510 likes | 739 Views
คำนิยาม การประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล ตัวกลาง หรือ สายส่ง. เครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสื่อสาร การผสมสัญญานข้อมูล เข้ากับสัญญาณพาห์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประมวลผลผ่านเครือข่าย. บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลเบื้องต้น. คำนิยาม.
E N D
คำนิยาม การประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล ตัวกลาง หรือ สายส่ง เครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสื่อสาร การผสมสัญญานข้อมูล เข้ากับสัญญาณพาห์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประมวลผลผ่านเครือข่าย บทที่ 4การสื่อสารข้อมูลเบื้องต้น
คำนิยาม • การสื่อสารข้อมูล : เทคโนโลยีที่ทำการส่งสัญญานข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 อย่าง คือ - แหล่งกำเนิดหรือผู้ส่ง : แหล่งสร้างหรือให้ข้อมูลข่าวสาร และ เป็นผู้ส่ง ข่าวสารนั้น - ตัวกลาง : สื่อนำสัญญานข้อมูลจากผู้ส่ง ส่งไปให้ผู้รับ • ผู้รับหรือเครื่องรับ : จุดหมายปลายทางของข้อมูลที่จะส่งไปถึง • โปรแกรมการสื่อสาร
คำนิยาม (ต่อ) • ข่าวสาร (Information) หรือข้อมูลที่ส่งผ่านในระบบจะอยู่ในรูปของสัญญาณ - สัญญาณนอนาลอก (Analog Signal) - สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)
ระบบสื่อสาร (Communication System) หมายถึง ระบบของอุปกรณ์ทางอิเล็คโทนิคที่ติดตั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร ระหว่างที่หนึ่งกับอีกที่หนึ่ง ในการส่งผ่านข้อมูลจะอาศัยวงจรสื่อสาร
คำนิยาม (ต่อ) • วงจรสื่อสาร (Communication Circuit) หมายถึง เส้นทางเดินของสัญญาณระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่ง ที่สามารถ บรรจุช่องการสื่อสารเพื่อทำการส่งข่าวสาร • ตัวกลาง หรือ สื่อนำสัญญาณ ซึ่งเชื่อมโยงผู้ส่งและผู้รับเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Communication Channel หรือ Communication Link (ช่องการสื่อสาร) การนับจำนวนช่องสื่อสารจะนับจากอุปกรณ์แปลงสัญญาณปลายทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลหรือข่าวสาร
คำนิยาม (ต่อ) • ข่ายการสื่อสาร (Communication Network) หมายถึงระบบสื่อสารตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเชื่อมโยงกัน เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ ข่ายการสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์อย่างง่าย
การประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลผลข้อมูลการประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลผลข้อมูล • ระบบสื่อสารจัดได้ว่ามีความสำคัญต่อการประมวลผลทางธุรกิจ เป็นอันมาก เพราะช่วยให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น การแลกเปลี่ยน/การสอบถามข้อมูลการปรับปรุงแฟ้มข้อมูล ให้ทันสมัยต่อการใช้ ลักษณะของการนำระบบสื่อสารไปประยุกต์ใช้ จะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของงานก่อให้เกิดลักษณะของการประมวลผล ที่ต่างกันออกไป ดังนี้
การประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) • On-line Data Entry : งานที่มีการป้อนข้อมูลทาง terminal ข้อมูล เหล่านั้นจะถูกนำไปปรับปรุง (update) แฟ้มข้อมูลหลักที่ส่วนกลาง ทันที ข้อมูลที่ป้อนเข้านั้นก็คือรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเอง
การประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) • Batch Data Entry : ลักษณะการประมวลผลที่มีการรวบรวมข้อมูล ภายในระยะเวลาที่กำหนด แล้วบันทึกข้อมูลลงสื่อบันทึก แล้วส่ง ข้อมูลนั้นผ่านระบบสื่อสาร เพื่อทำการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักเมื่อถึงเวลาอันสมควร
