1 / 34

บทที่ 8 เงินสด, เงินลงทุนชั่วคราว

บทที่ 8 เงินสด, เงินลงทุนชั่วคราว. เงินสด ( Cash). เงินสด หมายถึง ธนบัตร เงินเหรียญ และรวมถึงตราสารเอกสารเครดิตต่าง ๆ ที่สามารถใช้แทนเงินสดและสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เช่น  เงินฝากธนาคาร  เช็คต่าง ๆ, ดร๊าฟธนาคาร, บัตรเครดิต(ไม่รวมเช็คลงวันที่ล่วงหน้า)  ธนาณัติ, เช็คไปรษณีย์ .

Download Presentation

บทที่ 8 เงินสด, เงินลงทุนชั่วคราว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8เงินสด, เงินลงทุนชั่วคราว ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  2. เงินสด (Cash) เงินสด หมายถึง ธนบัตร เงินเหรียญ และรวมถึงตราสารเอกสารเครดิตต่าง ๆ ที่สามารถใช้แทนเงินสดและสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เช่น  เงินฝากธนาคาร  เช็คต่าง ๆ, ดร๊าฟธนาคาร, บัตรเครดิต(ไม่รวมเช็คลงวันที่ล่วงหน้า)  ธนาณัติ, เช็คไปรษณีย์ เงินสด เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญอันดับแรกที่ใช้ในการดำเนินงาน และเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูง ใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบริการ อีกทั้งสามารถเปลี่ยนมือได้ง่าย ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  3. การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด (Internal Control of Cash) • รายการรับ-จ่ายเงินทุกรายการต้องมีเอกสารประกอบ • เอกสารที่ใช้ควรกำหนดเลขที่ไว้ล่วงหน้า และควรมีการทำสำเนา • เอกสารทุกฉบับต้องลงนามโดยผู้มีอำนาจรับผิดชอบ • มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างพนักงานรับ-จ่ายเงินและ การบันทึกบัญชี • ควรนำเงินสดที่ได้รับในแต่ละวันไปฝากธนาคาร • การจ่ายเงินทุกรายการควรจ่ายเป็นเช็ค ยกเว้นค่าใช้จ่ายน้อย ๆ ควรจ่าย จากเงินสดย่อย • ควรนำเครื่องบันทึกเงินสดมาใช้ในกิจการ • จัดให้มีการตรวจสอบยอดเงินสดย่อยและยอดเงินฝากธนาคารเป็นครั้งคราว ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  4. แผนภาพ สรุปการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด เงินสด เงินสดย่อย (เงินสดในมือ) เงินฝากธนาคาร ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  5. เงินฝากธนาคาร (Cash at Bank) • เงินฝากธนาคาร มีหลายประเภท เช่น • เงินฝากกระแสรายวัน • เงินฝากออมทรัพย์ / เงินฝากสะสมทรัพย์ • เงินฝากประจำ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  6. เมื่อกิจการนำเงินสดหรือเช็คฝากธนาคาร ผู้รับผิดชอบจะจัดทำเอกสารใบสำคัญรับ เพื่อเป็นหลักฐานการบันทึกบัญชี และเมื่อต้องการสั่งจ่ายเป็นเช็ค กิจการจะใช้ต้นขั้วเช็คและเอกสารใบสำคัญจ่ายเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี และเมื่อสิ้นเดือนแต่ละเดือน ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Statement) มายังกิจการ เพื่อให้กิจการใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ ใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Statement) เป็นรายงานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรับฝากเงินในระหว่างเดือน และยอดคงเหลือของเงินฝากธนาคารในวันสิ้นเดือน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  7. การพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Reconciliation) การพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร เกิดจากการตรวจสอบระหว่าง ยอดคงเหลือของบัญชีเงินฝากธนาคารตามใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร กับ ยอดคงเหลือของบัญชีเงินฝากธนาคารในสมุดบัญชีกิจการ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  8. หากยอดคงเหลือดังกล่าวไม่ตรงกันทำให้กิจการต้องตรวจสอบ หาสาเหตุความแตกต่าง ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. เงินฝากระหว่างทาง 2. เช็คค้างจ่าย 3. ธนาคารเก็บเงินจากลูกหนี้แทนกิจการ และคิดดอกเบี้ยเงินฝากให้กิจการ 4. ธนาคารคิดค่าธรรมเนียม, หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านธนาคาร 5. เช็คคืน 6. เช็คหักบัญชีผิด 7. รายการผิดพลาดอื่น ๆ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  9. การจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร การจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารจากฝ่ายหนึ่งไปหาอีกฝ่ายหนึ่ง 2. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  10. 1. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารจากฝ่ายหนึ่งไปหาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นวิธีการพิสูจน์ยอดคงเหลือเงินฝากธนาคารตามสมุดบัญชีกิจการให้แสดงยอดคงเหลือตามรายงานใบแจ้งยอดของธนาคาร หลักสำคัญในการพิสูจน์ตามวิธีนี้คือ กิจการจะยึดถือยอดคงเหลือตามใบแจ้งยอดธนาคารว่าถูกต้อง และนำสาเหตุต่าง ๆ มาทำการแก้ไขปรับปรุงยอดคงเหลือในสมุดบัญชีกิจการให้แสดงยอดคงเหลือตรงกับยอดคงเหลือตามใบแจ้งยอดธนาคาร ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  11. 2. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง หลักสำคัญตามวิธีนี้คือ คำนึงถึงความถูกต้องของรายการเป็นหลัก ว่าควรจะมีการบันทึกหรือไม่ ดังนั้นกิจการจะต้องทำการค้นหาสาเหตุที่ทำให้ยอดคงเหลือไม่ ตรงกัน และทำการแก้ไขยอดคงเหลือทั้งสองฝ่ายที่บันทึกผิดให้ถูกต้อง เมื่อกิจการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารเรียบร้อยแล้ว หากรายการใดเกิดความผิดพลาดทางด้านของกิจการ กิจการจะต้องนำสาเหตุดังกล่าวไปบันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  12. 1. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารจากฝ่ายหนึ่งไปหาอีกฝ่ายหนึ่ง (กิจการ ธนาคาร) ร้านแสงเทียน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร วันที่ 31 พฤษภาคม 25x1 (หน่วย : บาท) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  13. ร้านแสงเทียน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร วันที่ 31 พฤษภาคม 25x1 (หน่วย : บาท) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  14. 2. งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง ร้านแสงเทียน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร วันที่ 31 พฤษภาคม 25x1 (หน่วย : บาท) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  15. ร้านแสงเทียน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร วันที่ 31 พฤษภาคม 25x1 (หน่วย : บาท) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  16. การบันทึกรายการปรับปรุงการบันทึกรายการปรับปรุง สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  17. เงินสดย่อย (Petty Cash) เงินสดย่อย หมายถึง จำนวนเงินสดที่กิจการสำรองไว้ในกิจการ เพื่อไว้ ใช้จ่ายสำหรับรายจ่ายที่มีจำนวนเงินเล็กน้อย โดยจะกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อยโดยตรง เรียกว่า “ผู้รักษาเงินสดย่อย” (Petty Cashier) ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเงินสดย่อย จ่ายเงินสดย่อยให้กับผู้ขอเบิก และเก็บเอกสารการใช้จ่ายเงินสดย่อย เพื่อขอเบิกเงินกลับมาชดเชยวงเงินสดย่อย ตามจำนวนที่มีผู้ขอเบิกไปใช้ ทำให้เงินสดย่อยมีจำนวนเท่ากับวงเงินที่กำหนดไว้ครั้งแรกเสมอ ระบบเงินสดย่อยดังกล่าว เรียกว่า “Imprest System” ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  18. วิธีการทางบัญชี 1. การกำหนดตั้งวงเงินสดย่อย ตัวอย่าง บริษัท เส้นเสียง จำกัด กำหนดวงเงินสดย่อยไว้ 5,000 บาท การบันทึกบัญชี สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  19. 2. การจ่ายเงินสดย่อย จำนวนเงินสดย่อย = เงินสดย่อยในมือ + จำนวนเงินรวมในใบสำคัญจ่าย สมมติในระหว่างเดือนมีผู้ขอเบิกเงินสดย่อยไปใช้ตามรายละเอียดในสมุด เงินสดย่อยดังนี้ สมุดเงินสดย่อย หน้า.......... ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  20. สมุดเงินสดย่อย หน้า.......... ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  21. 3. การเบิกชดเชยวงเงินสดย่อย สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  22. หากในวันสิ้นงวดบัญชีมีใบสำคัญจ่ายบางจำนวนยังไม่ได้นำไปเบิก เงินชดเชย จะต้องทำการปรับปรุงรายการเพื่อบันทึกรายการในใบสำคัญจ่าย ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดบัญชี และลดยอดเงินสดย่อยลง ตัวอย่าง บริษัท เส้นเสียง จำกัด ได้สรุปใบสำคัญจ่ายพบว่ามีรายการใบสำคัญจ่าย 2 ใบ ยังไม่ได้นำไปเบิกเงินชดเชย คือ ค่าพาหนะจำนวน 250 บาท และ ค่าไปรษณียากรจำนวน 65 บาท สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  23. การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน บริษัท......................