1 / 18

ลุ่มน้ำบางปะกง ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำบางปะกง ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ

hope-meyers
Download Presentation

ลุ่มน้ำบางปะกง ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำบางปะกง • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล

  2. 16. ลุ่มน้ำบางปะกง ที่ตั้ง ลุ่มน้ำบางปะกงอยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระบุรี ทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำป่าสักและแม่น้ำมูล ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ทิศตะวันออกติดกับกับลุ่มน้ำปราจีนบุรี และทิศคะวันตกติดกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย (ตามรูป 16-1) รูปที่ 16-1 แสดงที่ตั้งลุ่มน้ำบางปะกง

  3. ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 16-2 ลุ่มน้ำบางปะกง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ทางเหนือจะมีเทือกเขาสูงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำนครนายก ส่วนทางตอนใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มน้ำมีเทือกเขาซึ่งแนวแบ่งเขตระหว่างจังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดจันทบุรี โดยแม่น้ำนครนายก จะไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรี ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนจะไหลลงทางใต้ผ่านที่ราบต่ำและไหลลงอ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา รูปที่ 16-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง

  4. พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำบางปะกง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 7,978 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 ลุ่มน้ำ ตามตารางที่ 16-1 และรูปที่ 16-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 16-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มย่อย 16.05 16.03 16.02 16.04 รูปที่ 16-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง

  5. ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 16-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 16-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ

  6. ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำบางปะกงมีปริมาณฝนผันแปร ตั้งแต่ 1,100 มิลลิเมตร จนถึง 2,600 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,346.0 มิลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงตามตารางที่ 16-3 และ มีลักษณะการกระจาย ของปริมาณน้ำฝนของลุ่มน้ำต่างๆ ตามรูปที่ 16-4 ตารางที่ 16-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 16-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 16-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำบางปะกงมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 7,977 ตารางกิโลเมตร จะมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติรายปีเฉลี่ยทั้งหมด 3,344.0 ล้านลูกบาศก์เมตรตามตารางที่ 16-3 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝนเท่ากับ 13.29 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร และตามรูปที่ 16-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย

  7. ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า

  8. ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงสามารถจำแนกชนิดของดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดินตามรูปที่ 16-6 และแต่ละกลุ่มดินมีจำนวนพื้นที่ตามตารางที่ 16-4 ตารางที่ 16-4 รูปที่ 16-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช

  9. การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร........... 78.93 % พืชไร่......................... 44.77 % ไม้ผล – ยืนต้น............. 5.23 % ปลูกข้าว..................... 50.00 % พืชผัก.......................... - % รูปที่ 16-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้............................17.41 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า..... 23.55 % อุทยานแห่งชาติ............... 4.10 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์................ 72.35 % รูปที่ 16-8 พื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย.......................... 2.78 % 4) แหล่งน้ำ............................ 0.43 % 5) อื่นๆ................................... 0.45 % รูปที่ 16-9 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน

  10. ลุ่มน้ำบางปะกงมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 6,296 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆ 3,330.81 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52.90 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 2,318.27 ตารางกิโลเมตร (69.60%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก - ตารางกิโลเมตร ( - %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 899.65 ตารางกิโลเมตร (27.01%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 112.89 ตารางกิโลเมตร( 3.39%) พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดย เฉพาะสองฝั่งลำน้ำของแม่น้ำบางปะกง ซึ่งรวมแล้วประมาณร้อยละ 41.76 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตร พบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืชส่วนใหญ่การปลูกข้าวจะปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะ สมดีอยู่แล้ว แต่การปลูกพืชไร่และไม้ผล-ไม้ยืนต้นยังปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมไม่เพียงพอ รูปที่ 16-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร

  11. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งลำน้ำของแม่น้ำบางปะกง โดยมีพื้นที่ประมาณ 2,389ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 71.73 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 37.95 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 16-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาเกษตรชลประทาน

  12. การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544 – 2564 สรุปได้ตามรูปที่ 16-11 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม อุปโภค - บริโภค รูปที่ 16-11 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท

  13. ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดจากการที่มีฝนตกหนัก และน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมา มากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวาง จากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอบ้านนา จังหวัด นครนายก อำเภอพานทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี อำเภอบาง คล้า อำเภอราชสาส์น อำเภอพนมสารคาม กิ่งอำเภอคลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสาย หลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบาย น้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอองครักษ์ อำเภอปากพลี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

  14. ด้านภัยแล้ง ปัญหาภัยแล้งของลุ่มน้ำนี้ที่เกิดจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร รวมทั้งการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆ ด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ลุ่มน้ำบางปะกงมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 1,428 หมู่บ้าน พบว่า มีหมู่บ้านที่ประสบกับปัญหาภัยแล้ง จำนวน 676 หมู่บ้าน (ร้อยละ 47.34) โดยแยกเป็น หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร) จำนวน 389 หมู่บ้าน (ร้อยละ 27.24)และเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 287 หมู่บ้าน (ร้อยละ 20.10) โดยหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราถึง 261 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.61 ของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 16-12 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

  15. แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำบางปะกง มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวม โดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางในแต่ละลุ่มน้ำ สาขาที่มีศักยภาพเพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากในฤดูฝน และส่งน้ำ ให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำสาขานั้นๆ 2) เพิ่มประสิทธิภาพ หรือขีดความสามารถกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตั้งเมือง และพื้นที่โดยรอบ มิให้ลุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 5) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกล จากแหล่งน้ำ/นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่

More Related