1 / 86

บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพ ในร่างกาย

บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพ ในร่างกาย. 6.2 ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย 6.2.1 การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 6.2.2 การขับถ่ายของสัตว์ 6.2.3 การขับถ่ายของคน . ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย. Excretory System.

hansel
Download Presentation

บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพ ในร่างกาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพในร่างกาย

  2. 6.2 ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย • 6.2.1 การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว • 6.2.2 การขับถ่ายของสัตว์ • 6.2.3 การขับถ่ายของคน

  3. ระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกายระบบขับถ่ายกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

  4. Excretory System • หมายถึง การกำจัดของเสียซึ่งเกิดจาก metabolism ภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เก็บไว้ไม่ได้ เพราะเป็นอันตรายต่อเซลล์ของร่างกาย จำเป็นต้องกำจัดออกเช่น ยูเรีย แอมโมเนีย กรดยูริก

  5. ประเภทของเสียในร่างกายประเภทของเสียในร่างกาย 1) CO2ได้จากการหายใจระดับเซลล์ โดยการสลายคาร์โบไฮเดรต 2) คีโตนบอดี(Ketone Body) ได้จากการสลายสารอาหารพวกไขมัน 3) สารที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารบางชนิด เช่น น้ำดี(Bile) 4) น้ำที่มากเกินพอ (น้ำไม่จัดเป็นผลิตผลที่เป็นของเสียแต่เนื่องมาจากพืชและสัตว์จะต้องรักษาสมดุลของน้ำ จึงต้องกำจัดส่วนเกินออกไป) 5) ของเสียที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (Nitrogenous Waste) หรือกากเหลือจากกรดอะมิโน

  6. การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

  7. Protozoa • Amoeba , Paramecium • มีโครงสร้าง contractile vacuole • ขยายขนาดได้ เพราะได้รับสารส่วนใหญ่เป็นน้ำที่มีของเสียปนอยู่ และจะแฟบลงได้จากการปล่อยสิ่งต่างๆ ออกจากเซลล์ • ของเสียถูกกำจัดโดยการแพร่

  8. Contractile vacuole

  9. Contractile vacuole

  10. Contractile vacuole

  11. การขับถ่ายของสัตว์

  12. Hydra • การกำจัดของเสียเกิดขึ้นโดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมาเช่นเดียวกับในพวกโพรโทซัว • ของเสียที่แพร่ผ่านออกมาอาจผ่านออกมาทางเนื้อเยื่อชั้นนอก หรือผ่านออกมาทางช่องว่างกลางลำตัว (Gastrovascular Cavity)

  13. การขับถ่ายของหนอนตัวแบนการขับถ่ายของหนอนตัวแบน • เช่น พยาธิใบไม้ พลานาเรีย • โครงสร้างที่ทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียคือ เฟลมเซลล์ (Flame Cell)กระจายอยู่ทั้งสองข้าง ตลอดตามความยาวของลำตัว • ภายในเฟลมเซลล์เป็นโพรงและมีซิเลีย (Cilia) ซึ่งเป็นขนเส้นเล็กๆ โบกพัดของเหลวในเฟลมเซลล์ให้ออกสู่ท่อขับถ่าย (Excretory Pore) ที่ผนังลำตัว • การโบกพัดของซิเลียในเฟลมเซลล์ มีลักษณะคล้ายเปลวเทียน (Flame)เมื่อของเหลวไหลออกจากเฟลมเซลล์ • พวกแอมโมเนีย จะถูกกำจัดออกนอกร่างกายโดยการแพร่ผ่านทางผิวหนัง

  14. Flame Cell

  15. การขับถ่ายของ Annelida • ได้แก่ ไส้เดือนดิน ตัวอ่อนของแมลงต่างๆ หรือสัตว์จำพวกมอลลัสก์  • พวกมอลลัสก์ จะมีส่วนที่เรียกว่า โปรโทเนฟริเดียม ของเสียในรูปของเหลว จะไหลเข้าไปในท่อกลวงของเฟลมเซลล์ ซึ่งมีขนเส้นเล็กๆ คล้ายซีเลีย • ไส้เดือนดิน มีอวัยวะขับถ่าย คือ เนฟริเดียม (Nephridium) มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิด ปลายด้านหนึ่งเปิดออกที่ข้างลำตัว อีกข้างหนึ่งอยู่ในโพรงระหว่างลำตัวกับลำไส้ • การยืดหดของกล้ามเนื้อผนังลำตัว และการโบกของซีเลียทำให้ของเหลวถูกขับออกนอกลำตัว

