1 / 30

บทที่ 4 การวิเคราะห์ระบบ

บทที่ 4 การวิเคราะห์ระบบ. System Analysis. การวิเคราะห์ระบบ. ความต้องการของระบบ การกำหนดความต้องการของระบบ ผู้ให้ข้อมูลความต้องการ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล การทบทวนข้อกำหนดความต้องการ. ความต้องการของระบบ (System Requirements). สิ่งที่ระบบใหม่ต้องสามารถทำได้ และสิ่งที่ระบบใหม่ไม่ควรทำ

harlow
Download Presentation

บทที่ 4 การวิเคราะห์ระบบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4การวิเคราะห์ระบบ System Analysis

  2. การวิเคราะห์ระบบ • ความต้องการของระบบ • การกำหนดความต้องการของระบบ • ผู้ให้ข้อมูลความต้องการ • วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล • การทบทวนข้อกำหนดความต้องการ

  3. ความต้องการของระบบ (System Requirements) • สิ่งที่ระบบใหม่ต้องสามารถทำได้ และสิ่งที่ระบบใหม่ไม่ควรทำ • ความต้องการที่เป็นหน้าที่หลัก (Functional Requirements) • ความต้องการที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก (Non-functional Requirements)

  4. ความต้องการที่เป็นหน้าที่หลัก (Functional Requirements) • ความต้องการให้ระบบทำหน้าที่ใดๆ ตามที่กำหนดไว้ได้ • สิ่งที่ระบบควรทำหน้าที่หลักในการทำงาน • บริการที่ระบบควรมี

  5. ตัวอย่าง ระบบทะเบียน • ผู้เกี่ยวข้อง  นักศึกษา , อาจารย์ , เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน • ความต้องการ • นักศึกษาสามารถตรวจสอบผลการเรียนและสภาพนักศึกษาได้ • นักศึกษาสามารถลงทะเบียนและทำการเพิกถอนรายวิชาได้ • อาจารย์สามารถตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาของตน หลังจากส่งผลการเรียนไปยังฝ่ายทะเบียนแล้ว เพื่อดูความถูกต้องได้ • อาจารย์และนักศึกษาสามารถติดตามเอกสารคำร้องต่างๆ ที่ยื่นต่อฝ่ายทะเบียนได้ • เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสามารถเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในระบบตามหน้าที่ได้

  6. ความต้องการที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก (Non-functional Requirements) • ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่หลักของระบบ • อาจเป็นเงื่อนไขการทำงานของฟังก์ชันหรือบริการ • เงื่อนไขด้านเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ • เงื่อนไขในการดำเนินงาน หรือมาตรฐานที่ใช้

  7. ความต้องการที่ไม่ใช่หน้าที่หลักความต้องการที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก • ความต้องการด้านผลิตภัณฑ์ • สมรรถนะของระบบ • ความน่าเชื่อถือของระบบ • ความต้องการด้านการทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ และใช้งานง่าย • ความต้องการขององค์กร จากนโยบายและแผนปฏิบัติงาน • ความต้องการจากปัจจัยภายนอก • การทำงานร่วมกันกับระบบอื่นจากภายนอก • ระบบทำงานอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย • ระบบต้องอยู่ในระดับที่ผู้ใช้และสาธารณชนยอมรับได้

  8. การกำหนดความต้องการของระบบการกำหนดความต้องการของระบบ • System Requirement Determination • การวิเคราะห์การทำงานของระบบเดิมเพื่อหาปัญหาที่แท้จริง • นำผลการวิเคราะห์มากกำหนดเป็นความต้องการของระบบใหม่ • นำไปสร้างเป็นแบบจำลองชนิดต่างๆ เพื่อนำเสนอความต้องการ

  9. การกำหนดความต้องการของระบบการกำหนดความต้องการของระบบ • ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงของระบบเดิม • อาจใช้วิธีพบและพูดคุยกับผู้ใช้ระบบในองค์กรเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง • สิ่งที่ได้ คือ แบบฟอร์ม รายงาน รายละเอียดการทำงาน และเอกสารอื่นๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูลขององค์กร

  10. ประโยชน์ของการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้เราทราบ • เป้าหมายขององค์กร และการดำเนินธุรกิจขององค์กร • สารสนเทศที่องค์กรต้องการ • ประเภทของข้อมูล ขนาด และจำนวนข้อมูลที่เกิดระหว่างทำงาน • ข้อมูลเกิดเมื่อใด ขั้นตอนใด ต้องส่งข้อมูลต่อไปยังขั้นตอนใด • ลำดับขั้นตอนการทำงาน • เงื่อนไขที่เกิดขึ้นระหว่างการประมวลผล • นโยบายในการปฏิบัติงาน • เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อข้อมูล เกิดขึ้นเมื่อใด

