370 likes | 1.12k Views
เกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แห่งชาติ ( Health Promoting Hospital National Quality Criteria ) : HPHNQC. เกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แห่งชาติ. เป็นบรรทัดฐานสำหรับการดำเนินการประเมินตนเองของโรงพยาบาล
E N D
เกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ(Health PromotingHospital National Quality Criteria) :HPHNQC
เกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ • เป็นบรรทัดฐานสำหรับการดำเนินการประเมินตนเองของโรงพยาบาล • ช่วยในการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในโรงพยาบาล
ผลลัพธ์ที่ดีของการส่งเสริมสุขภาพผลลัพธ์ที่ดีของการส่งเสริมสุขภาพ Target Group • สิ่งแวดล้อม • บุคลากร • ผู้รับบริการ ครอบครัว ญาติ • ชุมชน
ค่านิยมหลักและแนวคิดการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพค่านิยมหลักและแนวคิดการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ • ทิศทางนำ :ผู้นำมองการณ์ไกล ใช้มุมมองเชิงระบบ ระบบปรับตัวไว • ผู้รับผล : ใส่ใจสุขภาวะ มุ่งเน้นผู้รับบริการ รับผิดชอบต่อชุมชน • ผู้ปฏิบัติงาน:มีคุณค่า ทำงานเป็นทีม สมาชิกทีมมุ่งมั่น รับผิดชอบต่อวิชาชีพ • การพัฒนา: สร้างสรรค์นวัตกรรม ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล เน้นผลลัพธ์และเพิ่มคุณค่า พัฒนาต่อเนื่อง ใช้ข้อมูลวิชาการ • การเรียนรู้: เรียนรู้และปรับตน เพิ่มพลังชุมชน
เกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพHealth Promoting Hospital National Quality Criteria มีเกณฑ์ 7 องค์ประกอบ ดังนี้ การนำองค์กรและการบริหาร การวางแผนกลยุทธ์และการบริหารทรัพยากร การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร การส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ผลลัพธ์การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
เกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ องค์ประกอบที่ 1 และ 2 เป็นองค์ประกอบที่จะขับเคลื่อนให้เกิดองค์ประกอบที่3,4,5,6 (โดยเน้นให้เห็น A D L I ) องค์ประกอบที่ 7 ผลลัพธ์มี4 ประเด็น ตาม องค์ประกอบที่ 3 – 6 โดยใช้การประเมิน LeTCI องค์ประกอบที่ 7 ผลลัพธ์มี4 ประเด็น ตาม องค์ประกอบที่ 3 – 6
เกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ การให้คะแนน องค์ประกอบที่ 1- 5 120 คะแนน (องค์ละ) องค์ประกอบที่ 6 150 คะแนน องค์ประกอบที่ 7 250 คะแนน คะแนนรวม 1,000 คะแนน
เกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ • คะแนนต่ำกว่า 350 ถือว่าอยู่ในระดับพัฒนาตามกระบวนการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH Process) • คะแนน 350-499 ผ่านระดับ HPH Class • คะแนน 500-649 ผ่านระดับ HPH Gold Standard • คะแนน 650 ขึ้นไป ผ่านระดับ HPH Award
องค์ประกอบที่ 1 - 6 ประเมินกระบวนการ • “กระบวนการ’’ หมายถึง วิธีที่องค์กรใช้และ • ปรับปรุง เพื่อตอบสนองข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้อ • ในหมวด 1-6 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินกระบวนการ • ได้แก่ • แนวทาง (Approach - A) • การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ (Deployment - D) • การเรียนรู้ (การทบทวนและปรับปรุง) (Learning - L) • การบูรณาการ (Integration - I)
แนวทาง (Approach - A) “ แนวทาง ” หมายถึง • วิธีการที่ใช้เพื่อให้กระบวนการบรรลุผล • ความเหมาะสมของวิธีการที่ตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ • ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ ขององค์กร • ระดับของการที่แนวทางนั้นนำไปใช้ซ้ำได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ • (ซึ่งหมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นระบบ)
แนวทาง (Approach - A) มีความเป็นระบบ คือ แนวทางซึ่งมีการจัดขั้นตอนไว้เป็นลำดับ สามารถทำซ้ำได้ และมี การใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ หรืออาจกล่าวได้ว่า แนวทางมีความเป็นระบบ หากมีการประเมิน การปรับปรุง และการแบ่งปันรวมอยู่ด้วย จนส่งผลให้แนวทางนั้น มีระดับความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment – D) • “ การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ” หมายถึง • ความครอบคลุม และทั่วถึงของ • การใช้แนวทางเพื่อตอบสนองข้อกำหนดของหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องและสำคัญต่อองค์กร • การใช้แนวทางอย่างคงเส้นคงวา • การใช้แนวทางไปใช้ (สู่การปฏิบัติ) ในทุกหน่วยงานที่เหมาะสม
การเรียนรู้ ( Learning – L ) • “การเรียนรู้”หมายถึง • การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจรการประเมินและการปรับปรุง • การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของแนวทาง ผ่านการสร้างนวัตกรรม • การแบ่งปันความรู้จากการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรมกับหน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร
การบูรณาการ (Integration - I) • “ การบูรณาการ ”หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ • แนวทางที่ใช้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร และข้อข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆ ในเกณฑ์ • การใช้ตัววัด สารสนเทศ และระบบการปรับปรุงที่ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งระหว่างกระบวนการและระหว่างหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร • แผนงาน กระบวนการ ผลลัพธ์ การวิเคราะห์ การเรียนรู้ • และการปฏิบัติการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันในทุก • กระบวนการและหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ • ระดับองค์กร
