1 / 38

เศรษฐศาสตร์การคลัง : ด้านรายรับของรัฐบาล

เศรษฐศาสตร์การคลัง : ด้านรายรับของรัฐบาล. รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บทนำ ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องภาษี. สัดส่วนรายได้รัฐบาลต่อ GDP ปี 2553. ที่มา : สศค. บทนำ.

helmut
Download Presentation

เศรษฐศาสตร์การคลัง : ด้านรายรับของรัฐบาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐศาสตร์การคลัง: ด้านรายรับของรัฐบาล รศ. ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. บทนำความเข้าใจพื้นฐานเรื่องภาษีบทนำความเข้าใจพื้นฐานเรื่องภาษี

  3. สัดส่วนรายได้รัฐบาลต่อ GDP ปี 2553 ที่มา: สศค.

  4. บทนำ • ภาษีเป็นเครื่องมือทั้งทางเศรษฐศาสตร์และทางการเมืองในการกำกับและบริหารนโยบายของรัฐ เพราะการเก็บภาษีต้องอาศัยกลไกทางการเมืองในการสนับสนุนออกเครื่องมือและวิธีการจัดเก็บภาษีกับประชาชน • การออกแบบภาษีต่างๆ ต้องอาศัยทั้งความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการยอมรับทางการเมืองในการบังคับใช้ ซึ่งหากไม่ระมัดระวังอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองได้

  5. บทนำ • วิชานี้จะศึกษาทั้งปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์และปัจจัยเชิงสถาบัน อาทิ การเมือง กฎหมาย และทางสังคม ในการบังคับใช้ภาษีกับประชาชน • ศึกษาภาพรวมโครงสร้างภาษีของประเทศไทย • ความหมายของความเป็นธรรมทางเศรษฐศาสตร์ของภาษีประเภทต่างๆ • ศึกษาความสำคัญของภาษีประเภทต่างๆ และผลที่มีต่อการตัดสินใจของประชาชน

  6. ความหมายของภาษี • ทางเศรษฐศาสตร์ ภาษีอากร คือสิ่งที่ภาครัฐบังคับเก็บจากประชาชน เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออีกความหมาย คือ เงินได้หรือทรัพยากร ที่เคลื่อนย้ายจากเอกชนไปสู่รัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อการชำระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบายธุรกิจ และการคลังของรัฐบาล แหล่งที่มาจาก Wikipedia

  7. อัตราภาษีเฉลี่ย vs. อัตราภาษีส่วนเพิ่มAverage and marginal tax rates • หลักพื้นฐานในการกำหนดอัตราภาษี • marginal tax rateคือการคิดอัตราภาษี ส่วนเพิ่ม (ร้อยละ) จากรายได้หรือฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น • average tax rateคือการคำนวณหาสัดส่วนของภาษีที่จ่ายจากฐานภาษีรวมทั้งหมด

  8. วิธีการจัดเก็บภาษี • การจัดเก็บภาษีต้องประกอบด้วย • รายได้ภาษี = ฐานภาษี X อัตราภาษี • อัตราภาษีมี 3 ประเภท • ก้าวหน้า (Progressive Rate) MTR > ATR • สัดส่วนคงที่ (Proportional Rate) MTR = ATR • ถดถอย (Regressive Rate) MTR< ATR

  9. ตัวอย่างประเภทอัตราภาษีประเทศไทย (เดิม) ที่มา: โครงสร้างภาษีเงินได้ กรมสรรพากร

  10. จากตาราง พบว่าโครงสร้างภาษีเงินได้ประเทศไทยมีความเป็นอัตราก้าวหน้า เพราะมี MTR > ATR ในทุกระดับชั้นรายได้

  11. ประเภทของภาษี • จำแนกตามภาระที่เกิดขึ้น • ภาษีทางตรง (Direct Tax) • ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) • ประเภทของภาษีสามารถจำแนกได้ตามฐานของการจัดเก็บ โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น: • ฐานจากการหาเลี้ยงชีพ (Earning base) (ในประเทศกำลังพัฒนามักไม่นิยมใช้) • ฐานจากการหารายได้ (Income Base) • ฐานจากการบริโภค (Consumption Base) • ฐานจากความมั่งคั่ง/ทรัพย์สิน (Wealth/Properties Base) • ฐานอื่นๆ • ภาษีต่อหัว (Poll Tax)

