1 / 127

คำนำ

คำนำ.

hollis
Download Presentation

คำนำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คำนำ • ผู้ที่มีหน้าที่จัดหาพัสดุและผู้ที่มีหน้าที่บริหารงานพัสดุจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 จนถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2545 จนสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และยังต้องมีความรอบรู้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานขอรัฐ พ.ศ. 2542 และระเบียบคณะกรรมการตรวจการเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544 ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยจะต้องดำเนินการจัดหาพัสดุแบบเปิดเผยโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม มีความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐาน ก่อนดำเนินการจัดหาพัสดุทุกครั้ง ต้องศึกษากฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ก่อนที่จะดำเนินการจัดหาพัสดุ โดยเฉพาะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

  2. คำนำ (ต่อ) • งานพัสดุ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนมจึงได้ปรับปรุงจากเอกสารระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุของงานคลังและพัสดุ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (e-Auction) หวังว่าเอกสารเล่มนี้จะอำนวยความสะดวกและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุตลอดจนผู้ที่สนใจงานพัสดุทั่วไป • นายชาลี ธรรมโสภณ • ผู้อำนวยการกลองกลาง สำนักงานอธิการบดี • มหาวิทยาลัยนครพนม • 31 มีนาคม 2552

  3. ภาคที่ 1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม * แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 ** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 *** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 **** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ***** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545

  4. ระเบียบฯ พัสดุ 4 หมวด นิยาม ข้อ 5 การใช้บังคับ ข้อ 6 8 และกรรมการมอบอำนาจ ข้อ 9 หมวด 1 ข้อความทั่วไปมี 4 ส่วน บทกำหนดโทษ ข้อ 10 คณะกรรมการว่าด้วย ข้อ 11 12 การพัสดุ (กวพ.)

  5. บททั่วไป ข้อ 13 15 ข้อ 16 73 การซื้อการจ้าง การจ้างที่ปรึกษา ข้อ 74 94 การจ้างออกแบบ ข้อ 95 122 หมวด 2 การจัดหามี 8 ส่วน และควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน ข้อ 123 127 การเช่า ข้อ 128 131 สัญญาและ ข้อ 132 144 หลักประกัน การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ 145

  6. การยืม ข้อ 146 150 หมวด 3 การควบคุมและ การจัดจำหน่าย พัสดุ มี 3 ส่วน การควบคุม ข้อ 151 156 การจำหน่าย ข้อ 157 161 หมวด 4 บทเฉพาะกาล ข้อ 162 165

  7. แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ตามระเบียบ e-Auction พ.ศ.2549) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย

  8. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2545 ข้อกำหนดรวมทั้งสิ้น 165 ข้อ แบ่งเป็น 4 หมวดคือ

  9. หมวด 1 ข้อความทั่วไปมี 4 ส่วน รวม 8 ข้อ ส่วนที่ 1 นิยาม รวม 1 ข้อ ข้อ 5 คำนิยาม คำนิยามในระเบียบนี้มีดังต่อไปนี้ “ พัสดุ ” วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนก ประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณ “ การซื้อ ” การซื้อพัสดุทุกชนิด ทั้งที่มีการติดตั้งทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะ การจ้าง

  10. “ การจ้าง ” การจ้างทำของ และการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และการจ้าง เหมาบริการแต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้าง ของส่วนราชการตามระเบียบของกระทรวงการคลังการรับขนการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “ พัสดุที่ผลิตในประเทศ ” ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว โดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย

  11. “ กิจการของคนไทย ” กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลสัญชาติไทย ที่ปรึกษา บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ หรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรมเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านศึกษาสำรวจ ออกแบบและควบคุมงาน และการวิจัยแต่ไม่รวมถึง “การให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ ที่ปรึกษาไทย ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง

  12. “ หัวหน้าส่วนราชการ ” สำหรับส่วนกลาง คือ อธิบดีหรืออธิการบดี สำหรับส่วนภูมิภาคคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด “ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ” หัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้เป็นหัวหน้า เจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี “ เจ้าหน้าที่พัสดุ ” เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุหรือผู้ได้รับการแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดตามระเบียบนี้