  16. เนฟริเดียม 1 คู่ ของไส้เดือนดินแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ1) Nephrostomeลักษณะคล้ายปากแตรภายในปากแตรแต่ละท่อมีซิเลียโบกพัดของเสียพวกแอมโมเนียและยูเรียที่อยู่ในช่องว่างของลำตัวเข้าสู่ปากแตร2) Nephridial Tubuleเป็นท่อขดพองออกคล้ายถุงเป็นที่พักของของเหลว เรียกส่วนที่พองออกนี้ว่าBladder3) Nephridioporeช่องเปิดของท่อขับถ่ายอยู่ที่ผิวหนัง

  17. การขับถ่ายของArthropoda • เช่น แมลง • ขับถ่ายของเสียทางท่อมัลพิเกียน (Malpighian tubule)ของเสียจากเลือดของแมลงจะซึมเข้าไปในท่อมัลพิเกียนแล้วถูกเปลี่ยนเป็นกรดยูริกมีสภาพเป็นสารกึ่งแข็งที่ไม่ละลายน้ำถูกขับออกนอกร่างกายทางทวารหนัก- การเปลี่ยนไนโตรเจนเป็นกรดยูริก เกิดผลดีคือ1. ช่วยประหยัดน้ำในร่างกาย2. ป้องกันไม่ให้สารที่เป็นพิษต่อร่างกายแพร่เข้าสู่เซลล์อื่น ๆ

  18. การขับถ่ายของกุ้ง • ขับถ่ายโดยใช้ต่อมเขียว (green gland) เป็นต่อมคู่สีเขียวอมดำ อยู่บริเวณส่วนหัวเหนือปาก ในช่องมีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน • ส่วนแรก เป็นถุง (cortex) ทำหน้าที่ แยกและกรองของเสีย พวกแอมโมเนียออกจากเลือดของกุ้ง • ส่วนที่สอง เป็นท่อนำของเสีย • ส่วนที่สาม กระเพาะพัก (bladder) ของเสียที่ ขับออกทางช่องเปิดบริเวณโคนหนวด และสามารถขับถ่ายแอมโมเนียและยูเรียทางเหงือกที่สัมผัสกับน้ำตลอดเวลา ต่อมสร้างน้ำย่อย (hepatopancreas) สีเหลืองแกมแดง ในช่องอกช่วยในการขับถ่าย

  19. การขับถ่ายของสัตว์เลื้อยคลานการขับถ่ายของสัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์เลื้อยคลานที่อยู่แถบทะเลทราย กำจัดของเสียในรูปของกรดยูริก เป็นวิธีการที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำน้อยมาก • โครงสร้างของโกลเมอรูลัสของสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดเล็กมาก ทำให้ น้ำที่กรองผ่านออกมามีปริมาณน้อย • กรดยูริก เคลื่อนเข้าไปอยู่ในโคลเอกา (Cloaca) จะถูกดูดน้ำกลับคืนเข้าสู่ร่างกายทำให้กรดยูริกมีความเข้มข้นสูง เมื่อถูกกำจัด ออกนอกร่างกายจะมีลักษณะสีขาวคล้ายแป้ง

  20. การขับถ่ายของสัตว์มีปีกการขับถ่ายของสัตว์มีปีก • นกหรือสัตว์ปีกขับถ่ายของเสียออกมาในรูปของกรดยูริก • น้ำปัสสาวะของนกมีกรดยูริกสูงกว่าในเลือด 3,000 เท่า

  21. Bird

  22. Invertebrate

  23. Mollusca

  24. Vertebrate Kidneys

  25. Starfish

  26. การขับถ่ายของคน

  27. อวัยวะในการใช้ขับถ่ายของคนอวัยวะในการใช้ขับถ่ายของคน • ไต(kidney) ทำหน้าที่ขับถ่ายปัสสาวะ ของเสียพวกยูเรียและ เกลือแร่ ที่เกินความต้องการออกจากร่างกาย • ผิวหนัง(skin) ผิวหนังทำหน้าที่ขับเหงื่อ การขับเหงื่อช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วย • ปอด(lung)ขับถ่ายก๊าซ CO2 โดยระบบหายใจ • ตับ(liver) ทำหน้าที่เปลี่ยนสารซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึมของโปรตีน คือ แอมโมเนีย (NH3) เป็นยูเรีย ขับถ่ายออกทางไต • ลำไส้ใหญ่(large intestine)ขับอุจจาระ ออกทางทวารหนัก

  28. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (THE URINARY SYSTEM) ระบบขับถ่ายปัสสาวะของคนประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้ • 1.ไต (kidney) กรองน้ำ – ของเสียออกจากร่างกาย • 2.ท่อไต (ureter) นำน้ำปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ • 3.กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เก็บน้ำปัสสาวะชั่วคราว-->บีบตัวสู่ urethra • 4.ท่อปัสสาวะ (urethra) ผ่านทางน้ำปัสสาวะสู่ภายนอกร่างกาย

