190 likes | 371 Views
ความรับผิดในการรอนสิทธิ. สัญญาซื้อขาย. ผู้ขายจะต้องรับผิดหากมีการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ.
E N D
ความรับผิดในการรอนสิทธิความรับผิดในการรอนสิทธิ สัญญาซื้อขาย
ผู้ขายจะต้องรับผิดหากมีการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อผู้ขายจะต้องรับผิดหากมีการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ มาตรา 475 “หากมีบุคคลใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขเพราะผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขาย หรือเพราะความผิดของผู้ขาย ผู้ขายจะต้องรับผิดในผลนั้น”
ข้อพิจารณา 1. ความรับผิดในการรอนสิทธิเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย แม้ไม่มีข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ผู้ขายต้องรับผิด ผู้ขายก็ยังคงรับผิดอยู่นั่นเอง 2. ถ้าการรอนสิทธิเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของผู้ขาย ผู้ขายก็ต้องรับผิด โดยไม่ต้องคำนึงว่าการรอนสิทธินั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือขณะทำสัญญาซื้อขาย 3. การรอนสิทธินั้น แม้จะเกิดขึ้นเพียงบางส่วน ผู้ขายก็ต้องรับผิด (มาตรา 479) 4. การรอนสิทธิเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อมีสัญญาซื้อขายอย่างสมบูรณ์ - สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งตกเป็นโมฆะ ผู้ซื้อฟ้องผู้ขายให้รับผิดในเรื่องการรอนสิทธิไม่ได้ 5. ผู้ขายต้องรับผิดเมื่อเกิดการรอนสิทธิขึ้น ดังนี้ 5.1 ต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรอนสิทธิ 5.2 ถ้าการรอนสิทธินั้นไม่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงถึงขนาดที่ผู้ซื้อไม่ได้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว ผู้ซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ถ้าการรอนสิทธิก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงถึงขนาดที่ผู้ซื้อจะไม่ได้รับประโยชน์แต่อย่างใดเลย ถือว่าเป็นเรื่องการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย ผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้ขายรับผิดได้
ผู้ขายไม่ต้องรับผิดหากผู้ซื้อรู้อยู่แล้วผู้ขายไม่ต้องรับผิดหากผู้ซื้อรู้อยู่แล้ว มาตรา 476 “ถ้าสิทธิของผู้ก่อการรบกวน ผู้ซื้อรู้ยู่แล้วในเวลาซื้อขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิด” คำพิพากษาฎีกาที่ 9652/2544คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยบางส่วน โดยวินิจฉัยว่าจำเลยคดีดังกล่าวจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์คดีดังกล่าวเป็นการทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมเป็นการเสียเปรียบแก่ทายาทของ จ. และผู้ที่มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทปลายปีแล้ว และควรจะได้รู้อยู่แล้วว่าจำเลยคดีดังกล่าวกระทำในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการไม่สุจรติ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิ แต่โจทก์ทราบถึงสิทธิของผู้ก่อการรบกวนในที่ดินพิพาทแล้วในเวลาซื้อขาย ฉะนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 476 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามส่วนที่ถูกเพิกถอนการซื้อขายดังกล่าว
การดำเนินคดีเกี่ยวกับการรบกวนขัดสิทธิระหว่างผู้ซื้อกับบุคคลภายนอกการดำเนินคดีเกี่ยวกับการรบกวนขัดสิทธิระหว่างผู้ซื้อกับบุคคลภายนอก มาตรา 477 “เมื่อใดการรบกวนขัดสิทธินั้นเกิดเป็นคดีขึ้นระหว่างผู้ซื้อกับบุคคลภายนอก ผู้ซื้อจะขอให้ศาลเรียกผู้ขายเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือโจทก์ร่วมในคดีนั้นก็ได้ เพื่อศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีทั้งหลายรวมไปเป็นคดีเดียวกัน”
ผู้ขายจะร้องสอดเข้าไปในคดีได้ผู้ขายจะร้องสอดเข้าไปในคดีได้ มาตรา 478 “ถ้าผู้ขายเห็นเป็นการสมควร จะสอดเข้าไปในคดีเพื่อปฏิเสธการเรียกร้องของบุคคลภายนอกก็ทำได้ ทรัพย์สินที่ซื้อขาย หลุดไปจากผู้ซื้อหรือตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิผู้ขายต้องรับผิด”
มาตรา 479 “ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขายหลุดไปจากผู้ซื้อทั้งหมดหรือบางส่วนเพราะการรอนสิทธิ หรือตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อมความเหมาะสมแก่การใช้ หรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ หรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้น และผู้ซื้อไม่รู้ในเวลาซื้อขาย ผู้ขายต้องรับผิด” ข้อสังเกต - ผู้ขายต้องรับผิดแม้ผู้ขายจะซื้อทรัพย์นั้นมาโดยสุจริตก็ตาม - ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระจำยอมโดยกฎหมาย มาตรา 480 “ ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องศาลแสดงว่าตกอยู่ในภาระจำยอมโดยกฎหมาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์สินนั้นปลอดจากภาระจำยอมทั้งสิ้น”
อายุความฟ้องคดีเพื่อการรอนสิทธิอายุความฟ้องคดีเพื่อการรอนสิทธิ มาตรา 481 “ถ้าผู้ขายมิได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ห้ามฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้น 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้อง”
