1 / 6

อาวุธก่อการร้ายทางเคมีชนิดใหม่ ออสเมียมเตทรอกไซด์ ( Osmium Tetroxide)

อาวุธก่อการร้ายทางเคมีชนิดใหม่ ออสเมียมเตทรอกไซด์ ( Osmium Tetroxide). เรียบเรียงโดย นาวาตรีหญิง ธัชพร รูปะสุต ปัจจุบันได้มีการตรวจพบหลักฐานการนำสารเคมีชนิดใหม่มาใช้เพื่อการก่อการร้ายสารเคมีชนิดใหม่ที่จะกล่าวถึงนี้คือ ออสเมียมเตทรอกไซด์ ( OsmiumTetroxide)

hedy-hoover
Download Presentation

อาวุธก่อการร้ายทางเคมีชนิดใหม่ ออสเมียมเตทรอกไซด์ ( Osmium Tetroxide)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาวุธก่อการร้ายทางเคมีชนิดใหม่ออสเมียมเตทรอกไซด์ (Osmium Tetroxide) เรียบเรียงโดย นาวาตรีหญิง ธัชพร รูปะสุต ปัจจุบันได้มีการตรวจพบหลักฐานการนำสารเคมีชนิดใหม่มาใช้เพื่อการก่อการร้ายสารเคมีชนิดใหม่ที่จะกล่าวถึงนี้คือ ออสเมียมเตทรอกไซด์ (OsmiumTetroxide) คุณลักษณะของ ออสเมียมเตทรอกไซด์ (OsO4) ออสเมียมเตทรอกไซด์ เป็นสารไม่มีสี ถึง สีเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง บางโอกาสอาจเรียกกรดออสมิก (Osmic Acid) ในสภาพที่เป็นของแข็งสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง จึงเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ (เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีความดันไอสูงเท่ากับ ๗ มิลลิเมตรปรอท ณ อุณหภูมิ ๒๐ องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำที่มีความดันไอเท่ากับ ๑๗ มิลลิเมตรปรอท ซาริน ซึ่งจัดเป็นสารประสาท พวก GB มีความดันไอเท่ากับ ๒.๑๐ มิลลิเมตรปรอท สำหรับสารประสาทพวก VX มีความดันไอ เท่ากับ ๐.๐๐๐๗ มิลลิเมตรปรอท โดยทั้งน้ำ ซาริน และ VX อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลว) กลิ่นที่ระเหยมีลักษณะ ฉุน คล้ายกลิ่นโอโซน หรือคลอรีน

  2. ผลกระทบทางกายภาพเมื่อสัมผัสออสเมียมเตทรอกไซด์ผลกระทบทางกายภาพเมื่อสัมผัสออสเมียมเตทรอกไซด์ ออสเมียมเตทรอกไซด์ เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงและเป็นตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรง ปฏิกิริยาความเป็นพิษสามารถแสดงออกได้เมื่อสัมผัสจากการหายใจ ตา เยื่อเมือกต่างๆ ผิวหนัง รวมทั้งระบบทางเดินอาหาร ไอระเหยของออสเมียมเตทรอกไซด์จะทำให้ระบบทางเดินหายใจผิวหนัง และตา ไหม้ได้ โดยเมื่อสัมผัสกับไอระเหยในช่วงเวลาสั้นๆ จะเกิดอาการ น้ำตาไหล (Lachrymation) ไอ ปวดศีรษะ มึนงง ตามัว อาการเหล่านี้อาจไม่เป็นที่สังเกตจนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ผลที่เกิดตามมาภายหลังคืออาการน้ำท่วมปอด ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นลักษณะที่ดีของสารเคมีที่จะนำมาใช้ในการก่อการร้าย ออสเมียมเตทรอกไซด์ที่ละลายน้ำจะทำให้ผิวหนังส่วนที่สัมผัสสารไหม้เปลี่ยนเป็นสีดำ และเป็นสาเหตุของมะเร็ง

  3. หมายเหตุ • *LCt50* หมายถึง ความเข้มข้นไอระเหยที่มีผลทำให้ประชากรที่สูดดมไอระเหยตาย ๕๐ เปอร์เซ็นต์ • ** LD50** หมายถึง ความเข้มข้นของเหลวที่มีผลทำให้ประชากรที่สัมผัสสารผ่านทางผิวหนังตาย ๕๐ เปอร์เซ็นต์ มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักคนเป็นกิโลกรัม (คนหนัก ๑๕๐ ปอนด์ เท่ากับประมาณ ๖๘ กิโลกรัม) • *** n/a หมายถึง ไม่พิจารณา เนื่องจาก ฟอสจีนมีสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิห้อง

