630 likes | 1.4k Views
การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย. รศ. บรรพต พรประเสริฐ. ความเชื่อของการจัดการศึกษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย.
E N D
การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย รศ. บรรพต พรประเสริฐ
ความเชื่อของการจัดการศึกษา ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาจากความเชื่อที่ว่า การเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนเท่านั้นและไม่ใช่การมองว่าเด็กคือแก้วที่ว่างเปล่าที่ครูจะเทน้ำตามความต้องการของครูไปสู่เด็ก แต่การเรียนรู้ของเด็กและการสอนของครูเป็นการผสมผสานของวัตถุจากแก้ว 2 ใบรวมกัน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจหรือน่าสนใจ สำหรับเด็ก บทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มศักยภาพของเด็ก
ความเป็นมาของแนวคิด คำว่าเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emillia) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีและเป็นจุดเริ่มต้นของความงอกงามของแนวคิดนี้ในปี ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีแม่บ้านกลุ่มหนึ่ง มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กๆในหมู่บ้านที่ทรุดโทรมจากผลสงคราม วิธีเรียนแบบเรกจิโอ เอมิเลียอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาคือตัวกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้เน้นการเรียนแบบโครงการเป็นฐาน ประสานกับการแสดงออกทางความคิดและภาษาด้วยงานศิลปะสร้างสรรค์ วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลียได้รับการยอมรับและแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา
ทฤษฎีและแนวคิดที่นำมาใช้ทฤษฎีและแนวคิดที่นำมาใช้ การพัฒนาการเรียนการสอนใน Reggio Emilia พัฒนาจากแนวคิดและทฤษฎีของนักการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักจิตวิทยา ในช่วงทศวรรษ 1960ซึ่งเป็นคลื่นลูกแรกของแหล่งแนวคิดที่มีผลต่อแนวการจัดการศึกษาในยุคนั้น เช่น แนวคิดของ JeanPiaget John Dewey Henri Wallon Edward Chaparede Ovide Decroly Anton Makarenko Lev Vygotsky และ Erik Erikson มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) และครูในเรกจิโอเอมิเลียเชื่อแนวความคิดตามหลักของดิวอี้ (John Dewey) ที่ว่าการเรียนรู้จะต้องเกิดจาการที่ผู้เรียนสนใจที่จะเรียนรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดประสบการณ์ตรงที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ในตัวผู้เรียน การศึกษาไม่ใช่เกิดจากการกำหนดหลักสูตรล่วงหน้าที่ตายตัวและปฏิบัติตามแผนการสอนนั้นตลอดเวลา ค้นหาในสิ่งที่ศึกษาว่าเด็กๆเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริง
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แบบเรกจิโอ เอมิเลีย 1. วิธีการมองเด็ก (The image of the Child) เด็กในสายตาของครูเรกจิโอ เอมิเลีย คือเด็กแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ มีวิธีการเรียนไปตามระยะของพัฒนาการในแต่ละวัย เต็มไปด้วยพลัง ความปรารถนาที่จะเติบโตและงอกงาม ความอยากรู้อยากเห็น ความสามารถในการแสดงออกถึงความต้องการที่จะสัมพันธ์และสื่อสารกับผู้อื่นด้วยการแสดงออกทางแววตา สีหน้า อากัปกิริยา การจับต้องสัมผัส โดยเฉพาะ ความต้องการที่จะสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยความสามารถในการสื่อสารนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเด็กเพื่อการอยู่รอด และคงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเผ่าพันธุ์ที่กำเนิดขึ้นมา
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แบบเรกจิโอ เอมิเลีย 2. โรงเรียนเป็นสถานที่บูรณาการสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การใช้ชีวิตและมีสัมพันธภาพร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก โรงเรียนเปรียบเหมือนสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวของเด็กต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตของเด็กในโรงเรียนนอกจากครอบครัวแล้วชุมชนต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ถึงความเป็นไปในโรงเรียนเช่นกัน เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงสิทธิที่พึงได้ของเด็กปฐมวัยและการยอมรับเด็กในฐานะของการเป็นผู้รับช่วงหน้าที่ในการจรรโลงสังคมในอนาคต
การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย แบบเรกจิโอ เอมิเลีย 3. ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน การสอนและการเรียนต้องควบคู่ไปด้วยกัน แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลียจะให้ความสำคัญของการเรียนมากกว่าการสอน ก่อนจะเริ่มเข้าสู่การสอน ถ้าครูสังเกตดูอยู่ข้างๆสักครู่ และเรียนรู้จากห้องเรียนนั้นว่าเด็กกำลังทำอะไรอยู่ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาเรกจิโอ เอมิเลียคือการจัดสิ่งแวดล้อมและให้โอกาสเด็กได้คิดประดิษฐ์และค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ที่มีคุณค่าเป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การสอนวิธีใหม่ที่ครูเป็นผู้ประสานงาน ส่งเสริมและจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ครูต้องมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนที่สนองต่อศักยภาพของเด็กแต่ละคนเพราะเด็กทุคนมีความพร้อม มีศักยภาพ มีความกระตือรือร้น สนใจที่จะสัมพันธ์กับสังคมและสร้างสัมพันธภาพ สร้างการเรียนรู้และพร้อมเรียนรู้กับทุกสิ่ง 2. การศึกษาของเด็กมีความเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กันระหว่างเด็ก ครอบครัว ชุมชน ครู โรงเรียน และสังคมอย่างลุ่มลึกและเป็นระบบ การเรียนการสอนจึงต้องเป็นการกระทำที่สนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาเด็ก
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3. เด็ก ครู ผู้ปกครอง มีสิทธิที่จะทำงานร่วมกันในการดูแลและให้การศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก 4. ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์และสวัสดิการให้แก่เด็กในโรงเรียน 5. ทุกซอกทุกมุมในโรงเรียนต้องเป็นสถานที่สำหรับให้เด็กแสดงผลงานการเรียนรู้ที่เด็กและครูสามารถนำมาจัดและตกแต่งด้วยตนเองได้
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6. ครูต้องสนับสนุนให้เด็กทำงานกับเพื่อนสัก 2-4 คน เพราะกลุ่มเล็กจะทำให้เด็กได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดและพัฒนากลไกการสื่อสารอย่างทั่วถึง 7. ให้เวลาแก่เด็กในการศึกษาเต็มที่และต่อตนเอง ไม่กำหนดเวลาและกิจกรรมของเด็กเพราะการทำโครงการการเรียนรู้ของเด็กอาจทำทั้งวันก็ได้ขึ้นอยู่กับงานและความสนใจของเด็กซึ่งจะคุ้นกับเพื่อนและครูตลอด 2 ช่วง คือ ทารก-3 ปี และ 3-6 ปี
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8. ครูต้องเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมคิด ร่วมทำ ครูต้องรับรู้แผนและกระบวนการดำเนินการเรียนรู้ของเด็ก พร้อมทั้งเป็นแหล่งข้อมูล เป็นผู้ให้กำลังใจ สนับสนุน สนทนา ตอบคำถามแนะนำ และสังเกตการณ์ทำงานของเด็กให้เป็นไปตามโครงการที่กำหนดหรือปรับแผนเมื่อเด็กต้องการ 9. การสอนตามแนวคิดเรกจิโอเอมิเลีย เน้นถึงการทำงานของครูเป็นคู่ที่ต้องการทำงานแบบร่วมมือกัน งานหลักคือการพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษาความร่วมมือร่วมใจนี้ประสานถึงความร่วมมือของผู้ปกครอง ผู้บริหาร ละชุมชน
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 10. ครูเปรียบเสมือนผู้สื่องานศิลป์ เด็กคือผู้ผลิตงานศิลป์ ครูและนักเรียนจะร่วมกันสื่อการเรียนรู้ด้วยงานศิลป์ที่บ่งบอกถึงความรู้ความเข้าใจของเด็ก ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีครูที่มีความสามารถทางทัศนศิลป์ทำงานร่วมกันอยู่ด้วยเพื่อให้การจัดการแสดงเชิงศิลป์ที่มุมศิลปะ 11. การจัดทำสารนิทัศน์เป็นสื่อสำคัญของการทำงานสร้างสรรค์ เอกสารที่ครูจัดเก็บและแสดงเป็นงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายหรือผลงานศิลปะของเด็กที่มีความหมายมากมายสำหรับครูและเด็ก ผลงานที่จัดแสดงจะบอกถึงงานครู ความก้าวหน้าของเด็กที่ผู้ปกครองควรทราบและงานที่เด็กต้องภูมิใจ
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 12. หลักสูตรหรือประสบการณ์การเรียนรู้ต้องเกิดจากการตัดสินใจเลือกของเด็กจากการสนทนาและอภิปรายระหว่างเด็กกับครูหรือเด็กกับเด็ก 13. โครงการเป็นหัวใจหลักของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กกับครูซึ่งอาจมาจากการอภิปรายหรือจัดประสบการณ์ของเด็กได้ โครงการจะเป็นจุดสร้างทางการศึกษาของเด็กที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้และการค้นพบ การใช้เวลาสั้นยาวมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ
ขั้นตอนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 1. ขั้นเตรียม เด็กจะมีบทบาทในการเป็นผู้เลือก แต่การเตรียมส่วนหนึ่งนั้นเป็นของครู สิ่งที่ครูเตรียมได้แก่ เตรียมสื่อและอุปกรณ์สร้างสรรค์สำหรับงานศิลปะเด็ก จัดเตรียมหัวข้อโครงการที่คาดว่าเด็กจะสนใจทั้งระยะสั้น ระยะยาว สำหรับให้เด็กเลือกหรือไม่มีความเห็นว่าจะเรียนอะไร
ขั้นตอนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 2. ขั้นดำเนินการ ครูนำประเด็นให้เด็กคิดหัวข้อที่สนใจด้วยการนำเสนอปัญหาที่เด็กคิดแก้ไข ถามแล้วให้แนวทางซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะเรียน โดยครูอาจใช้วิธีสังเกต ความสนใจของเด็กและนำมาแนะนำหัวข้อให้กับเด็กเมื่อเห็นว่าสำคัญ หัวข้อที่เรียนอาจเป็นความสนใจของครูและความต้องการทางวิชาชีพที่เห็นว่าเด็กต้องเรียน ความสนใจร่วมกันระหว่างครูกับเด็กหรือบางหัวข้ออาจนำมาจากความสนใจของผู้ปกครองหรือชุมชน
ขั้นตอนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 3. ขั้นสอน เมื่อมีหัวข้อโครงการแล้วครูตั้งคำถามที่จะนำไปสู่การดำเนินงานตามขั้นตอนการเรียนรู้คือ - ขั้นวางแผนงานให้เด็กหาคำตอบว่า อยากรู้อะไรบ้าง จะใช้เครื่องมืออะไรในการสื่อความคิด และจะดำเนินการอย่างไร ระหว่างนี้ครูต้องบันทึกความเห็นของเด็ก แนวทางการดำเนินการของเด็กแล้วนำไปวิเคราะห์ร่วมกัน
ขั้นตอนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 3. ขั้นสอน - ขั้นดำเนินการ เด็กออกหาคำตอบตามแผนการที่กำหนด ครูบันทึกความก้าวหน้าของเด็กโดยจัดทำสารนิทัศน์จากผลงานของเด็กล้วนนำมาเสนอเป็นงานเชิงศิลปะแสดง เช่น ภาพถ่ายที่เกี่ยวข้อง ภาพวาดของเด็ก สิ่งประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ภาพปั้น วัสดุที่เด็กเก็บมาศึกษาก็สามารถนำมาแสดงเป็นผลงานได้ ซึ่งในขั้นนี้ต้องส่งเสริมให้เด็กสังเกต ใช้กระบวนการคิด สร้างสรรค์แล้วสื่องานออกมาตามระดับความสามารถของเด็กเพื่อเสนอให้ผู้อื่นทราบ
ขั้นตอนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 3. ขั้นสอน - ขั้นสรุป นำเสนอเป็นนิทรรศการให้ดูไว้เพื่อให้เห็นการการทำกิจกรรมของเด็กและความก้าวหน้าของเด็ก
ขั้นตอนการสอนตามแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 4. การประเมินผล เด็กจะซึมซับสิ่งที่เด็กเรียนรู้จากความคิดของตนเองและเสนอออกมาเป็นงานศิลปะ แก้ปัญหาและเพิ่มสาระจากการโต้ตอบปัญหาอภิปรายกับครูไปสู่การปรับผลงานศิลปะและบันทึกซ้ำอีกครั้งจากการได้เห็นของจริงว่าเป็นสิ่งของ ธรรมชาติ และชุมชนและปรับความรู้อีกครั้ง ผลงานศิลปะทุกชิ้นของเด็กเป็นภาพสะท้อนการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกและประทับในจิตใจงานที่ครูสามารถนำมาประเมินได้แก่ การแสดงออกทางความคิดด้วยงานศิลปะของเด็ก ผลการเรียนรู้จากการค้นหาคำตอบของเด็ก ผลงานของเด็ก
บทบาทของผู้ปกครอง ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ช่วยเหลือในการเรียน เป็นผู้ทำงานร่วมกันและสนับสนุนการเรียนของเด็ก ซึ่งผู้ปกครองเป็นครูคนแรกของเด็กที่ช่วยให้เกิดมุมมองใหม่ๆต่อหลักสูตร ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในห้องเรียน ผู้ปกครองที่ให้ลูกเรียนตามแนวคิดนี้จึงนำไปใช้ร่วมกับชีวิตในบ้านได้ด้วย นับเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างบ้านกับโรงเรียน
หลักสูตร Reggio Emilia เรกจิโอ เอมิเลีย โดยลอริส มาลากุชี ได้นำแนวคิดมาจากพิอาเจท์และไวกอตสกี้ หลักการคือ การร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและครูในการดำเนินงาน หลักสูตรพื้นฐานคือ การทำโครงการในการเรียนและศิลปะ และการจัดสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนในการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆ สนับสนุนให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมมือกันในการทำโครงงาน แบ่งเป็นโครงงานระยะสั้น และระยะยาว
หลักสูตร Reggio Emilia สนับสนุนให้เด็กถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดผ่านทางศิลปะ ในการวาดภาพ มีมุมศิลปะในห้องเรียน หน้าที่ของครูคือ เข้าใจในความแตกต่างและลักษณะพิเศษของนักเรียนเป็นรายบุคคล
บทบาทของครู บทบาทของครูเรกจิโอ เอมิเลียนั้นมีความสำคัญที่สุดสำหรับผู้เรียน ครูต้องทำงานกับครูด้วยกัน ทำงานร่วมกับเด็ก และผู้ปกครอง ครูเป็นเหมือนผู้วิจัยร่วมและแนะแนวทางให้กับเด็ก ที่สำคัญครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักสังเกตและช่วยเด็กหาข้อมูลในการทำงาน ยั่วยุให้เด็กเกิดความคิดและพนักงานในโรงเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็ก ทุกคนมีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้ที่มีความแข็งแรง มีพลัง มีความสามารถ เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมที่เขาอยู่และเรียนรู้ไปด้วยกันในสังคมนั้น
