1 / 59

E D 5501 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Measurement and Evaluation 3( 2-2-5 )

E D 5501 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Measurement and Evaluation 3( 2-2-5 ). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู พ.ศ. 2557 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ เชียงใหม่. อาจารย์พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ เชียงใหม่

Download Presentation

E D 5501 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Measurement and Evaluation 3( 2-2-5 )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ED 5501การวัดและประเมินผลการเรียนรู้Learning Measurement and Evaluation3(2-2-5) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู พ.ศ. 2557 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  2. อาจารย์พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์ สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ FB : Pimthong Sungsutthipong ตึก 27 ชั้น 1 คณะครุศาสตร์ ตึกการศึกษาพิเศษ ตึก 23 ชั้น 1 ห้อง 2312 ห้องมุมขวา

  3. จุดมุ่งหมายหลักสูตร • 1. คุณธรรม จริยธรรม • 2. ความรู้ • 3. ทักษะทางปัญญา (ทักษะการคิดขั้นสูง : คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา สร้างสรรค์) • 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  4. 1 แนวการสอน 2 รูปแบบการเรียนการสอน 3 ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา 4 จุดมุ่งหมายของรายวิชา 5 การเตรียมตัวของนักศึกษา

  5. แนวการสอน • - คำอธิบายรายวิชา • - จุดประสงค์รายวิชา • - เนื้อหารายวิชา • - กิจกรรมการเรียนการสอน • - สื่อ เอกสารประกอบการสอน แบบฝึก • - การวัดและประเมินผลการเรียน • - เกณฑ์การประเมินผล

  6. รูปแบบการเรียนการสอน • + การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • + จุดมุ่งหมายการเรียน 4 Pillars : UNESCO • Learning to know • Learning to do • Learning to be • Learning to live together • + Adult Learner : Cooperative, Self Directed Learning • เรียนแบบร่วมมือ ใช้ IT + ประสบการณ์ + ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ • สื่อการสอน เอกสาร แหล่งข้อมูล online การประเมินผลการศึกษา Project-Based Learning Research-Based Learning

  7. ทำไมต้องเรียน?? • + พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 • + มาตรฐาน สมศ. การประเมินคุณภาพ ด้านครู • + มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภา • หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (๕ ปี) • มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ • (สาระความรู้ และ สมรรถนะของครู) • + หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 • - 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน • - 5 ทักษะ • - 8 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

  8. การวัดและประเมิลผล กับ การปฏิรูปการศึกษาไทย • มุ่งให้คนไทย • - ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา • - สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบ • - ตัดสินใจอย่างฉลาด • - มีคุณธรรม • - มีวิสัยทัศน์กว้างไกล • - เป็นคนแห่งการเรียนรู้ • - อยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข http://www.youtube.com/watch?v=XqvXKuhgWIE

  9. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ O : Objective ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้สามารถพัฒนาตนเอง ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ L : Learning กระบวนการ จัดการเรียนการสอน สมศ. กำหนด มาตรฐาน ประเมิน รับรอง E : Evaluation วัดและประเมินทุกด้าน

  10. กำหนดเป้าประสงค์หรือความต้องการทางการศึกษาของชาติกำหนดเป้าประสงค์หรือความต้องการทางการศึกษาของชาติ ปรัชญาการศึกษา องค์ประกอบของการศึกษา กำหนดคุณลักษณะต่างๆที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุปรัชญา หลักสูตร ดำเนินการหรือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร การสอน ติดตามผลการใช้หลักสูตรหรือการเรียนการสอน การวัดผล ผลย้อนกลับ หาข้อเท็จจริงหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน การวิจัย

  11. องค์ประกอบของการจัดการศึกษาองค์ประกอบของการจัดการศึกษา O : Objective E : Evaluation L : Learning

  12. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการ ของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

  13. มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชน ทำหน้าที่ > พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผล การจัดการศึกษา > ตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและ หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติ > ประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย > เสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะชน

  14. มาตรฐานของ สมศ. ด้านครู • มาตรฐานที่ 9 ครูมีความรู้ความสารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • ตัวชี้วัดที่ 7 ครูมีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียน และอิงพัฒนาการของผู้เรียน (การประเมินตามสภาพจริง)

