240 likes | 411 Views
บทที่ 7 การใช้งาน ActiveX Control. สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษร ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเท่านั้น. ใน Toolbox นั้นเราจะเห็นไอคอนของ ActiveX Control ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็น ActiveX พื้นฐานที่เราพบเห็นเสมอ ๆ ในการใช้งานแอพพลิเคชันทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
E N D
บทที่ 7การใช้งาน ActiveX Control สื่อชุดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วังอักษร ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ใน Toolbox นั้นเราจะเห็นไอคอนของ ActiveX Control ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็น ActiveX พื้นฐานที่เราพบเห็นเสมอ ๆ ในการใช้งานแอพพลิเคชันทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ • ActiveX Control พื้นฐานที่ปรากฏใน ToolBox Label Frame CheckBox ComboBox HScrollBar Timer DirListBox TextBox Command Button OptionButton ListBox VScrollBar DriveListBox FileListBox
Label แถบอักษร • Label เป็นแถบอักษร หรือป้ายตัวอักษรที่เรากำหนดข้อความลงไปได้ ในขณะที่ใช้งานผู้ใช้งานจะแก้ไขข้อความนี้ไม่ได้ ซึ่งเรามักจะใช้คู่กับ ActiveX Control ตัวอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานอ่านข้อความข้างในเพียงอย่างเดียว • พร็อพเพอร์ตี้ที่สำคัญของ Label • Caption เป็นข้อความที่จะแสดงในแถบตัวอักษร • Alignment เป็นการจัดวางแนวของข้อความ • BackStyle เป็นการกำหนดรูปแบบของพื้นหลังว่าเป็นแบบทึบ(Opaque) หรือโปร่งใส(Transporent) • BorderStyle รูปแบบของเส้นขอบ ปกติจะไม่มี (None) แต่สามารถกำหนดได้ (Fixed Single) • Font เป็นรูปแบบฟอนต์ที่ใช้แสดงข้อความ • ForeColor, BackColor เป็นสีของตัวอักษร และสีพื้นหลัง(เมื่อกำหนดให้พื้นหลังเป็นแบบทึบ
กำหนดพรอพเพอร์ตี้ให้กับ Label
CommandButton : ปุ่มกด • CommandButton หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Button เป็น ActiveX Control ที่เราพบบ่อยที่สุด เป็นปุ่มที่ให้ผู้ใช้งานกด<Enter> หรือคลิกเมาส์เพื่อเลือกตัวเลือกนั้น ซึ่งเราจะใช้ CommandButton แทนคำสั่ง 1 คำสั่ง • พร็อพเพอร์ตี้สำคัญของ CommandButton • Caption เป็นข้อความที่จะแสดงบน Button Picture • Default เป็นรูปที่สามารถกำหนดให้กับปุ่มนั้น ๆ โดยเราจะสามารถให้ปุ่มใดปุ่มหนึ่งเป็นดีฟอลต์(โดยปริยาย) ได้โดยกำหนดค่าให้เป็น True (ซึ่งทั้งฟอร์มจะมีเพียงปุ่มเดียวเท่านั้นที่มีค่าเป็น True เมื่อผู้ใช้งานกด<Enter> จะมีค่าเท่ากับการคลิกที่ปุ่มซึ่งกำหนดเป็นดีฟอลต์) • Style เป็นรูปแบบของปุ่มกด แบบทั่วไปมีเฉพาะข้อความ (Standard) หรือแบบกราฟิก (Graphical) • ToolTipText เป็นการแสดงข้อความแนะนำเมื่อนำเมาส์พอยเตอร์ลอยอยู่เหนือ ActiveXControl นั้น ๆ
เมธอดสำคัญของ CommandButton • Focus เป็นการกำหนดให้ปุ่มนั้นถูก Focus (ซึ่งก็คือ พร้อมรับการกด <Enter>) • อีเวนต์ที่สำคัญของ CommandButton • Click เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อเราคลิกที่ปุ่มกดนั้น • กำหนดพรอพเพอร์ตี้ให้กับ CommandButton กำหนดข้อความให้กับปุ่ม กำหนดให้ปุ่มเป็นค่าดีฟอลต์ การใช้ ToolTopText
