330 likes | 512 Views
บทที่ 3. สารสนเทศและการประยุกต์ใช้. บทนำ. ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และ เป็นผู้ประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ
E N D
บทที่ 3 สารสนเทศและการประยุกต์ใช้
บทนำ • ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และเป็นผู้ประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ • ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนกรอกข้อความลงในใบสมัคร และทางโรงเรียนมีการนำข้อมูลไปคำนวณค่าทางสถิติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือก เช่น จำนวนผู้สมัครแยกตามอายุ เพศ เป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นว่านักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยเป็นผู้ประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้งานได้ และผู้รับสมัครเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ
หัวข้อการบรรยาย • 1. ความหมายของระบบสารสนเทศ • 2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ได้แก่ องค์กรเทคโนโลยี และข้อมูลหรือสารสนเทศ • 3. องค์ประกอบทางด้านบุคลากรในระบบสารสนเทศ • 4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • 5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านบริหาร • 6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 7. การใช้งานระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
1. ความหมายของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
1. ความหมายของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง โดยกิจกรรมของระบบสารสนเทศพื้นฐานมี 3 ชนิด คือ Input, Process และ Output การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาทางด้าน Input โดยผ่านการประมวลผลหรือการกลั่นกรองให้เป็นสารสนเทศที่ออกมาทาง Output ผลลัพธ์ที่ได้จาก Output จะย้อนกลับไปยัง Input เพื่อให้มีการประเมินผลการทำงานต่อไป
2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ได้แก่ องค์กรเทคโนโลยี และข้อมูลหรือสารสนเทศ
ข้อมูลหรือสารสนเทศ • ข้อมูล ข่าวสารเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานในทุก ๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ การศึกษาหรือบริการประชาชน ซึ่งบุคลากรของแต่ละองค์กรก็มีความต้องการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน (หรือเรียกว่า Manager Level) ได้แก่ • ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน(Operational – level systems) • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) • ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)
ข้อมูลหรือสารสนเทศ • การใช้สารสนเทศของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ก็เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการตัดสินใจออกได้ 3 ประเภท คือ • การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง(Structure Decision) • การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured Decision) • การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง(Semi-structured Decision)
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.1 ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS) 1.2 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) 1.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System : MIS) 1.4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) 1.5 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : EIS) 1.6 ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์(Expert System and Artificial Intelligence : ES & AI) 1.7 ระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร (Information System forCommunication Operations)
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.1 ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS) ทำหน้าที่รับข้อมูลธุรกรรมมาดำเนินการและจัดทำเอกสารและรายงาน ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลธุรกรรมเหล่านั้น ระบบนี้เป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศอื่น ๆ เพราะเป็นระบบที่จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเอาไว้ ตัวอย่างเช่น ในงานของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา โดยทั่วไปจะมีระบบประมวลผลธุรกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษา ได้แก่ ระบบการบันทึกข้อมูลประวัตินักศึกษาใหม่ ระบบบันทึกการลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ และการชำระเงินค่าหน่วยกิต เป็นต้นโดยกระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999) 1.1.1 Batch processing 1.1.2 Online processing 1.1.3 Hybrid systems
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System หรือ MIS) ระบบนี้ทำหน้าที่รับข้อมูลธุรกรรมที่ได้จัดเก็บด้วยระบบประมวลผลธุรกรรมมาประมวลผลต่อเพื่อส่งให้ผู้ใช้ซึ่งส่วนมากได้แก่ พนักงานระดับหัวหน้าหน่วยหัวหน้าแผนก รวมทั้งหัวหน้าภาควิชาด้วย รายงานของระบบประมวลผลธุรกรรม กล่าวคือ มีลักษณะเป็นรายงานสรุป ตัวอย่างเช่น รายงานที่สรุปผลการรับนักศึกษาเข้าเรียน รายงานสรุปจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนในแต่ละชั้นปี รายงานสรุปยอดเงินที่ได้รับจากการลงทะเบียนหรือเป็นรายงานทุกเดือนทุกไตรมาสหรือทุกปี เพื่อจัดส่งให้แก่ผู้บริหารในหน่วยงาน