  15. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ของคุรุสภา

  16. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 • 1. ผู้เรียนทุกคนมีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม • 2. มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก • 3. ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • 4. มีความรู้และทักษะพื้นฐาน เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

  17. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 • วัดประเมินระดับชั้นเรียน สถานศึกษา เขตพื้นที่ • 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน • 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน • การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน • 5 ทักษะ • 8 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ http://www.curriculum51.net/

  18. การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบ พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง 2555) • การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้หมวดวิชา • การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต • การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 9 ประการ • การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

  19. การเตรียมตัวของนักศึกษา • > เอกสารตำราที่เกี่ยวกับหลักการวัดและประเมินผล • > เอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี ๒๕๕๑ • > เอกสารหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามสังกัดของนักศึกษา • > เอกสารเกี่ยวกับการวัดประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน • > แนวทางการวัดและประเมินผลทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ http://www.curriculum51.net/

  20. คำสำคัญทั้ง 3 มีความหมายว่าอย่างไร ? 1. การทดสอบ Testing 2. การวัดผล Measurement 3. การประเมินผล Evaluation

  21. กระบวนการประเมินผลการศึกษากระบวนการประเมินผลการศึกษา Testing การทดสอบ Measurement การวัด Evaluation การประเมิน

  22. การทดสอบ Testing เครื่องมือ พฤติกรรม การกระทำ สังเกตได้วัดได้ แบบทดสอบ คำถาม สถานการณ์ กระบวนการที่ใช้เครื่องมือ ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์ คำถาม คำสั่ง ไปกระตุ้น / เร้า ให้สิ่งที่ถูกทดสอบเกิดการเปลี่ยนแปลง แสดงออก ในรูปของปฏิกิริยา สีหน้า ท่าทาง การเขียน พูด หรือพฤติกรรม ที่สังเกต / วัดได้

  23. การวัดผลการศึกษา Educational Measurement พฤติกรรม การกระทำ ความสามารถ ปริมาณ กำหนด ให้ค่า โดยใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ จำนวน อันดับ กระบวนการกำหนด / ให้ค่าเป็นปริมาณจำนวน อันดับรายละเอียดของพฤติกรรม /ความสามารถ ของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษา ใช้เครื่องมือเป็นหลักในการวัดให้ได้ตัวเลขข้อมูล รายละเอียดแทนจำนวน / คุณลักษณะ ดำเนินการอย่างเป็นระบบมีขั้นตอน

  24. การวัดผล Measurement • ด้านกายภาพศาสตร์ (รูปธรรม) • ความสูง น้ำหนัก ความยาว ระยะทาง • มีเครื่องมือวัดแน่นอน เป็นมาตรฐาน • ด้านสังคมศาสตร์ (นามธรรม) • การวัดพฤติกรรม การแสดงออกในลักษณะต่างๆ • เครื่องมือวัดไม่แน่นอน ต้องสร้างเครื่องมือวัดให้เหมาะสม มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ • ตัวเลขเชิงปริมาณที่กำหนด เป็นเพียงตัวเลขสมมติ

  25. มาตราการวัดMeasurement Scale • > การวัดเป็นการกำหนดตัวเลข หรือ สัญลักษณ์ แทนปริมาณ คุณภาพ คุณลักษณะของสิ่งที่ถูกวัด • > ข้อมูลผลการวัด จะมีระดับการวัดแตกต่างกัน • > ระดับการวัดแตกต่างกัน ต้องเลือกใช้การวิเคราะห์ที่เหมาะสม • มี 4 ระดับการวัด (4 Levels of Measurement) • นามบัญญัติ Nominal scale นาย 2 สอง • จัดอันดับ Ordinal scale เศรษฐีอันดับ 2 สองของโลก • อันตรภาค Interval scale ทำคะแนนภาษาอังกฤษได้ 2 คะแนน • อัตราส่วน Ratio scale มีเงิน 2 ล้านบาท