การประยุกต์การสื่อสารกับการประมวลผลข้อมูล (ต่อ) • Distributed Data Processing หมายถึง การประมวลผลที่มีการกระจายการทำงานตามสาขา โดยแต่ละสาขา จะมีฐานข้อมูลของตนเอง การติดต่อกับศูนย์กลางจะเกิดขึ้นเมื่อมี ความจำเป็นเท่านั้น
การส่งผ่านข้อมูล • Communication Mode (ทิศทางการส่งสัญญาณ) • Transmission Mode (การส่งผ่านข้อมูล) • Communication Speed (ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล)
Communication Mode • การส่งสัญญานผ่านสายส่งสัญญามี 3 ชนิด คือ - การส่งสัญญานทางเดียว (Simplex หรือ SPX) : การส่งที่อนุญาติให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูล หรือข่าวสาร ไปให้ผู้รับเพียงฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถโต้ตอบได้ - การส่งสัญญานกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ HDX) : การส่งที่ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้แต่ในขณะใดขณะหนึ่ง จะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันนั้น - การส่งสัญญานทางคู่สมบูรณ์ (Full-Duplex หรือ FDX) : การส่งที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ทั้งสองทิศทางในเวลาเดียวกัน
Transmission Mode • ข้อมูลที่ส่งผ่านในระบบสื่อสาร จะเป็นตัวอักษรหรืออักขระต่าง ๆ ที่ถูกเข้ารหัสเป็นเลขฐานสอง (0 และ 1) สารสื่อสารซึ่งทำหน้าที่นำสัญญานข้อมูลจะประกอบด้วยสายส่งตั้งแต่ 1 สายขึ้นไป ทำให้เกิด ช่องทางการสื่อสารได้มากว่า 1 ช่องทาง จึงทำให้เรามีวิธีการส่งข้อมูล ลงไปในสารสื่อสาร 2 รูปแบบ คือ การส่งผ่านข้อมูลแบบขนาน และ การส่งผ่านข้อมูลแบบอนุกรม
Transmission Mode • การส่งข้อมูลแบบขนาน (Parallel Transmission) เป็นการส่งข้อมูล ทีละหลาย ๆ บิทพร้อมกัน การส่งผ่านในลักษณะนี้ทุกบิทที่เข้ารหัส แทนหนึ่งตัวอักษร จะถูกส่งไปตามสายขนานกันไป ดังนั้นทุกบิท จะถึงผู้รับพร้อม ๆ กัน และจำนวนสายส่งจะต้องมีอย่างน้อยเท่ากับจำนวนบิทที่เข้ารหัสแทนตัวอักษร ในแต่ละระบบการส่งผ่านแบบนี้ มักจะใช้กับการส่งผ่านระบบใกล้ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น อัตราการส่งข้อมูลแบบนี้จะมีความเร็วสูง
ภาพการส่งข้อมูลแบบคู่ขนานภาพการส่งข้อมูลแบบคู่ขนาน RECEIVER SENDER bit 0 bit 1 .. . . bit 6 bit 7
Transmission Mode • การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission) เป็นการส่งข้อมูล ทีละบิท ทุกบิทที่เข้ารหัสแทนหนึ่งตัวอักษรจะถูกส่งผ่านไปตามสายส่งแบบเรียงลำดับที่ละบิทในสายส่งเพียงสายเดียว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องสายส่งสัญญาน จึงนิยมใช้กันมากในการส่งข้อมูลระยะไกล ถึงแม้อัตราการส่งจะช้ากว่าการส่งแบบขนาน • การส่งข้อมูลแบบอนุกรมจำเป็นต้องมีวิธีควบคุมการส่ง เพื่อให้เครื่องรับ/ผู้รับ ทราบได้ว่าจะแบ่งตัวอักษรตัวที่ 1 และตัวที่ 2 ตรงบิทใด วิธีการควบคุมดังกล่าวมี 2 วิธี คือ แบบซิงโครนัส และแบบอะซิงโคนัส
ภาพการส่งข้อมูลแบบอนุกรมSERIAL TRANSMISSION
การควบคุมการส่งแบบอนุกรมการควบคุมการส่งแบบอนุกรม • การซิงโครนัส (Synchronous) เป็นลักษณะการส่งสัญญานที่มีจังหวะเวลาของสัญญานนาฬิกาควบคุมนั่นคือ จะต้องให้สัญญาณนาฬิกา (colck) ที่จุดปลายทั้งสองคือผู้ส่งและ ผู้รับ ที่จุดผู้ส่งสัญญานาฬิกาจะเป็นตัวคอยบอกผู้ส่งว่าให้ถ่ายเทข้อมูลเป็นบิทลงสายส่งด้วยความถี่เท่าไร ที่จุดผู้รับสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวบอกว่าจะต้องมีข้อมูลที่เป็นบิทเข้ามาตามสายส่งด้วยความถี่เท่าไร วิธีนี้จะเหมาะกับระบบที่มีการส่งข้อมูลตลอดเวลา
