830 likes | 900 Views
การปฏิบัติหน้าที่ราชการสายงานธุรการและ สายงานการเงินและบัญชี. โดย นางทัศนีย์ ไตรอรุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์. กรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ 9 ซอย อารีย์ สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
E N D
การปฏิบัติหน้าที่ราชการสายงานธุรการและ สายงานการเงินและบัญชี โดย นางทัศนีย์ ไตรอรุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ 9 ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 02-6182323 ต่อ 1146 โทรสาร 02-6182362 มือถือ 092-2468301
งานธุรการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
การงบประมาณ • พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2543) • ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555)
การเงินการคลัง • ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรอง ราชการ พ.ศ. 2547
สวัสดิการและค่าตอบแทนสวัสดิการและค่าตอบแทน การรักษาพยาบาล • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553)
การศึกษาของบุตร • พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของ บุตร พ.ศ. 2523 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2554) • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2551 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553)
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะ • พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ. 2553) • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554)
ค่าเช่าบ้านข้าราชการ • พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2556) • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549(แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552)
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จัดงาน ประชุมระหว่างประเทศ การบริหารงาน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและอื่น ๆ • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการ ฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555) • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553 • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
การพัสดุ • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (e-Auction) • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2552)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
งานสารบรรณ “ งานสารบรรณ” หมายความว่า “งานที่เกี่ยวกับการ บริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย”
ชนิดและรูปแบบของหนังสือราชการชนิดและรูปแบบของหนังสือราชการ หนังสือราชการมี 6 ชนิด คือ
หนังสือราชการมี 6 ชนิด (ต่อ)
1. หนังสือภายนอก หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี เป็นหนังสือติดต่อระหว่าง • ส่วนราชการกับส่วนราชการ • ส่วนราชการกับหน่วยงานอื่น ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ • ส่วนราชการติดต่อกับบุคคลภายนอก
รูปแบบหนังสือภายนอก • หนังสือภายนอกนี้ ระเบียบฯ ใช้กระดาษตราครุฑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ที่ ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง 2. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการ หรือคณะกรรมการ ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือ 3. วัน เดือน ปี ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และ ตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
รูปแบบหนังสือภายนอก (ต่อ) 4. เรื่อง ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุด กรณีที่ หนังสือต่อเนื่องให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม 5. คำขึ้นต้น ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ หรือชื่อบุคคล 6. อ้างถึง (ถ้ามี) 7. สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)
รูปแบบหนังสือภายนอก (ต่อ) • ข้อความ ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ 9. คำลงท้าย 10. ลงชื่อ 11. ตำแหน่ง ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ 12. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง 13. โทร. 14. สำเนาส่ง (ถ้ามี)
ตัวอย่างหนังสือภายนอกตัวอย่างหนังสือภายนอก
ตัวอย่าง หนังสือภายนอก
หนังสือภายใน หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกเป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
รูปแบบหนังสือภายใน • รายละเอียด มีดังนี้ • ส่วนราชการ ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ • ที่ ลงรหัสพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง • วันที่ ลงเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
รูปแบบหนังสือภายใน (ต่อ) • เรื่อง ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุด • คำขึ้นต้น ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ 6. ข้อความ ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย • ลงชื่อและตำแหน่ง ให้ปฏิบัติตามหนังสือภายนอก โดยอนุโลม
ตัวอย่าง หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ตราประทับแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา
