240 likes | 488 Views
การใช้สารเสริมการเจริญเติบโตจากผลิตภัณฑ์ผึ้งเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิอินทรีย์ Utilization of plant growth promoter from bee products for increasing organic jasmine rice yields. กร สุข เกษม 1 สมชัย อนุ สนธิ์ พรเพิ่ม 2 และพิชัย ทองดี เลิศ 2
E N D
การใช้สารเสริมการเจริญเติบโตจากผลิตภัณฑ์ผึ้งเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิอินทรีย์Utilization of plant growth promoter from bee products for increasing organic jasmine rice yields กร สุขเกษม1 สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม2 และพิชัย ทองดีเลิศ2 GonSukkasem1SomchaiAnusontpornperm and PichaiThongdeelert2 โครงการเกษตรเขตร้อน (ภาคพิเศษ) คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ 10900 1 Tropical Agricultural Program, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok 10900, Thailand ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ 10900 2Department of Home Economic, Faculty of Agriculture, KasetsartUniversity, Bangkok 10900, Thailand
ข้าวขาวดอกมะลิ 105 KDML 105 หรือ ข้าวหอมมะลิ เมล็ดสวย กลิ่นหอม อ่อนนุ่ม พื้นที่ปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุ่งกุลาร้องให้ แหล่งข้าวคุณภาพดี
ข้าวหอมมะลิ เป็นที่ต้องการของตลาดโลก ส่งออกมากกว่า 2 ล้านตัน/ปี ราคา 1,115 ดอลลาร์/ตัน ข้าวหอมมะลิที่ผลิตในระบบอินทรีย์ มีราคาสูงกว่าตลาด 20-50% (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2555)
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปริมาณและมูลค่าการส่งออก 196,117 ล้านบาท สำนักเศรษฐกิจการเกษตร (2555)
ข้าวอินทรีย์ Organic Rice การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic farming) หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนการผลิตและระหว่างการรักษาผลผลิต หากจำเป็นให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคน หรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิตในดินและน้ำ มาตรฐานรับรอง มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) มาตรฐานที่กำหนดโดย FAO/WHO สมาชิกสมาพันธ์การเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (International Federation of Organic Agriculture Movement: IFOAM)
พื้นที่ 2.1 ล้านไร่ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดี - ความอุดมสมบูรณ์ในดินต่ำ - ผลิตน้อย (300-500 กิโลกรัม/ไร่) ความหอมสัมพันธ์กับชุดดิน ดินร้อยเอ็ด กุลาร้องไห้ ท่าตูม นครพนม แหล่งผลิตนี้ให้ความหอมมากกว่า
หลักการผลิตข้าวอินทรีย์หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีการเกษตรทุกชนิด ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนอีกด้วย เป็นการผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูงในด้านเศรษฐศาสตร์สังคม สิ่งแวดล้อม มูลค่าการตลาด และผลกำไรกว่าการผลิตข้าวแบบใช้สารเคมีสังเคราะห์
การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปลูกข้าวอินทรีย์การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปลูกข้าวอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ/รับรองมาตรฐาน ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก อินทรีย์วัตถุทดแทน
ปุ๋ยอินทรีย์ ปัจจัยสำคัญของการผลิตข้าวอินทรีย์ เพิ่มผลผลิตข้าวในระบบอินทรีย์ ผลผลิตข้าว >500 กิโลกรัม/ไร่ ไม่คุ้มกับรายจ่าย (ค่าปุ๋ย, แรงงาน)
ข้อด้อยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ลำต้นอ่อนล้มง่าย
? • การเสริมศักยภาพปุ๋ยอินทรีย์ • กระตุ้นการตอบสนองต่อปุ๋ย การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ในแหล่งปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (พื้นที่ปลูกจังหวัดอุบลราชธานี)
วัตถุประสงค์ 1) ศึกษาผลของสารเสริมเจริญเติบโตจากผลิตภัณฑ์ผึ้งต่อผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาผลตอบแทนและการยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิจากการใช้สารเสริมการเจริญเติบโตจากผลิตภัณฑ์ผึ้งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
5 อำเภอ 25 ราย/อำเภอ พื้นที่ศึกษา
วิธีการศึกษา แปลงทดลองขนาดเล็ก วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Completely Block Design) ขนาด 4x6 ตร.ม./plot 2. แปลงปลูกของเกษตรกร ขนาด 1 ไร่ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ
การศึกษาในแปลงขนาดเล็ก 4x6 m/plot ใน RCBD จำนวน 8 สิ่งทดลองๆละ 4 ซ้ำ แบบปักดำ ฤดูนาปี 2555 สิ่งทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) สิ่งทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 500 ก.ก./ไร่ สิ่งทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด อัตรา 100 ก.ก./ไร่ สิ่งทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 500 ก.ก./ไร่ และพ่นสารเสริมการเจริญเติบโต ทุกๆ 15 วัน สิ่งทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด อัตรา 50 ก.ก./ไร่ และพ่นสารเสริมการเจริญ เติบโตทุกๆ 15 วัน สิ่งทดลองที่ 6 พ่นสารเสริมการเจริญเติบโตทุกๆ 15 วัน สิ่งทดลองที่ 7 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 50 ก.ก./ไร่ สิ่งทดลองที่ 8 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 50 ก.ก./ไร่ และพ่นสารเสริมการ เจริญเติบโต
การเก็บข้อมูล 1. องค์ประกอบการเจริญเติบโต (ความสูง, ความเข้มสีใบ) 2. ผลผลิตต่อแปลง ขนาด 2x4 ตร.ม. 3. ผลผลิตต่อ 1 ไร่ ของแปลงปลูกเกษตรกร
ความเข้มสีใบของข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการใช้สารเสริมการเจริญเติบโตร่วมกับปุ๋ยต่างๆ
(ซม.) ความสูงต้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการใช้สารเสริมการเจริญเติบโตร่วมกับปุ๋ยต่างๆ
กก./ไร่ ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการใช้สารเสริมการเจริญเติบโตร่วมกับปุ๋ยต่างๆ
กก./ไร่ ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่เกษตรกรใช้สารเสริมการเจริญเติบโตเปรียบกับนาอินทรีย์
สรุปผลการทดลอง สารเสริมการเจริญเติบโตเมื่อใช้ร่วมปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยคอกทำให้ความสูงของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่สุ่มวัดจำนวน 10 ต้น/plot ไม่แตกต่างกับการใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กับแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีหรืออินทรีย์อย่างเดียว ความเข้มของสีใบข้าวทุกแหล่งการปลูกแสดงไปในทิศทางเดียวกัน คือ สีใบข้าวมีระดับความเข้มสีสูงขึ้นหลังจากที่มีการใส่ปุ๋ย ถ้ามีค่ามากกว่า 3 แสดงว่า ไนโตรเจนที่อยู่ในปุ๋ยเพียงพอต่อความต้องการของพืช
สรุปผลการทดลอง ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่จากแปลงทดลองขนาด 4x6 ตร.ม. มากสุดในแปลงที่ใช้สารเสริมการเจริญเติบโตร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ซึ่งเพิ่มสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ประมาณ 7% และการใช้สารเสริมการเจริญเติบโตร่วมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ดก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การใช้สารเสริมการเจริญเติบโตร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรทุกพื้นที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่จากการผลิตแบบการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ประมาณ 340 กิโลกรัม/ไร่ ได้สูงขึ้นประมาณ 487 กิโลกรัม/ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.3