  26. นามบัญญัติNominal scale นายสอง • > เป็นระดับการวัดหยาบ ๆ • > จำแนกสิ่งที่ถูกวัดเป็นกลุ่มๆ พวก ประเภท • รหัสนักศึกษา เลขที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ • > ถ้าต้องวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้รหัสแทนแต่ละกลุ่ม • เพศชาย แทนด้วย 1 เพศหญิง แทนด้วย 2 • ตรงเวลา แทนด้วย 1 ไม่ตรงเวลา แทนด้วย 0 • ตัวเลขไม่มีความหมายด้านปริมาณ / คุณภาพ • > ไม่สามารถ บวก ลบ คูณ หาร เรียงอันดับคุณภาพ เปรียบเทียบ กันได้

  27. มาตรา จัดอันดับOrdinal scale เศรษฐีอันดับสองของโลก • > จำแนกผลการวัดเป็นอันดับได้อย่างมีความหมาย • > ตัวเลขบอกเพียงอันดับที่ดีกว่า / ด้อยกว่ากัน • > ตัวเลขไม่แสดงปริมาณที่แท้จริง ช่วงห่างของความแตกต่าง ไม่แน่นอน • > นำตัวเลข บวก ลบ กันได้บางกรณีเท่านั้น • ความมีวินัย 3=มาก 2= ปานกลาง 1=น้อย • ความประพฤติ 3 = ดีมาก 2 = ดี 1 = พอใช้ • ภาพวาดดอกไม้ 1= สวยที่สุด 2=สวยมาก 3 = สวย

  28. มาตราอันตรภาค Interval scale ทำคะแนนภาษาอังกฤษได้ 2 คะแนน • > วัดได้ละเอียดกว่านามบัญญัติ จัดอันดับ • > แบ่งผลการวัดเป็นกลุ่ม จัดอันดับได้ บอกช่วงห่างของผลการวัดได้ • > ช่วงตัวเลขมีความแตกต่างเท่ากัน จะมีค่าเท่ากัน 1,2,3,4,5…….. • 25-30, 30-35, 35-40, ……………… • >เป็นการวัดเชิงปริมาณที่แท้จริง ตัวเลขนำมาบวก ลบได้อย่างมีความหมาย • > ไม่ใช่ศูนย์แท้ แต่เป็นศูนย์เทียม หรือศูนย์สมมติ Arbitrary Zero • นักเรียน 2 คน ตอบคำศัพท์ภาษาไทย 10 คำ ผิดหมด ได้ 0 คะแนน • นร.ที่ตอบได้ 8 คะแนนไม่สามารถบอกได้ว่าเก่งกว่า นร.ที่ได้ 0 คะแนน • > ข้อมูลผลการวัด เช่น คะแนน ระดับสติปัญญา

  29. มาตรา อัตราส่วนRatio scale มีเงิน 2 ล้านบาท • > เป็นมาตรการวัดละเอียดที่ละเอียด สมบูรณ์แบบที่สุด • > มีศูนย์แท้ Absolute Zero • > ตัวเลขสามารถบอกเป็นจำนวนได้ ช่วงความแตกต่างเท่ากัน • > ตัวเลขนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ ใช้สถิติเชิงปริมาณได้ทุกรูปแบบ • นายสอง สูง 180 เซนติเมตร มีเงิน 2 ล้านบาท • นายสาม สูง 165 เซนติเมตร มีเงิน 20 ล้านบาท • > ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือมาตรฐาน • น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ ระยะทาง ความกว้างยาว

  30. การประเมินผล Evaluation การตัดสิน ตีค่าโดยอาศัยเกณฑ์ + คุณธรรม ผู้ประเมิน การประเมินผลEvaluation การประเมินผลการศึกษาEducational Evaluation การประเมินผลการศึกษาEducational Evaluation ได้ - ตก เกณฑ์คุณภาพ การตัดสินการตีค่า พฤติกรรมที่เกิดจากการศึกษา ผ่าน - ไม่ผ่าน ดี - เลว กระบวน การเรียนการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียน

  31. กระบวนการประเมินผลการศึกษากระบวนการประเมินผลการศึกษา กระบวนการทดสอบ พฤติกรรม ที่สังเกตได้ เครื่องมือ สถานการณ์ คำถาม เปลี่ยนแปลง เร้า ผู้ถูกทดสอบ กระบวนการวัดผล ปริมาณ ตัวเลข หน่วย วัด นับ ให้ค่า เครื่องมือ สิ่งที่ถูกวัด กระบวนการประเมินผล สิ่งที่ถูก ประเมิน ตัดสินคุณภาพ ผ่าน - ไม่ผ่าน ตีค่า เปรียบ เทียบ เกณฑ์