การเรียนรู้ของแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 1. ครูกับเด็กเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้ของแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 2. โครงการเป็นประสบการณ์ที่สำคัญ
การเรียนรู้ของแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 3. กิจกรรมประจำวันและการจัดการในชั้นเรียน
การเรียนรู้ของแนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย 4.การแสดงผลงานเด็ก
ศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนศูนย์กลางการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียน แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย (Reggio Emilia) เป็นแนวคิดทางการศึกษาที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การยึดตัวผู้เรียนเป็นหลัก แนวคิดนี้มีการพัฒนามาจากความเชื่อที่ว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ใช่การถ่ายโอนข้อมูลความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยมีครูผู้สอนทำหน้าที่ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยการสร้างสถานการณ์หรือจัดสิ่งแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้ถาม ได้แก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง
การเรียนรู้ในแบบของเรกจิโอ เอมีเลีย การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกจากโครงการ (projects) การสอนแบบโครงการเป็นการสอนที่เน้นให้เด็ก ได้ค้นหาคำตอบจากปัญหาหรือเรื่องที่สนใจเพื่อสร้างองค์แห่งความรู้ด้วยตนเอง โดยก่อนการเริ่มโครงการในชั้นเรียน ครูผู้สอนทุกคนจะมีการพูดคุยถึงหัวข้อโครงการที่อาจอยู่ในความสนใจของเด็กและเตรียมการในด้านต่างๆ เอาไว้ให้พร้อม เมื่อเริ่มโครงการในชั้นเรียนครูจะเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกศึกษาโครงการที่ตนเองสนใจ ไม่ว่าจะเป็นโครงการระยะสั้นหรือระยะยาว กิจกรรมและประสบการณ์จากโครงการต่างๆ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เพื่อสร้างองค์แห่งความรู้ด้วยตนเอง
การบันทึกข้อมูลสาระการเรียนรู้การบันทึกข้อมูลสาระการเรียนรู้ การจัดบันทึกข้อมูลสาระการเรียนรู้ของเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของแนวคิดนี้ การบันทึกข้อมูลสาระการเรียนรู้จะครอบคลุมถึงกิจกรรมทุกด้านตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ของการเรียนรู้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการดำเนินโครงการที่เด็กมีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ครูผู้สอนจะมีบทบาทสำคัญในการบันทึกเหตุการณ์เด่นๆ ที่สะท้อนถึงการทำงานและการเรียนรู้
“การพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นนั้น จะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้นยากที่จะทำได้”
หลักสูตรตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย โรงเรียน..................................................................................................... .................................................................................................................... ..................................................................................................................... .................................................................................................................... .................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
โครงการตามแนวคิด เรกจิโอ เอมีเลีย ....................................................................................................................... .................................................................................................................... ..................................................................................................................... .................................................................................................................... .................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
Thank You for Your Attention สวัสดี Sophon Yamtongcome 34