การควบคุมการส่งแบบอนุกรมการควบคุมการส่งแบบอนุกรม • การอะซิงโครนัส (Asynchronous) เป็นลักษณะการส่งที่ส่งที่ละตัวอักษร โดยเพิ่มบิทพิเศษเปิดหัวและท้ายกลุ่มบิทที่ใช้แทนตัวอักษรนั้น เรียกบิทที่นำหน้ากลุ่มว่า Start bit บิทที่ปิดท้ายว่า Stop bit ในการส่งจะส่งตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งไปทันทีทันใด จะเป็นเวลาใดก็ได้ ในระบบนี้ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีการกำหนดจำนวนบิทที่ใช้เป็น Start bit, Stop bit และจำนวนบิทที่ใช้แทนหนึ่งตัวอักษร
Communication Speed อัตราความเร็วในการส่งผ่าน มี 2 ชนิด คือ 1) อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Data Transfer Rate) 2) อัตราความเร็วในการส่งสัญญาน (Data Signaling Rate)
อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล อัตราส่วนที่แสดงถึงปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านไปได้ในหนึ่งหน่วยเวลา เช่น อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลเป็น 1,200 บิทต่อวินาที (BPS : Bits Per Second)หมายความว่าในช่วงเวลา 1 วินาที มีข้อมูลส่งผ่านออกไปทั้งสิ้น 1,200 บิท
อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณ • อัตราส่วนที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสัญญานที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลา • โดยทั่วไปแล้วหน่วยของของเวลาที่ใช้ คือ วินาที • Baud rate หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณใน 1 วินาที ก็คืออัตราความเร็วของการส่งสัญญาณ • baud rate เป็น 600 หมายความว่าในช่วงเวลา 1 วินาที มีการเปลี่ยนแปลงของสัญญานที่ส่งไปตามสายเกิดขึ้น 600 ครั้ง • ในบางครั้งอัตราความเร็วในการส่งสัญญาณนี้ก็ใช้หน่วยเป็น BPS
Communication Speed • เพราะถือว่าสัญญานที่ส่งออกนั้น แทนข้อมูลในหน่วยบิทนั่งเอง เช่น baud rate เป็น 600 อัตราส่วนในการส่งข้อมูลจะเป็น 600 BPS ถ้าการเปลี่ยนแปลงของสัญญาน 1 ครั้ง แทนข้อมูล 1 บิท การเปลี่ยนแปลงสัญญาน 1 ครั้ง อาจจะแทนข้อมูลมากกว่า 1 บิท ก็ได้ เช่น กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงสัญญาน 1 ครั้ง แทนข้อมูล 2 บิท ถ้า baud rate เป็น 1,200 แสดงว่าระบบนี้มีอัตราส่งข้อมูลเป็น 2,400 BPS
Communication Carrier • ความเร็วของสื่อสารระบบหนึ่ง ๆ (โดยทั่วไปจะใช้อัตราความเร็วในการส่งสัญญานที่มีหน่วยเป็น BPS) จะแตกต่างกันเนื่องจากคุณสมบัติบางอย่างของระบบ เช่น ชนิดของ สายส่งเป็นต้น เปรียบเทียบความเร็วของการส่งสัญญานกับสายส่ง ชนิดต่าง ๆ
Communication Carrier ชนิดของสายส่งตัวอย่างลักษณะทั่วไป ความเร็ว 1. Narrow band Teletype ราคาถูก, ช้า 150 2. Base band Telephone นิยมใช้ทั่วไป 1,200 - 19,200 (Voice-grade) มีสัญญาณรบกวนบ้าง 3. Broad band Leased line ราคาแพง 20,000 - 300,000 Microwave มีสัญญาณรบกวนน้อย Satellite ส่งได้เร็ว Fiber optics
Communication Carrier • เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการนำพาข่าวสาร ได้แก่ • สายโคแอกเซียล (Coaxial Cables) เป็นสายไฟที่ถูกออกแบบมาพิเศษสำหรับเป็นสื่อนำข้อมูลที่มีความเร็วสูงถูกรบกวนด้วยสัญญาณภายนอกได้น้อย นิยมใช้กับการติดต่อสื่อสารที่อยู่ไม่ไกลนัก • ไมโครเวฟ (Microwave)สัญญาณที่ส่งผ่านจะอยู่ในรูปของสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic radiation) ซึ่งมีความถี่สูง นิยมใช้กับการสื่อสารระยะไกล