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.3 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System หรือ EIS) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูง เช่น รองอธิการบดีและอธิการบดี ได้รับสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สารสนเทศนี้อาจมี 2 กลุ่มด้วยกัน คือ สารสนเทศที่ประมวลขึ้นมาจากข้อมูลธุรกรรม และสารสนเทศที่เป็นข้อมูลภายในและสารสนเทศที่เป็นข้อมูลภายนอก ให้สังเกตว่าการบริหารจัดการนั้น ยิ่งผู้บริหารมีระดับสูงมากขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งมีความต้องการข้อมูลภายนอกมากขึ้นเพียงนั้น ยกตัวอย่างเช่น หัวหน้าภาควิชาต้องการทราบว่าหลักสูตรแบบเดียวกันกับที่เปิดอยู่ในภาควิชาที่ตนรับผิดชอบนั้น มีเปิดสอนในคณะของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ บ้างหรือไม่ ในหลักสูตรนั้นมีวิชาอะไรบ้าง มีใครเป็นอาจารย์ผู้สอน และเปิดรับนักศึกษาไปแล้วมากน้อยเพียงใด การทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาอื่น จะทำให้หัวหน้าภาควิชาสามารถกำหนดกลยุทธ์และทิศทางของภาควิชาที่ตนเองรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS)DSS ทำหน้าที่เป็นผู้พยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยผู้ใช้จะป้อนข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจของตนเข้าสู่ระบบ DSS จากนั้นระบบจะพยากรณ์ว่าการตัดสินใจเช่นนั้นจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อผู้ใช้เห็นคำตอบแล้วอาจต้องการเปลี่ยนการตัดสินใจเป็นแบบอื่นผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลของการตัดสินใจแบบใหม่เข้าสู่ระบบ DSS ซ้ำอีก จากนั้นระบบก็จะพยากรณ์เหตุการณ์ซ้ำใหม่ เมื่อเห็นคำตอบชุดใหม่แล้วยังไม่พอใจผู้ใช้ก็อาจจะทดลองเปลี่ยนค่าข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจ ตัวอย่างการใช้ระบบ DSS ในการบริหารการศึกษา ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับการเปิดหลักสูตรใหม่ เช่น ความสนใจและปริมาณความต้องการของตลาดแรงงาน ค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม ค่าหน่วยกิตค่าอุปกรณ์และเครื่องมือ ค่าใช้จ่ายด้านอินเทอร์เน็ต และจำนวนนักศึกษา
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) การทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญนั้นเลียนแบบการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ เช่น มีการตั้งคำถามให้ตอบมีการระบุข้อมูลที่ต้องป้อนเข้าสู่ระบบ สถานศึกษาบางแห่งอาจจัดทำระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับช่วยในการให้คำแนะนำแก่นักเรียนนักศึกษาได้ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญการแนะแนว ระบบผู้เชี่ยวชาญการเลือกวิชาเรียนหรืออาจเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับให้คำแนะนำแก่อาจารย์เพื่อให้คำปรึกษาแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีปัญหา
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.6 ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) สถานศึกษานั้น เปรียบเสมือนสำนักงานแห่งหนึ่ง อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารพนักงานล้วนต้องทำงานประสานกันเป็นเสมือนทีมเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานของสถานศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ การทำงานของบุคลากรเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารกันตลอดเวลา ทั้งโดยการพูดคุยกันต่อหน้า หรือทางโทรศัพท์ หรือการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการประชุม
ประเภทของระบบสารสนเทศ 1.7 ระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร (Information System for Communication Operations) พัฒนาการของงานสารสนเทศที่ขยายตัวออกไปครอบคลุมทางด้านข้อมูลเสียง ภาพ และภาพเคลื่อนไหวรวมทั้งความก้าวหน้าของอุปกรณ์ถ่ายภาพนิ่งและภาพวีดีทัศน์ด้วยระบบดิจิทัล ทำให้เกิดการประยุกต์คอมพิวเตอร์เพื่องานสื่อสารกันมากขึ้นซึ่งอาจรวมเรียกว่า เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานด้านการสื่อสารได้ตัวอย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ได้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์บันทึกวีดีทัศน์ข่าวต่าง ๆ เก็บไว้ในฐานข้อมูลพร้อมกับบันทึกคำสำคัญเกี่ยวกับข่าวนั้น ๆ เอาไว้เพื่อให้สามารถค้นคืนข่าวกลับมาใช้ได้
3. องค์ประกอบทางด้านบุคลากรในระบบสารสนเทศ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศของหน่วยงานหรือบริษัทห้างร้านนั้นมีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรเหล่านี้บ้าง จึงจะสามารถกำกับดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศให้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น กลุ่มบุคลากร 1.1 กลุ่มผู้ใช้งาน (Users) ได้แก่ ผู้ใช้ระบบสารสนเทศในหน่วยงาน นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องเฉพาะการอ่านรายงานสารสนเทศ ผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือจัดทำโปรแกรมสำหรับใช้งานเอง ผู้ทำงานสนับสนุนต่างๆ ในหน่วยงานเอง อาทิ นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก แพทย์ พยาบาล เลขานุการ ตลอดจนพนักงานที่ต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน เช่น พนักงานเก็บเงิน เป็นต้น