TextBox : กรอบข้อความ • TextBox เป็น ActiveX Control ที่พบบ่อยเช่นกัน ซึ่งจะยอมให้เราเพิ่มเติม/แก้ไข • ข้อความที่อยู่ใน ActiveX Control ได้ • พรอพเพอร์ตี้สำคัญของ TextBox • Text เป็นข้อความที่เราจะกำหนดให้แสดง • Locked จะกำหนดว่า TextBox นั้นสามารถแก้ไขข้อความข้างในได้หรือไม่ ปกติจะกำหนดเป็น False คือยอมให้แก้ไขได้ • MultiLine เป็นการกำหนดว่า ถ้าข้อความทีจะแสดงผลมีความยาวเกิน 1 บรรทัด จะยอมให้ขึ้นบรรทัดใหม่หรือไม่ ปกติจะกำหนดเป็น False คือไม่ยอม แต่ถ้าเราต้องการให้แสดงข้อความได้หลายบรรทัดก็กำหนดให้เป็น True • SelText เป็นข้อความที่ได้จากการคลิกลากแถบเลือกข้อความ (หรือ HighLight) • SelLength เป็นความยาวของตัวอักษรที่ได้จากการคลิกลากแถบเลือกข้อความ • SelStart เป็นตำแหน่งเริ่มต้นที่ได้จากการคลิกลากแถบเลือกข้อความ
ScrollBar จะเป็นการกำหนดให้มี ScrollBar หรือไม่ เมื่อความยาวข้อความที่กรอกเข้าไปยาวกว่าขนาดของ TextBox ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะเอา ScrollBar ในแนวนอนหรือแนวตั้ง หรือทั้งคู่ • MaxLength กำหนดความยาวตัวอักษรมากที่สุดที่ยอมให้กรอกได้ใน TextBox • PasswordChar เป็นการกำหนดรูปแบบตัวอักษรที่แสดงออกมา เมื่อเรากำหนดให้ TextBox นั้นทำหน้าที่ในการรับการป้อนรหัสผ่าน (Password) • Font เป็นรูปแบบฟอนต์ที่ใช้แสดงข้อความใน TextBox • ForeColor, Back Color เป็นสีของตัวอักษร และสีพื้นหลัง
กำหนดพรอพเพอร์ตี้ให้กับ TextBox ข้อความจากLabel MultiLine นำข้อความจาก Label มาใส่ MultiLIne และเพิ่ม ScrollBar กำหนดให้รับ Password ไม่อนุญาตให้แก้ไข ข้อความ
OptionButton : ตัวเลือกที่เลือกได้เพียงตัวเดียว • OptionButton เป็นตัวเลือกที่เลือกได้ตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่า Radio Button • พร็อพเพอร์ตี้สำคัญของ OptionButton • Caption เป็นข้อความที่เราจะกำหนดให้ OptionButtion • Alignment เป็นแนวของข้อความที่แสดงว่าจะอยู่ซ้าย/ขวาของช่องที่ให้เลือก • Value เป็นค่าที่ได้จากการคลิกเพื่อเลือก(True) หรือไม่เลือก (False) • Picture เป็นรูปที่สามารถกำหนดให้กับปุ่มนั้น ๆ โดยเราจะกำหนดให้พร็อพเพอร์ตี้ Style = Graphical ก่อน • Style เป็นรูปแบบการแสดงผลว่าจะเป็นแบบมาตรฐานหรือแบบกราฟิก
อีเวนต์ที่สำคัญของ OptionButton • Click เป็นอีเวนต์ทีเกิดขึ้นเมื่อคลิกที่ OptionButton • กำหนดพรอพเพอร์ตี้ให้กับ OptionButton
CheckBox : ตัวเลือกที่เลือกได้มากกว่า 1 ตัว • เป็นตัวเลือกที่สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัว โดยการคลิกเลือกตัวเลือกที่ • ต้องการหรือไม่เลือกก็ได้ • พร็อพเพอร์ตี้ที่สำคัญของ CheckBox • Caption เป็นข้อความที่เราจะกำหนดให้ CheckBox • Alignment เป็นแนวของข้อความที่แสดงว่าจะอยู่ซ้าย/ขวาของช่องที่ให้เลือก • Value เป็นค่าที่ได้จากการคลิกเพื่อเลือก(Checked) หรือไม่เลือก (UnChecked) นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดให้ไม่อนุญาตให้เลือก (Grayed) • Picture เป็นรูปที่สามารถกำหนดให้กับปุ่มนั้น ๆ โดยเราจะกำหนดให้พร็อพเพอร์ตี้ Style = Graphical ก่อน • Style เป็นรูปแบบการแสดงผลว่าจะเป็นแบบมาตรฐานหรือแบบกราฟิก • อีเวนต์ที่สำคัญของ CheckBox • Click เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อคลิกที่ CheckBox
กำหนดพรอพเพอร์ตี้ให้กับ CheckBox