Communication Carrier ดาวเทียม (Satellite) ใยแก้ว (Optical Fibers) เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลชนิดใหม่ มีลักษณะคล้ายท่อแก้วเล็ก ๆ สัญญาณข้อมูลที่นำมาเป็นสัญญาณแสง ดังนั้นในการส่งข้อมูลจะมีการผสมสัญญานข้อมูลเข้ากับสัญญาณแสงส่งไปตามสาย สัญญาณแสงจะเดินทางผ่านไปในท่อแก้วนี้ โดยการสะท้อนไปตามผนังของท่อแก้ว สายชนิดนี้สามารถส่งข้อมูลด้วย ความเร็วสูง สัญญาณรบกวนได้น้อย
ปลอกหุ้ม แก้วหุ้ม ปลอกหุ้ม แก้วหุ้ม แกนนำแสง ลำแสง แกนนำแสง ใยแก้ว (Optical Fibers)
เครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสื่อสารเครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสื่อสาร • ระบบงานหนึ่ง ๆ อาจมีการใช้การสื่อสารหลาย ๆ แบบ ในการส่งข้อมูลระยะใกล้สามารถส่งไปตามสายปกติได้ การส่งข้อมูลตามสายโดย ทั่วไปนั้น จะอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล สัญญาณประเภทนี้ถ้าส่งไประยะไกล ๆ อาจจะมีการสูญหาย หรือ การผิดเพี้ยนของสัญญาณเกิดขึ้นได้ เพื่อให้การส่งระยะไกลมีประสิทธิภาพ จึงได้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษเพิ่มเข้ามาในระบบ
MODEM(Modulation and Demdulation) • การส่งข้อมูลระยะไกลนิยมส่งในรูปของสัญญานอนาลอก ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาน จากสัญญาณดิจิตอลไปเป็นสัญญานอนาลอก แล้วผสมสัญญานที่ได้เข้ากับสัญญานมาตรฐาน<อยู่ในรูปของ SINE wave เรียกสัญญานมาตรฐานนี้ว่า สัญญานพาห์ (Carrier signal)> เรียกขบวนการดังกล่าวว่า Modulation สัญญาน ผสมที่ได้ (สัญญานข้อมูล + สัญญานพาห์) จะถูกส่งไปตามสายสื่อสารเมื่อปลายทาง
MODEM(Modulation and Demodulation) • ที่สถานีรับได้รับสัญญาณนั้นแล้ว ก็จะทำการแยกสัญญานออกจากสัญญานพาห์ แล้วแปลงสัญญานข้อมูลที่แยกได้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เรียกขบวนการนี้ว่า Demodulation อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ Modulation และ Demodulation เรียกว่า MODEM หรือ Data Set
เครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสื่อสารเครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสื่อสาร • Multiplexer : อุปกรณ์ที่ควบคุมการส่งข้อมูลผ่านสายสื่อสาร (Communication Link) โดยการแบ่งช่องการสื่อสาร (Communication Channel) ด้วยจำนวนจุดที่ทำการส่ง/รับสัญญานออกเป็นช่องการสื่อสารย่อย ๆ (Subchannel) นั่นคือฝ่ายรับ Multiplexer จะทำหน้าที่รวมสัญญานที่เข้ามาจากหลายจุด แล้วส่งผ่านสัญญาณนั้นไปตามช่องการสื่อสารเดียวกัน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่จำเป็นต้องใช้ MODEM นอกจากนี้ Multiplexer ที่อยู่ ณ ฝ่ายรับจะทำหน้าที่เป็น Message Switching คือทำการแยกข้อมูลที่รวมกันมาในช่องการสื่อสารเดียวกัน ส่งต่อแก่ผู้รับของข้อมูลแต่ละส่วน
การผสมสัญญานข้อมูลกับสัญญานพาห์การผสมสัญญานข้อมูลกับสัญญานพาห์ • ในการผสมสัญญาข้อมูลเข้ากับสัญญานพาห์นั้น อาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของคลื่นพาห์ ทำให้มีเทคนิคที่ใช้ในการทำ modulation 3 เทคนิค คือ • Amplitude Modulation (AM) • Frequency Modulation (FM) • Phase Modulation (PM)
การผสมสัญญานข้อมูลกับสัญญาณพาห์การผสมสัญญานข้อมูลกับสัญญาณพาห์ • Amplitude Modulation แอมปลิจูดของสัญญาณพาห์จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าของสัญญาน ข้อมูลโดยคุณสมบัติอื่น ๆ ของสัญญาณพาห์คงที่
การผสมสัญญาณข้อมูลกับสัญญานพาห์การผสมสัญญาณข้อมูลกับสัญญานพาห์ • Frequency Modulation ความถี่ของสัญญาณพาห์จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าของสัญญานข้อมูลโดยคุณสมบัติอื่น ๆ ของสัญญาณพาห์คงที่
การผสมสัญญานข้อมูลกับสัญญานพาห์การผสมสัญญานข้อมูลกับสัญญานพาห์ • Phase Modulation มุมเฟสของสัญญานพาห์จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าของสัญญานข้อมูลโดยคุณสมบัติอื่น ๆ ของสัญญาณพาห์คงที่
