1 / 37

การเขียนรายงาน ทางวิชาการ

การเขียนรายงาน ทางวิชาการ. รายงานทางวิชาการ หมายถึง เอกสารที่เราได้มาจากการค้นคว้ารวบรวมเนื้อหาอย่างละเอียดมีเหตุและผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงตามแบบที่กำหนดไว้. ประเภทของรายงาน. แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

halia
Download Presentation

การเขียนรายงาน ทางวิชาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนรายงานทางวิชาการการเขียนรายงานทางวิชาการ รายงานทางวิชาการ หมายถึง เอกสารที่เราได้มาจากการค้นคว้ารวบรวมเนื้อหาอย่างละเอียดมีเหตุและผล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงตามแบบที่กำหนดไว้

  2. ประเภทของรายงาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. รายงานทั่วไป เป็นรายงานที่เกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ทั่วไปหรือความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น รายงานกาปฏิบัติงาน รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  3. รายงานทางวิชาการ เป็นรายงานที่ต้องศึกษค้นคว้าวิจัยโดยมีระเบียบวิธีการที่เป็นระบบ และให้ถูกตามแบบแผนของรายงานซึ่งแบ่งได้ดังนี้ 2.1 ภาคนิพนธ์ ( TERM PAPER ) คือรายงานประจำภาคเรียน เป็นรายงาน ที่ทำและศึกษาเฉพาะเรื่อง ของภาคเรียนนั้น ๆ ซึ่งผู้ทำต้องค้นคว้าและมีความรู้ในเนื้อหาของเรื่องเป็นอย่างดี

  4. 2.2 วิทยานิพนธ์ ( THESIS ) เป็นรายงานที่ต้องศึกษาค้นคว้าและวิจัยอย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะตามลำดับขั้นตอน โดยต้องอาศัยเหตุและผลมาทำการประกอบรายงานอย่างถูกต้อง

  5. ขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการขั้นตอนการทำรายงานทางวิชาการ • การเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อผู้ทำ เนื้อเรื่องไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป สามารถมีแหล่งที่ค้นคว้าอ้างอิงได้

  6. การเขียนโครงเรื่อง คือ ต้องมีการกำหนดขอบเขตของเรื่อง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเขียนเนื้อหา โดยการเรียงตามลำดับขั้นตอน *** ข้อดีของการเขียนโครงเรื่องคือ...?

  7. แบบคัดลอก แบบสรุปความ 3. การค้นคว้าหาข้อมูล ผู้ทำรายงานต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ ตำรา 4. จดบันทึกข้อมูล ให้จดเรียงลำดัหัวข้อก่อนหลัง เรียบเรียงเนื้อหา เริ่มเขียนฉบับร่างเมื่อเรียบร้อยแล้วเริ่มเขียนฉบับจริง

  8. ชื่อเรื่อง รูปแบบของรายงาน ชื่อผู้จัดทำ ชื่อร.ร ชื่อวิชา บน 1. ส่วนปก กลาง ล่าง 2. คำนำ 3. สารบัญ วางตรงกลาง ไม่ต้องขีดเส้น ให้ห่างจากกระดาษด้านบน 2 นิ้ว

  9. สำนวนไทย จัดทำโดย จักรพงษ์ รักเรียน สุมาลี ยืนยง ปวส.1/1 สาขาคอมพิวเตอร์ ภาควันอาทิตย์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัส 30001103 โรงเรียนศรีวัฒนาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีนานาชาติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

  10. ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำรายงาน โดยจะเรียงลำดับความสำคัญตามโครงเรื่องที่วางไว้ จะประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้

  11. .. อัญประภาษ ( QUOTATION ) หรือ อัญพจน์ คือข้อความที่คัดลอกมาจากคำพูดของคนอื่น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำมาประกอบการทำรายงาน ให้เนื้อหาน่าเชื่อถือ โดยมีหลักการเขียนดังนี้ …..