Frame : กรอบ • Fram จะทำหน้าที่แยกกลุ่มของ ActiveX Control ออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ยังอยู่ในฟอร์มเดียวกันการที่ Frame สามารถบรรจุเอา ActiveX Control ต่าง ๆ อยู่ภายในได้ เราเรียก ความสามารถนี้ว่า คอนเทนเนอร์(Container) ซึ่งฟอร์มเองก็มีความสามารถนี้อยู่แล้ว • พร็อพเพอร์ตี้ที่สำคัญของ Frame • Caption เป็นพร็อพเพอร์ตี้ที่ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ที่มุมซ้ายบนของ Frame
ตัวอย่างการใช้งาน Frame • ตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้งาน Frame คือ การแยก OptionButton ออกเป็น 2 กลุ่ม(หรือมากกว่านั้น) ในฟอร์มเดียว
ListBox : รายการข้อมูล • เป็นรายการข้อมูลที่พร้อมให้เราเลือก จากตัวเลือกที่อยู่ภายใน • พร็อพเพอร์ตี้สำคัญของ ListBox • ListCount เป็นจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ใน ListBox • ListIndex เป็นการระบุถึงข้อมูลในรายการว่าเป็นตัวที่เท่าไหร่ โดยจะคืนค่า Index กลับมาให้เรา ถ้าเป็นตัวแรกของรายการ Index = 0, ถ้าไม่มีข้อมูลใด ๆ เลย Index =-1, เพราะฉะนั้นข้อมูลตัวสุดท้ายของรายการ Index = ListCount – 1 • List เป็นการกำหนดข้อมูล หรืออ่านข้อมูลของรายการข้อมูล ตามที่เราระบุ Index ซึ่งเรากำหนดโดยตรงผ่าน Property Window • Sorted เป็นการเรียงลำดับให้กับข้อมูลในรายการข้อมูล • Columns เป็นการกำหนดจำนวนคอลัมภ์ในการแสดงผลของ ListBox (กรณีที่คอลัมภ์แรกแสดงไม่หมด ก็จะแสดงในคอลัมภ์ถัดไป) • Style เป็นรูปแบบการแสดงผลข้อมูลของ ListBox (Standare หรือ CheckBox)
MultiSelect จะกำหนดว่าจะสามารถเลือกข้อมูลได้มากกว่า 1 ข้อมูลต่อครั้งหรือไม่ ถ้ากำหนดเป็น = 0 คือ เลือกได้เพียงตัวเลือกเดียว = 1 คือ เลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก = 2 คือ เลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก และสามารถใช้การกด <Shift> ค้าง หรือ <Ctrl> ค้างไว้เพื่อเลือกตัวเลือกแบบเป็นชุดได้ • SelCount จะบอกจำนวนตัวเลือกที่เราเลือกจาก ListBox • Selected จะบอกว่า ListBox ดังกล่าวถูกเลือก(True) หรือไม่ถูกเลือก(False) • เมธอดสำคัญของ ListBox • AddItem เป็นการเพิ่มข้อมูลให้กับรายการข้อมูล • RemoveItem เป็นการลบข้อมูลออกจากรายการข้อมูล โดยเราต้องระบุ Index ที่ต้องการ • Clear เป็นการลบข้อมูลทุกตัวออกจากฐานข้อมูล
อีเวนต์ที่สำคัญของ ListBox • Click เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อคลิกที่ List Box เพื่อเลือกข้อมูลออกจากรายการข้อมูล • ตัวอย่างการใช้งาน ListBox ListBox แบบ MultiSelect สามารถเลือกได้มากกว่า 1 แสดง ListBoxแบบ 2 คอลัมภ์ ListBox กำหนดเป็นรูปแบบ CheckBox และ MultiSelect ListBox ที่มีการเรียงลำดับข้อมูล
ComboBox : รายการข้อมูลชนิดพิเศษ • เป็นรายการข้อมูลชนิดพิเศษที่รวมเอาความสามารถของ TextBox และ ComboBox ไว้ด้วยกัน คือ นอกจากจะคลิกเลือกจากรายการที่มีแล้ว ยังสามารถเลือกโดยการพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ(ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ภายใน ComboBox) ก็ได้เช่นกัน • พร็อพเพอร์ตี้สำคัญของ ComboBox • ListCount เป็นจำนวนข้อมูลที่มีอยู่ใน ComboBox • ListIndex เป็นการระบุถึงข้อมูลใน ComboBox ว่าเป็นตัวที่เท่าไหร่ โดยจะคืนค่า Index กลับมาให้เรา ถ้าเป็นตัวแรกของรายการ Index = 0, ถ้าไม่มีข้อมูลใด ๆ เลย Index = -1, เพราะฉะนั้นข้อมูลตัวสุดท้ายของรายการ Index = ListCount – 1 • List เป็นการกำหนดข้อมูล หรืออ่านข้อมูลของ ComboBox ตามที่เราระบุ Index ซึ่งเรากำหนดโดยตรงผ่าน Property Window • Lock จะยอมให้แก้ไขข้อความใน ComboBox หรือไม่ (True คือ • ยอมให้แก้ไข) • Sorted เป็นการเรียงลำดับให้กับข้อมูลใน ComboBox
