920 likes | 1.11k Views
แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ. โดย นายแหลมไทย พู่วณิชย์. ความสำคัญของปัญหา การมุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ ถูกใช้ ประโยชน์ อย่างสิ้นเปลือง ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ และความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม.
E N D
แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ โดย นายแหลมไทย พู่วณิชย์
ความสำคัญของปัญหา การมุ่งเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ ถูกใช้ประโยชน์อย่างสิ้นเปลืองส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ และความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร • ทรัพยากรดิน • ป่าไม้ • ประมง • แร่ • ทรัพยากรชายฝั่งทะเล • ทรัพยากรน้ำ
ความสำคัญของทรัพยากรน้ำความสำคัญของทรัพยากรน้ำ • ทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ • ภาคอุตสาหกรรมจะนำน้ำไปใช้ในการระบายความร้อนการทำความสะอาดเครื่องจักรและใช้ชะล้างกากและของเสียจากโรงงาน • ภาคการเกษตรจะใช้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
ความสำคัญด้านอื่น ๆ • การคมนาคม • การผลิตกระแสไฟฟ้า • ประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • การอุปโภคและบริโภค • การรักษาคุณภาพน้ำ • การผักดันน้ำเค็ม • การสันทนาการ เช่น การว่ายน้ำกีฬาทางน้ำ
ปัญหาทางด้านทรัพยากรน้ำในปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤตปัญหาทางด้านทรัพยากรน้ำในปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤต • ด้านปริมาณ • ด้านคุณภาพ
ปัญหาทางด้านปริมาณ การขาดแคลนน้ำได้เกิดขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2532 คิดโดยเฉลี่ยปีละ 5,702 ล้านลูกบาศก์เมตร (ที่มากรมทรัพยากรน้ำ)
ความเสียหาย • ทางด้านการเกษตร • ช่วงปี 2532-2547 • เฉลี่ย 289.70 ล้านบาท • ที่มาศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัยปี 2548
การพัฒนาแหล่งน้ำ • โครงการขนาดใหญ่ 83 แห่ง • โครงการขนาดกลาง 682 แห่ง • โครงการขนาดเล็กประมาณ 90,000 แห่ง • ความสามารถในการเก็บกักน้ำ 74,686 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือร้อยละ 33.45 ของปริมาณน้ำผิวดิน
กราฟแสดงสัดส่วนการใช้ประโยชน์จากน้ำในแต่ละกิจกรรมกราฟแสดงสัดส่วนการใช้ประโยชน์จากน้ำในแต่ละกิจกรรม ปริมาณการใช้น้ำจากโครงการชลประทาน 74,686 ล้านลบ.ม.
การแก้ไขปัญหาในเรื่องปริมาณน้ำที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นไปทางด้านอุปทานแต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรการแก้ไขปัญหาในเรื่องปริมาณน้ำที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นไปทางด้านอุปทานแต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร • การสูญเสียน้ำระหว่างทางของระบบส่งน้ำชลประทาน และการประปายังมีมาก • ค่าใช้จ่ายดำเนินการและบำรุงรักษาสูง
เมื่อพิจารณาทางด้านอุปสงค์นับว่ายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง • อุปโภค-บริโภค • อุตสาหกรรม • การเกษตร
น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค • การใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคของประชากรที่อยู่ในเขตชุมชนเมืองมีการใช้น้ำค่อนข้างมาก • ในเขตชุมชนหนาแน่นมีอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยถึง 150 ลิตร/คน/วัน • ค่ามาตรฐานการใช้น้ำที่ประมาณ 50 ลิตร/คน/วัน
น้ำเพื่ออุตสาหกรรม • อุตสาหกรรมในบางพื้นที่ยังมีการใช้น้ำบาดาลเพราะมีเก็บค่าน้ำในอัตราที่ถูกกว่าน้ำประปา
น้ำเพื่อการเกษตร • การใช้ทรัพยากรน้ำของกิจกรรมการเกษตรเป็นการใช้ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย • เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายเพียงการสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรเท่านั้น • ค่าใช้จ่ายในเรื่องทรัพยากรน้ำจะได้รับการสนับสนุนโดยรัฐทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพ
ปริมาณน้ำและความต้องการใช้ ในปี 2553 80,376 74,686 ในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำสำรองอย่างเร่งด่วน
สาเหตุของปัญหาทางด้านคุณภาพ สาเหตุของปัญหาทางด้านคุณภาพ • สาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรน้ำมีคุณภาพต่ำ เป็นผลมาจากกิจกรรมของหน่วยเศรษฐกิจทั้งสิ้น โดยสามารถจำแนกเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ • น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) • น้ำเสียจากอุตสาหกรรม (Industrial Wastewater) • น้ำเสียเกษตรกรรม (Agricultural Wastewater)
มาตราการด้านวิศวกรรม • ในปี 2547 มีระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 62 แห่งโดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้ • ระบบบ่อผึ่งธรรมชาติ (Stabilization Pond; SP) 28 แห่ง • ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch; OD) 13 แห่ง • ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoons; AL) 13 แห่ง • ระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge; AS) 7 แห่ง • ระบบแผ่นหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contractor; RBC) 1 แห่ง • มีความสามารถในการรองรับน้ำเสีย (Capacity) รวมทั้งสิ้น 2,836,181 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน • มาตราการทางกฎหมาย • การกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