  13. “ ผู้อำนวยการโครงการ ” ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุตามโครงการเงินกู้หรือโครงการเงินช่วยเหลือ **** “ โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ” โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก.9001 หรือ มอก.9002 ในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือหน่วยงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การรับรองระบบงาน (accreditation)

  14. *** “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขายในการซื้อพัสดุ หรือเข้าเสนอราคาเพื่อรับจ้างทำพัสดุ หรือเข้าเสนองานเพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงาน ให้แก่ส่วนราชการเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในคราวเดียวกัน ได้แก่ การที่บุคคลหรือนิติบุคคลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้

  15. แล้วไป (1) ความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร - ไม่เป็นผู้บริหารชุดเดียวกัน มีอำนาจในการบริหารจัดการอีกกิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ ผู้จัดการ ๐ หุ้นส่วนผู้จัดการ ๐ กรรมการจัดการ ๐ ผู้บริหาร ๐ ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน

  16. แล้วไป (2) ความสัมพันธ์ในเชิงทุน - ดูหุ้น เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ ๐ หุ้นส่วนไม่จำกัด ความรับผิดชอบใน หจก. ๐ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก. หรือ บ.มหาชน ( > 25% ของกิจการ) - ในกิจการหนึ่ง เป็น……..อีกรายหนึ่งหรือ หลายราย ๐ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน สามัญ ๐ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับ ผิดใน หจก. ๐ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก.

  17. แล้วไป (3) ความสัมพันธ์ในเชิงไขว้กัน เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ ผู้จัดการ ๐ หุ้นส่วนผู้จัดการ ๐ กรรมการจัดการ ๐ ผู้บริหาร ๐ ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ ๐ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับ ผิดชอบใน หจก. ๐ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก.หรือ บ.มหาชน (> 25% ของกิจการ)

  18. การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ” การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่าง เป็นธรรมในการเสนอราคาไม่ว่าจะกระทำการโดย ๐ สมยอมกัน หรือโดยการให้ หรือรับว่าจะให้ หรือยอมจะรับเงิน หรือ ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใด ๐ ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขมขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ๐ แสดงเอกสารอันเป็นเท็จ หรือ ๐ กระทำการใดโดยทุจริต ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ด้วยกัน หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เสนองาน รายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบส่วนราชการ โดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ

  19. ส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ รวม 4 ข้อ ข้อ 6 การใช้บังคับ ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ โดยใช้เงินงบประมาณเงินกู้และเงินช่วยเหลือ ** ข้อ 9 การมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือ ให้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญเมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไม่ได้ *** “ให้ผู้มอบส่งสำเนาหลักฐาน การมอบอำนาจ ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณีทราบทุกครั้ง”

  20. ส่วนที่ 4 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) รวม 2 ข้อ ข้อ 11 องค์ประกอบของ กวพ. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุเรียกโดยย่อ “กวพ” ข้อ 12 อำนาจหน้าที่ของ กวพ. มีหน้าที่ ดังนี้ (1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ พัสดุ

  21. หมวดที่ 4 การจัดหา มี 8 ส่วน รวม 133 ข้อ ส่วนที่ 1 บททั่วไป รวม 3 ข้อ **ข้อ 13 การวางแผนในการจัดหา หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอนของระเบียบนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันที เมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว

  22. ***ข้อ 15 การจัดทำเอง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเอง และ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงาน โดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียว กับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่ส่วนราชการมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดย เฉพาะอยู่แล้ว *** ข้อ 15 ทวิ หลักการของการจัดหาพัสดุ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหาต้องดำเนินการ โดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่าง เป็นธรรม

  23. ๐ มีข้อมูลครบถ้วน และเพียงพอ ๐ เวลาเผยแพร่เพียงพอ และทั่วถึง ๐ ผ่านสื่อ ๐เกณฑ์ที่ใช้พิจารณา ต้องชัดเจน ๐ รักษาบรรยากาศของการแข่งขันอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม ๐ กำหนดจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่จัดหา ๐ ต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน พร้อม ทั้งต้องระบุเหตุผลในการพิจารณา สั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  24. ข้อ 15 ตรี การตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ตามข้อ 15 ทวิ ให้ผู้เสนองานที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีสิทธิที่จะ เสนอราคาในแต่ละครั้งเพียงรายเดียวเท่านั้น ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่าเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ก่อนเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานแล้วแต่กรณี กรณีที่ใช้วิธีการประกวดราคาแบบ 2 ซอง (ตามข้อ 54) หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก(ตามข้อ 85 และ 86)ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือเสนองาน ก่อนเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน

  25. ข้อ 15 จัตวา การกำหนดเอกสารแสดงคุณสมบัติ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละราย ตามข้อ 15 ตรีวรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ผู้เสนอราคาหรือถ้าผู้เสนองาน ยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหากโดยอย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง ๐ การจดทะเบียนนิติบุคคล ๐ บริคณห์สนธิ ๐ บัญชีรายชื่อ หุ้นส่วนผู้จัดการ ๐ กรรมการผู้จัดการ ๐ ผู้มีอำนาจควบคุม และ ๐ บัญชีรายชื่อ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  26. (2) กรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นสำเนา เอกสารพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง ๐ บัตรประชาชนของผู้นั้น ๐ ข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน ( ถ้ามี) ๐ บัตรประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน (3) กรณีผู้เสนองานเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาเอกสารพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง ๐ สัญญาของการเข้าร่วมค้า ๐ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้า และ ๐ หนังสือเดินทางกรณีผู้ร่วมค้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ ถือสัญชาติไทย หรือ ๐ ผู้ร่วมค้าเป็นนิติบุคคลให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (1)

  27. (4) เอกสารอื่นตามที่ส่วนราชการกำหนด เช่น ๐ หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน ๐ สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ ๐ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ห้ามใส่ซองและให้ยื่นพร้อมกับการยื่นซองสอบราคา ,ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วแต่กรณี สำหรับ กรณีที่กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว ตามข้อ 87(2) ให้ผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตาม วรรคหนึ่ง มาพร้อมกับการยื่นซองดังกล่าวด้วย เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ตามข้อ 15 ตรีวรรคสอง แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก ไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการของส่วนราชการโดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคาอยู่ ณ สถานที่เปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบด้วย

  28. ข้อ 15 เบญจ การตัดรายชื่อผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หากปรากฎว่ามีผู้เสนอราคา หรือเสนองานเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานที่มีผลประโยชน์ร่วมกันทุกรายออก จากการเป็นผู้เสนอราคาในครั้งนั้น พร้อมแจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานทราบโดยพลัน ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อาจอุธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย

  29. ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้ปลัดกระทรวงพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงให้ถือเป็นที่สุด สำหรับการเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น และให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้ กวพ. ทราบด้วย การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน เว้นแต่ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่าการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่งและในกรณีที่ปลัดกระทรวงพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานดังกล่าวได้

  30. ข้อ 15 ฉ การปฏิบัติกรณีพบผู้เสนอราคามีการขัดขวางการแข่งราคาอย่าง เป็นธรรม ก่อนหรือขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หากปรากฏว่า มีผู้เสนอราคา หรือเสนองานกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมต่อ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนหรือในขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหากเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้ตัดผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานทุกราย ให้นำความในข้อ 15 จัตวา วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคาหรือผู้เสนอราคาที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนอราคา ตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ 15 เบญจ มาใช้กับการอุทธรณ์โดยอนุโลม และให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอต่อปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออก ตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงาน

  31. ข้อ 15 สัตต การตัดรายชื่อผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ภายหลังได้รับการคัดเลือกแล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานแล้ว ว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีสิทธิที่ได้รับการคัดเลือกตามที่ประกาศรายชื่อไว้ตามข้อ 15 จัตวา วรรคสามเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมหรือขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวทุกรายออกจากประเทศรายชื่อ ให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอต่อปลัดระทรวงเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงาน

  32. ขั้นตอนการซื้อและการจ้างขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย

  33. ข้อ 27 การรายงานการขอซื้อหรือจ้าง ก่อนดำเนินการขอซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากซื้อที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างให้ เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็น ที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (3)ราคามาตรฐาน หรือ ราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายใน ระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ (4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างโดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงิน ช่วยเหลือ ที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมดถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่า จะซื้อจ้างในครั้งนั้น (5) กำหนดเวลาที่ต้องใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น (7) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศ ประกวดราคา

