130 likes | 262 Views
ปปัจธรรม 3กับการกระทำของวัยรุ่น. จัดทำโดย... เด็กหญิง ปาริชาติ บุตะเคียน ม.3/1 เลขที่ 13 เสนอ... อาจารย์ ทัศนีย์ ไชยเจริญ. ปปัจธรรม 3.
E N D
ปปัจธรรม 3กับการกระทำของวัยรุ่น • จัดทำโดย... • เด็กหญิง ปาริชาติ บุตะเคียน ม.3/1 เลขที่ 13 • เสนอ... • อาจารย์ ทัศนีย์ ไชยเจริญ
ปปัจธรรม 3 • ปปัจธรรม อันเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้คิด ปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ และเปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง กิเลส 3 ประการนี้
1.มานะ • มานะ คือความถือตัวว่าเรารู้ดีแล้ว เราเก่งแล้ว หรือผู้แสดงธรรมท่านอื่นก็รู้พอๆ กันกับเรา หรือเรามันโง่เขลาเบาปัญญาไม่มีทางที่จะเรียนรู้ธรรมได้เลย
2. ทิฏฐิ • ทิฏฐิคือการมีความเชื่อมั่นหรือปักใจเชื่อในแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีอยู่เดิม คิดว่าแนวทางของเราที่ทำอยู่นี้เท่านั้นถูกต้อง แนวทางอื่นๆ ไม่ถูกต้อง ความรู้สึกอย่างนี้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างมาก พอได้ฟังสิ่งใดที่ขัดแย้งหรือแตกต่างจากความเชื่อเดิมก็เกิดโทสะเสียแล้ว ทำให้การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ของตนเองทำไม่ได้ หรือพอได้รับฟังสิ่งใหม่ๆ ก็คิดเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมอยู่ตลอดเวลา ทำให้ขาดความตั้งใจมั่นที่จะศึกษาสิ่งใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้เองพวกเราจึงควรทำตนให้เป็นเสมือน ถ้วยชาที่ว่างเปล่าเสียก่อน จึงจะเข้าใจในสิ่งที่ ผู้เขียนจะกล่าวต่อไปนี้ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเข้าใจแล้วจะไม่เชื่อถือก็ไม่ว่ากัน อย่าเพิ่งปฏิเสธทั้งที่ยังไม่เข้าใจก็ขอบคุณมากแล้ว
3.ตัณหา • ตัณหา คือความอยาก ในที่นี้หมายถึงความอยากที่จะปฏิบัติธรรม และความอยากที่จะบรรลุธรรม เมื่อมีความอยากก็เกิดการกระทำตาม อำนาจของความอยากต่างๆ นานา ตรงกับคำสอน ของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ" คือสร้างความปรุงแต่งหรือการงานทางใจที่เรียกว่า "กรรมภพ' ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อละอกุศล และการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อเจริญกุศล เช่นการพยายามทำสติ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติให้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าถ้ามีความเพียรปฏิบัติและสร้างความปรุงแต่งฝ่ายกุศลให้เต็มที่แล้ว จะรู้ธรรมได้ในที่สุด
แท้จริงการมีความเพียรชอบนั้น ไม่ใช่เพียรโดยเอากำลังเข้าหักหาญกับกิเลสหรือพยายามบังคับให้กุศลเกิดขึ้น เพราะธรรมทั้งปวงทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลต่างก็เป็นอนัตตาคือไม่อยู่ในอำนาจ บังคับของใคร ความเพียรเช่นนั้นจึงไม่ใช่สัมมาวายามะหรือความเพียรชอบ เพราะยังประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ว่าเราจะละอกุศลและทำให้ธรรมฝ่ายกุศลเกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา แต่เป็น มิจฉาวายามะอันมีตัณหาอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติธรรมและมีความหลงผิดเป็นเครื่องชี้นำ ส่วนความเพียรชอบนั้นเพียงมีสติก็เกิดความเพียรชอบแล้ว คือทันทีที่สัมมาสติเกิดขึ้น อกุศลก็เป็นอันถูกละ ไปแล้ว และกุศลก็เริ่มเจริญขึ้นแล้ว สมดังที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านสอนว่า "เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร" ดังนั้นแม้จะพยายามเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน ถ้าไม่มีสติก็ยังไม่ได้ชื่อว่าทำความเพียรชอบ
