210 likes | 391 Views
ความมั่นคงทางทะเล. โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. ความมั่นคงทางทะเล (Sea Security). ความหมาย :
E N D
ความมั่นคงทางทะเล โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการ V-SERVE GROUP รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2555 ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ความมั่นคงทางทะเล (Sea Security) ความหมาย : • ความมั่นคงแห่งรัฐและอธิปไตยแห่งชาติ ซึ่งอาจมาจากภัยคุกคามทางทะเล มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ • ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเล ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการดูแล คุ้มครองทรัพยากรทางธรรมชาติทางทะเล และผลประโยชน์ทางทะเล • การคุกคาม หรือริดรอนต่อเส้นทางการเดินเรือ ทั้งเชิงพาณิชย์และทางทหาร ซึ่งกระทบทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติ (ธนิต โสรัตน์, 2012)
ประเทศไทยมีพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันรวมเป็นระยะทาง2,614 กิโลเมตร • ด้านอ่าวไทย 1,660 กิโลเมตร • ด้านอันดามัน 954 กิโลเมตร • ท่าเรือสำคัญของไทย • ท่าเรือแหลมฉบัง • ท่าเรือคลองเตย • ท่าเรือมาบตาพุด • ท่าเรือสงขลา • ท่าเรือปากบารา
ประเทศไทยมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านประเทศไทยมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ท่าเรือจิ่งหง จ้าวผิว(ยะไข่) ท่าเรือดานัง ท่าเรือเมาะลำไย ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือทวาย ท่าเรือระนอง ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือไซ้ง่อน ท่าเรืสตูล ท่าเรือสงขลา ท่าเรือปีนัง ท่าเรือกรัง ท่าเรือตันจุง เพเลพาส ท่าเรือสิงคโปร์
ความมั่นคงทางทะเลเกี่ยวข้องกับสมุททานุภาพ (SEA POWER) • สมุททานุภาพ (Sea Power) คือขีดความสามารถของรัฐที่จะสามารถดำเนินการนำเอาสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์จากทะเลใช้ให้เกิดเป็นพลังส่วนหนึ่งของกำลังอำนาจแห่งชาติ ยุทธศาสตร์เป็นวิชาการเตรียมการสงครามและยุทธวิธีเป็นวิชาใช้กำลังเมื่อปะทะกับข้าศึก
ทำไมสมุททานุภาพทางเศรษฐกิจจึงเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเลทำไมสมุททานุภาพทางเศรษฐกิจจึงเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเล • พื้นที่โลกร้อยละ 70 เป็นทะเลที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และท่าเรือของโลก • ทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ กว่าร้อยละ 60-70 อยู่ในทะเลและใต้พื้นทะเล • พื้นที่ชายฝั่งและอ่าว-เกาะแก่งในทะเล เป็นทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นที่ต้องการของทุกประเทศ • มหาสมุทรและทะเลเปิดเป็นเส้นทางที่ไม่ต้องลงทุนในการก่อสร้าง • สินค้าร้อยละ 90-95 ขนส่งทางทะเลและเป็นต้นทุนที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ • การค้าโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการขนส่งทางทะเลเพิ่มมากขึ้นทำให้มีการปกป้องเส้นทางเดินเรืออาจเป็นประเด็นความขัดแย้งทางทหาร • ประเทศต่างๆ แข่งขันในการพัฒนาท่าเรือ-กองเรือและปกป้องหรือต้องการยึดครองพื้นที่ทางทะเลเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ • การประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ: Exclusive Economic Zone) และการประกาศ Baseline เขตแดนทางทะเลฝ่ายเดียว ทำให้มีการละเมิดและอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของ นำไปสู่การพิพาททางทะเล
ความมั่นคงทางทะเลเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจความมั่นคงทางทะเลเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ • World Port Connectivityแหลมฉบังเป็นท่าเรือและประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก • Sea Economic Corridorการนำเข้าส่งออก 90%-95% ใช้การขนส่งทางทะเล มูลค่า 10.26 ล้านล้านบาท/ปี • Food Security ทะเลเป็นแหล่งจับปลาและอาหารทะเล เป็นความมั่นคง ทางอาหาร • National Resources แหล่งทรัพยากรทางทะเลแห่งชาติ • GAS & Energy Powerแหล่งแก๊สและน้ำมันของไทยส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทย • Petro-Chemical Industries อุตสาหกรรมต้นน้ำที่เกิดจากการแยกและกลั่นน้ำมัน ต้องการท่าเรือน้ำลึก • Tourism ชายฝั่งทะเลไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของโลก (ปี 54 ไทยมีนักท่องเที่ยวประมาณ 20 ล้านคน) ชายฝั่งของไทยอยู่ที่อยู่ในอ่าวไทยมักมีปัญหาการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ กับประเทศเพื่อนบ้าน
