1k likes | 4.05k Views
“ รางจืด ” สมุนไพรล้างพิษ. โดย งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ปัญหาด้านสุขภาพ “คนเมืองเลย”. ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ ปัญหาสารพิษตกค้างในร่างกาย จำเป็นต้องแก้ไขที่ต้นเหตุปัญหา
E N D
“รางจืด” สมุนไพรล้างพิษ โดย งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
ปัญหาด้านสุขภาพ “คนเมืองเลย” • ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ • ปัญหาสารพิษตกค้างในร่างกาย จำเป็นต้องแก้ไขที่ต้นเหตุปัญหา เช่น การลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร การบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ • ขณะเดียวกันต้องหาทางแก้ปัญหาสารพิษตกค้างในร่างกายด้วยการล้างพิษ • สมุนไพรรางจืด สามารถช่วยล้างพิษในร่างกายได้
สมุนไพร “รางจืด” เป็นสมุนไพรที่มีการใช้แก้พิษตั้งแต่ในอดีต จากประวัติการใช้อันยาวนานของคนโบราณ มีการศึกษาวิจัยที่บอกว่ามีความ ปลอดภัย และการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนการใช้ของคนโบราณในการแก้พิษต่างๆ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้สมุนไพรรางจืดล้างสารพิษสารเคมีตกค้างในร่างกาย ปัจจุบันสมุนไพรรางจืด ได้พัฒนา สู่การเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว คือ“ยาชงรางจืด”และมีการส่งเสริมให้ปลูก เป็นสมุนไพรสามัญประจำบ้านทุกครัวเรือน จึงควรมีครัวเรือนละ 1 ต้น “รางจืด” ราชายาแก้พิษ
ลักษณะ “รางจืด” ชื่อวิทยาศาสตร์ ThunbergialaurifoliaLinn. เป็นไม้เถาสามารถเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือพาดพันขึ้นคลุมต้นไม้ใหญ่ๆ ได้ทั้งต้น มีลักษณะกลม สีเขียว เมื่อเถาแก่เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มผิวเกลี้ยง ออกเป็นคู่ตรงข้าม ตรงข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายใบย่านางรูปขอบขนานหรือรูปไข่กว้าง๔-๗ ซม.ยาว ๘-๑๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเว้าหรือหยักรูปหัวใจขอบใบเรียบหรือหยักตื้น เส้นใบมี ๕ เส้น ออกฐานใบเดียวกัน จะมีสีม่วงอมฟ้า ใบประดับ สีเขียวประสีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ลักษณะพืช เถา ใบ ดอก ผล
สรรพคุณทางยา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ • ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ • ถอนพิษยาฆ่าแมลง พิษผิดสำแดง พิษเมาเบื่อจากเห็ดพิษ สารหนู ฯลฯ • พอกบาดแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ผดผื่นคัน เริม อีสุกอีใส • แก้พิษแอลกอฮอล์ บรรเทาอาการเมาค้าง รากและเถา ใบและเถา
การใช้ประโยชน์จาก “รางจืด” ใช้ต้มดื่มขณะอุ่น หรือคั้นดื่ม หรือ แปรรูป เป็นชาชงรางจืด ดื่มเพี่อล้างพิษในร่างกาย ใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีและมีขนาดเท่านิ้วชี้ นำมาฝนกับน้ำดื่ม เพี่อล้างพิษในร่างกาย กินเป็นยาอายุวัฒนะ สามารถกิน เป็นผักเหมือนกับผักพื้นบ้านทั่วๆไป ได้โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน เช่น ผัดยอดรางจืด ไข่เจียวดอกรางจืด แกงส้มยอดรางจืด สลัดสมุนไพรรางจืด ใบ ราก ยอดอ่อนและดอก
น้ำคั้นสดจาก “ใบรางจืด” • จำนวน 5-7 ใบล้างให้สะอาด • โขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำดื่ม หรือน้ำซาวข้าว คั้นเอาแต่น้ำ 250 ซีซี • รับประทานครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 1 ครั้ง วิธีการทำ
การฝนยาจาก “รากรางจืด” วิธีการทำ • นำรากรางจืดที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป ขนาดเท่านิ้วชี้ ตัดความยาว เท่าที่มือจับถนัดนัด มาล้างให้ สะอาด • โขลกหรือฝนผสมกับน้ำสะอาด หรือน้ำซาวข้าว • รับประทานครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 1 ครั้ง