ผลลัพธ์ “ผลลัพธ์”หมายถึง ผลผลิตและผลลัพธ์ของ องค์กรที่บรรลุผลตามข้อกำหนดในหัวข้อที่ 7.1 - 7.4 ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ - ระดับ( Level – L ) - แนวโน้ม( Trend – T ) - การเปรียบเทียบ( Comparison – C ) - การบูรณาการ( Integration – I ) (LeTCI)
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ • ระดับ( Level – L ) • - ผลการดำเนินการในปัจจุบัน • แนวโน้ม( Trend – T ) • - อัตราของการปรับปรุงผลการดำเนินการหรือ การรักษาไว้ของผลการดำเนินการที่ดี • (ความลาดชันของแนวโน้มของข้อมูล)
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์(ต่อ)ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์(ต่อ) • การเปรียบเทียบ( Comparison – C ) • - ผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับสารสนเทศขององค์กรอื่นอย่างเหมาะสม เช่นคู่แข่ง หรือองค์กรที่คล้ายคลึงกัน • - ผลการดำเนินการขององค์กรเทียบเคียงกับระดับเทียบเคียง หรือองค์กรที่เป็นผู้นำธุรกิจหรือวงการเดียวกัน
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์(ต่อ)ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์(ต่อ) • การบูรณาการ( Integration – I ) ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ • - ตัววัดผลต่างๆ (มักมีการจำแนก) ที่ระบุผลการดำเนินการด้านลูกค้ารายสำคัญผลิตภัณฑ์ ตลาด กระบวนการ และแผนปฏิบัติการที่ระบุผลการดำเนินการ • ที่ต้องการ ตามที่ปรากฏอยู่ในโครงร่างองค์กรและหัวข้อที่อยู่ในหมวด 1-6 • - ผลลัพธ์ รวมถึงตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินการในอนาคต • - ผลลัพธ์มีการสอดประสานอย่างกลมกลืนในทุกกระบวนการและหน่วยงานเพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับองค์กร
ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการตัวช่วยในการตรวจประเมินและให้คะแนนในหมวดกระบวนการ (หมวด 1-6) 1. ตั้งรับปัญหา ( 0- 25%) เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการ การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกิจกรรมมากกว่าเป็นกระบวนการและส่วนใหญ่จะตอบสนองความต้องการหรือปัญหาเฉพาะหน้า ขาดการกำหนดเป้าประสงค์ที่ดี
ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการตัวช่วยในการตรวจประเมินและให้คะแนนในหมวดกระบวนการ (หมวด 1-6) 2. แนวทางเริ่มเป็นระบบ ( 30 - 45%) เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการ องค์กรอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการปฏิบัติการปฏิบัติการด้วยกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ มีการประเมินผลและการปรับปรุง และเริ่มมีการประสานงานบ้างระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร มีการกำหนดกลยุทธ์และเป้าประสงค์เชิงปริมาณ
ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการตัวช่วยในการตรวจประเมินและให้คะแนนในหมวดกระบวนการ (หมวด 1-6) 3. แนวทางสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน (50 - 65%) เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการ การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการประเมินผล อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการปรับปรุง โดยมีการแบ่งปันความรู้และการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรกระบวนการตอบสนองกลยุทธ์และเป้าประสงค์ที่สำคัญขององค์กร
ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการตัวช่วยในการตรวจประเมินและให้คะแนนในหมวดกระบวนการ (หมวด 1-6) 4. แนวทางที่บูรณาการ (70 - 100%) เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการ การปฏิบัติการมีลักษณะเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ และมีการประเมินผล อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่ดับผลกระทบ การวิเคราะห์ นวัตกรรม และการแบ่งปันสารสนเทศและความรู้ ส่งผลให้มีการทำงานข้ามหน่วยงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการและตัววัดในการติดตามความก้าวหน้าของเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการที่สำคัญ
แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ องค์ประกอบที่ 1 – 6 50%, 55% 60% หรือ 65% คะแนน - แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อ (A) - มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่หรือบางหน่วยงาน (D) - มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับโรงพยาบาลรวมถึงการสร้างนวัตกรรมบ้าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ (L) - มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการโดยรวมของโรงพยาบาล ตามที่ระบุไว้ในข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I)
แนวทางการให้คะแนน องค์ประกอบที่ 7 50%, 55% 60% หรือ 65% คะแนน - มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อและผลอยู่ในระดับที่ดี (Le) - แสดงถึงแนวโน้มที่ดีอย่างชัดเจนในเรื่องต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจของโรงพยาบาล (T) - ผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเทียบเคียงกับตัวเปรียบเทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียงที่เหมาะสม (C) - มีการรายงานผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของบุคลากร ผู้รับบริการ ครอบครัว ญาติ ชุมชน และกระบวนการเป็นส่วนใหญ่ (I)
Health Promoting HospitalNational Quality Criteria Thank You