  32. กิจกรรมที่ 1 • ให้ศึกษา ทำความเข้าใจองค์ความรู้ การวัดและประเมินผล 9 ประเด็นความหมาย, ความสำคัญ, กระบวนการ, ประเภทจุดมุ่งหมาย, ประโยชน์, ปรัชญา หลักการวัดและประเมิน, คุณธรรมผู้ประเมิน • สรุปองค์ความรู้เป็นผังความคิด รายบุคคลใช้การเขียน ตกแต่งได้อย่างอิสระ และอ้างอิงแหล่งค้นคว้าส่งสัปดาห์หน้า ในห้องเรียน

  33. กิจกรรมการเรียน สัปดาห์ต่อไป • 1. ให้ศึกษาหลักสูตร กลุ่มสาระฯ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง • จาก www.curriculum51.net หรือ • www.er.cmru.ac.th • >> เอกสาร อ.ไพรศิลป์ • > หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วัด ๘ กลุ่มสาระ • เลือกเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการวัดประเมินผลการศึกษา • ให้ตรงกับรายวิชาที่สอน • 3. เตรียมเอกสารแนวทางการวัดประเมินผลตามหลักสูตร • 4. แหล่งเรียนรู้ online • www.watpon.com

  34. พบกัน สัปดาห์หน้าพฤติกรรมทางการศึกษา

  35. การวัดผล ประเมินผล จุดมุ่งหมายการศึกษา พฤติกรรมพื้นฐานผู้เรียน การเรียนการสอน ประเมิน หลังเรียน ตัดสินผล ประเมินก่อนเรียน กระตุ้น – เร้า ความพร้อม • ปรัชญาการศึกษา • หลักสูตร • จุดหมายหลักสูตร • จุดมุ่งหมายรายวิชา • จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ประเมิน ระหว่างเรียน ปรับปรุง การสะท้อนกลับ Feed back ความสำคัญของการประเมินผล ต่อกระบวนการทางการศึกษา

  36. ขั้นตอนการประเมิน หลังเรียน Summative evaluation ก่อนเรียน Pre-evaluation ระหว่างเรียน Formative evaluation • ตรวจสอบความรู้ ทักษะพื้นฐาน • วางแผนการสอน เนื้อหา วิธีสอน • กระตุ้นเร้าให้ตื่นตัว • เปรียบเทียบพัฒนาการ ก่อน-หลัง • บรรลุจุดประสงค์เนื้อหา หรือไม่ ขั้นใด • กระตุ้น เร้า จูงใจ สนใจ เอาใจใส่ • ปรับปรุง ซ่อมเสริม ข้อบกพร่องของผู้เรียน • ปรับปรุงการสอน • ทราบความสามารถ ของผู้เรียน ความสำเร็จ ในการเรียน • ความสามารถโดยรวม • ปรับปรุงแก้ไขการเรียน การสอน • ตัดสินผลการเรียน • เลื่อนระดับ ซ่อมเสริม ปรับปรุงแก้ไข

  37. ประโยชน์ของการประเมินประโยชน์ของการประเมิน • ผู้เรียน • ทราบความสามารถ ความถนัด เลือกเรียน อาชีพ • ผู้สอน • ทราบคุณภาพ ผลการสอน ปรับปรุงพัฒนา วิจัยการสอน • ผู้บริหาร • วางแผนแก้ไขพัฒนา วิจัยสถานศึกษา • ผู้ปกครอง • ส่งเสริม สนับสนุน ผู้เรียน

  38. 1. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ มีคุณภาพเท่าไร อย่างไร ผ่าน / ไม่ผ่าน เทียบ ตัดสิน เกณฑ์ มาตรฐาน ผลการวัด ประเภทของการประเมินผล 2. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เก่ง/อ่อน ลำดับในกลุ่ม ตัดสิน เทียบ ผลการวัด ความสามารถ ในกลุ่ม

More Related