การประเมินความสำเร็จของนโยบายการประเมินความสำเร็จของนโยบาย • กล่าวได้ว่าขาดประสิทธิภาพในการลดปริมาณของเสีย • น้ำเสียอุตสาหกรรม • การใช้มาตราการทางกฏหมายโดยกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการก่อสร้างระบบบำบัดเพื่อบำบัดน้ำก่อนที่จะทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติแต่เนื่องจากไม่มีการควบคุมดูแลที่ทั่วถึงอีกทั้งยังขาดงบประมาณสนับสนุนทำให้มาตรการดังกล่าวไม่สัมฤทธิ์ผลกล่าวคือโรงงานอุตสาหกรรมต้องการที่จะลดต้นทุนของตนเองโดยยังมีการปล่อยน้ำเสียที่ไม่ได้มาตรฐานการบำบัดลงแหล่งน้ำ
น้ำเสียทางการเกษตร • การใช้มาตรการทางสังคมไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรภายใต้นโยบายเกษตรกรรมการทำการปศุสัตว์อย่างถูกต้องและเหมาะสมยังไม่มีแรงจูงใจพอเพราะครัวเรือนเกษตรกรรมส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่สูงนักจึงยังคงมีความต้องการที่มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มผลผลิตของตนเองเป็นหลักมากกว่านอกจากนี้เกษตรกรยังขาดความรู้ในเรื่องการบำบัดข้างต้นส่งผลทำให้มีการปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่มีการบำบัดขั้นต้นลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
น้ำเสียชุมชน • มีการดำเนินการได้บางส่วนโดยมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียได้ 1,299,802 ลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือคิดเป็นร้อยละ 45.83 ของความสามารถในการรองรับน้ำเสียทั้งหมดเท่านั้นทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในปัจจุบันมีปัญหาการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียทั้งในด้านการจัดการและด้านวิชาการเนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรและผู้รับผิดชอบโดยตรงรวมทั้งขาดแคลนงบประมาณในการดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • ระบบนิเวศแหล่งน้ำ • สุขภาพอนามัยของประชาชน • การเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • การผลิตน้ำประปา • การทรุดตัวของแผ่นดิน
นโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำของภาครัฐในอนาคตนโยบายการจัดการทรัพยากรน้ำของภาครัฐในอนาคต • ด้านปริมาณทรัพยากรน้ำ • การปรับปรุงระบบชลประทาน • ด้านคุณภาพทรัพยากรน้ำ • การปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย
แนวทางการจัดการ • ทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ • ด้านปริมาณ โดยเน้นด้านอุปสงค์มากกว่าการจัดหาแหล่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของประชาชนโดยยึดหลักการควบคุมอุปสงค์การใช้น้ำ • ด้านคุณภาพ โดยเน้นเรื่องการจัดการเพื่อให้เกิดแรงจูงใจทางเศรษฐกิจมากกว่าเน้นการบำบัดน้ำเสียโดยยึดหลักการควบคุมอุปทานน้ำเสีย
แนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำโดยใช้เครื่องมือทางการตลาดแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำโดยใช้เครื่องมือทางการตลาด
การเลือกใช้นโยบาย • ด้านปริมาณน้ำ • การจัดเก็บค่าน้ำชลประทานที่สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง • การปรับราคาน้ำประปา • ด้านคุณภาพน้ำ • การจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียชุมชน ( User charge) • การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมของปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร ( Production Charge) • ใบอนุญาตการปล่อยน้ำเสียที่สามารถจำหน่ายเปลี่ยนมือได้
กฎของวาลราส( Walras’s Law) กล่าวว่าหากระบบเศรษฐกิจในส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ไม่อยู่ในภาวะดุลยภาพทั่วไปก็จะก่อให้การปรับตัวอย่างต่อเนื่องต่อทุกตลาดในระบบเศรษฐกิจจนเกิดดุลยภาพใหม่ในที่สุด
การจัดทำแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปการจัดทำแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการจัดทำสมการ โครงสร้าง
1 กำหนดชนิดของกิจกรรมชนิดของสถาบัน
กิจกรรมการผลิตทั่วไปทางด้านอุตสาหกรรมและการเกษตรกิจกรรมการผลิตทั่วไปทางด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร • กิจกรรมของทรัพยากรน้ำซึ่งประกอบด้วยน้ำชลประทานน้ำประปาระบบส่งน้ำดิบด้วยท่อ • กำหนดชนิดของสถาบัน 4 กลุ่มคือ ครัวเรือนภาคการเกษตรครัวเรือนนอกภาคการเกษตรภาครัฐและการค้าระหว่างประเทศ
กำหนดชนิดของสถาบัน 4 กลุ่มคือ • ครัวเรือนภาคการเกษตร • ครัวเรือนนอกภาคการเกษตร • ภาครัฐ • การค้าระหว่างประเทศ
2 การกำหนดระดับและชนิดของฟังก์ชั่นในด้านอุปทาน
3 การกำหนดระดับและชนิดของฟังก์ชั่นด้านอุปสงค์
4.การกำหนดระดับและชนิดของฟังก์ชั่นด้านการค้าระหว่างประเทศ4.การกำหนดระดับและชนิดของฟังก์ชั่นด้านการค้าระหว่างประเทศ
การรวบรวมข้อมูล • จัดหาข้อมูลที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุดหรือข้อมูลใหม่อันประกอบด้วยตาราง Input-Output ข้อมูลการสำรวจเศรษฐกิจและสังคม • ข้อมูลความยืดหยุ่น • ข้อมูลการประมาณการในส่วนของทรัพยากรน้ำ
คำนวณจาก ปริมาณการใช้น้ำ X ต้นทุนการจัดน้ำดิบ (ข้อมูลจริง)