290 likes | 1.11k Views
พุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน. สมเด็จพระ นารายณ์ มหาราช.
E N D
พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประวัติพระนามเดิม: พระนารายณ์ราชกุมารพระนามพระบรมราชชนกนาถ : พระเจ้าปราสาททองพระนามพระบรมราชชนนี : พระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวีวันพระราชสมภพ : วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175เสด็จสวรรคต :วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.2231
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระพุทธศาสนาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระพุทธศาสนา สมเด็จพระนารายณ์ พระองค์พรั่งพร้อมไปด้วยนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และพระมหาเถรานุเถระ ผู้แตกฉานในคัมภีร์พระไตรปิฎกและทรงวิทยาคุณ พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางธรรมและข้อวัตรปฏิบัติทางพระพุทธพุทธศาสนาทรงสนทนาธรรมกับ พระเถรานุเถระทั้งหลาย อยู่เนืองๆ ดัง จะเห็นได้จากพระราชปุจฉาหลายเรื่องที่ เกิดขึ้นในสมัยของพระองค์
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง • 1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ธรรมะนำการเมืองไทย ในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคมท่านสามารถนำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองให้พ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกได้อย่างสง่างามจึงทรงรักษาไว้ได้ทั้งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ • 2. ทรงมีพระทัยหนักแน่นในการนับถือพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพระองค์ทรงปฏิเสธการเข้ารีตศาสนาคริสต์
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • ประวัติ พระราชสมภพ: 20 กันยายน พ.ศ. 2396 วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู สวรรคต: 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระราชบิดา:พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชมารดา : สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสี: สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระพุทธศาสนาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระพุทธศาสนา 1.การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย 2. มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ 3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางค์นิมิต วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาล
1.เป็นศาสนูปถัมภก คือเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เช่น การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทยเป็นครั้งแรก การสร้างวัดที่สำคัญ ๆ การให้วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา 2. ทรงดำรงตนอยู่ในพุทธธรรม โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรคิวัตร สังคหวัตถุเป็นแนวทางในการปกครองอาณาประชาราชจนได้รับขนานพระนามว่า “พระปิยมหาราช”
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ประวัติ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2407 ในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อท่านได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของ ท่านเซอร์ เอ็ดวิลอาร์โนล ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้
ท่านอนาคาริก ธรรมปาละกับพระพุทธศาสนา 1.เป็นผู้จุดประกายการศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดียหันกลับมาแนวทางแห่งอริยมรรคแห่งพระพุทธองค์อีกครั้ง 2. ท่านได้สร้างอนุสรณ์สถาน ปูชนียสถานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น วัดมูลคันธกุฎวิหาร 3. เป็นผู้ร่วมเรียกร้องให้พุทธคยา ได้กลับมาอยู่ในความดูแลของชาวพุทธจนเป็นเป็นผลสำเร็จ
1.การมุ่งมั่นทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและมนุษยชาติ และท่านได้พยามยามทำงานเพื่อนำพระพุทธศาสนามาสู่อินเดียจนสำเร็จ รัฐบาลอินเดีย ยังได้นำสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา 2.การยึดมั่นนับถือพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตของท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา โดยทั้งการเผยแผ่ การก่อตั้งสถาบันทางพุทธศาสนา สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนา เป็นต้น
ท่านดร. อัมเบดการ์ ประวัติ ดร. อัมเบดการ์เกิดในวรรณะจัณฑาล ที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฏร์ ทางตอนกลางของอินเดียเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (จัณฑาล) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล
ท่านดร. อัมเบดการ์ กับพระพุทธศาสนา 1.ดร. เอ็มเบดการ์ ถือว่าเป็นบุคคลแรกของอินเดียที่ได้นำเอาพระพุทธศาสนากลับมาสู่มาตุภูมิ (ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนา) 2.สามารถทำให้คนในวรรณะจันฑาลมีความเสมอภาพกับคนในวรรณะอื่น ในทุก ๆ ด้าน แต่อย่างไรก็ดีสังคมอินเดียในปัจจุบันโดยทางนิตินัยนั้นถือว่ามีความเท่าเทียมกัน แต่ในทางพฤตินัยยังมีการแบ่งชั้นวรรณะกันอยู่เรื่อยมา
1.มีความมุมานะพยายามในการศึกษาเล่าเรียน แม้จะประสบความลำบาก ความเดือดร้อนมากเพียงใด ก็ก้มหน้ามุมานะต่อไปโดยไม่หยุดยั้งจนกระทั่งจบปริญญาเอก นี่คือความสำเร็จของเด็กยากจนที่เกิดในวรรณะศูทรที่ได้มาด้วยความมานะพยายาม 2.มีความอดทนเป็นเลิศ เมื่อครั้งศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย ดร.เอ็มเบดการ์ ได้เผชิญกับปัญหาต่างๆถูกข่มเหงจากนักศึกษาต่างวรรณะ ทุบตีอย่างทารุณ แต่ท่านก็ได้กัดฟันต่อสู้ต่อเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยความอดทน และได้นำเหตุการณ์เหล่านั้นมาเป็นกำลังใจให้มีความมุมานะในการศึกษาเล่าเรียนยิ่งขึ้น 3.มีสติปัญญาดี จนสามารถเรียนจนจบปริญญาเอก 4.ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
สุชีพ ปุญญานุภาพ ประวัติ สุชีพ ปุญญานุภาพ ชื่อเดิมว่า บุญรอด สงวนเชื้อ เป็นบุตร ชายของนายอ่วม และนางทองคำ สงวนเชื้อ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ณ หมู่บ้านตลาดบางไทรป่า ตำบลไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดเทพศิรินทราวาสจนท่านสอบนักธรรมและบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยคซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของปริยัติธรรม แผนกบาลี นอกจากนี้ท่านได้ศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาบาลีท่านสามารถแสดงธรรมเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นท่านแรก
สุชีพ ปุญญานุภาพ กับพระพุทธศาสนา 1.เป็นผู้ริเริ่มหรือรื้อฟื้นให้มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นหลังจากที่เคยมีการศึกษาสงฆ์ระดับ วิทยาลัยแต่ถูกยุบไปในสมัยรัชกาลที่ 5 2.ท่านได้ดำริก่อตั้ง มูลนิธิปุญญานุภาพเพื่อหาทุนสนับสนุนโดยท่านบริจาคเงินค่าลิขสิทธิ์จากงานเขียนของท่านทั้งหมดเพื่อก่อตั้งทุนในช่วงเริ่มต้น 3.เป็นผู้เริ่มวางรากฐานให้มีการก่อตั้ง ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย โดยมีศิษย์ท่านดำเนินการออกหน้า กล่าวคือคุณบุญยง ว่องวานิชและอาจารย์ เสถียร โพธินันทะ 4.เป็นพระภิกษุไทยคนแรกที่ปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษในที่ประชุมที่มีฝรั่งต่างชาติ จนกลายเป็นแบบให้พระภิกษุยุคใหม่ได้ปรับใช้
สุชีพ ปุญญานุภาพ กับพระพุทธศาสนา 5.เป็นคนแรกที่บุกเบิกนำเอาวิชาพระพุทธศาสนาไปใช้สอนในลักษณะวิเคราะห์ระดับมหาวิทยาลัย 6.หลังจากที่ชาวพุทธตั้งหน่วยงานพระพุทธศาสนาชื่อ "World Fellowshipof Buddhists" ท่านเป็นคนแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘องค์การพุทธ ศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก’ 7.เป็นคนบัญญัติศัพท์คำว่า สมาคมบาลีปกรณ์ จากคำภาษาอังกฤษว่า "Pali Text Society" 8.เป็นผู้ริเริ่มและจัดทำพระไตรปิฎกฉบับประชาชน 9.ด้านวรรณกรรม ท่านได้แต่งนิยายอิงธรรมะ เช่น กองทัพธรรม ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ ลุ่มน้ำนัมมทา เป็นต้น
1.เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและพัฒนาตนเอง1.เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและพัฒนาตนเอง 2.เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี คือ แม้จะลงสิกขาแล้ว ท่านก็ยังดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี รวมทั้งช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหลายทาง
ประวัติของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบันประวัติของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนามเดิม : พระนารายณ์ราชกุมารพระนามพระบรมราชชนกนาถ : พระเจ้าปราสาททองพระนามพระบรมราชชนนี : พระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวีวันพระราชสมภพ : วันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175เสด็จสวรรคต :วันอาทิตย์ เดือน 8ขึ้น 11ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.2231 ราชวงศ์ ราชวงศ์ปราสาททอง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ: 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระบรมนามาภิไธย: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร พระราชบิดา: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชมารดา : สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ราชวงศ์:ราชวงศ์จักรี สวรรคต: 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
ดร. เอ็มเบดการ์ - นำเอาพระพุทธศาสนากลับมาสู่มาตุภูมิ (ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนา) - ทำให้คนในวรรณะจันฑาลมีความเสมอภาพกับคนในวรรณะอื่น ในทุก ๆ ด้าน ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ • -ผู้จุดประกายการศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดีย • -สร้างอนุสรณ์สถาน ปูชนียสถานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา • -ผู้ร่วมเรียกร้องให้พุทธคยา อยู่ในความดูแลของชาวพุทธ ผลงานของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย-มีการนับถือศาสนาโดยอิสระ-โปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระนารายณ์มหาราช • - พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางธรรมและข้อวัตรปฏิบัติทางพระพุทธพุทธศาสนา อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ -เป็นผู้ริเริ่มหรือรื้อฟื้นให้มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น -ก่อตั้ง มูลนิธิปุญญานุภาพเพื่อหาทุนสนับสนุน-วางรากฐานให้มีการก่อตั้ง ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย- พระภิกษุไทยคนแรกที่ปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษ
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง1.เป็นศาสนูปถัมภก • 2. ทรงดำรงตนอยู่ในพุทธธรรม โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 1.นำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหารบ้านเมือง 2.ทรงมีพระทัยหนักแน่นในการนับถือพระพุทธศาสนา ดร. อัมเบดการ์ 1.มีความมุมานะพยายามในการศึกษาเล่าเรียน 2.มีความอดทนเป็นเลิศ 3.มีสติปัญญาดี คุณธรรมของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ • เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน • เป็นผู้มีความตั้งใจจริง • เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน • เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ท่านอนาคาริกธรรมปาละ1. มุ่งมั่นทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและมนุษยชาติ 2. การยึดมั่นนับถือพระพุทธศาสนา
จัดทำโดย นางสาว ทนัญชิดา ศิริธรรมมา 16 นางสาว นัชชา ตุรงคินานนท์ 17 นางสาว นันทนัทศิริทรงกล 18 นางสาว พิมพ์ลภัส บุญรักษา 19 นางสาว ลลิตภัทร ทองงอม 20 นางสาว สุชานันท์อิ่มมหจินดา 22 นางสาว นภัสวันธนาภรณ์27 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1