150 likes | 273 Views
เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง. นำเสนอใน โครงการอบรมการทำคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้แก่นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมบ้านสบาย กทม. ๒๒ - ๒๔ มี.ค. ๒๕๕๖. เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง. ๑ . เงื่อนไขในเชิงรูปแบบ.
E N D
เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองเงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง นำเสนอใน โครงการอบรมการทำคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ให้แก่นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมบ้านสบาย กทม. ๒๒-๒๔มี.ค. ๒๕๕๖
เงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองเงื่อนไขแห่งความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
๑. เงื่อนไขในเชิงรูปแบบ
๑. เงื่อนไขในเชิงรูปแบบ
๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา
๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา๒.เงื่อนไขในเชิงเนื้อหา
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๑การใช้อำนาจบริหารบุคลากรย่อมเป็นคำสั่งทางปกครองที่กระทบคู่กรณี การพิจารณาเพื่อมีคำสั่งดังกล่าว จึงต้องให้โอกาสคู่กรณีได้มีโอกาสรับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงหลักฐานของตนตามมาตรา ๓๐พ.ร.บ.วิปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๓๙การมีคำสั่งทางปกครองโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๘๑/๒๕๕๐)
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๒เมื่อการถมคลองเพื่อสร้างคลองส่งน้ำเป็นการเปลี่ยนสภาพที่ดินจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย การที่กรมประมงไม่ดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ จึงสมควรให้กรมประมงดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวก่อน หากไม่ได้รับอนุมัติจึงค่อยรื้อถอน (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๓๔/๒๕๕๐) ข้อสังเกต : กระบวนการบางอย่างสามารถแก้ไขได้
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๓เมื่อหน่วยงานของรัฐไม่ได้ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนที่มาตรา ๖๗ วรรคสองกำหนดไว้การให้ความเห็นชอบ อนุมัติและอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมตามบัญชีท้ายฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะเป็นคำสั่งทางปกครองที่บิดเบือนกฎหมายหรือฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงเนื่องจากเกิดจากการใช้ดุลยพินิจปฏิบัติราชการที่ (ก) กระทำขึ้นในสถานการณ์ที่ยังไม่มีการตราประกาศกำหนดประเภทโครงการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงฯ (ข) ได้อาศัยความเห็นของคณะกฤษฎีกาและ (ค) ในขณะที่ออกคำสั่งไม่ปรากฏว่ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่สามารถจะแก้ไขได้ด้วยการดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง (คำพิพากษาศาลปกครองคดีแดงที่ ๑๓๕๒/๒๕๕๓)
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงรูปแบบ ตัวอย่างที่ ๔ กรณีที่กรมสรรพสามิตกำหนดอ้างกฎหมาย พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.๒๔๙๓ กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ฟ้องคดีขายแป้งข้าวหมักได้เฉพาะในสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทบัญญัติที่อ้างนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเนื่องจากไปจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาว่าข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องขายแป้งข้าวหมักในสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกอำนาจหน้าที่ ใช้บังคับไม่ได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๖๖/๒๕๔๗)
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา • ตัวอย่างที่ ๑จากข้อเท็จจริง ย่อมเห็นได้ว่าบริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมที่ให้มีการทำเหมือง และการทำเหมืองในบริเวณดังกล่าวอย่างน้อยที่สุดย่อมส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ที่เป็นภูเขาไปอย่างถาวร ซึ่งเป็นความเสียหายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเกาะสมุย เมื่อคำนึงถึงประโยชน์และผลเสียจากการทำเหมืองแล้ว การที่ คชก. มีมติไม่เห็นชอบ EIA จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๓๓/๒๕๔๙)
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๒หลักความเสมอภาค คือ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกันและจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญที่แตกต่างกันให้แตกต่างกันไป เมื่อผู้ครอบครองที่ดินทั้ง ๕๔รายที่ถูกเวนคืนมีสาระสำคัญเหมือนกัน การกำหนดค่าเสียหายทดแทนพิเศษสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าทดแทนโดยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่หนึ่งที่ร่วมเรียกร้องกับสมัชชาคนจนกับกลุ่มที่สองที่ไม่ได้ร่วมเรียกร้องโดยให้ค่าทดแทนแก่สองกลุ่มไม่เท่ากัน จึงขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓/๒๕๕๑)
ตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๓ เมื่อผลศึกษาวิจัยพบว่าการทำประมงด้วยอวนรุนก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน กรมประมงจึงได้เสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ออกประกาศฉบับนี้ โดยมีแผนที่กำหนดเขตพื้นที่ห้ามใช้เครื่องมืออวนรุนประกอบเรือยนต์ทำการประมงแนบท้ายประกาศให้ชัดเจน จึงเห็นว่าประกาศฉบับพิพาทเป็นมาตรการที่สามารถบรรลุผลในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและอาชีพประมงพื้นบ้านได้ เมื่อชั่งน้ำหนักผลกระทบและความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับกับผลประโยชน์ของสาธารณะที่ต้องสูญเสียไปแล้ว ความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับเบาบางกว่าความเสียหายของประโยชน์สาธารณะ ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๕๑/๒๕๔๘)
ตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๔ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำแข็งหลอด โดยตั้งอยู่ในบริเวณอาคารตึกแถว ๓ ชั้น ติดกับบ้านของผู้ฟ้องคดีและของบุคคลอื่น ซึ่งเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ตามข้อ ๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ย่อมเห็นได้ว่าการประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำน้ำแข็งดังกล่าวใช้เครื่องจักรเกิน ๕๐ แรงม้า โดยสภาพย่อมก่อให้เกิดเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนรบกวนผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นได้ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงขัดต่อข้อ ๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) เป็นการออกใบอนุญาตโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๒๐๖/๒๕๕๐)
ตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหาตัวอย่างการการตรวจสอบในเชิงเนื้อหา ตัวอย่างที่ ๕ จากข้อเท็จจริงต่าง ๆ เชื่อว่าเหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ซึ่งพบว่ามีเอกสารรายงานที่ส่วนราชการและเอกชนจัดทำขึ้นจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นว่ามีมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายอยู่ในพื้นที่มาบตาพุดตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง จึงรับฟังว่าเขตเทศบาลมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะประกาศให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการควบคุม ลดและขจัดมลพิษได้ (คำพิพากษาศาลปกครองระยองคดีแดงที่ ๓๒/๒๕๕๒)