1 / 76

โลกศึกษา ( GLOBAL EDUCATION )

โลกศึกษา ( GLOBAL EDUCATION ). โลกศึกษา ( GLOBAL EDUCATION ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 . 0 หน่วย กิต เรียนสัปดาห์ละ 2 คาบ. ส 30222 รายวิชาเพิ่มเติม วิชา. ผลการเรียนรู้.

helen
Download Presentation

โลกศึกษา ( GLOBAL EDUCATION )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โลกศึกษา (GLOBAL EDUCATION)

  2. โลกศึกษา (GLOBAL EDUCATION) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1.0 หน่วยกิต เรียนสัปดาห์ละ 2 คาบ ส 30222 รายวิชาเพิ่มเติม วิชา..........

  3. ผลการเรียนรู้ 1. มีความรู้ความเข้าใจภูมิหลังของโลกปัจจุบัน พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเป็นไปและการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นที่มีผลต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุของสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน 2. เห็นความจำเป็นและความสำคัญที่จะต้องมีการแข่งขัน ประสานประโยชน์ และเกิดความขัดแย้งทางความเชื่อและค่านิยมในทุกภูมิภาคของโลก 3. ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของการรวมกลุ่มระหว่างประเทศในระดับเพื่อนบ้านภูมิภาค และระดับโลก

  4. ผลการเรียนรู้ (ต่อจ้า) 4. วิเคราะห์ความสำคัญของกระบวนการโลกาภิวัตน์ และระบบหลายขั้วอำนาจในโลกปัจจุบัน 5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรโลกใหม่ และการพัฒนาคุณภาพของประชากรในโลกปัจจุบัน 6. สามารถวิเคราะห์ถึงความท้าทายใหม่ ๆ ที่กลายเป็นบทบาทสำคัญในเวทีโลกปัจจุบัน

  5. สาระการเรียนรู้ การแข่งขันประสานประโยชน์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เงื่อนไขความขัดแย้งทางความเชื่อและค่านิยม และตัวอย่างความขัดแย้ง สงครามเย็น สงครามตัวแทน การสิ้นสุดสงครามเย็น กระแสโลกาวิภัฒน์ด้านต่าง ๆ ระบบหลายขั้วอำนาจ การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ

  6. โลกศึกษา (GLOBAL EDUCATION) ผลการเรียนรู้ : มีความรู้ความเข้าใจภูมิหลังของโลกปัจจุบัน พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเป็นไปและการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นที่มีผลต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุของสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน

  7. ผังการเรียนรู้ WW I ก่อนจะมาเป็นสงครามเย็น The Cold War WW II

  8. ทบทวนความรู้เดิม : เรื่องเก่าเล่าใหม่ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ประกอบด้วยเยอรมนีออสเตรีย-ฮังการี และ อิตาลี สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 – 1918 ไทยเข้าร่วมสมัยรัชกาลที่6 (พ.ศ.2457-2461) • ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบไปด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ รัสเซีย สาเหตุ (โปรดดูข้อมูลหน้าถัดไป) ผลของสงคราม

  9. สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่1สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่1 1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือ การแข่งขันระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน

  10. 2. การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม ปลายค.ศ.ที่ 19 ยุโรปต่างแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมเพื่อจักรวรรดิของตน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้น 2.1 อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและ แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ 2.2 อังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องลุ่มแม่น้ำไนล์ 2.3 อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน 2.4 เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องโมร็อกโกและแอฟริกา ตะวันตก

  11. 3. ระบบภาคีพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ3.1 สัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี3.2 สัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ รัสเซีย 4. ความใฝ่ฝันทะเยอทะยานด้วยความรู้สึกทางชาตินิยม และวิกฤติการณ์ซาราเจโว (การลอบปลงพระชนม์ อาชดุ๊ก ฟรานซิสเฟอร์ดินานด์ แห่งออสเตรีย)

  12. ผลสงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยฝ่ายเยอรมนีพ่ายแพ้ยอมยุติสงครามผลของสงครามได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ 2 ฝ่าย คือ ด้านสังคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน ผู้บาดเจ็บและทุพพลภาพจำนวนมาก หลายคนเป็น โรคจิตที่เกิดจากการกลัวภัยสงครามอีกทั้งเกิดปัญหาชนพลัดถิ่น