น้ำต้ม “ใบรางจืด” • นำใบรางจืดแบบสด จำนวน 5-7 ใบ ล้างให้สะอาด • นำไปต้มกับน้ำประมาณ 1 กา ต้มจนเดือด แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ นาน 10 นาที • ดื่มขณะอุ่น ครั้งละ 1 แก้ว ดื่มแทนน้ำ วันละ 4-5 ครั้ง วิธีการทำ
ชาสมุนไพร “รางจืด” • นำใบรางจืดมาล้างให้สะอาด หั่นใบรางจืดให้เป็นฝอย นำไปตาก แดดให้แห้งเก็บใส่ภาชนะแห้งปิดฝา ให้สนิท • ใช้ 1-2 ช้อนชา นำมาชงในน้ำร้อน ดื่มวันละ 1 ครั้ง วิธีการทำ
ชาชงสมุนไพร “รางจืด” วิธีการทำ • นำใบสมุนไพรรางจืด มาล้างให้สะอาด • นำไปอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จนแห้ง นำไปบด • บรรจุในซองขนาด 5 x 5 เซนติเมตร จำนวน 2 กรัม ชงกับน้ำร้อน 100 - 200 ซีซี ดื่มก่อนอาหาร หรือ เมื่อมีอาการวันละ 3ครั้ง
ข้อแนะนำในการใช้รางจืด “ล้างพิษ” ข้อแนะนำ • เพื่อการล้างพิษ ควรกินติดต่อกัน 7-10 วัน • การใช้รางจืดสำหรับถอนพิษยาฆ่าแมลงหรือสารพิษ ต้องใช้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ จะได้ผลดี ถ้าพิษซึมเข้าสู่ร่างกายมากแล้วหรือข้ามคืน การถอนพิษด้วยรางจืดจะได้ผลน้อยลง
ข้อควรระวังในการใช้รางจืด “ล้างพิษ” ข้อควรระวัง • ไม่ควรดื่มติดต่อกันเกิน 30 วัน • อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน • ควรระวังการใช้ร่วมกับยาอื่น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ใช้ยาอย่างต่อเนื่อง เพราะรางจืดอาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกาย ควรเว้น ระยะเวลารับประทานรางจืดจากยาตัวอื่นๆ ประมาณ 2 ชั่วโมง • ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ และหญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมแผนปัจจุบันหรือแผนไทยก่อนใช้
เมนูอาหารสมุนไพร“รางจืด”เมนูอาหารสมุนไพร“รางจืด” รางจืด เป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถนำยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่วๆไป เช่น • ผัดยอดรางจืดใส่น้ำมันหอย • ไข่เจียวดอกรางจืด • แกงส้มยอดรางจืด • ลวกยอดรางจืด • สลัดสมุนไพรรางจืด
การขยายพันธุ์ “รางจืด” ขยายพันธุ์โดยวิธีการ “ปักชำ” • รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ก็คือรางจืด ชนิดเถาดอกสีม่วง • การชำเถา ให้เลือกเถาแก่นำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณคืบเศษ • (6-8 นิ้ว) ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตาชำในทราย หรือแกลบที่ไม่มีดิน รดน้ำให้ชุ่ม • จนรากงอก จากนั้นนำไปลงถุงเพาะชำ ขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว X 7 นิ้ว • ถ้าชำในฤดูฝนจะออกรากเร็วใช้เวลาราว 2 อาทิตย์ ในฤดูแล้งจะช้ากว่า
การเพาะปลูก“รางจืด” การปลูก เมื่อเถาชำได้อายุ 45 วัน ก็นำไป ปลูกในหลุมที่รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ห่างจากค้างประมาณ 50 ซ.ม. ค้างรางจืดควรมีขนาดใหญ่ รางจืดต้องการการดูแลรักษาและให้น้ำในช่วงเริ่มปลูกมากกว่าช่วงอื่นๆ หลังจากนั้นมีการให้น้ำบ้างในช่วงฤดูแล้งกำจัดวัชพืชบ้างเป็นครั้งคราว ให้ปุ๋ยอินทรีย์ การดูแลรักษา
สมุนไพรรางจืด ราชายาแก้พิษ “ยาสามัญประจำป่า ..... กลับคืนมาสู่สังคม” • ใบเขียว ดอกม่วง รสจืด ฤทธิ์เย็น • เป็นสมุนไพรที่ใช้แสนง่าย เพียงแค่นำมาต้ม มาชงดื่มก็สามารถถอนพิษ ในร่างกายได้ และสามารถนำไปประกอบเป็นอาหารบำรุงสุขภาพได้ • ควรส่งเสริมให้ปลูกเป็นสมุนไพรสามัญประจำบ้าน /ชุมชน - รพ./รพ.สต. ทุกแห่ง - บ้าน อสม.ทุกครัวเรือน - ประชาชนทุกหลังคาเรือน - วัด โรงเรียน ทุกแห่ง
ใบเขียวดอกม่วงรสจืดฤทธิ์เย็น“ล้างพิษ”..สวัสดี..ใบเขียวดอกม่วงรสจืดฤทธิ์เย็น“ล้างพิษ”..สวัสดี..