Style เป็นรูปแบบการแสดงผลข้อมูลของ ComboBox ซึ่งมีแบบ 1- • DropDownCombo คือ ให้เลือกข้อมูลจาก ComboBox ทั้งจากรายการเหมือน ListBox หรือพิมพ์ชื่อข้อมูลเหมือน TextBox, 2 – Simple Combo เป็นแบบที่ให้เลือกโดยการพิมพ์ชื่อข้อมูลอย่างเดียวเป็นรูปแบบการแสดงผลข้อมูลของ ListBox (Standare หรือ CheckBox) • SelText เป็นข้อความที่ได้จากการคลิกลากแถบเลือกข้อความ(หรือ HighLight)ใน ComboBox • SelLength เป็นความยาวของตัวอักษรที่ได้จากกาคลิกลากแถบเลือกข้อความใน ComboBox • SelStart เป็นตำแหน่งเริ่มต้นที่ได้จากการคลิกลากแถบเลือกข้อความใน ComboBox
เมธอดสำคัญของ ComboBox • AddItem เป็นการเพิ่มข้อมูลให้กับ ComboBox • RemoveItem เป็นการลบข้อมูลออกจาก ComboBox โดยเราต้องระบุ Index ที่ต้องการ • Clear เป็นการลบข้อมูลออกจาก ComboBox • Locked จะกำหนดว่า ComboBox นั้นสามารถแก้ไขข้อความข้างในได้หรือไม่ ปกติจะกำหนดเป็น True คือ ไม่อนุญาตให้แก้ไข • อีเวนต์สำคัญของ ComboBox • Click เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อคลิกที่ ComboBox เพื่อเลือกข้อมูลจาก ComboBox • Change เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน ComboBox ทำให้ Index ของ ComboBox เปลี่ยนไป
การกำหนด Property ให้ ComboBox ComboBox แบบ SimpleCombo ComboBox แบบ DroupDownCombo ComboBox แบบ SimpleCombo ComboBox ที่มีการเรียนข้อมูล
ScrollBar : แถบเลื่อน • แถบเลื่อนที่เราใช้งานกันค่อนข้างบ่อยในการใช้งาน Windows ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือแถบเลื่อนในแนวตั้ง (HScrollBar) และแถบเลื่อนในแนวนอน (VScrollBar) ซึ่งมีการทำงานที่คล้ายกัน • พร็อพเพอร์ตี้สำคัญของ ScrollBar • Min, Max เป็นค่าต่ำสุดหรือสูงสุดของ ScrollBar โดยต้องระบุค่า Min และ Max เป็นจำนวนเต็มระหว่าง -32,769 ถึง 32,767 และค่า Min จะต้องน้อยกว่า Max เสมอ • SmallChange เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ScrollBar คราวละน้อย ๆ โดยการคลิกที่ลูกศรข้างใดข้างหนึ่ง • LargeChange เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ScrollBar คราวละมาก ๆ โดยการคลิกที่แถบของ ScrollBar • Value เป็นตำแหน่งปัจจุบันของ ScrollBar ซึ่งจะต้องอยู่ระหว่างค่าต่ำสุดและสูงสุด
อีเวนต์สำคัญของ ScrollBar • Scroll เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อเราทำให้ ScrollBar เปลี่ยนตำแหน่ง(โดยการลากที่ ScrollBar หรือคลิกที่ลูกศรข้างใดข้างหนึ่งของ ScrollBar) ซึ่งหลังจากอีเวนต์ Scroll แล้ว Value อาจจะเปลี่ยนไปหรือไม่ก็ได้ (ถ้า Scroll ไป ๆ มา ๆ แต่จบลงที่ตำแหน่งเดิม) • Change เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นหลังจากเปลี่ยนตำแหน่งของ ScrollBar ทำให้ Value มีการเปลี่ยนไป (หลังจากอีเวนต์ Scroll หรือการกำหนด Value ใหม่โดยการเขียนโค้ด)