280 likes | 660 Views
บทที่ 4 สิ่งแวดล้อมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. การท่องเที่ยว หมายถึง.
E N D
บทที่ 4 สิ่งแวดล้อมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยว หมายถึง ผลรวมของปรากฏการณ์ต่าง ๆ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับธุรกิจ และบริการต่าง ๆ รวมทั้งรัฐบาลประเทศเจ้าภาพ และประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องอยู่ในกิจกรรม หรือกระบวนการในการดึงดูด ด้วยการให้การต้อนรับที่อบอุ่นเปี่ยมไมตรีจิตแก่นักท่องเที่ยว หรือผู้มาเยือน
ความสำคัญของการท่องเที่ยวความสำคัญของการท่องเที่ยว 1. ความสำคัญต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ - สร้างรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ - การเพิ่มดุลการค้าและบริการของประเทศ - การกระจายรายได้ และการจ้างงาน
3. ความสำคัญต่อสังคม และวัฒนธรรม - การท่องเที่ยวสร้างสันติภาพให้แก่โลก - การท่องเที่ยวช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม - การท่องเที่ยวทำให้ประชาชนเกิดความรักและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น - การท่องเที่ยวส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดี - การท่องเที่ยวช่วยให้ประชาชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - การท่องเที่ยวเสริมสร้างพื้นฐานของสังคมที่ดี
องค์ประกอบของการท่องเที่ยวองค์ประกอบของการท่องเที่ยว 1. นักท่องเที่ยว ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อหาประสบการณ์/พักผ่อน 2. ทรัพยากรการท่องเที่ยว 3. ธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผลิตสินค้า และบริการ 4. การบริการการท่องเที่ยว 5. ตลาดการท่องเที่ยว
1. นักท่องเที่ยว เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการท่องเที่ยว โดยมีความแตกต่างในด้านทัศนคติ และความต้องการ จึงทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวแตกต่างกันไปด้วย 1.1 ลักษณะพื้นฐานของนักท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับ - เพศ - อายุ - อาชีพ และรายได้ - ระดับการศึกษา - สถานภาพสมรส - ถิ่นพำนัก
1.2 การกระจายตัวของนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ 1.3 กิจกรรมต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยว 1.4 ฤดูกาลท่องเที่ยว 2. ทรัพยากรการท่องเที่ยว 2.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 2.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น 2.2.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ 2.2.2 ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและสังคม 2.2.3 ทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านบันเทิงและความเพลิดเพลิน
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว 1.1 เป็นสิ่งดึงดูดใจให้มีการท่องเที่ยว 1.2 เป็นแหล่งที่มาของรายได้จากการท่องเที่ยว 1.3 เพิ่มคุณภาพชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น 1.4 สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น 1.5 สะท้อนให้เห็นคุณค่าภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ 1.6 ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนา
3. ธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หมายถึง ธุรกิจการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยตรง 3.1 ธุรกิจที่พัก/โรงแรม 3.2 ธุรกิจนำเที่ยว 3.3 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 3.4 ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก 3.5 ธุรกิจคมนาคมขนส่ง 3.6 ธุรกิจนันทนาการ
ระบบสิ่งแวดล้อมทางการท่องเที่ยวระบบสิ่งแวดล้อมทางการท่องเที่ยว ลักษณะทางกายภาพ กฏหมาย โครงสร้างพื้นฐาน สภาพสังคมและวัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ/การลงทุน องค์กรและความร่วมมือภาครัฐ/เอกชน
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวความสำคัญของสิ่งแวดล้อมต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1. เป็นปัจจัยเร่งให้รัฐพัฒนาพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว 2. เป็นปัจจัยเร่งให้ภาคเอกชนลงทุนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 3. เป็นปัจจัยให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรง และทางอ้อมไปจากสภาวะธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมนั้นในช่วงเวลาหนึ่งโดยอาจเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือโดยธรรมชาติทั้งในลักษณะการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการทำลายคุณภาพสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติของผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำแนกได้เป็น 2 แนวทาง คือ ผลกระทบด้านบวก หมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านลบ หมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในลักษณะการทำลายคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2) โดยทั่วไปแล้ว ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมักเกิดขึ้นในลักษณะผลกระทบลูกโซ่ กล่าวคือ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบใดแล้ว ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อองค์ประกอบสิ่งแวดล้อมอื่นด้วยเสมอ ทั้งนี้ หากผลกระทบสิ่งแวดล้อมเกิดจากโครงการพัฒนาในพื้นที่ใดแล้ว ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบในลักษณะผลกระทบลูกโซ่เช่นกัน แต่อาจจะไม่เกิดในลักษณะการเรียงลำดับ โดยอาจเกิดขึ้นผลกระทบสิ่งแวดล้อมขึ้นได้ในทุกทิศทางพร้อมกัน
3) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจคงสภาพอยู่ได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นสำคัญ และการคงสภาพของผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเสมอ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวเองของสิ่งแวดล้อม 4) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสามารถวัดปริมาณ ทิศทาง และระดับความรุนแรงได้
ผลกระทบด้านบวกของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมผลกระทบด้านบวกของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1. ทำให้เกิดการบูรณะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โบราณสถาน แหล่งประวัติศาสตร์ 2. ทำให้มีการก่อสร้างสวนสาธารณะ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน 3. ทำให้มีการปกป้องรักษาปะการัง และแนวชายหาด 4. ทำให้เกิดการทะนุบำรุงรักษาพื้นที่ป่าไม้ 5. ทำให้เกิดการพัฒนาสาธารณูปโภคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 6. ทำให้เกิดการพัฒนาระบบป้องกันกำจัดมลพิษสิ่งแวดล้อม 7. ทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างเปล่า
ผลกระทบด้านลบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมผลกระทบด้านลบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1. ชายหาด/เนินทรายถูกใช้ประโยชน์มากเกินไป 2. ไฟป่าจากการตั้งแคมป์ 3. ทำลายทัศนียภาพจากการพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภค 4. การขีดเขียนข้อความ/การทำลายสภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว 5. การสร้าง และการกำจัดขยะ 6. สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ 7. ความเสียหายต่อสมดุลธรรมชาติ