360 likes | 2.57k Views
ประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง. เรื่องประวัติจิตตคหบดี คำชี้แจง ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่องประวัติจิตตคหบดี มี 2 ตอน ใช้เวลารวมทั้งหมด 2 คาบๆ ละ 50 นาที ตอนที่ 1 ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้
E N D
ประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่างประวัติพุทธสาวกสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง เรื่องประวัติจิตตคหบดี คำชี้แจงชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่องประวัติจิตตคหบดี มี 2 ตอน ใช้เวลารวมทั้งหมด 2 คาบๆ ละ 50 นาที ตอนที่ 1 ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แบบทดสอบย่อยประจำชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม ก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้ทำรวมเวลา 20 นาที 1.1 นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยก่อนเรียนก่อนที่จะศึกษา เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการใช้ชุดการสอนและหลังที่ใช้ 1.2 นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยหลังจากศึกษา ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เสร็จแล้วจะเป็นคะแนนเก็บของนักเรียนแต่ละคน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยพัฒนาผู้เรียนในการศึกษาเรื่อง ประวัติจิตตคหบดี(เวลา 10 นาที)
2 ตอนที่ 2 ศึกษาใบความรู้และทำกิจกรรม (เวลา 80 นาที) • 2.1 ประวัติจิตตคหบดีและทำกิจกรรม (เวลา 40 นาที) • 2.2 ศึกษาคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของจิตตคหบดีและทำกิจกรรม (เวลา 40 นาที) 2.2.1 ให้นักเรียนศึกษาตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ อย่างละเอียด 2.2.2นักเรียนแต่ละกลุ่มต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเรียนโดยจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด
3 • 2.2.3.ให้นักเรียนภายในกลุ่มถามและตอบคำถามซึ่งกันและกัน เมื่อมีข้อสงสัยให้อภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษาร่วมกัน และแต่ละกลุ่มต้องเมื่อศึกษาจบแล้วจะมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน • 2.2.4. นักเรียนทุกกลุ่มต้องร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติกิจกรรมอย่างเต็มที่ และไม่ชักชวนเพื่อนเล่นจนต้องเสียเวลา • 2.2.5. ถ้ากลุ่มใดสงสัยหรือมีปัญหาที่ไม่เข้าใจ สามารถขอคำแนะนำจากครูผู้สอนได้ตลอดเวลา • 2.2.6. เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนในชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มจบแล้ว ครูจะเฉลยแบบฝึกหัดระหว่างเรียน หรือในกรณีที่นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้จากเฉลยซึ่งอยู่ด้านหลังชุดการสอน แต่นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง • 2.2.7. เมื่อนักเรียนศึกษาและทำกิจกรรมจากชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เรื่อง ประวัติ จิตตคหบดีจบแล้ว ให้ส่งชุดการสอนที่ถือว่าเป็นผลงานของกลุ่มหลังหมดเวลาทำกิจกรรม
4 โรงเรียนทวีธาภิเศก ๒ • แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 • วิชา พระพุทธศาสนา เวลา 10 นาที คะแนนเต็ม 10 คะแนน • เรื่องประวัติจิตตคหบดี • คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง 1 คำตอบ • 1. จิตตคหบดีท่านเป็นชาวเมืองใด • ก. มัจฉิกาสันฑะ ข. โกลิตคาม • ค. ไพศาลี ง. อุชเชนี • 2. ข้อใดคือการเกิดปรากฏการณ์ที่ประหลาดในวันที่จิตตคหบดีเกิด • ก. มีดอกไม้บาน สะพรั่งทั่วเมือง • ข. มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง • ค. มีดอกไม้เกิดขึ้นรอบบ้านจิตตคหบดี • ง. มีดอกไม้สีเหลืองบานพร้อมจิตตกุมารเกิดทั่วเมือง
5 3. จิตตคหบดีได้ฟังธรรมจากพระภิกษุรูปใด ที่ ทำให้ท่านได้บรรลุธรรม เป็นพระอนาคามี ก. พระอัญญาโกณฑัญญะ ข. พระอัชสชิ • ค. พระมหานามะ ง. พระวัปปะ 4. ผู้ศึกษาธรรมจนเกิดความแตกฉานอย่างท่านจิตตคหบดีสามารถโต้วาทะกับใครจนได้รับชัยชนะ • ก. สัญชัยเวลัฏบุตรกับ มักขลิโคสาละ • ข. ปูรณกัสสปะกับ อชิตเกสกัมพล • ค. นิครนถนาฏบุตร กับ ชีเปลือยกัสสปะ • ง. สัญชัยเวลัฏบุตร กับ นิครนถนาฏบุตร 5. ลักษณะของบุคคลใดที่ได้ชื่อว่า มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่คลอนแคลง • ก. พลังธรรม ปฏิบัติศีลห้าตามที่พระสงฆ์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด • ข. พลังรัก ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด • ค. พลังแรง ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบูชาพระศิว อย่างเคร่งครัด • ง. พลังอารีย์ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบูชาพระวิษณุร่วมด้วยอย่างเคร่งครัด
6 6. สิ่งที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต ของผู้ที่ได้ศึกษาธรรมะตามท่านจิตตคหบดีและถือว่าสิ่งนั้น ยั่งยืน เป็นกุศลนำพาไปต่อถึงชาติหน้า หรือ ภพหน้าบุคคลนั้นต้องมีลักษณะอย่างใด • ก. พลังรัก ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆอย่างเคร่งครัด • ข. พลังธรรม ปฏิบัติศีลห้า ด้วยความศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์อย่างเคร่งครัด • ค. พลังแรง ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและบูชาพระศิวะอย่างเคร่งครัด • ง. พลังอารีย์ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และบูชาพระวิษณุร่วมด้วยอย่างเคร่งครัด 7. ชาวพุทธตัวอย่าง ควรมีลักษณะอย่างไรตามความคิดของนักเรียน • ก. เป็นผู้ที่เข้าวัดฟังธรรมทุกวัน • ข. เป็นผู้ที่มีความเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รู้จักการเข้าวัดฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอ • ค. เป็นผู้ที่เข้าวัดฟังธรรมทุกวันและศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ • ง. เป็นผู้ที่ถ้าใครกล่าวหาว่าพระพุทธศาสนาว่า ไม่ดี เป็นต้องตอบโต้พูดให้รู้ดีรู้ชั่วกันไปเลย
7 8. บุคคลใดต่อไปนี้ได้นำคุณธรรมของท่านจิตตคหบดีมาใช้ได้ถูกต้อง ที่สุด • ก. บูรณะ เจอเงินจำนวนมากตกอยู่แต่เขาก็นำไปประกาศหาเจ้าของ จนพบด้วยความ • ศรัทธาในการสร้างความดี • ข. ปฏิ นำเงินมาทำบุญทุกวันพระด้วยคิดว่าชาติหน้าจะเกิดรวยและมียศศักดิ์ • ค. สังขรณ์ ให้เศษเงินกับขอทานเพื่อให้เขาได้นำไปซื้อ อาหารรับประทาน • ง. พรประเสริฐ กล่าววาจากับคนทุกระดับประทับใจ เพื่อให้ผู้พบเห็นได้ชื่นชมในตัวเขา 9. การประพฤติปฏิบัติตนของท่านจิตตคหบดี ข้อใดที่แสดงถึงมีพลังศรัทธาด้านบุญกิริยาวัตถุ 10 • ก. ตอนที่ป่วยหนักและได้พบกับเทวดา • ข. ตอนที่จิตตคหบดีทำบุญ ด้วยสิ่งของต่าง ๆ500 เล่มเกวียน • ค. ตอนที่ได้ฟังเทศน์ของพระมหานามะ เรื่องอายตน 6 แล้วได้บรรลุธรรม • ง. ตอนที่กุมารน้อยได้ถือกำเนิดเกิดมาพร้อมดอกไม้หลากสีบาน ทั่วเมือง
8 • 10. การทำบุญชนิดใดของท่านจิตตคหบดีถือว่าเป็นที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ของท่าน • ก. ตอนที่ป่วยหนักและได้พบกับเทวดา • ข. ตอนที่จิตตคหบดีทำบุญ ด้วยสิ่งของต่าง ๆ 500 เล่มเกวียน • ค. ตอนที่ได้ฟังเทศน์ของพระมหานามะ เรื่องอายตน 6 แล้วได้บรรลุธรรม • ง. ตอนที่กุมารน้อยได้ถือกำเนิดเกิดมาพร้อมดอกไม้หลากสีบาน ทั่วเมือง
จิตตคหบดี เกิดที่เมืองมัจฉิ-กาสัณฑะ แคว้นมคธ เล่ากันว่าเวลาจิตตเกิดนั้น ได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาดขึ้น คือ มีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้รับขนานนามว่า “จิตตกุมาร” (กุมารผู้น่าพิศวง หรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม) ประวัติของท่านจิตตคหบดี
10 บิดาท่านเป็นเศรษฐี เมื่อบิดาถึงแก่กรรม ท่านได้รับทรัพย์สมบัติเป็นเศรษฐีสืบแทน วันหนึ่งท่านได้พบกับพระมหานามะ มองเห็นอิริยาบถอันสงบสำรวมของพระมหานามะก็เกิดความเลื่อมใส นิมนต์ท่านไปฉันอาหารที่บ้าน แล้วสร้างที่พำนักให้ท่านอยู่ประจำคือ อัมพาฏการาม
11 ท่านได้นิมนต์พระมหานามะมาแสดงธรรมให้ฟังเสมอ วันหนึ่งท่านได้สนทนาธรรม เรื่องอายตนะ 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) จิตตคหบดีฟังแล้วได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
12 จิตตคหบดีชอบศึกษาธรรมอยู่เสมอ จนเกิดความแตกฉานในธรรม สามารถอธิบายธรรมได้เป็นอย่างดี ท่านเคยโต้วาทะกับนิครนถนาฏบุตร และชีเปลือยชื่อกัสสปะ ท่านก็สามารถเอาชนะท่านทั้งสองได้
13 ท่านเป็นเศรษฐีใจบุญ ได้ถวายทานติดต่อกันถึงครึ่งเดือน เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาลน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จำนวน 500 เล่มเกวียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ท่านทำบุญด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า