จำกัด งบดุล(บางส่วน) วันที่ 31 ธันวาคม 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  24. การบริหารเงินสด (Cash Management) หลักการบริหารการเงิน ควรพิจารณาดังนี้ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  25. เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary) เงินลงทุนชั่วคราว ถือเป็นหลักทรัพย์ หรือเงินลงทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกิน 1 ปี โดยมีการซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง และสามารถกำหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนได้แน่นอนทันที การลงทุนนั้นอาจจะลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุนก็ได้ • เงินลงทุนชั่วคราว สามารถจัดประเภทได้ดังนี้ • หลักทรัพย์เพื่อค้า • หลักทรัพย์เผื่อขาย • เงินลงทุนทั่วไป • ตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  26. ประเภทของเงินลงทุน หลักทรัพย์เพื่อค้า หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ ดังนั้นหลักทรัพย์เพื่อค้าจึงมีอัตราการหมุนเวียนสูง ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  27. ประเภทของเงินลงทุน หลักทรัพย์เผื่อขาย หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาด ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า และไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดหรือเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม หลักทรัพย์เผื่อขายสามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  28. ต้นทุนของเงินลงทุน ราคาทุน (ต้นทุน) ของเงินลงทุน คือ จำนวนเงินที่จ่ายซื้อเงินลงทุน + ค่าใช้จ่ายโดยตรงทั้งสิ้นเพื่อให้ได้เงินลงทุน (ค่านายหน้า, ค่าธรรมเนียม, ค่าภาษีอากร ฯลฯ ) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  29. ตัวอย่าง วันที่ 20 มีนาคม 25x1 บริษัท เพียงค้า จำกัด นำเงินไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญในบริษัท ธนกิจ จำกัด จำนวน 1,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 45 บาท เสียค่านายหน้าในการซื้อร้อยละ 5 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  30. ผลตอบแทนของเงินลงทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน คือ เงินปันผล การลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ คือ ดอกเบี้ย ตัวอย่าง บริษัท ธนกิจ จำกัด ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 10 บาท ดังนั้น ผลตอบแทนที่บริษัท เพียงค้า จำกัด จะได้รับจากการลงทุน คือ เงินปันผลรับ จำนวน 10,000 บาท (1,000 x 10) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  31. การจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราวการจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราว ราคาขายสุทธิ = ราคาขายเงินลงทุน – ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจำหน่าย (ค่านายหน้า, ค่าธรรมเนียม) ผลต่างระหว่างราคาขายสุทธิกับราคาตามบัญชีของหลักทรัพย์ คือ กำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายหลักทรัพย์ (รับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน) ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  32. ตัวอย่าง บริษัท เพียงค้า จำกัด นำหุ้นสามัญของบริษัท ธนกิจ จำกัด ออกจำหน่ายจำนวน 500หุ้น ในราคาหุ้นละ 55 บาท เสียค่าธรรมเนียมอัตรา ร้อยละ 7 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  33. การตีราคาและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินการตีราคาและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน หลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขาย แสดงในงบดุลด้วยมูลค่ายุติธรรม หลักทรัพย์เพื่อค้า : ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชี กับ มูลค่ายุติธรรม แสดงเป็น รายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิในงบกำไรขาดทุน หลักทรัพย์เผื่อขาย : ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชี กับ มูลค่ายุติธรรม แสดงเป็น รายการกำไร(รายการขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้น รับรู้เป็นส่วนของ ผู้ถือหุ้น เงินลงทุนทั่วไป แสดงในงบดุลด้วย ราคาทุน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  34. การตีราคาและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินการตีราคาและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน หลักทรัพย์เพื่อค้า : ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชี กับ มูลค่ายุติธรรม แสดงเป็น รายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิในงบกำไรขาดทุน หลักทรัพย์เผื่อขาย : ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชี กับ มูลค่ายุติธรรม แสดงเป็น รายการกำไร(รายการขาดทุน)ที่ยังไม่เกิดขึ้น รับรู้เป็นส่วนของ ผู้ถือหุ้น ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

More Related