  13. 2. ด้านการเมือง ประเทศมหาอำนาจเดิม ได้แก่ เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และตุรกี เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะที่ร่างขึ้นจำนวน 5 ฉบับ • สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี • สนธิสัญญาแซงต์แยร์แมงทำกับออสเตรีย • สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย • สนธิสัญญาตริอานองทำกับฮังการี • สนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี(ต่อมาเกิดการ • ปฏิวัติในตุรกีจึงมีการทำสนธิสัญญาใหม่ • เรียกว่า “สนธิสัญญาโลซานน์”)

  14. 3. ด้านเศรษฐกิจ สงครามครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในการผลิตอาวุธใหม่ ๆที่มีอำนาจทำลายล้างสูงกว่าการทำสงครามในอดีต เช่น รถถัง เรือดำน้ำ แก๊สพิษ ระเบิด เป็นต้น เพื่อหวังชัยชนะหลังสงครามสิ้นสุดฝ่ายแพ้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ส่วนฝ่ายชนะรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้ประสบภัยและบูรณะประเทศจนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

  15. ผลกระทบของสงคราม 1. ความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลางและความหายนะของมนุษยชาติทำให้ประเทศต่าง ๆ มีแนวคิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศ ด้วยสันติวิธีโดยการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น 2. เกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ เช่น ลิทัวเนีย แลตเวีย เอสโทเนีย

  16. ผลของสงคราม : การล่มสลายของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ ของยุโรป ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ชนะ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ล่มสลายไปถึง 4 จักรวรรดิได้แก่ • จักรวรรดิรัสเซีย (ราชวงศ์โรมานอฟถูกสังหารทั้งราชวงศ์ ที่เมืองเยคาเตรินบูร์ก) • จักรวรรดิเยอรมัน • จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี • จักรวรรดิออตโตมัน

  17. ผลของสงครามท้ายสุด มีการทำสนธิสัญญาที่เรียกว่า "สนธิสัญญา แวซายส์" ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้1. ฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงิน 5,000 ล้านดอลลาร์2. ห้ามเยอรมนีมีทหารประจำการเกิน 100,000 คน3. ฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องถอนทหารออกจากชายแดนทั่วประเทศ4. เยอรมันต้องส่งมอบถ่านหินให้ฝรั่งเศสฟรี เป็นเวลา 10 ปี

  18. ประเทศคู่สงคราม                 1. ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย – ฮังการี บัลแกเรีย และตุรกี สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II 2. ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เซอร์เบีย เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1939-1945 มีระยะเวลา 6 ปี ไทยเข้าร่วมสงครามเมื่อ พ.ศ.2482 สมัยรัชกาลที่ 8 สาเหตุ ผลของสงคราม

  19. สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 • ความไม่พอใจของฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีต่อข้อตกลงสันติภาพหลังสงครามครั้งนั้น โดยเฉพาะสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่ทำให้เยอรมนีไม่พอใจเพราะมุ่งลงโทษเยอรมนี ยังส่งผลให้เยอรมนีใช้เป็นข้ออ้างในการก่อการสงคราม

  20. นโยบายสร้างชาติภายใต้ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของ 3 ชาติที่เน้นความเป็นชาตินิยมคือ 1. อิตาลี มีลัทธิฟาสซิสต์เป็นหลักในการปกครองและมุ่งหวังจะสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่เหมือนสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนล่มสลายเมื่อครั้ง WWI 2. เยอรมนีใช้ลัทธินาซีและพยายามใช้นโยบาย“เชื้อชาติอารยันที่ยิงใหญ่” มากระตุ้นความรู้สึกของคนในชาติว่ามีศักดิ์ศรีเหนือเผ่าพันธุ์อื่น 3.ญี่ปุ่นมีลัทธิการทหารเป็นแกนหลัก และนำคำสอนทางศาสนาชินโตมาชี้นำ

  21. ความไม่พอใจของฝ่ายอักษะ คือ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อสถานภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้น คือ ไม่มีดินแดนจะขยาย ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอเหมือนมหาอำนาจอื่นๆ จึงจำเป็นต้องแสวงหาเมืองขึ้นโดยใช้สงครามเป็นเครื่องมือ • ความล้มเหลวของสันนิบาตชาติ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

  22. สาเหตุปัจจุบันที่เป็นชนวนระเบิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การที่เยอรมนี ยกกองทัพบุกโปแลนด์ ซึ่งมหาอำนาจตะวันตก คือ อังกฤษและฝรั่งเศสได้ลงนามในสัญญาค้ำประกันอธิปไตยไว้ อังกฤษและฝรั่งเศสยื่นคำขอให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ เมื่อ ฮิตเลอร์ไม่ปฏิบัติตาม ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มขึ้นนับแต่นั้น

  23. ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 การสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ทางทหารมากกว่า 17 ล้านคน และพลเรือนจำนวนไม่ต่างจากทหาร นับเป็นการสูญเสียที่มากเป็นประวัติการณ์ 2. ผู้คนหลายชาติถูกทำลายเผ่าพันธุ์จำนวนมากมายที่ต้องเสียชีวิตเพราะถูกสังหารและถูกทรมานในค่ายกักกัน โดยเฉพาะชาวยิวโปลเช็ก และรัสเซียที่ถูกพวกนาซีสังหารเป็นจำนวนหลายล้านคน ภายใต้ระบอบเผด็จการชาตินิยม 3. การรบที่กระทำกันในบริเวณที่กว้างขวางและการทิ้งระเบิดทางอากาศทำให้บ้านเมืองถูกทำลายพินาศ ทรัพย์สินเสียหายสุดที่จะประมาณค่าได้

  24. 4. ยุโรปตะวันตกประสบกับความเสื่อมโทรมและบอบช้ำจากสงคราม 5. สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลขึ้นมาแทนที่มหาอำนาจเดิมของยุโรป • 6. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นมาทำหน้าที่รักษาสันติภาพของโลก

  25. ผลทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ การเกิดสงครามเย็น (Cold War) อันเป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างอภิมหาอำนาจ 2 ฝ่าย คือ สหรัฐอเมริกาผู้นำของฝ่ายโลกเสรี และสหภาพโซเวียตผู้นำของฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ โดยมีสาเหตุมาจากความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง

  26. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศที่มีกำลังทางเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังเกิดการแข่งขันกันทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่าง สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต จนกลายเป็นสงครามที่ทั่วโลกรับรู้ว่า สงครามเย็น (Cold War)

  27. สงครามเย็น vs U.S.S.R. U.S.A.

  28. สงครามเย็น ผลการเรียนรู้

  29. สหรัฐอเมริกา สงครามเย็น (Cold War) สหภาพโซเวียต ความหมาย สาเหตุ วิกฤติการณ์สงครามเย็น สงครามเวียดนาม สงครามตัวแทน (PROXY WAR) การสิ้นสุดสงคราม สงครามเกาหลี สงครามอัฟกานิสถาน

  30. เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบหนึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบหนึ่ง เกิดขึ้นใน ช่วง ค.ศ. 1945-1991 ต่อสู้โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ใช่การทำสงครามอย่างเปิดเผย วัตถุประสงค์ เพื่อ ขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน ของกลุ่มประเทศโลกเสรี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ความหมายและลักษณะ vs กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ได้แก่ สหภาพโซเวียต เศรษฐกิจโลกทรุดตัวอย่างหนัก ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่ให้กับ 2มหาอำนาจ หลัง WWII สังคมโลก เช่น ยุโรป

  31. มีประสบการณ์จาก wwIและ wwII ทำให้เสียหายน้อยกว่าประเทศอื่น เป็นประเทศที่มีก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง เป็นประเทศแรกที่ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ มีอุดมการณ์ไปในทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ การแข่งขัน U.S.A. สาเหตุ & U.S.S.R. • เป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากwwIIได้เร็วกว่าประเทศอื่น เพราะ • พื้นที่กว้างใหญ่ • มีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีอุดมการณ์ทางระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวคิดมาร์กซ์ สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้เช่นกัน

  32. U.S.A. U.S.S.R. ผู้นำกลุ่มประเทศโลกเสรี ผู้นำกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ • มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ • ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ • เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ • เป็นพันธมิตรประเทศที่มีอุดมการณ์เหมือนกันมาเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายตรงข้าม

  33. การทูตเพื่อแสวงหาพันธมิตรทางการเมืองระดับประเทศการทูตเพื่อแสวงหาพันธมิตรทางการเมืองระดับประเทศ การโฆษณาชวนเชื่อ วิธีการทางเศรษฐกิจแก่ประเทศพันธมิตรในรูปของเงินช่วยเหลือระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ รูปแบบของสงครามเย็น สะสมอาวุธ การส่งกำลังไปตั้งมั่นในประเทศพันธมิตร วิธีการทางทหาร เช่น การป้องกันร่วมในภูมิภาคต่าง ๆ NATO SEATO WARSAW PACT

