220 likes | 632 Views
สัมมนาชีววิทยา. จัดทำโดย นางสาวซีตีอามีเน๊าะ ตง รหัส 404652045 โปรแกรมชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มพื้นฐานที่ 13. บทคัดย่อ.
E N D
สัมมนาชีววิทยา จัดทำโดย นางสาวซีตีอามีเน๊าะ ตง รหัส 404652045 โปรแกรมชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มพื้นฐานที่ 13
บทคัดย่อ สมุนไพรไทย เป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างยิ่งของประเทศทางด้านการรักษาทางด้านการบำรุงสุขภาพสมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยารักษาโรคต่าง ๆทองพันชั่ง พลู พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่ปลูกง่าย หาง่ายสามารถพบได้ตามบริเวณทั่ว ๆไปเป็นพืชสมุนไพรในการรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่เรียกว่ากลากเกลื้อน ทองพันชั่งใช้ใบ ราก (สดหรือแห้ง) ตำให้ละเอียด แช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์พอท่วม นำน้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็นกลาก และ Chavicol น้ำมันหอมระเหยจากใบสดของพลูยาชาเฉพาะที่มีฤทธิ์ระงับอาการคัน
สมุนไพรรักษากลาก ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ความหมายของพืชสมุนไพร คำว่า พืชสมุนไพร (Herbs) หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งหาได้ตามพื้นเมือง ไม่ใช่เครื่องเทศ ส่วนคำว่า ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์หรือแร่ซึ่งยังมิได้ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่มีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้านหรือยาแผนโบราณ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยมีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท (สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่า สมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหารจึงทรงโปรดเกล้าให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริขึ้นให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้าในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยคก่อให้เกิดโครงการพระราชดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน คนไทยไม่เพียงแต่ใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ “สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค” สารสำคัญหรือองค์ประกอบทางเคมีที่พบในพืชสมุนไพร สารสำคัญที่มีฤทธิ์ในทางยาของพืชสมุนไพร มีดังนี้ (รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ;2540) Alkaloid เป็นสารที่มีรสขมจะมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบมีคุณสมบัติเป็นด่าง Glycoside เป็นสารประกอบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นน้ำตาลและส่วนที่ไม่ใช้น้ำตาล การที่มีน้ำ ตาลมาเกาะนั้นทำให้สารนี้สามารถที่จะละลายน้ำได้ดีขึ้นในส่วนที่ไม่ใช้น้ำตาลเป็นสารพวกอินทรีย์เคมี Essential Oil เป็นสารที่มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด
Tannin เป็นสารที่พบได้ในพืชทั่วไป มีรสฝาด มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆGum เป็นของเหนียวที่อาจพบในพืชบางชนิด โดยเมื่อทำการกรีดหรือทำให้พืชนั้นเป็น แผล มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ใช้ในทางยาLatex เป็นยางมีสีขาว คล้ายน้ำนม ประกอบไปด้วยแป้งกับเรซิน และสารอื่นๆ Steriod เป็นสารประกอบในพืช สามารถละลายได้ดีในไขมันหรือตัวทำละลายที่ละลายไขมัน จะได้สารบางตัวซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาด้านการอักเสบSaponin เป็นสารประเภทไกลโคไซด์ (glycoside) อาจเป็น steroid หรือ triterpene ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกFlavonoid เป็นสารประกอบของคาร์บอนและออกซิเจน มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกัน เช่น ลดการอักเสบ ขยายหลอดลม ทำให้มดลูกคล้ายตัว และฆ่าเชื่อแบคทีเรียCyanogenic glycoside เป็นสารเคมีที่อยู่ในพืช โดยเมื่อถูกย่อยด้วยเอนไซม์แล้วจะเกิดปฎิกิริยาทางเคมีทำให้ได้ไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย เนื่องจากจะไปแย่งจับเม็ดเลือดแดงทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ แต่สารพวกนี้จะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อนAnthraquinone สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
