210 likes | 325 Views
การบรรยายนำ. เรื่อง “การพัฒนา ผลักดัน และขับเคลื่อนนโยบาย และแผนแม่บทการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อการ พัฒนาระบบวิจัยของประเทศอย่างเป็นเอกภาพ”. โดย นางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552
E N D
การบรรยายนำ เรื่อง “การพัฒนา ผลักดัน และขับเคลื่อนนโยบาย และแผนแม่บทการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อการ พัฒนาระบบวิจัยของประเทศอย่างเป็นเอกภาพ” โดย นางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552 ณ ห้องฟีนิกส์ ฮอลล์ 8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
ปัจจุบัน วช. ได้จัดทำ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ(พ.ศ. 2551-2553) ขึ้น ซึ่งถือเป็นนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ ฉบับที่ 7 - เพื่อให้หน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย - เป็นกรอบทิศทางการวิจัยสำหรับจัดทำข้อเสนอการวิจัยของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ และเป็นกรอบในการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อเสนอดังกล่าว - และเกิดขึ้นจากการที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดทำ (พร้อมกับ สศช. สวทช. และ สกว.) และ จัดทำนโยบายการวิจัยของชาติ ระยะยาว ด้วย
มติ ค.ร.ม. เมื่อวันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2550 อนุมัติ “ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553)” และให้กระทรวง และกรมต่าง ๆ แต่งตั้ง คณะทำงานในระดับกระทรวงระดับกรม เพื่อให้มีการจัดทำแผนการวิจัยของหน่วยงานที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติที่ วช. เสนอ หน่วยงานแต่งตั้งคณะทำงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 16 กระทรวง 159 กรม 53 มหาวิทยาลัย ส่วนยุทธศาสตร์การวิจัย ภน.
คณะทำงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฯ ตามมติ ครม. มีหน้าที่ 3 ประการ คือ (1) ดำเนินการจัดทำแผนการวิจัยของหน่วยงานที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.2551-2553) (2) ประสานการดำเนินงานดังกล่าวระหว่างหน่วยงานกับ วช. และ (3) เสริมสร้างความเข้าใจและสร้างความเชื่อมโยงในการกำหนดกลไกในการผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.2551-2553) ในส่วนที่หน่วยงานเกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติในระดับกระทรวงและระดับกรม หรือหน่วยงานเทียบเท่าและนำไปสู่การจัดทำ/ปรับแผนงานวิจัยของหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.2551-2553)
การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยการผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) วช. ได้กำหนดให้มีนวัตกรรมในการผลักดัน บริหาร และ ขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ดังกล่าวสู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมในส่วนกลางและในภูมิภาคจนถึง ระดับท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ วช. ได้มีการกำหนดกลไกในการ ผลักดัน บริหาร และขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) เพื่อให้มีการนำไปปฏิบัติให้เป็นผลอย่าง เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยลงสู่ภูมิภาค จังหวัด และท้องถิ่น ซึ่ง วช. ได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
1.การประชุมกำหนดกลไกการบริหารยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ. 2551-2553) สู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมในภูมิภาค ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. 51 ภาคกลาง : 6 ก.พ. 51 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 22 ก.พ. 51 ภาคเหนือ : 14 ก.พ. 51 ภาคใต้ : 5 มี.ค. 51 ผลที่ได้ : ประสาน ผลักดัน เชื่อมโยง 5 ยุทธศาสตร์การวิจัยกับ 10 กลุ่มเรื่อง จัดลำดับความสำคัญของแผนงานวิจัย ตามกลุ่มเรื่องเร่งด่วน ได้ประเด็นวิจัยเร่งด่วนเพิ่มเติม และแนวทางเบื้องต้นในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติสู่ ท้องถิ่น และเอกชน
2. การประชุมกลุ่มสนทนาการกำหนดกลไกการบริหารยุทธศาสตร์การวิจัย ของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) สู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมใน 12 จังหวัดนำร่อง ของ 4 ภูมิภาค ในช่วงเดือน มิถุนายน - สิงหาคม 2551 ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ภาคเหนือ ขอนแก่น หนองคาย นครราชสีมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปทุมธานี ชลบุรี กาญจนบุรี ภาคกลางรวมภาคตะวันออก ภาคใต้ สงขลา นครศรีธรรมราช ระนอง ผลที่ได้ :กลไกบริหารยุทธศาสตร์การวิจัยในระดับจังหวัดแบบมีส่วนร่วม มีการเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการของ จังหวัดและกระตุ้นให้เกิดการลงทุนวิจัยของภาคเอกชน ประชาชน และชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดนำร่อง
สิ่งสำคัญคือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็น 2 จังหวัดนำร่องใน 12 จังหวัดนำร่องข้างต้นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การ วิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) สู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม ของจังหวัดขึ้นแล้ว ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายที่ดีของการที่จะ นำไปสู่การบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) กับแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด เพื่อให้ การพัฒนาประเทศเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสมบนฐานข้อมูลที่เป็นจริงจากการวิจัย
ปรับ/ขยายนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ถึงปี 2554 : เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน แผนการ บริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. 2552-2554) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) : สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีการ เผยแพร่และผลักดันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติด้วย โดยมอบหมายสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่ายใน 4 ภูมิภาคเพื่อจัดประชุมระดมความคิดกำหนดประเด็นวิจัยเพิ่มเติมสำหรับการปรับ/ขยายนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติดังกล่าว ส่วนยุทธศาสตร์การวิจัย ภน.วช.
โดย วช. เห็นควรมีการปรับเพิ่มและเน้นประเด็นวิจัย บางประเด็นที่ยังกำหนดไม่เด่นชัดในยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ 5 ยุทธศาสตร์ เช่น ด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ การต่อยอดภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เป็นต้น รวมทั้ง วช. จะมีการปรับตัวชี้วัดที่คาดหวังเมื่อสิ้นสุดปี 2554 ในเรื่องจำนวนบุคลากรทางการวิจัยและพัฒนาให้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 8 คน ต่อประชากร 10,000 คน เป็น 10 คนต่อประชากร 10,000 คนและเพิ่มตัวชี้วัดในเรื่องผลงานวิจัย ต่อยอดเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ
นโยบายและแผน แม่บทการวิจัย ของสภาวิจัยแห่งชาติ นโยบายและแนวทาง การวิจัยของชาติ ระยะยาว พ.ศ.2552-2571 • นโยบายระยะยาว • กรอบแนวทาง • ประเด็นวิจัย • การบริหารจัดการ • การติดตามประเมิน • นโยบายรัฐบาล • ความต้องการท้องถิ่น • ยุทธศาสตร์งบประมาณ • แนวทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ.2555-2559 การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ พ.ศ.2551-2554 • การมีส่วนร่วม • กลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุน • การบริหารจัดการ : วช. ภูมิภาค • การติดตามประเมินผล
การจัดทำโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาวการจัดทำโครงสร้างนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติระยะยาว วัตถุประสงค์ : เพื่อใช้กำหนดนโยบายการวิจัยให้เป็นทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมุ่งผนึกพลังปัญญาจากทุกภาคส่วนในสังคมไทยให้ร่วมกันจัดวางโครงสร้างและดำเนินการขับเคลื่อนวาระวิจัยแห่งชาติที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
วงจรการจัดการงานวิจัยวงจรการจัดการงานวิจัย การขับเคลื่อนภารกิจของการจัดโครงสร้างนโยบายการวิจัยของชาติระยะยาว ขณะนี้อยู่ในระยะการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์เชิงนโยบาย และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีหรือเทคนิคสังคมเพื่อระดมความเห็นของสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบายให้เกิดความเห็นร่วมที่จะกำหนดวาระนโยบายการวิจัยระยะยาวขึ้นให้ชัดเจนหากสามารถวางนโยบายดังกล่าวได้ จึงจะนำมาซึ่งการจัดกระบวนการประสานงานนโยบายวิจัยจากหลายภาคส่วนให้เกิดการระดมทรัพยากรและร่วมกันจัดโครงสร้างเชิงนโยบายการวิจัยให้ปรากฏเป็นรูปธรรมได้ เพื่อให้ได้กรอบการวิจัยปรับตัวสู่การจัดวางรูปแบบสังคมไทยในอนาคตที่ชัดเจนและยั่งยืนต่อไป
จากการศึกษาได้ประเด็นสำคัญที่นำมากำหนดเป็นประเด็นการศึกษาในขณะนี้ประกอบด้วย 8 ประเด็นวิจัย ซึ่งอาจจะกำหนดขอบเขตของภาพการมุ่งหวังในอนาคต โดยเป็นตัวอย่าง ดังนี้ หมายเหตุ : ประเด็นการวิจัยที่ 1-6 ดำเนินการในปีงบประมาณ 2551 ประเด็นการวิจัยที่ 7-8 ดำเนินการในปีงบประมาณ 2552
มติ ครม. 27 พ.ย. 50 นโยบายและแผนแม่บทการวิจัยของ สภาวิจัยแห่งชาติที่เป็นเอกภาพ การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ วช. เป็นองค์กร กลาง สถานการณ์และ:ศักยภาพของประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ความร่วมมือระหว่าง รัฐ ประชาชน เอกชน เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแบบมีส่วนร่วม ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน • ความต้องการ • พื้นที่ • ผู้ใช้ประโยชน์ ยุทธศาสตร์การวิจัย 4 ภาค แผนพัฒนาฯ ฉบับ 10
ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบวิจัย ที่ 2 : การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยสู่การปฏิบัติ ประชุมกำหนดกลไกการบริหารและขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ.2551-2553) สู่การปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม 4 ภูมิภาค
ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบวิจัยที่ 3 :ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณการวิจัย ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบวิจัยที่ 4 :ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยง และสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ประชาชน ภาคเอกชน และ นานาประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัย ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบวิจัยที่ 5 :ยุทธศาสตร์สร้างเครือ ข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และนานาประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยอย่างเป็นระบบ
ปีงบประมาณ 2552 การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายและแผนแม่บทการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ การลงนามบันทึกความ ร่วมมือในการนำนโยบายและแผนแม่บทการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติไปปฏิบัติ : ระดับนโยบาย : วช. กับจังหวัด : วช. กับหน่วยงาน : วช. กับองค์กร ด้านการวิจัย ประชุมระดมความคิด 4 ภาค : ประเด็นวิจัยสำหรับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยฯ ฉบับต่อไป ประชุมคณะทำงานด้านนโยบายและ ยุทธศาสตร์ การวิจัยของชาติ ตามมติ ครม.
ในปีงบประมาณ 2553 วช. มีแนวคิด ที่จะริเริ่มให้มีหน่วยประสานงานในภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่หน่วยประสานงานด้านนโยบาย และแผนแม่บทการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ในภูมิภาค โดยในระยะแรกจะดำเนินการแบบเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาในจังหวัดนำร่อง
ความคาดหวังจากการประชุมระดมความคิดวันนี้ความคาดหวังจากการประชุมระดมความคิดวันนี้ - รับทราบปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานของ คณะทำงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ตามมติ คณะรัฐมนตรี 8 พฤษภาคม 2550 - การมีส่วนร่วมทุกภาคีเครือข่ายการวิจัยในการ ระดมความคิด ประเด็นที่ควรเพิ่มเติมสำหรับการ ปรับ/ขยาย ถึงปี 2554 กรอบทิศทางการวิจัยช่วง 2555-2559