3. องค์ประกอบทางด้านบุคลากรในระบบสารสนเทศ กลุ่มบุคลากร 1.2 กลุ่มผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ ได้แก่ บุคลากรที่มีพื้นฐานการศึกษาหรือได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาแล้ว บุคลากรเหล่านี้อาจมีตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่นิยมเรียกกันทั่วไป เช่น 1.2.1 นักวิเคราะห์ระบบ (Systems Analyst) 1.2.2 นักเขียนโปรแกรม (Programmer) 1.2.3 หัวหน้าโครงการ (Project manager)
3. องค์ประกอบทางด้านบุคลากรในระบบสารสนเทศ กลุ่มบุคลากร 1.3 กลุ่มผู้ปฏิบัติงานระบบสารสนเทศ ได้แก่ บุคลากรที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานต่าง ๆที่เกี่ยวเนื่องกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เพื่อให้ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมานั้น สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ บุคลากรในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 1.3.1 นักโปรแกรมระบบ (Systems Programmer) 1.3.2 วิศวกรสื่อสาร (Communications Engineer) 1.3.3 ผู้บริหารเครือข่าย (Network Administrator) 1.3.4 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator: DBA) 1.3.5 พนักงานปฏิบัติการ 1.3.6 บรรณารักษ์คอมพิวเตอร์ (Librarian)
3. องค์ประกอบทางด้านบุคลากรในระบบสารสนเทศ สรุปข้อเด่นและข้อด้อยของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กร • ระบบประมวลผลรายการข้อมูล (Transaction Processing System : TPS) เป็นระบบที่ช่วยในการประมวลผลรายการข้อมูลทุกครั้งที่มีการนำเข้าสู่ระบบ โดยข้อมูลเกิดจากการดำเนินงานประจำวันของธุรกิจ TPS ช่วยจัดเก็บและดูแลข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบ การซื้อ-ขายสินค้า การส่งสินค้า การจองตั๋วลงทะเบียน การออกใบแจ้งรายการสินค้าใบสำคัญจ่าย เป็นต้น • ระบบการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning System : ERP) เป็นระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เช่น วัตถุดิบ บุคคลและเวลา รวมถึงข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมในระบบธุรกิจ ERP
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กร • คลังข้อมูล (Data Warehouse) หมายถึง หลักการหรือวิธีการที่จะดึงเอาข้อมูลจากระบบประมวลผลรายการข้อมูล (TPS) มาจัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า“Data Warehouse” เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และเรียกใช้ข้อมูลได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ TPS ของแต่ละแผนก โดยข้อมูลที่อยู่ในคลังข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ เรียกใช้งานง่าย และมีเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ข้อมูล • ระบบการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM)หมายถึง ระบบที่มีการนำวิธีการและเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มาใช้จัดการกิจกรรมทางด้านการตลาด การขาย และการบริการ เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับลูกค้า โดยจะนำข้อมูลจากคลังข้อมูล เช่น ข้อมูลการให้บริการ ความคิดเห็นของลูกค้า
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กร • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System: OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนกิจกรรมการทำงานในสำนักงานที่เกิดขึ้นในแต่วัน รวมทั้งช่วยให้บุคลากรไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์การประชุมทางไกล การจัดทำเอกสาร การนำเสนอข้อมูล เป็นต้น • ระบบสารสนเทศในโรงงาน (Factory Automation) เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาสร้างเป็นโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต ให้ดำเนินงานได้อย่างอัตโนมัติ ได้แก่ • ระบบ MRP • ระบบวิศวกรรม มีการนำ CAD (Computer-aided Design) CAE (Computer-aided Engineering) • Factory Operation ด้านการดำเนินการผลิต
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านบริหาร • 1.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) เป็นระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ มีเป้าหมายเพื่อเตรียมสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้ระบบที่เป็นผู้บริหาร โดยสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากระบบ DSS เป็นระบบที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ด้วยความชาญฉลาดแต่ไม่ได้ใช้ระบบ DSS เพื่อการตัดสินใจแทน • 2.ระบบสนับสนุนการทำงานแบบกลุ่ม (Group Support System) GSS คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น การประชุมทางไกลการถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เป็นต้น • 3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้จัดการข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ตั้งแต่ การจัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ภาพถ่าย (ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ) ข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่ ประชากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ทั้งหมด