Coumarin พบได้ในพืชหลายวงศ์Glucosilinates สารพฤกษเคมีในกลุ่มกลูโคซิลิเนทนี้ มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังรวมทั้งทำให้อักเสบ บวมแดง และเป็นตุ่มพุพองProanthocyanins ส่วนใหญ่เป็นสร้างประกอบของเม็ดสี (pigments) มีฤทธิ์เป็นสารต้านการอ๊อกซิเดชั่น (antioxidant) ที่รุนแรงPhenols สารในพวกฟีนอลมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาการอักเสบ มีฤทธิ์ทำลายเชื้อ ต้านการเกิดออกซิเดชั่น (antioxidant) ที่ดี และต้านไวรัสได้ด้วยPolysaccharides พบได้ในพืชทุกชนิด เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ ซึ่งเกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเล็กมาต่อเรียงกันที่พบเห็นในพืชได้แก่ สารเมือก (mucilages) และกัมส์ (gums) มีลักษณะเหนียวข้นเหมือนเจลลีมีคุณสมบัติบรรเทาอาการแพ้ ตามผิวหนังสารขม (Bitters) เป็นสารเคมีที่มีรสขม ความขมนี้มีฤทธิ์กระตุ้นให้น้ำลายหลั่งออกมาได้ ทำให้เพิ่มความอยากอาหารและเร่งการทำงานของระบบย่อยอาหาร
ประโยชน์ของสมุนไพรใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรค.ใช้เป็นอาหาร.ใช้เป็นเครื่องสำอาง.ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย.ใช้ขับสารพิษ.ใช้เป็นเครื่องดื่มช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจประโยชน์ของสมุนไพรใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรค.ใช้เป็นอาหาร.ใช้เป็นเครื่องสำอาง.ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงร่างกาย.ใช้ขับสารพิษ.ใช้เป็นเครื่องดื่มช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ วงศ์อะแคนเทซีอี ; Family Acanthaceae พืชประจำวงศ์อะแคนเทซีอีมี 250 สกุล 2,500 ชนิด พบในประเทศไทย 40 สกุล 250 ชนิด ลักษณะพืชประจำวงศ์อะแคนเทซีอี (Acanthaceae) .เป็นไม้ล้มลุก ไม้เลี้อย หรือไม้พุ่มขนาดเล็ก บริเวณข้อมักจะพ้องโป่ง มักมีขนต่อมที่แตกต่างกันหลายแบบ .ใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ ภายในเซลล์มีซีสโตลิทธ์ (Cytoliths) ทำให้มีลักษณะหยาบ กระด้าง หรือมีขนสากปกคลุม ไม่มีหูใบ ใบติดเรียงแบบตรงกันข้ามกัน
.ดอกช่อแบบซีม หรือราซีม ดอกมีขนาดใหญ่ มีใบประดับจำนวนมากรองรับช่อดอกหรือดอกย่อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายกลีบดอก ดอกไม่สมดุล สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน บางชนิดลดรูปเป็นเส้น แยกกันหรือฐานกลีบเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉก กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปกระดิ่ง ปลายกลีบแยกเป็น 2 ปากไม่เท่ากัน และมักบิด ดอกตูมปลายกลีบเชื่อมติดกัน.เกสรตัวผู้มี 2-4 แบบไดนามัส ก้านเกสรแยกหรือเชื่อมติดกันเองเป็นคู่ติดกับหลอดกลีบดอก และเรียงสลับกับพูกลีบดอก อับเรณูแตกตามยาวบางชนิดอับเรณูอาจงอนเป็นเดือยและมีขนปกคลุม มีต่อมน้ำหวาน.เกสรตัวเมียเป็นคอมพาวด์ พิสทิลมี 2 คาร์เพล 2 ห้อง (มักมีเยื่อกั้นเทียมที่ผนังรังไข่) แต่ละห้องมีออวุล 2 ออวุลติดกับผนังรังไข่แบบพาไรทอล รังไข่แบบซูพิเรียก้านเกสร 1 ยอดเกสรมี 2 ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก.ผลแบบแคปซูล บางชนิดอาจเป็นแบบดรุป.เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างแบน มีขนปุยสั้นๆ อมน้ำได้ปกคลุม สายขั้วเมล็ดมีลักษณะเป็นตะขอเกี่ยวเมล็ดไว้ ไม่มีเอนโดสเปิร์ม ต้นอ่อนขนาดใหญ่และมีลักษณะโค้งหรือตรง
ข้อมูลทางพฤกษาศาสตร์ของทองพันชั่งชื่อวิทยาศาสตร์Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurzชื่อวงศ์ ACANTHACEAEชื่อพื้นเมืองอื่นๆหญ้ามันไก่, ทองพันชั่ง, ทองคันชั่ง,(พญ.เพ็ญนภา ทองพันดุลย์ ,(ชื่อไทย) แปะเฮาะเล่งจือ(ชื่อจีน) ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ ต้น เป็นพืชล้มลุกกึ่งไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปมนค่อนข้างรีเป็นรูปไข่ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-6 ซม. ดอก สีขาวนวลคล้ายนกกระยาง ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ มีกลีบเลี้ยงสีเขียวเล็กๆ สั้นๆ ไม่มีก้านดอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอดสีเขียวอ่อนรูปทรงสูง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผล ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ เป็นฝักยาวมีขนสั้นๆ คลุม ภายในมี 4 เมล็ด
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพราะปลูกง่ายเป็นพืชที่ไม่ชอบร่มเงามากนัก ชอบที่ดินชุ่มชื้นปนทราย การระบายน้ำดีไม่ขังแฉะ แต่ต้องคอยรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอใบจึงจะงาม ถ้าดินขาดน้ำหรือถูกแดดมากไปใบจะมีจุดสีเหลือง การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดเพาะ หรือเอากิ่งปักชำในดินที่ชื้น ให้กิ่งเอียงเล็กน้อย ตอนปลูกใหม่ๆ ควรรดน้ำทุกวันจนกว่ากิ่งชำจะแตกกิ่งใหม่ การเก็บมาใช้ ควรเก็บใบและรากจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงได้รับปุ๋ย, แสงแดด และน้ำเพียงพอ กล่าวคือใบไม่มีจุด เหลือง มีสีเขียวสดเป็นมัน และควรเลือกเก็บจากต้นที่มีอายุเกิน 1 ปี หรือออกดอกแล้ว
ประโยชน์ของทองพันชั่งงานสาธารณสุขมูลฐานใช้ทองพันชั่งในการรักษากลากเกลื้อนการใช้ในต่างประเทศ (ประเทศไต้หวัน)ในประเทศไต้หวันใช้ทองพันชั่งเป็นยาพื้นบ้านในการบำบัดรักษาโรคเบาหวาน โรคผิวหนัง ความดันโลหิตสูง และตับอักเสบ ฤทธิ์ทางชีวภาพของทองพันชั่ง *ฤทธิ์ลดความดันโลหิต *ฤทธิ์ต้านเชื้อรา (Antifungal activity) *ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส (Antiviral activity) *ความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxicity) *ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด (Antiplatelet aggregation) *ฤทธิ์ในการดึงดูดแมลง (Insect sex attractant and signalling) *ฤทธิ์ในการเป็น juvenile hormone
การศึกษาความเป็นพิษของทองพันชั่งมีการศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (acute toxicity) ของทองพันชั่ง โดยป้อนสารสกัดทองพันชั่ง (50% EtOH) ให้หนูถีบจักร และการฉีดสารสกัดเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 10g/kg (เทียบเป็น 3333 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายา) พบว่าไม่แสดงอาการเป็นพิษในหนูถีบจักร ในเวียดนามทำการศึกษาโดยให้หนูกินใบทองพันชั่งในขนาด 0.5-1 g/kg น้ำหนักตัว (เทียบในมนุษย์จะเท่ากับการได้รับทองพันชั่ง 25 - 50 g หรือ 1 กำมือ) ไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด พืชสกุล Rhinacanthus nasutus พืชในสกุล Rhinacanthus nasutus จัดอยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE ที่มีความสำคัญทางด้านการบำบัดรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคกลากเกลื้อน , โรคมะเร็ง และโรคผิวหนัง ฯลฯ จากการสำรวจพืชวงศ์ ACANTHACEAE โดยใช้หนังสือ “ชื่อพรรณไม้แห้งประเทศไทย” ของ ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์ และหนังสือ “การสำรวจและการรวบรวมพรรณพืชในท้องถิ่น” ของ ผศ.กาญจนา ครุธเวโช (2542, 378) พบว่าพืชวงศ์ ACANTHACEAE ในประเทศไทยมีอยู่ 40 สกุล 250 ชนิด
ข้อมูลทางพฤกษาศาสตร์ของพลูชื่อวิทยาศาสตร์Piper betel Linn.ชื่อวงศ์ Piperaceaeชื่อสามัญ Betel leaf, Betel vine, Betel pepperชื่อท้องถิ่น ซีเก๊ะ(นราธิวาส) พลูจีน บู เปล้ายวน ซีเก ดีปลีเชือก ดีปลี(ภาคใต้) ส่วนที่ใช้ ใบสดที่โตเต็มที่ น้ำมันจากใบ สารที่พบ ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหย Chavicol, Chavibetol, Eugenol, P-Cymene, Cincole, Eugenol Methl Ether, Caryophyllene และ Cadinene โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chavicol เป็นยาชาเฉพาะที่มีฤทธิ์ระงับอาการคัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก พลูมีรากแบบระบบรากฝอย (Fibrous root system) เนื่องจากมักจะนิยมปลูกโดยวิธีการปักชำ รากมี 2 ชนิดคือรากหาอาหารและรากยึดเกาะ ซึ่งรากหาอาหารจะอยู่ในดินทำหน้าที่ดูดน้ำ