  12. ประเภทของฐานภาษี (กรณีประเทศไทย) • ฐานรายได้ (Income Base) • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • ภาษีเงินได้นิติบุคคล • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม • ฐานการบริโภค (Consumption Base) • ภาษีการใช้จ่าย (Expenditure Tax) • ภาษีการขาย (Sale Tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) • ภาษีสรรพสามิต (Excise Taxes) (ภาษีการขายเฉพาะ) • ภาษีการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Taxes) • ฐานทรัพย์สิน (Wealth Base) • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน • ภาษีบำรุงท้องที่ • ค่าธรรมเนียมการโอนนิติกรรมที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

  13. ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะ • มีประสิทธิภาพ (Economic Efficiency) คือไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางเศรษฐกิจ • Behavior effects, Financial effects, Organizational effects, General Equilibrium Effects, Announcement Effects • มีความเป็นธรรม (Fairness) ต้องเก็บให้ทั่วถึงและเก็บตามกำลังความสามารถของผู้เสียภาษี ตลอดจนพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ผู้เสียภาษีได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล • Horizontal vs. Vertical Equity • มีความแน่นอน และชัดเจน (Certainty) จะต้องมีความชัดเจน ผู้เสียภาษีสามารถเข้าใจความหมายได้ง่าย รู้ว่าใครบ้างจะต้องเสียภาษี เสียเท่าไร เสียอย่างไร และอาศัยฐานอะไร อัตราเท่าไร รวมถึงการมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดเก็บภาษีไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ • ง่ายในการบริหาร (Administrative Simplicity) มีความสะดวกในการจัดเก็บ และสะดวกในการเสียภาษีของผู้เสียภาษีด้วย • ตอบสนองทางการเมือง (Political Responsibility) มีความโปร่งใส • มีความยืดหยุ่น (Flexibility) เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามสภาพการณ์ของเศรษฐกิจ

  14. 1.ความมีประสิทธิภาพของภาษี (Economic Efficiency) • ผลของภาษีในเชิงพฤติกรรมที่ไม่บิดเบือนการตัดสินใจ เช่นการพักผ่อนกับการทำงาน การเก็บภาษีกับการทำงานของคู่สมรส • ผลต่อการเงิน คือการเลือกการใช้เงินเพื่อการบริโภคหรือการลงทุน รวมทั้งประเภทของการลงทุน เช่นประกันชีวิตกับการฝากเงินกับสถาบันการเงิน • ผลต่อองค์กร เช่นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการเก็บเงินสดของนิติบุคคล

  15. 2. ความเป็นธรรมในการเก็บภาษี • ความเป็นธรรมของภาษีมีนัยสำคัญต่อประชาชนผู้จ่ายภาษีทั่วไป ในทุกๆ ประเทศ ตัวอย่าง • “poll tax” ในปี 1990 ของอังกฤษ • คำถามอะไรคือความเป็นธรรมระหว่างประชาชน • การวิเคราะห์ความเป็นธรรม (Equity) ในการเสียภาษีแตกต่างจากการพิจารณาความมีประสิทธิภาพ เพราะหากต้องการวัดความธรรมต้องพิจารณา สวัสดิการระหว่างบุคคล (interpersonal Utility) หลังจัดเก็บภาษีที่เป็นนามธรรมซึ่งทำได้ยากในทางปฏิบัติ จึงทำให้หันมานิยมใช้ความเป็นธรรมของรายได้หรือรายจ่ายแทน

  16. การวัดความเป็นธรรมของระบบภาษีอัตราแท้จริง กับอัตราที่กำหนด Effective vs. statutory rates • เป็นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างอัตราภาษีที่กำหนดตามกฎหมายหรือระเบียบการจัดเก็บ กับอัตราภาษีที่ผู้จ่ายรับภาระที่แท้จริง • อัตราที่กำหนด Statutory tax ratesคืออัตราภาษีที่ถูกระบุไว้ในกฎหมายหรือระเบียบการจัดเก็บ เช่นอัตราภาษีเงินได้ขั้นต่ำกำหนดที่ร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ และเพิ่มจนถึงขั้นสูงสุดที่ร้อยละ 37 • อัตราภาษีที่แท้จริง Effective tax ratesคืออัตราภาษีที่ผู้เป็นเจ้าของเงินได้จ่ายจริง • อัตราภาษีทั้งสองประเภทแตกต่างกัน เพราะมีการยกเว้น ลดหย่อนในการเสียภาษี ทำให้ลดขนาดของฐานภาษีที่แท้จริงลง