  11. ผู้ให้ข้อมูลความต้องการผู้ให้ข้อมูลความต้องการ • ผู้ใช้งานระบบ (Users) • ผู้ใช้ที่ต้องดำเนินการกับข้อมูลโดยตรง • ผู้ใช้ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ • ผู้ใช้ในระบบจัดการ • ผู้ใช้ในระดับผู้บริหาร • ผู้ใช้นอกองค์กร • ทีมงานด้านเทคนิค (Technical Stakeholders) ทำหน้าที่ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ ให้ข้อมูลด้านภาษาคอมพิวเตอร์ platform ของระบบ อุปกรณ์เครือข่าย

  12. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล • Information Gathering Method • กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมดของระบบงานที่ต้องการพัฒนา • ความสัมพันธ์ของข้อมูลในระบบงาน • ขั้นตอนการทำงานของระบบงาน • ความต้องการของเจ้าของระบบ • ส่วนประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อระบบงาน

  13. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิมวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิม • การศึกษาจากเอกสารเดิม (Existing Document) • แผนผังโครงสร้างขององค์กร (Organization Chart) • บันทึกภายใน (Memo) • แบบแสดงความคิดเห็นของลูกค้า • เอกสารทางบัญชี • คู่มือและเอกสารต่างๆ ของระบบสารสนเทศเดิม • รายงานสรุปแต่ละประเภท • แผนงานชนิดต่างๆ และนโยบายขององค์กร • แบบฟอร์มต่างๆ ที่มีการใช้งานจริงในแต่ละวัน • ใบเตือน

  14. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิมวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิม • การค้นคว้าข้อมูล (Research) • หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น ที่ประสบปัญหาการดำเนินงานเช่นเดียวกัน หรือมีความต้องการตรงกัน เพื่อให้ทราบแนวทางการแก้ไข นำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับปัญหา หรือความต้องการขององค์กร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ • การสังเกตการณ์ (Observation) • ศึกษาดูงานจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์กร • ต้องได้รับการยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงาน • จดบันทึกข้อมูลระหว่างสังเกต • ไม่ขัดจังหวะการดำเนินงานใดๆ ของพนักงาน • ไม่สรุปข้อสันนิษฐานด้วยตนเอง

  15. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิมวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิม • การจัดทำแบบสอบถาม (Questionare) • เป็นเอกสารที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและสารสนเทศของระบบจากผู้ตอบแบบสอบถาม • คำถามปลายเปิด (Open-end Questions) • คำถามปลายปิด (Closed-end Questions) • Multiple Choices, Multiple Chooses • Rating Questions • Ranking Questions

  16. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิมวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีดั้งเดิม • การสัมภาษณ์ (Interview) • เก็บรวบรวมข้อมูลแบบตัวต่อตัว • นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้สัมภาษณ์ ผู้ใช้ระบบเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ • การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง • การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง • เทคนิคการสัมภาษณ์ • เลือกบุคคล • เตรียมการสัมภาษณ์ • ดำเนินการสัมภาษณ์

  17. สิ่งที่ควรทำในการสัมภาษณ์สิ่งที่ควรทำในการสัมภาษณ์ • คำถามควรกระชับ เข้าใจง่าย • สุภาพและมีมารยาท • ตั้งใจฟังและควบคุมสถานการณ์ มีความอดทน • สังเกตกิริยาท่าทาง ตรวจสอบข้อมูล • ใช้ศัพท์ที่เข้าใจง่าย

  18. สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการสัมภาษณ์สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการสัมภาษณ์ • สันนิษฐานเองว่าคำตอบที่ได้รับสมบูรณ์ • ชี้นำด้วยวาจาและท่าทาง • แสดงความคิดเห็นส่วนตัว • พูดมากเกินความจำเป็น แทนที่จะรับฟังคำตอบ • ใช้เทปบันทึกเสียง • ใช้ถ้อยคำคุกคามหรือข่มขู่

  19. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีแบบใหม่การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีแบบใหม่ • Joint Application Design (JAD) • Business Process Reengineering (BPR) • Agile Methodology

  20. Joint Application Design (JAD) • เป็นเทคนิคในการกำหนดความต้องการ – ออกแบบระบบ • เป็นการจัดการประชุมโดยมีองค์ประชุม คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบ • ผู้ใช้ระบบ • เจ้าข้องระบบ (ผู้จ่ายเงิน) • ผู้บริหาร • นักวิเคราะห์ระบบ • นักออกแบบ • โปรแกรมเมอร์

  21. Joint Application Design (JAD) • JAD ช่วยในขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบ • เพื่อให้การเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อมูลต่างๆ จากหลายๆ ฝ่ายสามารถดำเนินการได้ในคราวเดียว • หากมีการใช้ CASE Tools ระหว่างการประชุม จะช่วยให้เห็นภาพของระบบได้รวดเร็ว และชัดเจน สามารถสร้าง prototype ได้หลังจากประชุมเสร็จ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นภาพของระบบได้ชัดเจนขึ้น