ลำต้น เป็นไม้เถาเลื้อยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 5 มิลลิเมตร ลักษณะของลำต้นอวบน้ำมีร่องเล็ก ๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว จะเจริญยึดเกาะกับเสาหรือไม้ค้ำยันหรือหลักใบ เป็นใบเดี่ยว รูปร่างเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ฐานใบมนหรือค่อนข้างกลม ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่แยกกันคนละดอก และมักจะบานไม่พร้อมกันจึโอกาสที่เกสรเพศเมียจะได็รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้น้อยมาก ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้าน รูปร่างของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกออกเป็นกลุ่มเรียงอยู่บนก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 – 15 เซนติเมตรเมล็ด รูปร่างยาวรีคล้ายรูปไข่ มีขนาดความยาวประมาณ 2.25 – 2.6 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร (รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ; 2540) พันธุ์พลูที่นิยมปลูกกันในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์คือ 1. พลูเขียว 2. พลูขาวหรือพลูนวล3. พลูเหลืองหรือพลูทอง การขยายพันธุ์ ส่วนใหญ่ใช้ยอดปักชำและอาจใช้ใบที่มีตาติดคือข้อชำก้ได
คุณสมบัติ -.มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดหนองที่แผลหรือฝี และลดอาการอักเสบของแผลด้วย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาอาการอักเสบของเยื่อจมูกและคอ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรค .รักษาและบรรเทาความเจ็บปวดของอาการเคล็ด ขัด ยอก .-มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อนและฮ่องกองฟุต มีฤทธิ์ลดอาการคัน .-น้ำมันหอมระเหยจากใบพลูช่วยลดอาการเกร็งของลำไส้ รักษาอาการปวดท้องและท้องเสีย .-ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาแผลช้ำบวม .-มีฤทธิ์กระตุ้นสมองอ่อน ๆ ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปรา สมองแจ่มใส .-รักษาลมพิษ รักษาเลือดกำเดาไหล .-เป็นยาชาเฉพาะที่ .-แก้ไขและขับเสมหะ .-ใช้ห้ามเลือดและช่วยให้แผลหายเร็ว .-ช่วยให้เส้นเลือดหดตัวและฆ่าเชื้อโรค .-ใช้กันหืนหรือกลิ่นเหม็นในน้ำมันพืชหรือน้ำมันหมู
แหล่งปลูกพลูในประเทศไทยพลูเป็นพืชที่ปลูกให้ผลตอบแทนเร็วและลงทุนค่อนข้างต่ำ พื้นที่ทุกภาคของประเทศไทยเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพลู จังหวัดที่ปลูกพลูมากคือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก นครปฐม ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานีและอุบลราชธานี ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานรักษาอาการผื่นคัน ลมพิษ แพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อยใช้ใบสด 1-2 ใบ โคลกผสมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ ทาบริเวณที่เกิดอาการห้ามใช้กับบาดแผลเปิด จะแสบมาก
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคผิวหนัง (กลากเกลื้อน)กลากกลากจะขึ้นทั่วไป และมีลักษณะต่าง ๆ กันตามตำแหน่งของผิวหนังที่เป็น เช่น ที่ศีรษะ ลำตัว ขาหนีบ ก้น ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับเชื้อราด้วย อาการโดยทั่วไปจะเป้นผื่นแดงที่ผิวหนังจากจุดเล็ก ๆ แล้วขยายออกเป็นวง ผิวหนังส่วนตรงกลางดูเป็นปกติ แต่ส่วนขอบนั้นจะนูนสูงแดงมีเม็ดตุ่มพองน้ำเล็ก ๆ มักจะขึ้นวงเดียว หรือสองสามวงแล้วลามมาติดกันเป็นวงใหญ่คันบ้างไม่มากนักและติดต่อสู่ผู้อื่นได้ เกลื้อน เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มักพบมากกับผู้ที่ประกอบอาชีพที่อยู่ในอุณหภูมิสูงมีเหงื่อออกมาก มีความชื้นสูง หรือสกปรกเปรอะเปื้อนพวกไขมัน และฝุ่นละออง เช่น นักกีฬา ทหาร ผู้ใช้แรงาน เป้นต้น ลักษณะของเกลื้อนที่ผิวหนังจะเป็นปื้น มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีสีค่อนข้างแดง น้ำตาล ขาวซีด อาจมีเสก็ดบาง ๆ ติดอยู่ มักขึ้นบริเวณลำตัวส่วนบริเวณหน้าอก หลัง หรือกระจายไปที่อื่น ๆ เช่น แขน ขา คอ หน้า เป็นต้น (เยาวเรศ นาคแจ้ง;2546) กลากเกลื้อน เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนัง หากเป็นที่ศีรษะเรียก tinea capitis หากเป็นที่เล็บเรียก Tinea ungium หากเป็นที่ใบหน้าเรียก Tinea facii สำหรับชาวตะวันตกเรียก Ring worm ซึ่งเรียกตามลักษณะของผื่นคือเป็นผื่นวงแหวน ตรงกลางผื่นจะไม่มีขุย ส่วนขอบผื่นจะเป็นขุย ขนาดของผื่นพบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนกระทั่งใหญ่ (ทีมงานsiamhealth. net)
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อราซึ่งมักจะพบอยู่ในสุนัข แมว มักจะเป็นในเด็กเชื้อสามารถแพร่กระจายจากคนที่ป่วยหรือสัตว์ที่ติดเชื้อไปสู่คนอื่น เชื้อพวกนี้จะอยู่บนเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เชื้อที่มักจะเป็นสาเหตุคือTrichophyton rubrumMicrosporum canisTrichophyton mentagrophytesอาการของโรคเริ่มแรกจะเกิดผื่นแดงและคัน อาจจะเป็นรูปไข่หรือวงกลม ตรงกลางผื่นจะมีสีปกติหรือสีแดง ส่วนขอบจะยกสูง สีแดงและเป็นขุย ซึ่งเป็นบริเวณที่พบเชื้อเป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ที่ทายา steroid ผื่นอาจจะมีตุ่มน้ำหรือตุ่มหนองการรักษาใช้ส่วนประกอบของพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษา กลาก เกลื้อนเช่น ทองพันชั่ง พลูหรืออาจจะใช้ครีมรักษาเชื้อราทาวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผื่นมักจะหายใน 2 สัปดาห์ ยาที่ใช้ได้แก่Miconazole (Monistat) Clotrimazole (Mycelex) Ketoconazole (Nizoral)Terbinafine (Lamisil)
การป้องกันเนื่องจากเชื้อชอบที่อุ่น ชื้น การป้องกันการติดเชื้อจะต้องทำให้ผิวแห้งอยู่เสมอและหลีกเลี่ยงสัตว์ที่เป็นโรค การป้องกันที่สามารถทำได้ล้างมือเมื่อสัมผัสสัตว์ หรือไปขุดดินไม่สัมผัสกับคนที่เป็นโรคใส่เสื้อผ้าหลวมๆการปฏิบัติตนเมื่อเป็นกลากเกลื้อน รักษาความสะอาดของร่างกายให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำฟอกสบู่และเช็ดตัวให้แห้งครั้งโดยเฉพาะบริเวณซอก เช่น รักแร้ ขาหนีบ ง่ามเท้า เป็นต้น ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาดและอย่าเกาเพราะจะทำให้เชื้อลุกลามไปที่อื่นได้ ป้องกันการแพร่เชื้อ โดยแยกเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ปะปนกันและควรซักทำความสะอาดตากแดดให้แห้งทุกครั้ง ควรมาทำการตรวจรักษาจากแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การรักษาเชื้อราที่ผิวหนัง โดยทั่วไปจะใช้ยาทาวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าผื่นจะหาย โดยทายาที่ผื่นและบริเวณใกล้เคียงโดยรอบหลังจากผื่นหายแล้วควรทายาต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ และอย่าใช้มือเปื้อนยาขยี้ตา สำหรับเชื้อราที่เล็บและหนังศีรษะการรักษายุ่งยากกว่า ต้องใช้ยารับประทาน
บทสรุป ทองพันชั่งและพลูเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่งที่จัดได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างยิ่งของประเทศ ซึ่งทองพันชั่งทั้งต้นสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้หลายอย่างหลายโรคโดยใบ รากสามารถนำมารักษาโรคที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคผิวหนัง เช่นกลาก เกลื้อนซึ่งจะเกิดเป็นตามผิวหนังของคนเรา นอกจากนี้ทองพันชั่งยังมีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายอย่างด้วยกัน คือ ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด ฤทธิ์ในการดึงดูดแมลง และฤทธิ์ในการเป็น juvenile hormone และสำหรับพลูจะใช้ใบเป็นยาสมุนไพรรักษากลากเช่นเดียวกันกับทองพันชั่งโดยพลูจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดเป็นกลากเกลื้อนและฮ่องกองฟุต มีฤทธิ์ลดอาการคันและยังมีน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Chavicol ซึ่งเป็นยาชาเฉพาะที่ที่มีฤทธิ์ระงับอาการคัน