  4. จากตารางข้างต้น ความเข้มข้นของสารเคมีที่ร่างกายได้รับแล้วจะมีผลต่อร่างกาย พบว่า ร่างกายได้รับออสเมียมเตทรอกไซด์ความเข้มข้นต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสจีน ซัลเฟอร์มัสตาร์ด และซาริน ก็แสดงผลทางร่างกายแล้ว เมื่อมาพิจารณาความเข้มข้นไอระเหยที่มีผลทำให้ประชากรที่สูดดมไอระเหยตาย ๕๐ เปอร์เซ็นต์หรือค่า LCt50 พบว่าซัลเฟอร์มัสตาร์ดมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีความดันไอค่อนข้างต่ำคือ ประมาณ ๐.๐๗๒ มิลลิเมตรของปรอท ซึ่งหมายความว่ามีความสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ช้ากว่าออสเมียมเตทรอกไซด์มากกว่า ๑๕๐ เท่า อย่างไรก็ตามค่า LCt50 ของออสเมียมเตทรอกไซด์มากกว่าซารินมาก แต่ต้องพิจารณาความสามารถในการระเหยกลายเป็นไอของออสเมียมเตทรอกไซด์ สูงกว่าซารินถึง ๖ เท่า จึงสรุปว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นพิษเนื่องจากการหายใจไอระเหยของออสเมียมเตทรอกไซด์ใกล้เคียงกับซารินมากกว่าฟอสจีนและซัลเฟอร์มัสตาร์ด การใช้ออสเมียมเตทรอกไซด์ในงานทั่วไป ออสเมียมเตทรอกไซด์ถูกใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ๑. การเตรียมตัวอย่างทางชีววิทยา ในขั้นที่เรียกว่า Fixing หรือ Fixation โดยออสเมียมเตทรอกไซด์จะทำปฏิกิริยากับชั้นของกรดไขมัน (Olefins) เพื่อช่วยในการรักษาโครงสร้างของเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายได้จากขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง เพื่อตรวจดูลักษณะของเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน

  5. ใช้ในปฏิกิริยาของเคมีอินทรีย์ เช่น การสังเคราะห์ฮอร์โมนของมนุษย์ (Norestradio) และใช้ในอุตสาหกรรมการสังเคราะห์สารประกอบไกลคอล การใช้ออสเมียมเตทรอกไซด์เป็นอาวุธในการก่อการร้าย เมื่อออสเมียมเตทรอกไซด์ได้รับความร้อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นออสเมียมไดออกไซด์ (OsO2) ซึ่งมีลักษณะแข็งมากจึงถูกนำไปใช้เป็นตัวต้านทาฯชนิดหนึ่งแทนตัวต้านทาฯที่ทำจากเซรามิกส์ในอุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ การใช้ระเบิดร่วมกับออสเมียมเตทรอกไซด์จะทำลายอันตรายอันเกิดจากการหายใจไอของออสเมียมเตทรอกไซด์ เนื่องจากไอของออสเมียมเตทรอกไซด์ถูกทำลายไปหมด นอกจากนี้อันตรายของออสเมียมเตทรอกไซด์จะลดลงเมื่อใช้ในสถานที่เปิด และจะไม่ทำให้สถานที่นั้นๆ มีการปนเปื้อนจากสารพิษนาน และเนื่องจากออสเมียมเตทรอกไซด์เป็นสารออกซิไดซเซอร์ที่รุนแรงมาก จึงนิยมใช้เป็นวัสดุในการจุดระเบิดมากกว่า

  6. การใช้ออสเมียมเตทรอกไซด์ในการก่อการร้ายจึงจะใช้เป็นสารเคมีเดี่ยวในรูปของแข็งเพื่อให้เกิดการระเหิดกลายเป็นไอเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ และหากออสเมียมเตทรอกไซด์อยู่ในสภาพสารละลายจะเป็นอันตรายต่อระบบผิวหนังและระบบย่อยอาหาร ข้อเสียของการใช้ออสเมียมเตทรอกไซด์เป็นอาวุธในการก่อการร้ายคือ ออสเมียมเตทรอกไซด์เป็นตัวออกซิไดซ์ที่รวดเร็วและไม่จำเพาะ การก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายมีเพียงทำให้เกิดการไหม้ที่ร่างกายและทำให้ตาบอด แต่ไม่ออกฤทธิ์เจาะจงทำลายระบบการทำงานของร่างกาย เหมือนเช่นสารประสาท ข้อจำกัดอีกข้อหนึ่งของออสเมียมเตทรอกไซด์คือการที่เป็นสารที่สามารถระเหิดได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่มีความคงทนในพื้นที่ที่ปนเปื้อนเมื่อเทียบกับ ซารินและสารวีเอ็กซ์ (VX) สรุป ออสเมียมเตทรอกไซด์จัดเป็นสารสังหารประเภทหนึ่ง แต่จะไม่ใช้ร่วมกับวัตถุระเบิด เนื่องจากสลายตัวอย่างรวดเร็ว ออสเมียมเตทรอกไซด์ออกฤทธิ์เหมือนสารสำลัก (Choking agent) เนื่องจากสามารถระเหิดได้รวดเร็วจึงมีผลต่อระบบหายใจ ออกฤทธิ์เหมือนสารพุพองเนื่องจากทำให้ผิวหนังไหม้ และตาบอด อย่างไรก็ตามออสเมียมเตทรอกไซด์เป็นสารไม่คงทน

More Related