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านบริหาร • 4. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) หมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประดิษฐ์เครื่องจักร เช่น หุ่นยนต์ • 5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาและให้คำแนะนำอย่างมีเหตุผล สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของตนมาใช้ในการฝึกฝนการแก้ไขปัญหาเองได้ • 6. คอมพิวเตอร์โครงข่ายใยประสาท (Neural Network Computing) หมายถึงคอมพิวเตอร์ • ที่สามารถเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ได้ ด้วยการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ได้ในคราวละมาก ๆ • 7. ระบบความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality System) หมายถึง ระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้ระบบเคลื่อนไหวและมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมที่ถูกจำลองขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ได้ โดยผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเฉพาะ สามารถสัมผัสได้ทั้งภาพและเสียง
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานแบบกลุ่ม
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หมายถึง รูปแบบทางธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวเนื่องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม มาใช้ในการประมวลผลและส่งผ่านข้อมูลดิจิตอล ข้อมูลเสียง ภาพเคลื่อนไหว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทีส่งผลดีต่อองค์กร เช่นการบริหารองค์กร การเจรจาทางธุรกิจ การทำนิติกรรมสัญญา การชำระบัญชี และการชำระภาษีเป็นต้น • โครงสร้างพื้นฐานของ E-Commerce โดยแบ่งองค์ประกอบเป็น 5 ส่วน ดังนี้ • 1. การบริการทั่วไป ช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ลูกค้า และสมาชิกที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ ช่วยสร้างความไว้วางใจแก่ผู้ใช้บริการ และช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กร เช่น การรักษาความปลอดภัย และระบบชำระเงิน • 2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคม ได้แก่ EDI, E-mail และ FTP เป็นต้น
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างพื้นฐานของ E-Commerce 3. รูปแบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปแบบของเนื้อหา เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบสื่อผสม ซึ่งผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเข้าด้วยกันแล้วส่งผ่านทาง Web Site บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยังผู้ใช้บริการได้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ เช่นHTML, JavaScript, XML เป็นต้น 4. ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ได้แก่ LAN, MAN, WAN และ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 5. ส่วนประสานกับผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่านโปรแกรม Web Browser
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของ E-Commerce • E-Commerce สำหรับกลุ่มธุรกิจค้ากำไร แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ B2B, B2C, C2C และ C2B • 1. B2B (Business-to-Business) เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ หรือระหว่างองค์กรกับองค์กร เช่น การจัดซื้อ-จัดจ้าง การจัดการสินค้าคงคลัง • การจัดการด้านการชำระเงิน เป็นต้น เทคโนโลยีที่นำมาใช้สนับสนุน ได้แก่ SCM, EDI เพื่อให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ตัวอย่างองค์กรกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการบินกลุ่มธุรกิจค้าส่ง นำเข้าและส่งออก เป็นต้น • 2. B2C (Business-to-Consumer) เป็นการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงาน และเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนที่คล้ายคลึงกับการทำธุรกรรมแบบ B2B
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของ E-Commerce • 3. C2C (Consumer-to-Consumer) เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เทคโนโลยีที่ใช้จะช่วยสนับสนุนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างกันในลักษณะการประมูล ต้องอาศัยคนกลางที่เป็นนายหน้าหรือตัวแทน เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน การขายสินค้าที่ใช้แล้วและการรับสมัคงาน เป็นต้น • 4. C2B (Consumer-to-Business) เป็นการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ โดยผู้บริโภคมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ แล้วกระทำธุรกรรมกับผู้ประกอบการในนามของกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ (ไม่ใช่ตัวบุคคล) เพื่อใช้เป็นอำนาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการ
บทสรุป เนื้อหาในบทกล่าวถึง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานขององค์กร เช่น การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์กร การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการทำงานและยังสามารถใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบที่รวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการและการตัดสินใจในองค์การ นอกจากนี้ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และโปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ รวมทั้งสามารถจัดการวางแผน การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน