1 / 20

อาหารไทย

อาหารไทย.

herne
Download Presentation

อาหารไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาหารไทย

  2. อาหารไทย เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทาน

  3. อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนัก โดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหารจำพวกผัก และเนื้อสัตว์ นานาชนิด

  4. เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิ การนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือ ชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิดวิธีปรุงอาหารไทยนั้นมีหลายวิธีดังนี้ การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกันบางอย่างอาจตำเพื่อนำไปประกอบอาหารและบางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ปลาป่น กุ้งป่น น้ำพริกสด น้ำพริกแห้ง น้ำพริกเผา พริกกับเกลือ ส้มตำ

  5. การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์และน้ำปรุงรสมาเคล้าเข้าด้วยกัน จนรสซึมซาบเสมอกัน ยำของไทยมีรสหลักอยู่ 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี ยำผัก เช่น ยำผักกระเฉด ยำถั่วพู ยำเกสรชมพู่ ฯลฯ ยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำเนื้อต่างๆ ยำไส้กรอก ยำหมูยอ ฯลฯหมาการแกง ยถึง อาหารน้ำ ซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียด นำมาละลายกับน้ำ หรือน้ำกะทิ ให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วย เช่นแกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว

  6.                        การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวาน ลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ                                                                                  การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง ( ตามแบบสมัยโบราณปิ้งด้วยเตาถ่าน มิได้ใช้เตาอบเหมือนปัจจุบัน

  7. การทำอาหารใการย่าง หมายถึง ห้สุก โดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อนๆ หมั่นกลับไปกลับมา จนข้างในสุกและข้างนอกอ่อนนุ่มหรือแห้งกรอบต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงจะได้อาหาร ที่มีลักษณะรสชาติดี เช่น การย่างปลา ย่างเนื้อสัตว์ต่างๆ •  การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุก ใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ เช่น การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์ ฯลฯ การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุก ใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ เช่น การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์ ฯลฯ

  8. การกวน หมายถึง การนำอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวมารวมกัน ตั้งไฟแรงปานกลางใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคนให้เร็วและแรงจนทั่วกัน คือข้นและเหนียว ใช้มือแตะอาหารไม่ติดมือ เช่น การกวนกาละแม ขนมเปียกปูน ตะโก้ ถั่วกวน ฯลฯ จี่ หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยการทาน้ำมันน้อยๆ พอให้ทั่วกระทะแล้วตักอาหารใส่ กลับไปกลับมาจนสุกตามต้องการ เช่น การทำขนมแป้งจี่ ขนมบ้าบิ่น เป็นต้น

  9.  แกงกระด้าง บ้างเรียกว่า แกงหมูกระด้าง แกงหมูหนาว นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่มีเอ็นมาก เป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย แต่ปัจจุบันมีการเติมผงวุ้นเย็น เพื่อช่วยให้แกงกระด้างได้ดีและเร็วขึ้น แกงกระด้างมี 2 สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู และจะมีสีส้มจากพริกแห้ง (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 475; ดีกิจ กัณทะกาลังค์, 2550, สัมภาษณ์

  10. แกงกล้วยดิบ เป็นแกงผักชนิดหนึ่ง นิยมใช้กล้วยน้ำว้าเป็นส่วนผสมหลัก และแกงกับเนื้อหมู

  11. แกงปลี คือแกงปลีกล้วย เป็นแกงผักชนิดหนึ่ง นิยมแกงกับเนื้อหมู ส่วนผสมผักที่ขาดไม่ได้ คือมะเขือเทศลูกเล็ก ใบชะพลู และชะอม

  12. ถั่วเน่าเมอะ เป็นอาหารที่ทำมากจากถั่วเหลืองต้มเปื่อยหมัก และนำมาโขลกให้ละเอียด ห่อใบตอง และย่างไฟ (ดูวิธีการทำที่ ถั่วเน่าเมอะ) ถ้านำถั่วเหลืองต้มเปื่อยหมัก และนำมาโขลกให้ละเอียดมาทำเผ็นแผ่นกลมตากแห้ง เรียกว่า ถั่วเน่าแข็บ ( ดูวิธีการทำที่ ถั่วเน่าแข็บ) เชื่อกันว่า อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากชาวไทใหญ่ (รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย, 1999, หน้า 2636) การทำคั่วถั่วเน่าเมอะ นิยมใส่ไข่ไก่ เพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหารกลมกล่อมกว่าใส่เนื้อหมู (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2550)

  13. หัวน้ำเหมี้ยง ได้จากการเคี่ยวน้ำที่มาจากเหมี้ยงนึ่ง (ส่วนใหญ่ได้จากน้ำก้นถุงใส่เหมี้ยงนึ่ง) เคี่ยวไฟด้วยอ่อน ๆ จนงวดและข้น แล้วเก็บใส่กระบอก เก็บไว้ปรุงอาหาร มีรสฝาด เช่น ใช้ในการปรุงน้ำเหมี้ยง ซึ่งเป็นตำรับอาหารประเภทคั่ว (อุทิตย์เป็งมล, สัมภาษณ์, 10 ก.ค. 2550; สิรวิชญ์ จำรัส, สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2550

  14.  เจียวไข่มดแดง หรือเจี๋ยวไข่มดส้ม เป็นการปรุงอาหารประเภทเจียว ที่นิยมใส่ไข่ไก่ โดยตีให้กระจาย ลงไปในน้ำแกงขณะเดือด เช่นเดียวกับการเจียวผัก แต่งกลิ่นด้วยต้นหอม ผักชี หรือพริกไทย แล้วแต่ชอบ (อินทรวงค์กุฎ, สัมภาษณ์, 26 มิถุนายน 2550)

  15. จอผักกาด เป็นตำรับอาหารที่ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก หรือเรียกว่า ผักกาดจ้อน หรือผักกาดดอก ซึ่งปรุงด้วย เกลือ กะปิ ปลาร้าหรือกะปิ ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด ใส่กระดูกหมูด้วยก็ได้ ซึ่งบางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อย ลงไปด้วย บางสูตรใส่ถั่วเน่าแข็บ หรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด ตัดเป็นท่อน โรยหน้าแกง หรือรับประทานต่างหาก แล้วแต่ชอบ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1790 ; อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550)

  16. ตำไข่มดแดง ใช้วิธีการปรุงแบบเดียวกับตำชนิดอื่นๆ แต่เพิ่มเครื่องปรุง ได้แก่ ดีปลีคั่ว สะระแหน่ ผักไผ่ เพื่อเพิ่มรสชาติของไข่มดแดง ไม่นิยมใส่กะปิ (ประทุม อุ่นศรี, สัมภาษณ์, 26 มิถุนายน 2550)

  17. ตำมะเขือพวง หรือตำบ่าแคว้ง ใช้วิธีการปรุงแบบเดียวกับตำชนิดอื่นๆ นิยมใช้พริกหนุ่ม เป็นเครื่องปรุง ที่แตกต่างจากวิธีการปรุงประเภทตำชนิดอื่นๆ คือ ต้มมะเขือพวงก่อน แล้วนำลงผัด หรือคั่วกับน้ำมันพืช เพื่อให้มีรสชาติดี แล้วจึงนำมาโขลกรวมกับพริกหนุ่มและเครื่องปรุงอื่นๆ (ลัดดา กันทะจีน, สัมภาษณ์, 29 มิถุนายน 2550)

  18. น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้ง ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกขี้หนูแห้ง หรือใช้พริกเม็ดใหญ่แห้ง แล้วแต่ชอบ นิยมใช้รับประทานกับอาหารประเภทเนื้อย่างหรือนึ่ง เช่น รกวัวรกควายนึ่ง เนื้อนึ่ง เนื้อย่าง เห็ดนึ่ง เป็นต้น (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2550)

  19. น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้ง ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกขี้หนูแห้ง หรือใช้พริกเม็ดใหญ่แห้ง แล้วแต่ชอบ นิยมใช้รับประทานกับอาหารประเภทเนื้อย่างหรือนึ่ง เช่น รกวัวรกควายนึ่ง เนื้อนึ่ง เนื้อย่าง เห็ดนึ่ง เป็นต้น (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2550)

  20.    ยำหนัง หรือ ยำหนังฮอ เป็นตำรับอาหารที่ใช้หนังวัวหนังควายแห้ง ที่ต้มเปื่อยแล้ว ขูดเป็นชิ้นบาง ๆ บ้างก็หั่นเป็นชิ้น (ฮอ หมายถึง ทำให้บาง ทำให้ละเอียด) แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง (สิรวิชญ์ จำรัส, สัมภาษณ์, 18 มิถุนายน 2550)

More Related