มูลค่าผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (ต่อปี) (ล้านบาท)
ความมั่นคงทางทะเล มีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย GDP ปี 55 : 11.572* ล้านล้านบาท ภาคส่งออก-นำเข้า มีผลต่อเศรษฐกิจไทย 138% ของ GDP มีแรงงานอุตสาหกรรม 9.5 ล้านคน และแรงงานเกษตร 14.0 ล้านคน ลงทุน BOI ท่องเที่ยว 4.80% 6.84% 5.56 แสนล้านบาท 7.92 แสนล้านบาท 70% ส่งออก บริโภคภายใน 8.316 ล้านล้านบาท 54% 10% นำเข้า 68% เกษตร การใช้งบฯรัฐบาล 7.878 ล้านล้านบาท 17.1-19.8% การขนส่งทางทะเล เป็นร้อยละ 95 ของการขนส่งระหว่างประเทศ
คาดการณ์การขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ล้านเมตริกตัน/ปี สัดส่วนการส่งออก: คู่ค้าหลักด้านอ่าวไทย 62 %คู่ค้าหลักด้าอันดามัน 38 %
AEC … กับความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทะเลแห่งชาติ • Maritime Security Cooperation ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน • ภัยคุกคามต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ทะเลระหว่างประเทศอาเซียน เช่น แหล่งแก๊สธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ปัญหาอ้างคืนเกาะกูดและแหล่งน้ำมัน Unname ของประเทศกัมพูชา รวมทั้งเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล เกาะสอง – ระนอง • Maritime Economic Cooperation ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านผลประโยชน์ทางทะเล • ประเทศอาเซียน รวมทั้งไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม มีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล จำเป็นที่จะต้องมีข้อตกลงการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านการประมง และการขุดเจาะแก๊ส-น้ำมัน • Maritime Route Cooperation การร่วมมือด้านการใช้เส้นทางเดินเรือร่วมกัน • ภูมิภาคอาเซียนมีช่องแคบสำคัญ เช่น ช่องแคบมะละกา (Malacca Strait) เป็นเส้นทางคมนาคมหลักทางทะเลของภูมิภาคและของโลกในการเชื่อมมหาสมุทร รวมทั้งช่องแคบลอมบอก (Lombok Strait) ปลายเกาะชวาตะวันออกของอินโดนีเซีย และช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ระหว่างเกาะสุมาตราและเกาะชวา เป็นเส้นทางขนส่งเรือบรรทุกน้ำมัน
อาเซียนกับปัญหาความมั่นคงด้านเขตแดนทางทะเลอาเซียนกับปัญหาความมั่นคงด้านเขตแดนทางทะเล • การประกาศสิทธิ ทำให้พื้นที่เขตแดนทางทะเล มีการทับซ้อนกัน ต่างอ้างกรรมสิทธิ เช่น หมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน นำไปสู่การขัดแย้งกับประเทศจีน โดยเฉพาะกรณีของเวียดนาม • อาเซียนกับกรณีพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้การเผชิญหน้า ระหว่างประเทศจีนและฟิลิปปินส์ เกี่ยวกับน่านน้ำรอบแนวหินโสโครก “สการ์โบโรจ์” อันนำไปสู่ความล้มเหลวในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 45 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี ที่การประชุมมีการขัดแย้งกันจนไม่สามารถออกแถลงการณ์ใดๆ ได้ • การเสริมสร้างกองทัพเรือของสมาชิกอาเซียน นำไปสู่การขาดสมดุลของความมั่นคง (Unbalancing of Navy Power)เช่น กรณีมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม มีกองกำลังเรือดำน้ำ และเสริมกำลังทางอากาศ อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต • การประกาศเขต Baseline และ EEZ ของบางประเทศสมาชิกอาเซียนก่อให้เกิดการขัดแย้งพิพาททางทะเล และจะทวีความรุนแรงในอนาคต • โจรสลัดและการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมายทางทะเล Piracy and Illegalityการปล้นเรือสินค้าแถบช่องแคบมะละกา และโจรสลัดโซมาเลีย เป็นภัยต่อความมั่นคงด้านการขนส่งสินค้า รวมทั้งการใช้พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง เป็นแหล่งขนส่งและขนถ่ายสินค้าผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด อาวุธ สินค้าหนีภาษี และขนย้ายสินค้ามนุษย์ เป็นภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติ
ศตวรรษที่ 21 ประเทศไทย บริบทเวทีการค้าโลกการเป็นศูนย์กลางการผลิตการค้าและการลงทุนของภูมิภาค จำเป็นต้องอาศัยสมุททานุภาพทางเศรษฐกิจ PRC Chiang Rai Myanmar Develop Sister Cities as a production bases Lao PDR Mukdahan -Savannakhet MaeSod-Myawaddy AEC GMS ACMECS MJ-CI BIMSTEC IMT-GT Danang Yangon BKK. Vietnam Andaman Sea Cambodia Dawai Trad- Koh Kong Hochiminh City Gulf of Thailand Song-Kla Pak-Bara
ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลประโยชน์ร่วมของเพื่อนบ้าน • ประเทศไทยมีชายฝั่ง 2 มหาสมุทร และอยู่ท่ามกลางจีนและอินเดียเป็นภูมิภาคที่เติบโตสูงสุดของโลก • เศรษฐกิจไทยพึ่งพิงความมั่นคงทางทะเลสูงสุด การขนส่งทางทะเลส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทย เป็นประตูนำเข้า-ส่งออกน้ำมัน ขณะที่พื้นที่ชายฝั่งทางฝั่งตะวันตกอยู่ในภาคการท่องเที่ยว (กว่าร้อยละ 60-65) • มูลค่าผลประโยชน์ทางทะเลของไทย ประมาณ 16.388 ล้านล้าน/ปี มีแท่นขุดเจาะแก๊สธรรมชาติในทะเลไทย 265 แท่น เป็นแหล่งอาหารทะเลของประเทศ ด้วยมูลค่ากว่า 42,000 ล้านบาท / ปี • อุปสรรคของไทยคือประเทศไทยมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพของการเจรจาแบ่งเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านและการขาดสมดุลทางสมุททานุภาพทางทหาร • ประเทศเพื่อนบ้านไทยยังไม่ลงนามสนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ.1994 ทำให้หลายประเทศกำหนด Baseline ตามใจชอบ เช่น ประเทศกัมพูชา • โอกาสการเกิดกรณีพิพาททางทะเลในอนาคต เพื่อลดความขัดแย้ง นำไปสู่การพิพาททางทะเล ควรใช้ความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ข้อพิพาทน่านน้ำทางทะเล อาจนำไปสู่การปิดอ่าว หรือปิดกั้นการขนส่งทางทะเล (เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และ อุปกรณ์สำนักงาน) 12 , 2.85% 605,313.98 ลบ. 21 , 0.97% 513,154.20 ลบ. สินค้านำเข้า-ส่งออก อาหาร วัตถุดิบเพื่อการผลิต และน้ำมัน ต้องพึ่งพาการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก (ยานยนต์) 33 , 0.5% 176,877.00ลบ. 18 , 1.18% 176,877.00ลบ. 101,842.85ลบ. 13 , 2.12% 237,972.57ลบ. (อุปกรณ์โทรคมนาคม) (เหล็ก) สิ่งทอ :18,1.3% (แผงวงจร และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) เครื่องนุ่งห่ม: 15,1.4%
West Gate Policy ?? ทิศทางนโยบายพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตกต้องชัดเจน ท่าเรือทวาย VS ท่าเรือปากบารา MYANMAR - CHINA MYANMAR –THAILAND - LAOS MYANMAR –THAILAND - VIETNAM Gateway DAWEI MYANMAR –THAILAND - CAMBODIA
นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทางทะเลMarine Industry Policy • นโยบายพัฒนาท่าเรือฝั่งตะวันตก • การพัฒนากองเรือแห่งชาติ • การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือ ให้ไทยเป็น “อู่ต่อเรือของโลก” • การพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเล(CoastalIndustrial) • การพัฒนากองเรือประมงไทยเป็นวาระแห่งชาติ • การส่งเสริมการสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน-แก๊สในทะเล
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลจะต้องเอื้อต่อความเชื่อมั่นยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลจะต้องเอื้อต่อความเชื่อมั่น ในการลงทุนของภาคเอกชน ประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนสำคัญของภูมิภาค อุตสาหกรรมหลักของไทยส่วนใหญ่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ตัวเลขการลงทุนผ่าน BOI ปี 2555 : 556,940 ล้านบาท
ยุทธศาสตร์ว่าด้วยแผนพัฒนาพาณิชย์นาวีแห่งชาติการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลยุทธศาสตร์ว่าด้วยแผนพัฒนาพาณิชย์นาวีแห่งชาติการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล • จะต้องมี Master Plan แผน 5 ปี • จะต้องมี Action Plan ที่ชัดเจน • จะต้องมี Integrated การบุรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • กรมเจ้าท่า • กองทัพเรือ • กรมประมง • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง • ปตท. • คณะกรรมการพัฒนากิจการพาณิชย์นาวี
ความมั่นคงทางทะเล ความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันระหว่างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและความมั่นคงแห่งชาติของสมุททานุภาพทางทะเลและเศรษฐกิจ • Sea Power จะก่อให้เกิดอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจ • Sea Security จะเป็นปัจจัย เกื้อหนุนความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนมีการลงทุนและการค้า • Sea Power จะก่อให้เกิดความสมดุลย์ (Balance of Power)ของภูมิภาคนำไปสู่การแบ่งปันผลประโยชน์กับประเทศเพื่อนบ้าน • ความมั่นคงทางทะเล ด้วยการลงทุนด้านสมุททานุภาพทางทหารอย่างเหมาะสม จะก่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
END ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tanitsorat.com หรือ www.fti.or.th