ข้อพิจารณา 1. เรื่องอายุความฟ้องคดีเพื่อการรอนสิทธิ ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 481 ก็มีอายุความ 3 เดือน แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ก) ฟ้องภายในอายุความ 3 เดือน ตามมาตรา 481 เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 2367/2516 โจทก์และจำเลยต่างมีอาชีพรับซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนรถยนต์ จำเลยซื้อรถยนต์จาก ส. แล้วขายต่อให้โจทก์ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดรถยนต์คันนั้นไปจากโจทก์ โดยบอกโจทก์ว่ารถยนต์นั้น ส. ยักยอกมาจากเจ้าของแท้จริง และแนะนำให้โจทก์คืนรถให้แก่เจ้าของ แล้วให้โจทก์ไปเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย โจทก์ก็ยินยอมมอบรถยนต์ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไป และโจทก์ว่าจะไปทวงถามเอาจากจำเลยเอง ดังนี้ ถือว่าโจทก์ผู้ซื้อยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 481 แล้วเมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคารถคืนเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันรถถูกยึดไป คดีจึงขาดอายุความ การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องซึ่งมาตรา 481 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนั้นต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ
ข. ฟ้องภายในอายุความ 10 ปี นับแต่เมื่อเกิดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/30 เช่น (1) ผู้ซื้อฟ้องเรียกให้ผู้ขายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ (2) ผู้ซื้อฟ้องเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สิน (3) ผู้ซื้อฟ้องเรียกให้ผู้ขายรับผิดเพราะการส่งมอบทรัพย์สินอื่นระคนปะปนกับทรัพย์สินที่ซื้อ (4) ผู้ขายฟ้องเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคา (5) ผู้ซื้อฟ้องเรียกให้ผู้ขายรับผิดในการรอนสิทธิในกรณีที่ไม่เข้ามาตรา 481 และมาตรา 482 ผู้ซื้อต้องฟ้องภายใน 10 ปี
2. นำกำหนดอายุความเรื่องลาภมิควรได้มาใช้ กรณีที่สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตาม คู่สัญญาต้องคืนทรัพย์แก่กันตามหลักเรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 419 ซึ่งบัญญัติว่า ในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น
ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ มาตรา 482 “ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ ในกรณีต่อไปนี้ (1) ถ้าไม่มีการฟ้องคดี และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง หรือ (2) ถ้าผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าถ้าได้เรียกเข้ามาแล้วคดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ หรือ (3) ถ้าผู้ขายได้เข้ามาในคดี แต่ศาลได้ยกคำเรียกร้องของผู้ซื้อเสียเพราะความผิดของผู้ซื้อเอง”
ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิด ผู้ขายตกลงไม่ต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิ ก็ได้ มาตรา 483 “ผู้ขายจะตกลงไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องเพื่อการรอนสิทธิก็ได้” ข้อสัญญาจะไม่ต้องรับผิด ผู้ขายไม่พ้นจากการต้องส่งเงินคืน มาตรา 484 “ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่คุ้มผู้ขายให้พ้นจากการต้องส่งเงินคืนตามราคา เว้นแต่จะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น” ข้อสัญญาจะไม่ต้องรับผิด ไม่คุ้มความผิดของผู้ขายในผลที่ทำเองหรือปกปิดความจริง มาตรา 485 “ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดไม่คุ้มครองรับผิดของผู้ขายในผลอันผู้ขายได้กระทำไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายรู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย”
หน้าที่ของผู้ซื้อ ผู้ซื้อต้องรับมอบทรัพย์สินที่ซื้อและใช้ราคา มาตรา 486 “ผู้ซื้อต้องรับมอบทรัพย์สินที่ตนได้รับซื้อและใช้ราคาตามข้อสัญญาซื้อขาย” ราคาทรัพย์สินที่ขาย มาตรา 487 “ราคาทรัพย์สินที่ขายนั้นจะกำหนดลงไว้ในสัญญาก็ได้ หรือจะปล่อยไปให้กำหนดกันด้วยวิธีที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาก็ได้หรือจะถือเอาตามทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันอยู่นั้นก็ได้ ถ้าราคามิได้กำหนดเด็ดขาดดังกล่าวมานั้น ผู้ซื้อจะต้องใช้ราคาตามสมควร”
ผู้ซื้อยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระผู้ซื้อยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระ มาตรา 488 “ถ้าผู้ซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ตนได้รับซื้อ ผู้ซื้อจะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระไว้ได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เว้นแต่ผู้ขายจะหาประกันที่สมควรให้ได้” ผู้ซื้อถูกผู้รับจำนองขู่ว่าจะฟ้อง มาตรา 489 “ถ้าผู้ซื้อถูกผู้รับจำนองหรือบุคคลผู้เรียกเอาทรัพย์สินที่ขายนั้นขู่ว่าจะฟ้องเป็นคดี หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะถูกขู่เช่นนั้น ผู้ซื้อจะยึดหน่วงราคาไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้จนกว่าผู้ขายจะได้บำบัดภัยอันนั้นให้สิ้นไปหรือจนกว่าผู้ขายจะหาประกันที่สมควรให้ได้” กำหนดเวลาใช้ราคา มาตรา 490 “ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายนั้นเวลาใดให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา”
Slide Title • Make Effective Presentations • Using Awesome Backgrounds • Engage your Audience • Capture Audience Attention
Slide Title • Make Effective Presentations • Using Awesome Backgrounds • Engage your Audience • Capture Audience Attention
Slide Title Product A Product B Feature 1 Feature 2 Feature 3 • Feature 1 • Feature 2 • Feature 3