  29. ไต (kidney) • เป็นอวัยวะคู่ อยู่ด้านท้ายของช่องท้องสองข้างระดับเอว คล้าย เมล็ดถั่ว ยาวประมาณ 10-13cm กว้าง 6cm และหนา 3cm • ไตทั้งสองข้างหนัก 300 กรัม หรือประมาณ 0.4% ของน้ำหนักตัว • ภายในไตมีหน่วยที่ทำหน้าที่ในการกรองหรือเนฟรอน (nephron) • ไตแต่ละข้างมี nephron ประมาณ 1.0 - 1.25 ล้านหน่วย • nephron ของคนแต่ละคนจะมีจำนวนคงที่ โดยสร้างมาตั้งแต่เกิด แล้วไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก

  30. โครงสร้างของไต • 1. รีนัลแคปซูล (renal medulla) คือ ส่วนที่ อยู่นอกสุด เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มอยู่รอบๆ ไต • 2. รีนัลคอร์เทกซ์ (renal cortex) หรือเนื้อไตส่วนนอก สีแดง มีลักษณะเป็นจุดๆ สีแดงๆแต่ละจุดคือ หน่วยที่ทำหน้าที่ในการกรองหรือ nephron • nephron ประกอบด้วย • โกลเมอรูลัส (glomerulus) • โบว์แมนแคปซูล (bowman’s capsule) • หลอดไตส่วนต้น (proximal tublue) • หลอดไตส่วนปลาย (distal tubule)

  31. 3. รีนัลเมดัลลา (renal medulla)สีจางกว่าเนื้อไต ส่วนนอก ลักษณะเป็นเส้นๆ คล้ายพีระมิด เรียกว่า เมดัลลารี พีระมิด (medullary pyramid) ประกอบด้วยหลอดไตร่วม(collecting tubule) และห่วงเฮนเล (loop of Henle) • มีช่องเล็กๆ (papilla) ยื่นจดกับกิ่งกรวยไตหรือแคลิกซ์ (calyx) รองรับปัสสาวะที่ไหลมาจากหลอดไตร่วม • 4. กรวยไต (pelvis) เป็นส่วนที่อยู่ตรงส่วนเว้าของไตเป็นที่รวมของน้ำปัสสาวะที่มาจากแคลิกซ์ เป็นส่วนที่ต่อกับท่อไต

  32. 5. เนฟรอน (nephron) ทำหน้าที่ กรอง เนฟรอนแต่ละหน่วยประกอบด้วย 1. รีนัลคอร์พัสเคิล (renal corpuscle) เป็นส่วนของ หลอดไตที่ปลายตัน เป็นเยื่อบางๆ พองออกเป็นรูปกลมๆ มีรอยบุ๋มตรงกลาง เรียกว่าโบว์แมนแคปซูล (Bowman’s capsule) ภายในรอยบุ๋มของโบว์แมนแคปซูล มีกลุ่มของเส้นเลือดฝอยซึ่งเรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) • รีนัลคอร์พัสเคิล พบเฉพาะ ส่วนของเนื้อไตส่วนนอก (renal cortex) เท่านั้น

  33. 2. รีนัลทิวบูล (renal tubule) ต่อจากโบว์แมนแคปซูล แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 2.1 หลอดไตส่วนต้น (proximal tubule) ต่อจากโบว์แมนแคปซูล ขดไปขดมา ภายในมี ไมโครวิลไล (microvilli)มากเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการดูดสารต่างๆ กลับสู่กระแสเลือด • เซลล์มีไมโทคอนเดรียมาก เนื่องจาก มีการดูดสารกลับเป็นแบบ active transport เป็นส่วนใหญ่ หลอดไตส่วนต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 - 65 ไมคอน

  34. 2.2 ห่วงเฮนเล (loop of Henle) ต่อจากหลอดไตส่วนต้น โดยโค้งลงสู่เนื้อไตส่วนใน (renal medulla) แล้วโค้งขึ้นเป็นรูปตัวยูเซลล์บริเวณนี้มีไมโครวิลไลและไมโทรคอนเดรียเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 14 - 22 ไมครอน • 2.3 หลอดไตส่วนท้าย (distal tubule) ต่อจากห่วงเฮนเลขึ้นมา ลักษณะขดไปขดมาคล้ายหลอดไตส่วนต้นแต่ขดน้อยกว่าเซลล์มีไมโครวิลไลเล็กน้อยแต่มีไมโทรคอนเดรียมาก • 2.4 หลอดไตร่วม (collecting tubule) ต่อจากหลอดไตส่วนท้ายเปิดรวมกันกับท่อไตร่วมของเนฟรอนอื่นๆ เพื่อนำน้ำปัสสาวะที่กรองได้ ส่งเข้าสู่กรวยไตและท่อไต

More Related