150 likes | 310 Views
กฎหมายการเงิน การคลังทั่วไป. โดย นายมงคล วรรณพงษ์. กฎหมายการคลัง. 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2. พ.ร.บ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.
E N D
กฎหมายการเงินการคลังทั่วไปกฎหมายการเงินการคลังทั่วไป โดย นายมงคล วรรณพงษ์
กฎหมายการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2. พ.ร.บ. เงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3. พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.....
รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้- ควบคุมให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ- ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม รธน. ม. 84(3)
ให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อกำหนดกรอบวินัยการคลัง ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ- การวางแผนการเงินระยะปานกลาง- การจัดหารายได้- การกำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน - การบริหารการเงินและทรัพย์สิน- การบัญชี- กองทุนสาธารณะ รธน. ม. 167 ว. 3
- การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินหรือภาระทางการเงินของรัฐ - หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น- การอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องใช้เป็นกรอบในการจัดหารายได้ กำกับการใช้จ่ายเงินตามหลักการรักษาเสถียรภาพ พัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความเป็นธรรมในสังคม รธน. ม. 167 ว. 3
เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน- หน่วยงานของรัฐนั้นต้องทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบประมาณทุกปี- และให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป การใช้จ่ายเงินรายได้ตามวรรคหนึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังด้วย รธน. ม. 170
การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะ ที่ได้อนุญาตไว้ใน - กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย - กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ - กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือ- กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายไปก่อน ก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ... รธน. ม. 169
บรรดาเงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ให้หัวหน้าส่วนราชการส่งเข้าบัญชีคงคลังบัญชีที่ 1 พ.ร.บ.เงินคงคลังฯ
บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ - ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย หรือ- ระเบียบข้อบังคับ หรือ- ได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือ- ได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ * ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้นนำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนดเว้นแต่ มีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ม. 24
ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ใน- พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี - พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม - ตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น- ห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันจนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ม.23
ให้รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย (1) จัดให้มีการประมวลบัญชีแผ่นดิน (2) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ม.21
(ต่อ) (3) จัดให้มีการตรวจเอกสารการขอเบิกเงิน การจ่ายเงิน และการก่อหนี้ ผูกพัน ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง (4) กำหนดและควบคุมระบบบัญชี แบบรายงาน และเอกสารเกี่ยวกับ การรับ จ่ายเงินและหนี้ (5) กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยเงินทดรองราชการด้วยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ ม.21
การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ (1) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ (2) เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ หรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีให้เบิกเหลื่อมปีและได้มีการกันเงินไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ม.27
พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ..... เป็นกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติอนุญาตให้ ฝ่ายบริหาร ( ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ) มีงบประมาณไว้ใช้จ่ายสำหรับปีนั้นๆ
พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี - ปีไหน - ให้ใคร - เพื่อการใด - จำนวนเท่าใด พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