  34. การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท และการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเร่งด่วน ตามข้อ 23 (2) หรือ ข้อ 24 (3) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงานตามวรรคหนึ่ง เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้

  35. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง เหตุผล - ให้ระบุถึงสาเหตุที่หน่วยงานมีความประสงค์ ที่จะซื้อหรือจ้าง เช่น ยังไม่มีใช้ ยังไม่พอใช้ เสียหรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ความจำเป็น - เพื่อใช้ในหน่วยงานของราชการ หรือใช้ในการเรียนการสอนในวิชา…… (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง 2.1 งานจัดซื้อวัสดุ - ให้ระบุรายการวัสดุและจำนวน ตามรายละเอียดแนบท้าย 2.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์ - ให้ระบุรายการครุภัณฑ์ จำนวนและคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) ของครุภัณฑ์พร้อมลงนามผู้กำหนด Spec 2.3 งานจัดจ้างซ่อมครุภัณฑ์ - ให้ระบุรายการซ่อมครุภัณฑ์ หมายเลขทะเบียนครุภัณฑ์ ตามรายละเอียดแนบท้าย 2.4 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้าง - ให้ระบุรายการ จำนวนสิ่งก่อสร้าง และแบบรูปรายการ พร้อมลายเซ็นผู้รับผิดชอบใน Title Block 2.5 งานจ้างเหมา - ให้ระบุรายการงานที่จะจ้างเหมา จำนวนงานตามรายละเอียดแนบท้าย

  36. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) (3) ราคามาตราฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายใน ระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 3.1 งานจัดซื้อวัสดุ- ให้ระบุราคาที่เคยซื้อวัสดุครั้งสุดท้าย ภายในระยะเวลา 2 ปี งบประมาณ 3.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์- ให้ระบุราคามาตราฐาน ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ หรือราคาเคยซื้อ ครุภัณฑ์ครั้งสุดท้ายภายใน ระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 3.3 งานจัดจ้างซ่อมครุภัณฑ์ - ให้ระบุราคาที่เคยจ้างซ่อมครั้งสุดท้าย ภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 3.4 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้าง - ให้ระบุราคากลางสำหรับสิ่งก่อสร้าง ที่คณะกรรมการราคากลาง ได้ ตรวจ (Bill of Quantity, BOQ)ของผู้ประมาณราคาที่ได้ ประมาณการไว้ 3.5 งานจ้างเหมาบริการ- ให้ระบุราคากลาง

  37. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) (4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง - ให้ระบุวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง (5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ เช่น 5.1 งานจัดซื้อ - ให้กำหนดวันส่งมอบ(ภายใน 5 วันทำการนับตั้งแต่วันถัดจาก วันรับใบสั่งซื้อ) 5.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์ - ให้กำหนดวันส่งมอบ ภายใน…….วัน นับถัดจาก วันลงนามสัญญา 5.3 งานจัดจ้างซ่อมครุภัณฑ์ - ให้กำหนดวันส่งมอบงานจ้างซ่อม ภายใน......วัน นับถัดจากวันรับใบสั่งจ้างซ่อม 5.4 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้าง - ให้กำหนดวันทำการแล้วเสร็จ นับถัดจาก วันที่ลงนามในสัญญา 5.5 งานจ้างเหมาบริการ - ให้เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ลงนามจนถึงวันจ้างทำงานวันสุดท้าย

  38. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) (6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น 6.1 วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง - ให้ระบุวิธีที่จะซื้อจ้าง โดยดูจากวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างแล้ว พิจารณาวิธีซื้อ หรือจ้าง ตามระเบียบข้อ 19 ถึง 26 6.2 เหตุผลที่จะซื้อหรือจ้าง - เป็นการให้เหตุผลในการจัดซื้อหรือจ้าง ตามข้อ 6.1 ตามระเบียบฯ พัสดุ ข้อ 19 ถึง 26 เช่น

  39. ~ วิธีตกลงราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาไม่เกิน 100,000 บาท ~ วิธีสอบราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 100,000 บาท 2,000,000 บาท ~ วิธีประกวดราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 2,000,000 บาท ~ วิธีพิเศษ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 100,000 บาท ~ วิธีกรณีพิเศษ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ไม่กำหนดวงเงิน ~ วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 2,000,000 บาท แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ)