  17. ความเป็นธรรมของระบบภาษี:Vertical and horizontal equity • Vertical equity is the principle that groups with more resources should pay higher taxes than groups with fewer resources. • Could be motivated by utilitarian Social Welfare Function, that calls for redistribution. • Horizontal equity is the principle that similar individuals who make different economic choices should be treated similarly by the tax system. • In reality, horizontal inequities are hard to define, because the person endogenously made a choice to earn more or less.

  18. ความเป็นธรรมแนวนอน (Horizontal Equity) • หากบุคคลมีความเหมือนกันไม่ว่าพิจารณาจากแง่ใดๆ ก็ต้องได้รับการปฏิบัติที่เหมือนกันทุกประการ • ปัญหา:อะไรคือความเหมือนกันทุกประการ • เชื้อชาติ อายุ เพศ ฯลฯ • รสนิยม • การบริโภค • ต้นทุนเสียโอกาส

  19. ความเสมภาคแนวดิ่ง (Vertical Equity) • หากบุคคลมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจำนวนภาษีที่ต้องเสียย่อมแตกต่างกัน • เป็นการเสียภาษีตามหลัก ความสามารถในการจ่าย (Ability-to-Pay) • ปัญหา: การวัดความแตกต่างระหว่างบุคคลทำได้ด้วยฐานคิดอะไร • การบริโภคนำไปสู่ประเด็นการส่งเสริมการออม C+S = Y • รายได้ • รายได้ตลอดชั่วอายุขัย (Lifetime Income)

  20. รายได้ตลอดชั่วอายุขัย (Lifetime Income) Y* = W0 + W1/(1+r) ซึ่งหากไม่มีการกู้ยืมหรือการออม Y* = C0 + C1/(1+r)

  21. ทางเลือกในการวัดความไม่เท่าเทียมแนวตั้งทางเลือกในการวัดความไม่เท่าเทียมแนวตั้ง • การวัดจากผลประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit Approach) • เป็นการเลือกใช้ระดับผลประโยชน์แทนการพิจารณาจากการบริโภค ที่มีข้อจำกัดของประเภทการบริโภคที่สะท้อนต้นทุนเสียโอกาสที่วัดได้ยาก โดยหันมาพิจารณาจากการได้ประโยชน์แทน • โดยเฉพาะกรณีที่เป็นสินค้าสาธารณะ

  22. การวัดความเป็นธรรมของระบบภาษี: การวัด vertical equity • วิธีการวัดความเท่าเทียมแนวตั้ง ทำได้โดย • ภาษีอัตราก้าวหน้า progressivetax system is one in which effective average tax rates rise with income. • ภาษีอัตราแบบสัดส่วนproportional tax system is one in which effective average rates do not change with income, so that everyone pays the same proportion of their income in taxes. • ภาษีอัตราถดถอย regressivetax system is one in which effective average tax rates fall with income.

  23. ความง่ายในการบริหาร (Administrative Simplicity) • ต้นทุนในการเสียภาษี • ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) คือต้นทุนหน่วยงานในการจัดเก็บภาษี • ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) คือต้นทุนของผู้เสียภาษี • ต้นทุนในการทำบัญชี และเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆ • ความยุ่งยากหรือต้นทุนการเสียภาษีเกิดจาก • ความยุ่งยากโครงสร้างภาษี อัตราที่มีหลายอัตรา หรือการมีรายการยกเว้นลดหย่อนมากในโครงสร้างภาษี • ต้นทุนในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษี ระบบ IT

  24. ตอบสนองทางการเมือง (Political Responsibility) • ความโปร่งใสของการจัดเก็บภาษี การที่สามารถตรวจสอบได้ • การมีธรรมาภิบาลในการเก็บภาษี