รูปแบบหนังสือประทับตรารูปแบบหนังสือประทับตรา • หนังสือประทับตรา ใช้กระดาษตราครุฑ มีรายละเอียดของหนังสือ ดังนี้ • ที่ ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง • ถึง ลงชื่อส่วนราชการ หน่วยงาน หรือบุคคลที่หนังสือนั้นมีถึง • ข้อความ ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
รูปแบบหนังสือประทับตรา (ต่อ) 4.ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก 5. ตราชื่อส่วนราชการ 6. วัน เดือน ปี 7. ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง 8. โทร. หรือที่ตั้ง
ตัวอย่างหนังสือประทับตราตัวอย่างหนังสือประทับตรา
ตัวอย่าง หนังสือประทับตรา
1. คำสั่ง 1. คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้กระดาษตราครุฑ รายละเอียดมีดังนี้ 1.1 คำสั่ง ลงชื่อส่วนราชการหรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง 1.2 ที่ ลงเลขที่ที่ออกคำสั่ง 1.3 เรื่อง ลงชื่อเรื่องที่ออกคำสั่ง 1.4 ข้อความ อ้างเหตุผลที่ออกคำสั่ง 1.5 สั่ง ณ วันที่ ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง 1.6 ลงชื่อ ลงลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง 1.7 ตำแหน่ง ลงตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง
2. ระเบียบ 2. ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 ระเบียบ ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ 2.2 ว่าด้วย ลงชื่อของระเบียบ 2.3 ฉบับที่ ถ้าเป็นระเบียบที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น ไม่ต้องลง ว่าเป็นฉบับที่เท่าใด แต่ถ้าเป็นระเบียบเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัด ๆ ไป 2.4 พ.ศ. ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ
ระเบียบ (ต่อ) 2.5 ข้อความ อ้างเหตุผลโดยย่อเพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้อง ออกระเบียบ 2.6 ข้อ เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบเป็นข้อ ๆ 2.7 ประกาศ ณ วันที่ ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และ ตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ 2.8 ลงชื่อ ลงลายมือชื่อผู้ออกระเบียบ และพิมพ์ชื่อเต็มของ เจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ 2.9 ตำแหน่ง ลงตำแหน่งของผู้ออกระเบียบ
3. ข้อบังคับ 3. ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ รายละเอียด มีดังนี้ 3.1 ข้อบังคับ ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ 3.2 ว่าด้วย ลงชื่อของข้อบังคับ 3.3 ฉบับที่ ถ้าเป็นระเบียบที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น ไม่ ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด แต่ถ้าเป็นระเบียบเรื่องเดียวกันที่มี การแก้ไขเพิ่มเติมให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัด ๆ ไป 3.4 พ.ศ. ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ
ข้อบังคับ (ต่อ) 3.5 ข้อความ อ้างเหตุผลโดยย่อเพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ ต้องออกระเบียบ 3.6 ข้อ เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบเป็นข้อ ๆ 3.7 ประกาศ ณ วันที่ ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ 3.8 ลงชื่อ ลงลายมือชื่อผู้ออกข้อบังคับ และพิมพ์ชื่อเต็มของ เจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ 3.9 ตำแหน่ง ลงตำแหน่งของผู้ออกข้อบังคับ
ตัวอย่าง แบบข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์
1. ประกาศ • 1. ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่เป็นทางการหรือชี้แจงให้ทราบหรือ แนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ รายละเอียด มีดังนี้ 1.1 ประกาศ ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ 1.2 เรื่อง ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ 1.3 ข้อความ อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ 1.4 ประกาศ ณ วันที่ ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกประกาศ 1.5 ลงชื่อ ลงลายมือชื่อผู้ออกประกาศ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของ ลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ 1.6 ตำแหน่ง ลงตำแหน่งของผู้ออกประกาศ กรณีที่กฎหมายให้ทำเป็นแจ้งความ ให้เปลี่ยนคำว่า “ประกาศ” เป็น “แจ้งความ”
2. แถลงการณ์ • 2. แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ โดยกรอกรายละเอียด ดังนี้ 2.1 แถลงการณ์ ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์ 2.2 เรื่อง ลงชื่อเรื่องที่ออกแถลงการณ์ 2.3 ฉบับที่ ในกรณีที่ออกแถลงการณ์หลายฉบับในเรื่องเดียวกันที่ ต่อเนื่องกัน 2.4 ข้อความ อ้างเหตุผลและข้อความที่แถลงการณ์ 2.5 ส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์ ลงชื่อส่วนราชการที่ออก แถลงการณ์ 2.6 วัน เดือน ปี ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกแถลงการณ์
ตัวอย่าง แบบแถลงการณ์
ตัวอย่าง แบบแถลงการณ์
3. ข่าว • 3. ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ มีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 ข่าว ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว 3.2 เรื่อง ลงชื่อเรื่องที่ออกข่าว 3.3 ฉบับที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกข่าวหลายฉบับในเรื่องเดียวที่ ต่อเนื่องกัน 3.4 ข้อความ ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของข่าว 3.5 ส่วนราชการที่ออกข่าว ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว 3.6 วัน เดือน ปี ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปี พุทธศักราชที่ออกข่าว