  22. ผู้เกี่ยวข้องกับการประชุมแบบ JAD • JAD Session Leader ผู้ดำเนินการประชุม • Users ผู้ใช้ระบบ • Manager ผู้บริหารองค์กร (ผู้ใช้ระบบ) • Sponsor ผู้สนับสนุนการเงิน • System Analyst นักวิเคราะห์ระบบและทีมงาน • Scribe ผู้จดบันทึกการประชุม (เลขานุการ) • IS Staff ทีมพัฒนาระบบในโครงการ (ด้านเทคโนโลยี)

  23. Business Process Reengineering (BPR) • การปรับกระบวนการทางธุรกิจ เป็น การศึกษากระบวนการทางธุรกิจ เพื่อค้นหาว่ากระบวนการใดที่ต้องได้รับการปรับปรุง • การค้นหา การสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้วในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อปรับปรุงการพัฒนาสินค้าและบริการ • รื้อธุรกิจเดิม เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการทำงานใหม่ • เป้าหมาย คือ บรรลุวัตถุประสงค์สำคัญ ได้แก่ ลดต้นทุน เพิ่มความเร็วในการทำงาน เพิ่มคุณภาพ และได้เปรียบคู่แข่งขัน

  24. Business Process Reengineering (BPR) • วิธีการ • ค้นหากระบวนการที่จำเป็นต้องปรับปรุง • หาวิธีนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้

  25. Agile Methodology • กรรมวิธีในการพัฒนาระบบที่เน้นความคล่องตัว และการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ระบบ • ผู้ใช้ระบบตรวจสอบความถูกต้องอยู่ตลอดเวลา • มั่นใจได้ว่าระบบจะพัฒนาได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้จริงๆ

  26. เทคนิคของ Agile Methodology • ให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละรอบของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ขั้น Analysis, Design, Coding, Test เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องทันที (ใช้กับระบบขนาดเล็ก) • Agile Usage-centered Design เป็นเทคนิคกำหนดความต้องการคล้าย JAD คือ การให้ผู้ใช้ระบบและทีมงานมาทำงานร่วมกันในห้องประชุมเดียวกัน โดยมีผู้ควบคุมการดำเนินงาน 1 คน ซึ่งต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในกระบวนการพัฒนาระบบเป็นอย่างดี • ใช้เทคนิค Planning Game จาก eXtreme Programming แบ่งผู้มีส่วนร่วมเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรกิจ (ผู้ใช้ระบบ) และฝ่ายพัฒนาระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ Exploration (สำรวจ), Commitment (มอบหมาย) , Steering (ดำเนินการ)

  27. การทบทวนข้อกำหนดความต้องการการทบทวนข้อกำหนดความต้องการ • Walkthrough เป็นวิธีการทบทวนข้อกำหนดความต้องการ เพื่อ • ค้นหาข้อผิดพลาด • ความไม่สอดคล้อง • สิ่งที่ขาดหายไป • ปัญหาที่เกิดขึ้นในข้อกำหนดความต้องการ • Structured Walkthrough • ไม่ใช่การตรวจสอบสมรรถนะของงาน แต่ทบทวนความต้องการ

  28. การทบทวนงานแบบ Walkthrough • การทวนสอบ (Verification) ตรวจสอบว่า ข้อกำหนดความต้องการนั้นสอดคล้องและถูกต้องหรือไม่ • การตรวจรับ (Validation) ตรวจสอบว่า ข้อกำหนดความต้องการนั้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

  29. ทีมงาน Walkthrough • นักวิเคราะห์ระบบ (Analyst) นำเสนอหรืออธิบายงานให้แก่ผู้ทบทวนงาน • ผู้ทบทวนงาน (Reviewer) ผู้บริหารหรือผู้ใช้ระบบที่ได้รับมอบหมาย • ผู้จดบันทึก (Librarian) ช่วยนักวิเคราะห์ระบบ จดบันทึกข้อผิดพลาด ความไม่สอดคล้อง สิ่งที่ขาดหายไป ปัญหาที่เกิดขึ้น และข้อแนะนำต่างๆ

  30. ขั้นตอนการทบทวนงานแบบ Walkthrough • เตรียมตัวก่อนการ Walkthrough โดยนักวิเคราะห์ระบบกำหนดผู้ที่จะเข้าร่วมทบทวนงาน จัดเตรียมเอกสารข้อกำหนดความต้องการ และแบบจำลองต่างๆ • ดำเนินการ Walkthrough นักวิเคราะห์ระบบอธิบายงานแต่ละส่วนให้กับสมาชิกในทีมทบทวน เพื่อหาปัญหาต่างๆ โดยมี Librarian เป็นผู้จดบันทึกปัญหา และคำแนะนำต่างๆ • ติดตามผล โดยแก้ไขข้อกำหนดความต้องการที่ผิดพลาดหรือขาดหายไป หากมีความสำคัญ อาจต้องมีการ Walkthrough ซ้ำอีกครั้ง

More Related