1.2k likes | 1.34k Views
การเขียนโปรแกรม. บนระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมด. ครูรัตติยา บุญเกิด. ตอน. ภาษาซีเบื้องต้น. จุดประสงค์การเรียนรู้. สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของภาษาซีได้. สามารถอธิบายคุณสมบัติที่น่าสนใจของโปรแกรมภาษาซีได้. จุดประสงค์การเรียนรู้. สามารถอธิบายโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีได้. รู้จักกับภาษาซี.
E N D
การเขียนโปรแกรม บนระบบปฏิบัติการเท็กซ์โหมด ครูรัตติยา บุญเกิด
ตอน ภาษาซีเบื้องต้น
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของภาษาซีได้ สามารถอธิบายคุณสมบัติที่น่าสนใจของโปรแกรมภาษาซีได้
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ สามารถอธิบายโครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีได้
รู้จักกับภาษาซี ภาษา Cเป็นภาษาที่เก่าแก่ถือกำเนิดมายาวนาน แต่เดิมภาษา Cถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นภาษาสำหรับการสร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
รู้จักกับภาษาซี เนื่องจากขณะนั้นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง
รู้จักกับภาษาซี ดังนั้นการที่จะย้ายระบบปฏิบัติการไปใช้กับเครื่องอื่นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งนับเป็นข้อเสียที่ค่อนข้างใหญ่ของภาษาแอสเซมบลี
รู้จักกับภาษาซี ดังนั้น ภาษา Cซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์จึงถูกพัฒนาขึ้นมา ในปัจจุบันภาษา Cไม่ได้จำกัดอยู่แค่งานสร้างระบบปฏิบัติการเท่านั้น
รู้จักกับภาษาซี แต่สามารถนำไปใช้สร้างโปรแกรมเพื่องานในทุกประเภท งานเกี่ยวกับการคำนวณ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์/ฮาร์ดแวร์ชนิดต่างๆ
รู้จักกับภาษาซี การจัดการฐานข้อมูล สร้างโปรแกรมสำหรับจัดพิมพ์เอกสาร
ประวัติของภาษา C ภาษา Cคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก โดย เดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie) ที่ห้องแล็บเบล (Bell Labs) ในปี ค.ศ. 1972
ประวัติของภาษา C โดยได้แนวคิดมาจากภาษา BCPLพัฒนาขึ้นโดย มาร์ติน ริชาร์ด (Martin Richards) และภาษา Bที่เขียนขึ้นโดย เคน ทอมพ์สัน (Ken Thompson)
ประวัติของภาษา C เพื่อนำมาพัฒนาต่อจนได้ภาษาใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1978ภาษา C จึงได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการโดย เคอร์นิกแฮน (Kernighan) และเดนนิส ริทชี่
ประวัติของภาษา C เดนนิส ริทชี่
จุดเด่นของ ภาษา C
จุดเด่นของภาษา C ภาษา Cเป็นภาษาที่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่น และระบบปฏิบัติการทุกชนิด ทำให้โครงสร้างทางภาษา ฟังก์ชันและไลบรารีต่างๆ สามารถนำไปใช้งานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นและระบบปฏิบัติการแต่ละชนิดได้
จุดเด่นของภาษา C ปัจจุบันมีการพัฒนาตัวแปลภาษา Cขึ้นมา สำหรับใช้กับเครื่องทุกรุ่น และระบบปฏิบัติการทุกชนิด
จุดเด่นของภาษา C โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Cมีขนาดเล็กและทำงานได้เร็ว
จุดเด่นของภาษา C ภาษา C มีโครงสร้างภาษาที่ดี และเครื่องหมายสำหรับดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ หรือการเปรียบเทียบ มีประสิทธิภาพการทำงานสูง
จุดเด่นของภาษา C สามารถเขียนคำสั่งภาษา Cเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางส่วนได้
จุดเด่นของภาษา C มีฟังก์ชันสำเร็จรูปสำหรับงานประเภทต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการเขียนคำสั่ง
จุดเด่นของภาษา C นอกจากนี้ฟังก์ชันที่ภาษา Cเตรียมไว้ให้ใช้งานได้ไม่ตรงตามต้องการทั้งหมด เราสามารถเขียนคำสั่งเพิ่มเติมลงไปได้
โครงสร้าง ภาษา C
โครงสร้างภาษา C การเขียนโปรแกรมภาษา Cจะต้องเขียนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเสมอ และเมื่อจบประโยคคำสั่งแต่ละคำสั่ง จะใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน (;) ในการคั่นคำสั่งแต่ละคำสั่ง
#include<Library> /*ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/#include<Library> /*ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/ ส่วนประกอบค่า <Declaration part> ตัวแปร/ค่าคงที่/ชนิดข้อมูล /*การประกาศตัวแปรแบบโกลบอล*/ main( ) /*โปรแกรมหลัก*/ { /*เริ่มต้น่การเขียนโปรแกรม*/ variable declaration; /*การประกาศตัวแปรแบบโลคอล*/ program statement; /*ประโยคคำสั่ง*/ } /*จบการเขียนโปรแกรม*/ ชื่อฟังก์ชัน( ) /*ฟังก์ชันย่อย*/ { /*เริ่มต้น่การเขียนโปรแกรม*/ variable declaration; /*การประกาศตัวแปรแบบโลคอล*/ program statement; /*ประโยคคำสั่ง*/ }
โครงสร้างภาษา C ส่วนประกอบของโปรแกรมภาษา Cอาจแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ - ส่วนหัวโปรแกรม - ฟังก์ชันหลัก - ฟังก์ชันย่อย
ส่วนหัวโปรแกรม (Head File) หรือ คอมไพเลอร์ไดเรกทีฟ (Compiler Directive) เป็นส่วนหัวของโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นตัวบอกคอมไพเลอร์ว่าให้รวมไฟล์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้กับตัวโปรแกรมที่เขียนขึ้น
ส่วนหัวโปรแกรม (Head File) รูปแบบที่กำหนด #include<library>
ส่วนหัวโปรแกรม (Head File) เช่น #include<stdio.h> #include<conio.h>
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) หรือโปรแกรมหลัก (Main Program) เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องเขียนขึ้นเอง โดยนำคำสั่งหรือฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ มาเรียบเรียงกันขึ้นเป็นโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) โดยมีโครงสร้างดังนี้ Main( ) { ………. }
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) main เป็นฟังก์ชันหลักของ โปรแกรม
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) ( ) ภายในวงเล็บจะเป็นการ กำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ต้อง ส่งผ่านไปทำงานยังฟังก์ชัน อื่นๆ ถ้าไม่มีการใส่ค่าแสดงว่า ไม่ต้องการมีค่าพารามิเตอร์
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) { - } ซึ่งภายในปีกกาประกอบด้วย คำสั่งต่างๆ ดังนี้ ส่วนของการประกาศตัวแปร (Declaration)
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) ส่วนนำเข้าข้อมูล (Input) ส่วนกำหนดค่า/หรือคำนวณ (Assignment or Computation) ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output)
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) การหมายเหตุ (Comment) เพื่อใช้หมายเหตุหรืออธิบายรายละเอียดของโปรแกรมสามารถเขียนได้ดังนี้ /*ข้อความ*/
ฟังก์ชันหลัก (Main Function) /*ข้อความ*/ คำอธิบายโปรแกรม ใช้ในการอธิบายความหมายของคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการเขียนไว้กันลืมจะไม่มีผลใดๆ กับโปรแกรม แต่การเขียนจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย /*และจบด้วยเครื่องหมาย */
ฟังก์ชันย่อย (Sub Function) หรือโปรแกรมย่อย (Sub Program) เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องเขียนขึ้นเอง โดยนำคำสั่งหรือฟังก์ชันมาตรฐานต่างๆ มาเรียบเรียงกัน
ฟังก์ชันย่อย (Sub Function) เพื่อให้โปรแกรมหลักหรือฟังก์ชันอื่นๆ สามารถเรียกเพื่อประมวลผลโดยสามารถส่งผ่านค่าพารามิเตอร์ (Pass by Parameter) หรือไม่ผ่านค่าพารามิเตอร์ (Non-parameter)
ฟังก์ชันย่อย (Sub Function) โดยมีโครงสร้างดังนี้ ชื่อฟังก์ชัน( ) { ………. }
การเข้าสู่โปรแกรมเทอร์โบซี (Turbo C++)
การเข้าสู่โปรแกรม 1.กรณีที่อยู่ในไดร์ฟซี โฟลเดอร์ TCและโฟลเดอร์ย่อย BINC:\TC\BIN> พิมพ์ TCและกดปุ่ม Enter
การเข้าสู่โปรแกรม 2.พิมพ์ TCและกดปุ่ม EnterC:\TC\BIN>TC
การเข้าสู่โปรแกรม 3.กรณีที่สร้างซ็อตคัตของไอคอนโปรแกรมภาษาซีเอาไว้บนเดสก์ทอป ให้ดับเบิลคลิกที่ไอคอนของโปรแกรมภาษาซี
หน้าตาของโปรแกรมเทอร์โบซี (Turbo C++)
1.เมนูหลัก เป็นที่เก็บรวบรวมคำสั่งเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ประกอบด้วยเมนู File Edit Search Run Compile Debug Project Options Windowและ Help
วิธีการเรียกใช้เมนูหลักวิธีการเรียกใช้เมนูหลัก 1.คลิกเมาส์ที่เมนูที่ต้องการ 2.กดปุ่ม Altค้างไว้แล้วกดตัวอักษรสีเข้มที่อยู่ตัวแรกของเมนูนั้น เช่น ต้องการเรียกใช้เมนู Fileกด Alt+Fเป็นต้น