  34. จะช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ U.S.A. ฯลฯ กรีซ ตุรกี ประธานาธิบดีแฮรี่ เอส ทรูแมน ประกาศวาทะทรูแมน ( Truman Dictrine) เพื่อรักษาเอกราช เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ • ขับไล่คอมมิวนิสต์ในกรีซ การเงิน การทหาร ผล • ปราบปรามพวกปฏิวัติสำเร็จ • ลดการคุกคามของ U.S.S.R. ในตุรกีลงได้

  35. แผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ผล ทำให้เศรษฐกิจและการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์เสื่อมลงในยุโรปตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส และอิตาลี U.S.A. นายพล ยอร์จ มาร์แชล อดีต รมว.กห. บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ ในยุโรป เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังสงครามทุกด้าน ให้เงินช่วยเหลือ

  36. องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization : NATO) เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เพิ่มกำลังอาวุธ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ บริเตนใหญ่ ลักเซมเบอร์ก ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยกำลัง เมื่อประเทศสมาชิกถูกรุกราน โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ กรีซ และตุรกี

  37. สงครามตัวแทน (PROXY WAR) สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามอัฟกานิสถาน

  38. สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหประชาชาติ ออสเตรเลีย เบลเยียม แคนาดา สงครามเกาหลี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ไทย ตุรกี ฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์ โคลอมเบีย เอธิโอเปีย กรีซ ลักเซมเบิร์ก เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ จีน สหภาพโซเวียต

  39. สหภาพโซเวียต • จีน • เกาหลีเหนือ สงครามเวียดนาม • บัลแกเรีย • เชโกสโลวาเกียคิวบา เวียดนามเหนือ • สหรัฐอเมริกา • เกาหลีใต้ • ออสเตรเลีย • ฟิลิปปินส์ • นิวซีแลนด์ • ไทย • สาธารณรัฐเขมร • ราชอาณาจักรลาว เวียดนามใต้

  40. สงครามอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghanistan) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถานอุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

  41. การแข่งขันประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการแข่งขันประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ ผลการเรียนรู้ : เห็นความจำเป็นและความสำคัญ ที่ต้องมีการแข่งขัน ประสานประโยชน์ และการเกิดความขัดแย้งทางความเชื่อและค่านิยม

  42. ผังการเรียนรู้ การแข่งขันประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ ความหมาย การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ สาเหตุ ความร่วมมือระหว่างประเทศ

  43. ความหมาย ความพยายามในการสร้างความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง การเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันระหว่างประเทศ โดยวิธี กีดกันด้วยวิธีการต่าง ๆ ต่อสู้ด้วยการต่าง ๆ ผลที่เกิด : ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

  44. ความต้องการ • ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ • ความมั่งคั่งเหนือประเทศอื่น สาเหตุของการแข่งขันระหว่างประเทศ • การขยายอำนาจทางการเมือง เช่น การแข่งขันกันทางด้านสะสม สร้างอาวุธทันสมัย เพื่อสนับสนุนกิจการทหาร • ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม • การกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

  45. เป็นทำข้อตกลง (MOU) เรื่องต่าง ๆ ระหว่างกัน เพื่อ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนข่าวสาร สร้างความเข้าใจและสันติภาพระหว่างกันในสังคมโลก จุดประสงค์เพื่อความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ 1. การแสวงหาแนวทางการป้องกันการสร้างดุลอำนาจ 3. ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ _ สาเหตุ 4.การรณรงค์ช่วยเหลือโลกและร่วมมือกันแก้ไข 2. การพึ่งพากันทางด้านเศรษฐกิจ

  46. ต่อรอง เจรจา สนับสนุน การทูต หาข้อตกลง ข้อตกลงร่วมกัน รูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ ใน นอก คำวินิจฉัยของศาล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นักกฎหมาย องค์การระหว่างประเทศ องค์กรต่าง ๆ

  47. สภาพการเมืองและเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันสภาพการเมืองและเศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง เศรษฐกิจ กับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพการเมืองในโลกปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน ระบบการเมืองที่สำคัญ ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองโลก : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโลก ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองโลก : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโลก แบบเสรีนิยม ระบอบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการ แบบสังคมนิยม ระบอบเผด็จการ แบบอำนาจนิยม แบบผสม

More Related