  40. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7) ข้อเสนออื่น ๆ 7.1 เอกสารและ / หรือ แบบรูปรายการ 7.1.1 งานจัดซื้อวัสดุวิธีตกลงราคา - ใบเสนอราคาของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 7.1.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์วิธีสอบราคา หรือประกวดราคา - คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ - คุณสมบัติของผู้เสนอราคา - ให้ผู้เสนอราคาส่งตัวอย่างแคตตาล็อค 7.1.3 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้างวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา - แบบรูปรายละเอียดและจำนวนที่ต้องการ - คุณสมบัติผู้เสนอราคา - ใบเสนอราคา

  41. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7.2 การเสนอขอ แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ในการซื้อหรือจ้าง 7.2.1 วิธีตกลงราคา ~ ถ้าการซื้อหรือจ้างในวงเงิน ไม่เกิน 10,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือลูกจ้างประจำ 1 คน ซึ่งมิใช่เป็นผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้าง ~ ถ้าการซื้อหรือจ้าง ในวงเงิน ไม่เกิน 100,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง คือ ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน

  42. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7.2.2 วิธีสอบราคา ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปจำนวน อย่างน้อย 3 คน เป็นคณะกรรมการ คือ ประธาน กรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน ~ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ~ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ~ ห้ามแต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ 7.2.3 วิธีประกวดราคา ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็น คณะกรรมการ คือ ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน ~ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ~ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ~ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ~ ห้ามแต่งตั้งกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ

  43. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7.2.4 วิธีพิเศษ ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็น คณะกรรมการ คือ ประธานกรรมการ 1 คน และ กรรมการอย่างน้อย 2 คน 1) วิธีจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ~ คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ~ (คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ) 2) วิธีจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ~ คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ~ (คณะกรรมการตรวจการจ้าง ) 7.2.5 วิธีกรณีพิเศษ ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นคณะกรรมการ คือ ประธานกรรมการ 1 คน และ กรรมการอย่างน้อย 2 คน ~ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง

  44. ขั้นตอนการซื้อและการจ้างขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย

  45. ข้อ 29 การให้ความเห็นชอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการตั้งคณะกรรมการ 8 คณะซื้อหรือจ้างคณะพร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาแล้วแต่กรณี คือ (1) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (2) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (3) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (4) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (5) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (6) คณะกรรมการร่าง TOR และร่างเอกสาร ประกวดราคา (7) คณะกรรมการประกวดราคา (8) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (9) คณะกรรมการตรวจการจ้าง เมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบตามรายการที่เสนอตาม ข้อ 27 หรือ ข้อ 28 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการวิธีการซื้อหรือจ้างต่อไป ข้อ 34 คณะกรรมการดำเนินการซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น

  46. ข้อ 35 องค์ประกอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการตามข้อ 34 ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คนและกรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยปกติให้ แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งข้าราชการที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ในกรณีเมื่อกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ 42 (1) หรือข้อ 49 แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป

  47. ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียว ห้ามแต่งตั้ง ผู้ที่เป็นกรรมการรับ - และเปิดซองประกวดราคา เป็น กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือ แต่งตั้งผู้ที่ เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือ กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการทุกคณะ เว้นแต่ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการซื้อหรือจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้ง ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ คนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้

  48. ข้อ 36 องค์ประชุมและมติ ในการประชุมของคณะของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานฯออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ถือมติเอกฉันท์ กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ 37 ผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคล ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอ โดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช.)

  49. ขั้นตอนการซื้อและการจ้างขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย

  50. ข้อ 18 วิธีซื้อและวิธีจ้าง (1) วิธีตกลงราคา (2) วิธีสอบราคา (3) วิธีประกวดราคา มีวิธีซื้อหรือจ้าง 6 วิธี คือ (4) วิธีพิเศษ (5) วิธีกรณีพิเศษ (6) วิธีประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ***** * ข้อ 19 ความหมายของวิธีตกลงราคา การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาไม่เกิน 100,000 บาท * ข้อ 20 ความหมายของ วิธีสอบราคา ราคาเกิน 100,000 - 2,000,000 บาท

More Related