  25. ความคล่องตัว (flexibility) • กลไกที่เป็น Automatic Stabilizer • ความสามารถในการตอบสนองต่อความผันผวนได้ทันท่วงที • การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีกับการยอมรับทางการเมือง

  26. ภาษีจากการหาเลี้ยงชีพ (earning Tax) • มักเรียกว่า payroll taxคือภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้จากการทำงานของบุคคล

  27. ภาษีจากเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีจากเงินได้บุคคลธรรมดา • เป็นการจัดเก็บภาษีจากรายได้ประเภทต่างๆ ที่แต่ละบุคคลสามารถหามาได้ ประกอบด้วย • ภาษีบุคคลธรรมดา Individual income taxคือภาษีที่เก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดาที่ได้รับสะสมตลอดช่วงเวลาหนึ่ง (หนึ่งปี) • ตัวอย่าง เช่น รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผลจากการลงทุน • ภาษี Capital gainsคือรายได้ส่วนเพิ่มจากการถือสินทรัพย์ • ตัวอย่างหุ้น พันธบัตร บ้าน ที่ดิน ฯลฯ

  28. ภาษีเงินได้นิติบุคคล • ภาษีเงินได้นิติบุคคลcorporate income taxเก็บจากการรายได้/กำไรจากการประกอบการของบริษัทหรือนิติบุคคล • เหตุผลในการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะหากไม่มีการจัดเก็บผลกำไรของบริษัท/นิติบุคคลของผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีเลย

  29. ภาษีเก็บจากความมั่งคั่งภาษีเก็บจากความมั่งคั่ง • เป็นภาษีที่เก็บจากการสะสมความมั่งคั่งของประชาชน • Wealth taxesเก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ถือโดยประชาชนหรือครอบครัว • ตัวอย่าง เช่นที่ดิน อาคารโรงเรือนต่างๆ หุ้น • ภาษีทรัพย์สิน เป็นตัวอย่างที่ดีของภาษีในกลุ่มนี้ Property taxesในหลายประเทศมีการจัดเก็บจากมูลค่าของที่ดิน อาคารที่ตั้งอยู่บนที่ดิน

  30. ภาษีจากการบริโภค • ถือเป็นภาษีที่มีการใช้ที่แพร่หลายมากที่สุดในทุกๆ ประเทศ มีกรใช้อยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ • ภาษีการบริโภค Consumption taxเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการจ่ายเพื่อการบริโภคสินค้า/บริการของประชาชนหรือครัวเรือน ตัวอย่าง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า • ภาษีการขาย Sales taxesเป็นภาษีที่จ่ายโดยผู้บริโภคให้แก่ผู้ขาย ณ จุดที่มีการขาย • ภาษีสรรพสามิต excise taxเป็นภาษีที่จ่ายโดยผู้บริโภคจากการบริโภคสินค้า/บริการบางประเภทที่มีการกำหนดไว้ เช่นบุหรี่ สุรา สถานบันเทิง ฯลฯ

  31. ประเภทของภาษี • Payroll, income, and wealth taxes เรียกว่าภาษีทางตรง เพราะเป็นการเรียกเก็บจากความเป็นเจ้าของทรัพยากรที่อยู่ในมือของประชาชนโดยตรง • Consumption taxes เรียกว่าภาษีทางอ้อม เพราะเป็นการเรียกเก็บจากการใช้ทรัพยากรของผู้เสียภาษีแทนที่จะเป็นการเก็บจากขนาดความเป็นเจ้าของทรัพยากร

  32. Source: IMF

  33. ความเท่าเทียมของภาษีกับมิติทางการเมืองความเท่าเทียมของภาษีกับมิติทางการเมือง • นักวิชาการเห็นพ้องว่าความไม่เท่าเทียมแนวตั้ง จะทำได้ต้องมีการจัดเก็บภาษีในอัตราแบบก้าวหน้า • แต่นักการเมืองมักเห็นว่าความเท่าเทียมจะต้องเลือกหรือเป็นไปตามวาระทางการเมือง • แต่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าควรใช้สวัสดิการของระหว่างบุคคล

More Related