  12. 1. ข้อความที่คัดลอกมาห้ามตัด หรือเพิ่มเติมไปจากเดิม 2. ถ้าข้อความที่คัดลอกมามีความยาว ไม่เกิน 4 บรรทัด ให้เขียนต่อจากเนื้อหารายงาน โดยใส่เครื่องหมายอัญประกาศ “ ” ( QUOTATION MARK ) คร่อมไว้

  13. 3. ถ้าข้อความที่คัดลอกมามีความยาวเกิน 4 บรรทัด ให้ย่อหน้าใหม่ต่างหาก ให้พิมพ์ตัวใหญ่ หรือเล็กลงกว่าเดิม โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ เมื่อเขียนจบให้เว้น1 บรรทัด ก่อนเขียนข้อความต่อไป

  14. เชิงอรรถ ( FOOTNOTE ) • คือข้อความที่อยู่ส่วนล่างของหน้ากระดาษ เพื่อบอกที่มาของข้อความที่นำมาคัดลอกเป็นอัญประภาษ โดยเชิงอรรถจะต้องอยู่หน้าเดียวกับอัญประภาษ

  15. เชิงอรรถแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. เชิงอรรถอ้างอิง คือเชิงอรรถที่บอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาทำการประกอบรายงาน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้หาข้อมูลที่อ่านเพิ่มเติมได้

  16. ตัวอย่างเชิงอรรถอ้างอิงตัวอย่างเชิงอรรถอ้างอิง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีระบบสื่อสาร มีเทคนิควิธีการหลายอย่าง ดังที่รรคชิต มาลัยวงศ์ กล่าวไว้ในหนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศว่า “ การนำระบบสื่อสารข้อมูลมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ เราได้เห็นวิธีการประมวลผลแบบกระจาย ซึ่งเป็นการนำคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาพ่วงต่อกันให้ทำงานร่วมกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ” 1 1 ครรชิต มาลัยวงศ์ , เทคโนโลยีสารเทศ, (กรุงเทพ : ศูนย์เทคโนโลยี อิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ , 2535 ) , หน้า 115.

  17. 2. เชิงอรรถเสริมความ ( เชิงอรรถอธิบาย ) คือเชิงอรรถที่อธิบายความหมายของคำหรือคำศัพท์ ให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น

  18. ตัวอย่างเชิงอรรถเสริมความตัวอย่างเชิงอรรถเสริมความ งานประกวดนางสาวไทยปีนี้ ต้องหาพิธีกรที่มีทักษะ1ในการพูดเป็นอย่างมาก 1 ทักษะ แปลว่า ความรู้ ความสามารถ

  19. 3. เชิงอรรถโยง ( เชิงอรรถอนุสนธิ์ ) คือ เชิงอรรถที่โยงให้ผู้อ่านไปดูความหมายของคำ หรือคำศัพท์ ในหน้าที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยไม่ต้องการกล่าวซ้ำอีก

  20. ตัวอย่างเชิงอรรถโยง การจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดีได้ ต้องอาศัยทักษะ1ในเรียนรู้เป็นอย่างมาก 1 ดูความหมายหน้า 2

  21. วิธีเขียนเชิงอรรถอ้างอิงวิธีเขียนเชิงอรรถอ้างอิง 1. ขีดเส้นคั่นระหว่างส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง กับส่วนที่เป็นเชิงอรรถยาวประมาณ 2 นิ้ว จากเส้นกั้นหน้า หรือขีดยาวตลอดหน้า 2. ใส่สัญลักษณ์กำกับให้ตรงกับอัญประภาษ

  22. 3. บรรทัดแรกให้ย่อหน้า เข้าไป 7-10 ตัวอักษร ถ้าไม่พอบรรทัดใหม่ ให้เขียนชิดเส้นกั้นหน้า 4. ทุกรายการที่เขียนอยู่ในเชิงอรรถ ต้องนำไปอ้างอิงไว้ในบรรณานุกรมท้ายเล่มด้วย

  23. การลงชื่อผู้แต่ง ไม่ต้องใส่เพศหรือยศต่าง ๆ ลงไป ยกเว้นผู้มีราชทินนามให้ใส่ลงไปด้วย ถ้าผู้แต่ง 2 คนให้ใช้และเชื่อม ถ้าผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้และเชื่อมคนที่ 2 และ 3 ถ้ามีมากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่า และคณะหรือและคนอื่น ๆ

  24. ** กรณีที่ผู้แต่งใช้นามปากกา ถ้าทราบชื่อจริงให้ใส่ชื่อจริงต่อท้าย แต่ถ้าไม่ทราบชื่อจริง ให้วงเล็บต่อท้ายว่า นามแฝง *** ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน หรือหน่วยงาน ให้เขียนชื่อของหน่วยงานนำหน้า แล้วตามด้วยหน่วยงาน โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค

  25. หลักการเขียนเชิงอรรถ ชื่อผู้แต่ง, ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่ , ( สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ , ปีที่พิมพ์ ) , หน้าที่อ้างถึง. หมายเหตุ ถ้าพิมพ์ครั้งที่ 1 ไม่ต้องเขียนลงไป

  26. , จุลภาค ( ) นขลิขิต : ทวิภาค . มหัพภาค “ ” อัญประกาศ

  27. ปี่ที่พิมพ์ หมายถึง พ.ศ.ที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่พิมพ์ให้ใช้คำว่า ม.ป.ป. ( ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ) ** สถานที่พิมพ์ หมายถึง ชื่อจังหวัดที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏชื่อสถานที่ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. ( ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ )

  28. การเขียนบรรณานุกรม หรือ ( หนังสืออ้างอิง ) บรรณานุกรม หมายถึงหนังสือที่ผู้ทำรายงานนำมาประกอบการค้นคว้าอ้างอิงโดยนำมาเขียนไว้ส่วนท้ายของรายงาน

  29. วิธีเขียนบรรณานุกรม ( อ้างอิงจากหนังสือ ) 1. เขียนคำว่าบรรณานุกรม ไว้กลางหน้ากระดาษโดยไม่ต้องขีดเส้น ให้ห่างจากขอบกระดาษ 2 นิ้ว

  30. บรรทัดแรกให้เขียนชิดกั้นหน้าถ้าไม่พอบรรทัดต่อไปให้ย่อหน้าเข้าไป 7-10 ตัวอักษร • เรียงรายชื่อผู้แต่งตามตัวอักษร ก-ฮ • 4. ถ้าหนังสือที่นำมาอ้างอิงไม่ถึง 5 เล่มให้ • ใช้คำว่า “ หนังสืออ้างอิง ” หรือ • “ หนังสืออุเทศ ” ถ้ามีเกิน 5 เล่ม ให้ใช้คำว่า • “ บรรณานุกรม ”

  31. 5. การลงชื่อผู้แต่ง ไม่ต้องใส่เพศหรือ ยศต่าง ๆ ลงไป ยกเว้นผู้มีราชทินนาม ถ้าผู้แต่ง 2 คนให้ใช้และเชื่อม ถ้าผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้และเชื่อมคนที่ 2 และ 3 ถ้ามีมากกว่า 3 คน ให้ใช้คำว่า และคณะหรือและคนอื่น ๆ

  32. ** กรณีที่ผู้แต่งใช้นามปากกา ถ้าทราบชื่อจริงให้ใส่ชื่อจริงต่อท้าย แต่ถ้าไม่ทราบชื่อจริง ให้วงเล็บต่อท้ายว่า นามแฝง *** ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน หรือหน่วยงาน ให้เขียนชื่อของหน่วยงานนำหน้า แล้วตามด้วยหน่วยงาน โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค

  33. หลักการเขียนบรรณานุกรมหลักการเขียนบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง . ชื่อหนังสือ . พิมพ์ครั้งที่ . สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ , ปีที่พิมพ์ , จำนวนหน้า . * หมายเหตุ ถ้าเป็นสำนักพิมพ์ ไม่ต้องเขียนคำว่าสำนักพิมพ์ลงไป ถ้าเป็นโรงพิมพ์ให้เขียนโรงพิมพ์ลงไปด้วย

  34. ** สถานที่พิมพ์ หมายถึง ชื่อจังหวัดที่พิมพ์ • ถ้าไม่ปรากฏชื่อสถานที่ ให้ใช้คำว่า ม.ป.ท. • ( ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ) • ปีที่พิมพ์ หมายถึง พ.ศ.ที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่พิมพ์ให้ใช้คำว่า ม.ป.ป. ( ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ )

  35. ข้อแตกต่างการเขียนเชิงอรรถอ้างอิงและบรรณานุกรมข้อแตกต่างการเขียนเชิงอรรถอ้างอิงและบรรณานุกรม

  36. อ้างอิงจากโสตทัศนวัสดุอ้างอิงจากโสตทัศนวัสดุ ชื่อผู้จัดทำ , “ ชื่อเรื่อง ” , ประเภทของสื่อ , ปีที่จัดทำ . ตัวอย่างเช่น ศูนย์อำนวยการการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ , “พลังแผ่นดิน” , WWW. plpd.org , 2546 .

  37. THANK YOU FROM A. THIDARAT INPONG

More Related