1 / 35

กฎหมายลักษณะมรดก

กฎหมายลักษณะมรดก. อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์. กองมรดก. ปพพ. มาตรา 1600 “กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”.

Download Presentation

กฎหมายลักษณะมรดก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายลักษณะมรดก อ.จักรภพ ศิริภากรกาญจน์

  2. กองมรดก • ปพพ. มาตรา 1600 • “กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

  3. ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในเวลาตาย • ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดซึ่งไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

  4. การตกทอดแห่งทรัพย์มรดกการตกทอดแห่งทรัพย์มรดก • ปพพ. มาตรา 1599 • “เมื่อบุคคลตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” • ปพพ. มาตรา 1602 • “เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” • ปพพ. มาตรา 62 • “บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61”

  5. ทายาท • ปพพ. มาตรา 1603 • “กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม • ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” • ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”

  6. ปพพ. มาตรา 1604 • “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย • เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย” • ปพพ. มาตรา 15 วรรคสอง • “ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”

  7. ทายาทโดยธรรม • ปพพ. มาตรา 1629 • ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้คือ • (1) ผู้สืบสันดาน • (2) บิดามารดา • (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน • (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน • (5) ปู่ ย่า ตา ยาย • (6) ลุง ป้า น้า อา • + คู่สมรส

  8. ส่วนแบ่งของทายาทโดยธรรมส่วนแบ่งของทายาทโดยธรรม • ปพพ. มาตรา 1630 • “ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย ทายาทที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย • แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดาน (1)คนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดา (2) ยังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร”

  9. กรณีเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน ให้ทุกคนในลำดับนั้น ๆ ได้รับส่วนแบ่งเท่ากันทุกคน แต่ในระหว่างชั้นผู้สืบสันดาน (1) ซึ่งต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่”

  10. คู่สมรส จะต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้ามรดกกับคู่สมรสก่อน สินสมรสแบ่งคนละครึ่ง สินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายนั้นก็เอาไป สินสมรสที่แบ่งครึ่งแล้วและสินส่วนตัวของผู้ตายเป็นกองมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาท ซึ่งคู่สมรสก็ยังมีสิทธิอยู่อีกด้วยในฐานะทายาทโดยธรรม

  11. ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรส • 1. ถ้ามีทายาทตาม (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเหมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร • 2. ถ้ามีทายาทตาม (2) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือ (3)ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

  12. 3.ถ้ามีทายาทตาม (5)ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือ (4) หรือ (6) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกสองในสามส่วน • 4.ถ้าไม่มีทายาทตาม (1)-(6) คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

  13. การรับมรดกแทนที่ • การที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกแล้วผู้สืบสันดานของทายาทเข้ารับมรดกแทนที่

  14. ทายาทโดยธรรมเท่านั้นที่จะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ และมีเพียง 4 ลำดับเท่านั้น • (1) ผู้สืบสันดาน – ลูก หลาน เหลน......... • (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน • (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน • (6) ลุง ป้า น้า อา • ทายาทลำดับ (2) บิดามารดา และ (5) ปู่ ย่า ตา ยาย กฎหมายไม่ให้มีการรับมรดกแทนที่

  15. พินัยกรรม

  16. ปพพ. มาตรา 1646 • “บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้”

  17. ปพพ. มาตรา 1703 • “พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้น เป็นโมฆะ”

  18. ปพพ. มาตรา 1704 • “พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ • พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้น จะเป็นอันเสียเปล่าก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าในเวลาที่ทำพินัยกรรมนั้นผู้ทำจริตวิกลอยู่”

  19. แบบของพินัยกรรม

  20. 1. พินัยกรรมแบบธรรมดา • ทำได้โดยทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานทั้งสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น

  21. 2. พินัยกรรมชนิดที่ผู้ทำเขียนเองทั้งฉบับ • ผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ต้องลงวัน เดือน ปี แล้วลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานในพินัยกรรม

  22. 3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง • ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง และผู้ทำพินัยกรรม พยาน และนายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

  23. 4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ • ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม แล้วผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อตามรอยผนึกนั้น และนำไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอีกอย่างน้อยสองคน ให้นายอำเภอและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

  24. พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการอำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใด ๆ กรมการอำเภอจำต้องส่งมอบให้ • ถ้าพินัยกรรมนั้นเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่

  25. 5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา • ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรือมีโรคระบาด สงคราม และบุคคลนั้นไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ ผู้ทำพินัยกรรมทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน แล้วพยานสองคนนั้นต้องไปไปแจ้งข้อความต่อนายอำเภอโดยไม่ชักช้า นายอำเภอต้องจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานลงลายมือชื่อไว้

  26. 6. พินัยกรรมทำในต่างประเทศ • ถ้าเลือกทำตามแบบต่างประเทศก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแบบพินัยกรรมของประเทศนั้น ๆ มิฉะนั้นพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ • ถ้าหากเลือกตามแบบที่กฎหมายไทยกำหนดไว้ อำนาจของนายอำเภอจะเป็นพนักงานทูต กงสุลฝ่ายไทย

  27. พยานและผู้เขียนพินัยกรรมพยานและผู้เขียนพินัยกรรม

  28. ปพพ. มาตรา 1670 • “บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ • (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ • (2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ • (3) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง

  29. ปพพ. มาตรา 1668 • “ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัยกรรมให้พยานทราบ”

  30. ปพพ. มาตรา 1671 • “เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตน ทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน” • ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ

  31. ปพพ. มาตรา 1653 • “ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ • ให้ใช้บทบทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย”

  32. ผู้จัดการมรดก

  33. การตั้งผู้จัดการมรดก • ผู้จัดการมรดกอาจได้รับการแต่งตั้งโดย • 1. โดยพินัยกรรม • 2. โดยคำสั่งศาล ผู้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้แก่ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ

  34. ปพพ. มาตรา 1718 • “บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ • “(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ • (2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ • (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย”

  35. อายุความคดีมรดก • ปพพ. มาตรา 1754 • “ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก” • ปพพ. มาตรา 193/27 • “ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม”

More Related