14 ตอนที่ท่านป่วยหนัก เทวดาได้มาปรากฏต่อหน้า ว่าท่านทำบุญมาก ถ้าท่านปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในชาติหน้าก็ย่อมทำได้ จิตตคหบดีได้ตอบว่า “แม้ราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ”
15 บุตรหลานที่เฝ้าอยู่ได้ยินท่านพูดคนเดียว จึงเตือนท่านว่า “ตั้งสติให้ดี อย่าเพ้อเลย” ท่านบอกว่าท่านไม่ได้เพ้อ เทวดามาบอกอย่างนี้จริง ๆ ยังมีสิ่งที่ประเสริฐกว่าจักรพรรดิอีก เมื่อบุตรหลานถามท่านก็ตอบว่า“ศรัทธาความเชื่อที่ไม่คลอนแคลนในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประเสริฐกว่าสิ่งใดทั้งหมด”
16 คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง 1) เป็นคฤหัสถ์ในอุดมคติ หมายถึง เป็นชาวพุทธผู้ครองเรือนที่เป็นตัวอย่างที่ดีพระพุทธเจ้าตรัสไว้ 3 ประการคือ 1.1 ศึกษาธรรมจนแตกฉาน ปฏิบัติตามคำสอนจนสำเร็จเป็นพระอนาคามี
17 1.2 ชอบสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นอยู่เสมอ จนได้รับยกย่องว่า“ธรรมกถึก” หมายถึงนักเทศน์ชั้นยอด
18 1.3 เป็นคนใจบุญสุนทาน ทำบุญทำทานคราว ละมาก ๆ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยความมั่นคง และปกป้องพระพุทธศาสนาเมื่อถึงคราวมีภัย เช่น ตอนที่โต้วาทะกับนิครนถนาฏบุตร และชีเปลือยชื่อกัสสปะ แสดงให้เห็นว่าท่านได้ทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดีและเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
19 2. เคารพพระสงฆ์มาก แม้ว่าท่านได้บรรลุธรรมถึงขั้นอนาคามีแต่ท่านก็ยังเคารพนอบน้อมพระสงฆ์ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ แม้บางภิกษุปุถุชนล่วงเกินท่าน ดังกรณีพระสุ-ธรรม ด่าประชดประชัน ท่าน เพราะริษยาที่เห็นท่านซึ่งเป็นโยมอุปฐากมานาน ให้การต้อนรับ พระอัครสาวกทั้งสองอย่างดี แต่ท่านก็ไม่ได้ถือสาแต่ประการใด
20 3) เป็นคนเก่งและคนดี จิตตคหบดีเป็นตัวอย่างแสดงว่า ชาวพุทธที่เป็นคฤหัสถ์ไม่เพียงแต่ทำบุญทำทาน ขณะเดียวกันก็ศึกษาคำสอนจนเกิดการรู้แจ้งเห็นจริง และท่านเป็นคนฉลาดคือสามารถหักล้างความเชื่อที่ผิด ๆ มาให้คนเห็นความถูกต้องโดยการใช้ปัญญาช่วยแก้ไข
31 • บรรณานุกรม • กัลยาสิทธิวัฒน์, พระครู. (2543). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา วารสารเสียงธรรม. 42,3 (มกราคม – มีนาคม). • การศาสนา. กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ปี 2544 • (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. • การศาสนา. กรม. (2525). ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาค 1. • กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. • สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2516). ประวัติศาสตร์ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : รวมสาสน์. • ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2530). คัมภีร์สำคัญทางพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา. • ธรรมทาส พานิช. (2521). ประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา. • ปุ้ย แสงงาม. (2539). พระเจ้า 500 ชาติ. กรุงเทพมหานคร : ลูก ส. ธรรมภักดี, • ระพิน พุทฺธิสาโร, พระ. (2543). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. • _________. (2550). ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) • วิทย์ วิศทเวทย์, (2544). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ • วิโรจน์ พิศเพ็ง. (2543). “เล่าเรื่องชาดก 50 เรื่อง.” กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.
32 • บรรณานุกรม (ต่อ) • วิโรจน์ พิศเพ็ง.(2541). สามเณรเหล่ากอแห่งสมณะ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. • สมพงษ์ สกุลช่างอโศก. (2550). เขียนภาพประกอบ. • สาสนโสภณ (เจริญ สุวฑฺฒโน), พระ. (2526). 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย. • สุชีพ ปุญญานุภาพ . (2537). พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : หามกุฏราชวิทยาลัย. • สุนทร สุนฺทรธมฺโม, พระมหา. (2544). นิทานชาดก เล่มที่ 3. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. • เสถียร พันธังษี. (2525). พุทธประวัติมหายาน. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา. • เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2544). พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. • เสนาะ ผดุงฉัตร. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.