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่าย • เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปเชื่อมโยงกัน และมีการแลกเปลี่ยนข่ายสารซึ่งกันและกัน โดยคอมพิวเตอร์เหล่านั้นต้องเป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ คือเครื่องใดเครื่องหนึ่งที่ต่อถึงกันจะไม่สามารถควบคุมหรือสั่งการอีกเครื่องหนึ่งได้ การเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์นั้นมีได้หลายรูปแบบ เรียกรูปแบบหรือลักษณะของการเชื่อมโยงของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายว่า Network Topology
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่าย • แต่ละรูปแบบของการเชื่อมโยงจะมีวิธีการควบคุมการส่งเครือข่ายเรียกว่า Network Topology แต่ละรูปแบบของการเชื่อมโยงจะมีวิธีการควบคุมการส่งข่าวสารที่แตกต่างกัน • จึงจำเป็นต้องมี กฎ ระเบียบ หรือข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการส่งข่าวสาร/ข้อมูล เรียก กฎ ระเบียบ หรือข้อตกลงเหล่านี้ว่า Protocols
Network Topology • Network Topology คือรูปแบบของการเชื่อมโยงมีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะกล่าวถึงบางรูปแบบเท่านั้น ดังนี้ • Star Network การเชื่อมโยงแบบดาว ในการเชื่อมโยงแบบนี้คอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย การเชื่อมโยงแบบนี้จะมีข้อเสียคือ ถ้าคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางขัดข้องจะทำให้การติดต่อสื่อสารภายในระบบหยุดชะงัก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่าย • Loop Network • การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับเครื่องที่อยู่ติดกันทั้งสองด้านโดยตรงจะไม่มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดลักษณะการวนรอบ ผลจากการเชื่อมแบบนี้ทำให้แต่ละ node ในเครือข่ายมีช่องการสื่อสารเพิ่มเป็น 2 ทาง การติดต่อระหว่าง node คู่หนึ่งอาจจะต้องผ่าน node อื่น ๆ เมื่อมี node ใด node หนึ่งเสีย จะมีผลกระทบกับการสื่อสารระหว่าง node นั้นเท่านั้น ไม่ทำให้การสื่อสารของระบบหยุดชะงัก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการประมวลผลผ่านเครือข่าย • Plex Network เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์ ทุก node จะสามารถติดต่อกับ node อื่น ๆ ได้โดยตรง การเชื่อมแบบนี้จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง • Bus Network การจัดแบบนี้ทุก node จะใช้ช่องการสื่อสารรวมกัน ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารจึงต้องมีกลไกควบคุมให้แต่ละ node ส่งผ่านข้อมูลไม่พร้อมกัน การเชื่อมต่อแบบนี้มีข้อดีคือ การขยายระบบจะทำได้ง่าย
PLEX NETWORK BUS NETWORK
การประมวลผลผ่านเครือข่ายการประมวลผลผ่านเครือข่าย • จากรูปแบบการเชื่อมโยงของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ทำให้การประมวบผลในเครือข่ายมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สามารถจำแนกการประมวลผลได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้
การประมวลผลผ่านเครือข่ายการประมวลผลผ่านเครือข่าย Centralized Processing : เป็นระบบที่การประมวลผลทุกอย่าง เกิดขึ้นที่ศูนย์กลาง (สำนักงานใหญ่) สาขามีหน้าที่เพียงป้อนข้อมูลเข้าหรือ นำข้อมูลจากศูนย์กลาง เท่านั้น Decentralized Processing : เป็นระบบที่แต่ละจุดจะมีการประมวลผลและฐานข้อมูลของตนเอง การติดต่อสื่อสารกับจุดต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเมื่อมีต้องการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน