหนดตำแหน่งระดับควบ (กรม คร.) ก.พ.ได้กำหนดตำแหน่งและหลักการเกี่ยวกับการเปลี่ยนระดับตำแหน่งในระดับควบในสายงานต่างๆ สรุปดังนี้ • ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ให้กำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงถึงระดับ 3 • เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 – 3 • ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ให้กำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงถึงระดับ 4 • เช่น เจ้าพนักงานพัสดุ 2 - 4
ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ให้กำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงถึงระดับ 5 • เช่น บุคลากร 3 – 5 • ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 4 ให้กำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงถึงระดับ 6 • เช่น นายแพทย์ 4 - 6
ค. หลักเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง วิธีประเมินบุคคลและการปฏิบัติงาน หนังสือสำนักงานก.พ. ที่นร0708.4/ว6 ลงวันที่13 พฤษภาคม2536
- ง. หลักเกณฑ์การประเมิน 1.1ระดับควบขั้นต้น ประเมินครั้งที่1ประเมินเมื่อบุคคลได้ปฏิบัติงานครบ1ปี ประเมินครั้งที่ 2 ประเมินหลังจากที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นคือ - มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง - ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ. กำหนดตามหนังสือสำนักงานก.พ. ที่ 0708.4/ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536
ง. หลักเกณฑ์การประเมิน(ต่อ) 1.2 ระดับควบขั้นสูง ประเมินครั้งที่1 ประเมินเมื่อบุคคลได้ปฏิบัติงานครบ2ปีประเมินครั้งที่ 2ประเมินหลังจากที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นคือ - มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง-ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ. กำหนด ตามหนังสือสำนักงานก.พ. ที่0708.4/ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536
กรณีที่ไม่ผ่านครั้งที่1 ให้ผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการกองเป็น ผู้แจ้ง ผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบว่าสิ่งใดต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผู้รับการประเมินพัฒนาตนเองให้เหมาะสมในการประเมินครั้งต่อไปโดยไม่ต้องทำการประเมินใหม่ ส่วนการประเมินครั้งที่2 หากปรากฏว่าไม่ผ่านการประเมินนอกจากต้อง แจ้งให้ผู้รับการประเมินปรับปรุงแก้ไขตนเองแล้วจะต้องทำการประเมินใหม่ หลังจากระยะเวลา3 เดือนนับจากการประเมินครั้งที่2 แต่งตั้งได้ตั้งแต่วันที่ผ่านการประเมินในครั้งที่2
เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่ถือว่าผ่านการประเมินจะต้องได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับดังนี้ หมวด1 องค์ประกอบเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติคือด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและคุณภาพของงานที่ต้องได้ผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไปทั้ง2 ด้านและทุกงานที่ประเมิน หมวด2 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต้องได้ผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป หมวด3 ความประพฤติต้องได้ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป หมวด4 คุณลักษณะอื่นๆที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งต้องได้ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปทุกรายการ
จ. หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง 1. คุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 1.1 วุฒิการศึกษาตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 1.2 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในระดับก่อนเลื่อน 1.3 ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่าตามระยะเวลาที่กำหนด
จ. หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง(ต่อ) • ผ่านการประเมินบุคคลและการปฏิบัติงานสำหรับตำแหน่งระดับควบ • 2.1.ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่กำหนด • 2.2. การประเมินไม่ก่อนวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
4.วันที่ได้รับการแต่งตั้ง (เลื่อน) ให้ดำรงตำแหน่ง - มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในระดับก่อนเลื่อนครบถ้วนตามที่กำหนด - ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือ งานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่าตามระยะเวลาที่กำหนด-ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่เลื่อนครบถ้วน (กรณีเลื่อนระดับควบสูง)
ฉ. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง/ระเบียบ/ข้อบังคับ/หนังสือเวียน/มติ 1. พ.ร.บ.ระเบียนข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2535 2. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2544 3. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการได้รับเงินเดือน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 4. หนังสือสำนักงาน ก.พ.
ช. ขั้นตอนการทำคำสั่งเลื่อนข้าราชการ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบ
ตรวจสอบคุณสมบัติ • ตรวจสอบตำแหน่ง • ตรวจสอบข้อมูลบุคคล • ตรวจสอบข้อมูลตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง • ตรวจสอบข้อมูลเงินเดือน (ปีที่เลื่อน) • ตรวจสอบข้อมูลการไม่ได้รับเงินเดือน (ผิดวินัย) • ตรวจสอบการประเมินบุคคลและการปฏิบัติงาน
การพิจารณาวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งการพิจารณาวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง • อาจแต่งตั้งได้ไม่ก่อนวันที่มีคุณสมบัติฯ ครบถ้วน
การพิจารณาให้ได้รับเงินเดือนการพิจารณาให้ได้รับเงินเดือน • ควบระดับต้น : ปรับให้ได้เท่ากับขั้นต่ำของตำแหน่งที่แต่งตั้ง • ควบระดับสูง : ได้รับเงินเดือนในอันดับของตำแหน่งที่เลื่อนใน • ขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของอันดับเดิม การพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องฯ
ขั้นที่ 2 เสนอลงนาม - รวบรวมเอกสารหลักฐาน - ทำคำสั่งพร้อมบัญชี...แนบท้าย ตาม คส. 4.1 - ทำบันทึกพร้อมคำสั่ง...
สรุป ระดับขั้นต้น ประเมินครั้งที่ 1 เมื่อ ปฏิบัติงานครบ 1 ปี ประเมินครั้งที่ 2 เมื่อ คุณสมบัติครบ ดังนี้ - ระยะเวลาก่อนเลื่อน - เงินเดือนไม่ต้องถึงขั้นต่ำ - เงินเดือนก่อนเลื่อนตาม ว.13/36 ระดับขั้นปลาย (สูง) ประเมินครั้งที่ 1 เมื่อ ปฏิบัติงานครบ 2 ปี ประเมินครั้งที่ 2 เมื่อ คุณสมบัติครบ ดังนี้ - ระยะเวลาก่อนเลื่อน - เงินเดือนต้องถึงขั้นต่ำ
ผู้มีอำนาจลงนาม ตามมาตรา 52 อธิบดีกรมควบคุมโรค หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ 1 นาย ก. • วุฒิ ปวช. • บรรจุ เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 เมื่อ 1 มี.ค. 47 • 1 ต.ค. 48 เงินเดือน 5,200 บาท • การพิจารณา (เลื่อนระดับประเภท....) • ตำแหน่ง.... เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 – 3 • Spec • - วุฒิ...ปวช. • - ระยะเวลาก่อนเลื่อน 2 ปี • เงินเดือน ตาม ว.5/36 • - ปีที่เลื่อน...(5, 200 บาท) • ผ่านประเมิน • ควบขั้นต้น • วันที่เลื่อน ...1 มี.ค. 49 • เงินเดือนที่ได้รับ ปรับ 5,310.บาท
ข้อ 2 นาย ข. • วุฒิ ป.พนักงานวิทย์ 2 ปี • บรรจุ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 เมื่อ 1 ม.ค. 47 • 1 ต.ค. 49 เงินเดือน 6,530 บาท • การพิจารณา (เลื่อนระดับประเภท....) • ตำแหน่ง.... เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2- 4 • Spec • - วุฒิ...ป.พนักงานวิทย์ฯ • - ระยะเวลาก่อนเลื่อน 3 ปี • เงินเดือน ตาม ว.5/36 • - ปีที่เลื่อน...(6,530 บาท) • ผ่านประเมิน • ควบขั้นต้น • วันที่เลื่อน 1 ม.ค.50 • เงินเดือนที่ได้รับ 6,530 บาท
ข้อ 3 นาย ท. • วุฒิ ปวส. • ตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า 3 เมื่อ 10 มี.ค. 47 • ลาออกไปรับราชการทหาร 20 เมษายน 2547 = 1 ปี • บรรจุกลับ 20 เม.ย. 49 (ต่อเนื่อง) เงินเดือน 8,430 • การพิจารณา (เลื่อนระดับประเภท....) • ตำแหน่ง.... นายช่างไฟฟ้า 2- 4 • Spec • - วุฒิ...ปวส. • - ระยะเวลาก่อนเลื่อน 2 ปี • เงินเดือน ตาม ว.5/36 • - ปีที่เลื่อน...8,430 บาท • ผ่านประเมิน ***นับรวมเวลาราชการทหาร • ควบขั้นสูง • วันที่เลื่อน 20 เม.ย.49 (วันบรรจุกลับ) • เงินเดือนที่ได้รับ 8,430 บาท
วุฒิ ปวส. • ตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า 3 เมื่อ 10 มี.ค. 47 • ลาออกจากราชการ 20 เมษายน 2548 = 6 เดือน • บรรจุกลับ 1 พ.ค.48 เงินเดือน 8,000 บาท (ขาด11วัน) ข้อ 4 นาย ท. • นับเวลาปฏิบัติราชการ • 10 มี.ค.47- 9 มี.ค.48 = 1 ปี • 10 มี.ค.48 – 9 เม.ย.48 = 1 เดือน • 10 เม.ย.48 – 19 เม.ย.48 = 10 วัน. • (ขาด 10 เดือน 20 วัน) • หักลาออก 20 เม.ย.48 – 30 พ.ย.48 • 1 พ.ค.48 – 31 ต.ค.49= 10 เดือน • 1 พ.ย.49 – 20 พ.ย. 49 = 20 วัน • การพิจารณา (เลื่อนระดับประเภท....) • ตำแหน่ง.... นายช่างไฟฟ้า 2- 4 • Spec • - วุฒิ...ปวส. • - ระยะเวลาก่อนเลื่อน 2 ปี • เงินเดือน ตาม ว.5/3 • - ปีที่เลื่อน..เงินเดือน ต.ค. 49 • ผ่านประเมิน • วันที่เลื่อน …20 พ.ย.49 • เงินเดือนที่ได้รับ เทียบขั้นเดือน ต.ค.49 บาท
ข้อ 5 นางสาว ญ. • วุฒิ ป.พยาบาลศาสตร์ระดับต้น • ตำแหน่งพยาบาลเทคนิค 3 เมื่อ 1 ก.ย. 46 กรมการแพทย์ • 1 ต.ค. 48 เงินเดือน 7,440 บาท • โอนมากรมควบคุมโรค 5 ตุลาคม 2548 • การพิจารณา (เลื่อนระดับประเภท....) • ตำแหน่ง.... พยาบาลเทคนิค 2- 4 • Spec • - วุฒิ...ป.พยาบาลฯ • - ระยะเวลาก่อนเลื่อน 2 ปี • เงินเดือน ตาม ว.5/36 • - ปีที่เลื่อน...7,440 บาท • ผ่านประเมิน • ควบขั้นต่ำ • วันที่เลื่อน …5 ต.ค.48 • เงินเดือนที่ได้รับ ปรับ 8,000. บาท ** เลื่อนได้ไม่ก่อนวันที่รับโอน