สื่อกับวัยรุ่น • วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มสนใจ ศึกษา ค้นหา ทดลองสิ่งใหม่ ที่ตนพอใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศตรงข้าม , แฟชั่นต่างๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าวัยรุ่นได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยุก็จะมีแนวโน้มที่จะสนองตอบต่อความต้องการของตนได้ง่าย และเกิดพฤติกรรมเลียนแบบต่างๆ ตามค่านิยมของสังคม ปัจจุบันว่ามีภัยที่เกิดขึ้นจากสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น วัยรุ่นหลายๆ คนเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเรื่องเกมส์ออนไลน์การแต่งกายตามแฟชั่นที่ล่อแหลม , การติดตอเพศตรงข้ามผ่านอินเตอร์เน็ต หรือสาวๆหลายคนกลายเป็นสินค้าหน้าจอโดยไม่รู้ตัว
โฆษณากับวัยรุ่น • สิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้จากโทรทัศน์ • ความรุนแรง มีการศึกษาวิจัยที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการดูทีวีที่มีเนื้อหาความรุนแรงกับพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก การดูความรุนแรงในโทรทัศน์จะทำให้เด็กเกิดการต่อต้านความกลัว ความกังวล เก็บกด ฝันร้าย นอนไม่หลับ และมีอาการผิดปกติจากความเครียด
เซ็กส์ โทรทัศน์ฉายภาพพฤตกรรมรักสนุกในเซ็กส์ของผู้ใหญ่ให้เด็กได้เรียนรู้ แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยง หรือผลที่ตามมาหลังจากมีเพศสัมพันธ์สิ่งเสพติด ในทีวีมักฉายภาพดารานักร้องนักแสดงที่มีพฤติกรรมการเสพสิ่งเสพติด เช่น ดื่มเหล้ายามสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรือยามอกหัก ซึ่งเด็กๆจะซึมซับและเลียบแบบ เมื่อตนเองตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นโฆษณา ในระหว่างการดูโทรทัศน์ พบว่าคลื่นสมองจะเป็นอัลฟ่า หมายถึงเป็นช่วงเวลาที่สมองทำงานในด้านการรับรู้ การนิ่งเฉย ไม่ได้ใช้ความคิดเลย สมองจะปิดรับข้อมูล ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นความต้องการของธุรกิจโฆษณาผลิตภัณฑ์ชั้นนำ 100 อันดับแรกเท่านั้น จากบริษัทที่มีอยู่ทั้งหมด 450,000 บริษัท หมายความว่า มีธุรกิจชั้นนำเพียง 100 แห่งเท่านั้นที่ตัดสินใจว่าเราควรดูอะไร
เกมส์กับวัยรุ่น • การครอบงำของเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์ไม่หยุดไม่เพียงแค่นั้นแต่ยังแพร่กระจายเข้ามาสู่การใช้เวลาว่างของเด็กอีกด้วย ทั้งนี้เพราะผลพวงของเทคโนโลยีทางการผลิตได้ก่อให้เกิดสินค้าเพื่อความบันเทิงอย่างเกมออนไลน์ เด็กมีความคุ้นเคยอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์ หรือเกมคอนโซลที่เป็นสินค้าบันเทิงอยู่แล้ว จึงไม่เป็นเรื่องยากที่เด็กจะรับเกมออนไลน์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในช่วงเวลาว่าง อีกทั้งตัวผู้ปกครองเองก็ไม่ได้คัดค้านหรือไม่สามารถหากิจกรรมใดๆ เพื่อมาทดแทนการเล่นเกมออนไลน์ของเด็กเพราะมองว่าเป็นสิ่งบันเทิงที่ให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียด หรือแม้แต่ช่วยฝึกทักษะให้กับเด็ก
อินเตอร์เน็ตกับวัยรุ่นอินเตอร์เน็ตกับวัยรุ่น • ในการติต่อสื่อสารที่ไม่ค่อยจะเหมาะสมและน่าเป็นห่วงมาก โดยช่องทาง อี-เมลล์ hi5 face book twitter QQ และ MSN (chat)กับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จัก การหาคู่และนัดเจอกัน โดยเฉพาะวัยรุ่นผู้หญิง ซึ่งมีความเสี่ยงในการถูกล่อลวงจากมิชฉาชีพที่แฝงมากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ไม่หวังดีใช้เป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง อีกหนึ่งปัญหาที่น่าเป็นห่วง คือ การเล่นเกมส์ออนไลน์ ถึงขั้นเสพติดของเด็กหลายคน จนไม่ทำสิ่งอื่นเลย ทำให้เด็กเหล่านี้มีความอยากเลียนแบบในเกมส์ที่ตนเล่น จนอาจเกิดการกระทำที่รุนแรงได้ และเป็นปัญหาที่ยังหาทางแก้ไขแลละป้องกันที่ดีไม่ได้
คำคม • คนทําดีไม่จําเป็นต้องให้ใครเห็น • แต่มันอยู่ที่ใจเราต่างหากที่เห็นมัน • คนเจริญชอบที่จะปีนขึ้นไปหาสิ่งที่อยู่สูงกว่าเพื่อเทียบเท่า ไม่ใช่ดึงสิ่งที่สูงกว่าลงมาเพื่อให้เท่ากับตัวเอง
ที่มา • http://board.palungjit.com • http://report.thaihotline.org • http://www.oknation.net