170 likes | 426 Views
ประวัติพัฒนาการสหกรณ์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุกูล กรยืนยงค์ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2550. เค้าโครงเนื้อหา. ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก
E N D
ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุกูล กรยืนยงค์ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2550
เค้าโครงเนื้อหา • ตอนที่ 1บทนำ • ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ • ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก • ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร
ตอนที่ 1 บทนำ • สถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลก • ความหมาย คำนิยาม • สำนักความคิดทางสหกรณ์ • ตัวแบบพื้นฐานของสหกรณ์ และตัวแบบใหม่ ๆ • เหตุผลที่ต้องเรียนรู้ประวัติพัฒนาการของสหกรณ์
สถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลกสถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลก • สัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ • The International Cooperative Alliance : ICAเป็นองค์การอิสระ ประเภท NGO ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1895 มีสหกรณ์ในระดับประเทศ และสหกรณ์ระหว่างประเทศเป็นสมาชิก 230 แห่งใน 92 ประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก มีสมาชิกรายบุคคลรวมกันกว่า 800 ล้านคน(จากจำนวน 194 ประเทศ ประชากร 6.57 พันล้านคน)
Homepage www.ica.coop ในประเทศไทยมีองค์การที่เป็นสมาชิก ICAตั้งอยู่ 2 องค์การ คือ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย [Co-operative League of Thailand : CLT] และสหพันธ์เครดิตยูเนียนแห่งเอเชีย [Association of Asian Confederations of Credit Unions : ACCU]
ความหมาย คำนิยาม ได้มีการให้ความหมายของสหกรณ์ อาจมีได้หลายแบบทั้งที่มีความหมายอย่างแคบ จนถึงอย่างกว้างในที่นี่จะยกตัวอย่าง 2 นิยาม คือสหกรณ์เป็นวิธีจัดการรูปหนึ่ง ซึ่งบุคคลหลายคนรวมกันเข้าโดยความสมัครใจของตนเอง ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้นและโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมดเพื่อจะบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์ (น.ม.ส.) Cooperation is a form of organization where in persons voluntarily associate together as human beings, on the basis of equality, for the promotion of economic interests, of themselves.
ความหมาย คำนิยาม(ต่อ) • สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และ ควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise. (ICA- Statement on the Co-operative Identity, September 1995)
ขยายความคำนิยาม(ICA) • สหกรณ์มีความเป็นอิสระ ซึ่งหมายถึง เป็นอิสระจากรัฐ และองค์การธุรกิจอื่นเท่าที่ควรจะเป็นได้ • เป็นการรวมกันของ บุคคล ซึ่งเปิดโอกาสให้สหกรณ์สามารถกำหนดความหมาย ของบุคคลได้อย่างเสรีตามนัยแห่งกฎหมายที่รับรองปัจเจกบุคคลบุคคลตามกฎหมาย • บุคคลเหล่านั้นมารวมกันด้วย ความสมัครใจ • เพื่อสนองความต้องการและความมุ่งหมายร่วมกัน ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม • สหกรณ์เป็น“วิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย”
สำนักความคิดทางสหกรณ์สำนักความคิดทางสหกรณ์ • สำนักจักรภพสหกรณ์(The Cooperative Commonwealth School) • สำนักวิสาหกิจสหกรณ์(The Cooperative Enterprise School) • สำนักภาคสหกรณ์(The Cooperative Sector School) • สำนักอื่น ๆ
สำนักจักรภพสหกรณ์(The Cooperative Commonwealth School) • เป็นแนวความคิดทางสหกรณ์ดั้งเดิมที่เป็นรากฐานแนวความคิดและปรัชญาทางสหกรณ์ ที่ก่อตัวขึ้นท่ามกลางการเติบกล้าอย่างรวดเร็วของระบบทุนนิยมและต้องการปฏิรูป(Reformation)ระบบทุนนิยมให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยลดกระแสทุนนิยมแบบ ปัจเจกบุคคลนิยม(Individualism)ไปสู่ความเป็นสมาคมนิยม(Associationism)โดยเห็นว่า สมาคมสหกรณ์ควรมีลักษณะแบบเบ็ดเสร็จ สมบูรณ์แบบ(Integral)ในตัวเอง กล่าวคือ มีทั้งการผลิต การจำแนกแจกจ่าย และการบริโภค ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยสมบูรณ์และเข้าไปแทนที่หน่วยธุรกิจ แบบทุนนิยมทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจนักสหกรณ์ที่เป็นต้นแบบในสำนักความคิดนี้คือ โรเบอร์ต โอเวน(Robert Owen)
สำนักวิสาหกิจสหกรณ์(The Cooperative Enterprise School) • เป็นแนวความคิดทางสหกรณ์ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและอยู่ในโลกของความเป็นจริงมากกว่าสำนักจักรภพสหกรณ์กล่าวคือแนวความคิดของสำนักวิสาหกิจสหกรณ์นั้นเห็นว่า สหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ร่วมกับองค์การธุรกิจอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทนที่หน่วยธุรกิจเหล่านั้นทั้งหมด • ในส่วนใดที่หน่วยธุรกิจทั่วไปไม่สามารถเข้าไปประกอบการได้ สหกรณ์สามารถดำเนินการได้ ถ้าเป็นความต้องการของประชาชนที่จะเป็นสมาชิกหรืออีกนัยหนึ่งคือ สหกรณ์สามารถเลือกดำเนินธุรกิจเฉพาะเพียงบางเรื่องที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์การที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง
สำนักภาคสหกรณ์(The Cooperative Sector School) • สำนักภาคสหกรณ์นี้ เป็นสำนักความคิดที่พัฒนาขึ้นภายหลัง โดย ดร.ยอร์ช โฟเกต์ ได้เสนอแนวคิดนี้ในหนังสือชื่อThe Co-operative Sectorจัดว่าเป็นสำนักความคิดที่ได้รับการยอมรับสูงในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นพัฒนาการ ทางความคิด ที่สืบเนื่องมาจากสำนักวิสาหกิจสหกรณ์คือเป็นการพิจารณาถึงโครงสร้างหรือส่วนประกอบในระบบเศรษฐกิจ ที่แต่เดิม จะให้ความสำคัญแก่ส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ภาครัฐบาล(Public Sector)และภาคเอกชน(Private Sector)เท่านั้น โดย สหกรณ์จะได้รับการพิจารณาให้อยู่ในภาคเอกชนด้วยดร. โฟเกต์ ได้ให้แนวคิดที่สำคัญว่าในระบบเศรษฐกิจใด ๆ นั้น ควรจะมีการจัดองค์ประกอบเป็น 3 ส่วน คือภาครัฐบาล(Public Sector)ภาคเอกชน (Private Sector) และ ภาคสหกรณ์(Co-operative Sector)หรือ ภาคประชาชน (NGO’s)
ค่านิยมทางสหกรณ์(Cooperative Value) • ระหว่างปี ค.ศ.1990 ถึง 1992 สมาชิกของสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศร่วมกับหน่วยงานวิจัยอิสระ โดยการอำนวยการของ Mr.Sven Ake Book นักสหกรณ์ชาวสวีเดน ได้ร่วมกันศึกษาถึงธรรมชาติของค่านิยมทางสหกรณ์ และได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ค่านิยมทางสหกรณ์ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง(Co-operative Values in a Changing World) ซึ่งเขียนโดย Mr.Book และ ICA เป็นผู้จัดพิมพ์ • ควบคู่ไปกับหนังสือเล่มนี้ ยังมีหนังสือชื่อ Co-operative Principles : Todayand Tomorrow เขียนโดย W.P.Watkins ได้ให้แนวคิดทางทฤษฎี ที่ได้ใช้เป็นรากฐานในการพัฒนาแถลงการณ์เอกลักษณ์ของการสหกรณ์ • หนังสือทั้งสองเล่มได้ ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์อย่างสูงในเรื่องค่านิยมทาง สหกรณ์
ค่านิยมทางสหกรณ์(Cooperative Value) • จาก แถลงการณ์ว่าด้วยเอกลักษณ์ของการสหกรณ์ (ICA- Statement on the Co-operative Identity, September 1995)ได้กำหนดค่านิยมทางสหกรณ์ไว้ดังนี้ • สหกรณ์อยู่บนฐานค่านิยมของการพึ่งพาและรับผิดชอบตนเองประชาธิปไตย ความเสมอภาคความเที่ยงธรรม และความสามัคคี • สมาชิกสหกรณ์ตั้งมั่นอยู่ในค่านิยมทางจริยธรรมแห่งความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคม และเอื้ออาทรต่อผู้อื่นตามแบบแผนที่สืบทอดมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์
ตัวแบบทางสหกรณ์(Co-operative Models) รูปแบบองค์การทางธุรกิจของสหกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มี 5 ลักษณะ คือ • ตัวแบบดั้งเดิม (Traditional co-operative) • สหกรณ์แบบมีหุ้นสองแบบ (Participation share co-operative) • สหกรณ์แบบมีกิจการในเครือ(Co-operative with subsidiary) • สหกรณ์ที่มีหุ้นขายเปลี่ยนมือได้บางส่วน (Proportional tradable share co-op)orNew Generation Co-op : NGCs • สหกรณ์ในรูปกิจการมหาชน (PLC co-operative)
เหตุผลที่ต้องเรียนรู้ประวัติพัฒนาการของสหกรณ์เหตุผลที่ต้องเรียนรู้ประวัติพัฒนาการของสหกรณ์ • โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา • อิทธิพลจากปัจจัยภายนอกคุกคามความคิดพื้นฐานทางสหกรณ์ที่มีมานาน • มีคำวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการสหกรณ์ จาก “คนนอก” หรือ “คนอื่น” ที่ไม่ได้ศึกษาสหกรณ์ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง อยู่เสมอ เช่น • เป็นองค์การแบบโบราณ ไม่ทันสมัย ไม่มีเงินทุนมากพอ เป็นประชาธิปไตยมากไปไม่เหมาะกับการดำเนินธุรกิจ เป็นแค่เครื่องมือของรัฐ ฯลฯ • แต่..... เหตุใดสหกรณ์จึงเป็นรูปแบบวิสาหกิจที่มีอายุยืนยาน สืบต่อกันกว่า 150 ปี และบทบาทของสหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีอยู่อย่างไร?
ตอนต่อไป • ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ • ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก • ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร