150 likes | 284 Views
การเก็บรวบรวมข้อมูล การวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อความเหมาะสม ตรงตามตัวชี้วัด ด้วยวิธีการและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมผู้ประเมินควร ทำความเข้าใจพื้นที่ - ภูมิหลังของชุมชน ลักษณะชุมชน ประชากร กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคประชาชน .
E N D
การเก็บรวบรวมข้อมูลการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อความเหมาะสม ตรงตามตัวชี้วัด ด้วยวิธีการและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมผู้ประเมินควร ทำความเข้าใจพื้นที่- ภูมิหลังของชุมชน ลักษณะชุมชน ประชากร กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคประชาชน
ทำความเข้าใจโครงการ- ภูมิหลังของโครงการ ที่มาของโครงการ โครงการหลัก โครงการย่อย วัตถุประสงค์หลัก/เป้าหมายสุดท้ายต้องการให้เกิดอะไร กับใคร วัตถุประสงค์ย่อยที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์หลัก เพื่อประกอบในการวิเคราะห์การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการย่อยสนองต่อ/สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักมากน้อยเพียงใด ในมิติใดบ้าง กิจกรรมของโครงการย่อยนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของโครงการหรือไม่อย่างไร- การกำหนดนิยามและขอบเขต ตามกรอบวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัด เพื่อใช้เป็นกรอบและเป้าหมายการประเมิน
โครงการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัววัตถุประสงค์ :….เกิดการแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในด้านพัฒนาการของเด็กตามวัย ด้านความปลอดภัย ด้านการดูแลเด็กและเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาส และด้านปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ด้านการลด ละ เลิกอบายมุขและสิ่งฟุ่มเฟือย และความอบอุ่นในครอบครัว และปัญหาด้านอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละชุมชน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน ตลอดจนภาคประชาชนทุกระดับ โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา การวางแผน การดำเนินงาน และการติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัดและผลลัพธ์ (outcome) ที่เกิดต่อเด็ก เยาวชนและ ครอบครัว• เด็ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชนรับรู้ เข้าใจปัญหาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชนและครอบครัว• ประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการดำเนินการของชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามบริบทของชุมชน• เกิดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว ตามบริบทของชุมชน เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีคุณภาพ สนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย เด็กและเยาวชนได้รับการคุ้มครอง ดูแลและยอมรับจากทุกคนในชุมชน• เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่ดีในเชิงสร้างสรรค์ พ่อแม่ ผู้ปกครองมีพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อครอบครัว
ข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูลข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูล ข้อมูลคือรายละเอียดหรือสิ่งบ่งบอกที่ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในประเด็นหรือสิ่งต่าง ๆ โดยมีแหล่งที่มาจาก 2 แหล่งสำคัญคือ ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่เก็บจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล โดยผู้ศึกษาทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อสนองตอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยตรง ซึ่งเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ จากการใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งอาจได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม การระดมสมองเป็นต้น
ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว เป็นแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร และรายงานต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวเลขสถิติเชิงปริมาณ หรือเอกสารเชิงบรรยาย เช่นสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการประชุม หรือหลักฐานการลงทะเบียนร่วมกิจกรรมหรือร่วมประชุม คำสั่งหรือหนังสือราชการ ที่บันทึกไว้ในรูปแบบต่าง ๆ
ประเภทของข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่มิได้อยู่ในรูปตัวเลข หรือเป็นข้อมูลที่มิได้แสดงให้เห็นถึงค่า หรือระดับที่บอกความแตกต่าง มากน้อยในเชิงปริมาณที่จะสามารถนำไปจัดหมวดหมู่ แยกประเภทเพื่อวิเคราะห์ทางสถิติได้ แต่เป็นข้อมูลที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ระบบคุณค่า ความเชื่อ ค่านิยมที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่ให้อารมณ์ความรู้สึกได้ละเอียดลึกซึ้งกว่าข้อมูลเชิงปริมาณ
วิธีการเก็บข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพมักได้มาจาก การสัมภาษณ์เจาะลึก แบบมีโครงสร้าง/แบบไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักเลือกเก็บข้อมูลวิธีนี้ในกรณีประชากรเป้าหมายมีลักษณะเฉพาะ หรือมีจำนวนไม่มาก หรือในกรณีที่ต้องการข้อมูลเชิงลึก หรือต้องการข้อมูลเชิงคุณค่า หรือการตีความที่ข้อมูลเชิงปริมาณไม่สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ได้
การสนทนากลุ่ม ใช้ในกรณีต้องการข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เป็นข้อมูลที่ได้จากการสนทนา หรืออภิปรายในกลุ่มที่ทุกคนมีส่วนร่วม และข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลของทุกคนในกลุ่ม การสังเกต แบบมีโครงสร้าง/แบบไม่มีโครงสร้าง โดยผู้วิจัยอาจมีส่วนร่วม หรือไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่สังเกตซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสม
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงปริมาณ หรือระดับความมากน้อยที่ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติได้ วิธีการเก็บข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณได้มาจาก การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลจากสถิติ ซึ่งในแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามจะกำหนดข้อคำถามและคำตอบไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบ
กลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูล ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เชิงระบบ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผน การกำหนดกิจกรรม การดำเนินโครงการ วิธีการรวบรวมและแหล่งที่มาของข้อมูล – สัมภาษณ์เจาะลึก การประชุมกลุ่ม การสังเกตการดำเนินกิจกรรม ร่วมกับการรวบรวมจากเอกสาร คำสั่งแต่งตั้ง เอกสารการเข้าร่วมประชุม รายงานการประชุม โครงการ และกิจกรรม รายงานการดำเนินโครงการ
ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เชิงผลลัพธ์ (outcome) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผลของการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่โครงการต้องการให้เกิดการตระหนักและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม/พฤติกรรม ซึ่งคือชุมชนโดยรวมและประชาชนในชุมชนที่เป็นเด็ก เยาวชนและครอบครัว วิธีการรวบรวมและแหล่งที่มาของข้อมูล – สัมภาษณ์ หรือสอบถามถึงความตระหนัก ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสังเกตพฤติกรรม สถิติที่มีการรวบรวมไว้
การวิเคราะห์ข้อมูล ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์ย่อย ตามตัวชี้วัด - เชิงระบบ - เชิงผลลัพธ์
1. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์คือการจำแนก แยกแยะให้เห็นองค์ประกอบ เพื่อความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงเป็นการนำเสนอข้อมูลในแง่ข้อเท็จจริงตามข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ วิเคราะห์ตามตัวชี้วัด ตามตัวบ่งชี้ที่มุ่งประเมิน 2. การสังเคราะห์ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้วิเคราะห์แยกแยะตามองค์ประกอบ นำมาสรุปให้เห็นภาพโดยรวม เป็นความคิดรวมยอด พร้อมทั้งอภิปรายในเชิงการตัดสินเชิงคุณค่า ว่าโครงการบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดหรือบกพร่อง ที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม
ตัวอย่างแนวทางการประเมินเชิงผลลัพธ์ ตัวอย่างแนวทางการประเมินเชิงผลลัพธ์