300 likes | 768 Views
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองให้นายจ้างต้อง จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง หรือจ่ายให้แก่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างในนามของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความเจ็บป่วย หรือสูญหาย หรือตาย เนื่องจากการทำงานหรือปกป้องประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งนายจ้าง.
E N D
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นกฎหมายที่คุ้มครองให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง หรือจ่ายให้แก่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างในนามของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความเจ็บป่วย หรือสูญหาย หรือตาย เนื่องจากการทำงานหรือปกป้องประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งนายจ้าง
กฏหมายเงินทดแทน เป็นกฎหมายที่คุ้มครองและช่วยเหลือลูกจ้าง กรณี • ประสบอันตราย • เจ็บป่วย • สูญหาย/ตาย อันสืบเนื่องมาจากการทำงานให้นายจ้าง
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537ใช้บังคับกับกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ยกเว้น • ราชการ • รัฐวิสาหกิจ • ธุรกิจโรงเรียนเอกชน • กิจการที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร • นายจ้างอื่นตามกำหนดในกฎกระทรวง
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทน • นายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป • การจ่ายเงินสมทบให้นายจ้างจ่ายเป็นรายปี • เงินสมทบให้คำนวณจากค่าจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีของแต่ละคนตามที่จ่ายจริง • อัตราเงินสมทบ ตั้งแต่ร้อยละ 0.2-1.0 • นายจ้างซึ่งจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 4 ปี ต้องคำนวณการลด-เพิ่มอัตราเงินสมทบใหม่แต่ไม่เกินร้อยละ 5
เงินทดแทนหมายถึง • ค่าทดแทน • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน • ค่าทำศพ
เหตุแห่งการจ่ายเงินทดแทนเหตุแห่งการจ่ายเงินทดแทน - ประสบอันตราย - เจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย • สูญหาย คือ การที่ลูกจ้างหายไป • ในระหว่างเวลาทำงานตามคำสั่งนายจ้าง • ในระหว่างการเดินทางโดยพาหนะทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้าง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุ
หน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างเกี่ยวกับเงินทดแทนหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างเกี่ยวกับเงินทดแทน • เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย นายจ้างต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน 15 วัน • ต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษา และจ่ายค่ารักษาพยาบาล • จัดให้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพ และจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ • เมื่อลูกจ้างตายหรือสูญหาย ต้องจ่ายค่าทำศพในอัตรา 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างรายวัน
5. ถ้าไม่มีผู้จัดการศพ นายจ้างต้องจัดการโดยจะใช้เงินค่าทำศพไม่เกิน 1/3 ของค่าทำศพ • กรณีประสบอันตรายและเจ็บป่วยสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายทดแทนเป็นรายเดือน โดยจ่ายร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน 6.1 ถ้าลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันเกิน 3 วัน ต้องจ่ายแต่ไม่เกิน 1 ปี 6.2 ลูกจ้างสูญเสียอวัยวะบางส่วน จ่ายตามที่กระทรวงแรงงานกำหนดแต่ไม่เกิน 10ปี
กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน • แขนขาดข้างหนึ่ง จ่าย 10 ปี • ขาขาดข้างหนึ่ง จ่าย 6 ปี 8 เดือน • มือขาดข้างหนึ่ง จ่าย 9 ปี • เท้าขาดข้างหนึ่ง จ่าย 4 ปี 8 เดือน • เท้าขาดทั้งสองข้าง จ่าย10ปี • หูหนวกข้างหนึ่ง จ่าย 1ปี 8 เดือน • สูญเสียลูกตาข้างหนึ่ง จ่าย 4 ปี 5 เดือน
6.3 ลูกจ้างทุพพลภาพ จ่ายตามที่กระทรวงแรงงานกำหนดแต่ไม่เกิน 15ปี เช่น • ขาทั้งสองข้างขาด • เท้าข้างหนึ่งกับขาข้างหนึ่งขาด • มือทั้งสองข้างขาด • สูญเสียลูกตาทั้งสองข้าง 6.4 ลูกจ้างตายหรือสูญหาย จ่าย 8 ปี ไม่เกินร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน
อัตราค่ารักษาพยาบาล • กรณีปกติ จ่ายตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 35,000 บาท • กรณีบาดเจ็บรุนแรง จ่ายตามความจำเป็นเพิ่มอีกได้ไม่เกิน 50,000 บาท จะต้องมีลักษณะ • บาดเจ็บรุนแรงของอวัยวะภายใน • บาดเจ็บรุนแรงของกระดูก • บาดเจ็บรุนแรงของศรีษะ • บาดเจ็บรุนแรงของกระดูกสันหลัง • ผ่าตัดอวัยวะที่ยุ่งยาก • ผิวหนังถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สารเคมี เกิน 30% • เจ็บป่วยรุนแรงและเรื้อรัง
อัตราค่าใช้จ่ายฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานอัตราค่าใช้จ่ายฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์และค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 20,000 บาท • ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 20,000 บาท
ลักษณะที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนลักษณะที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน • เสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดจนไม่สามารถครองสติได้ • จงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองประสบอันตราย
ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากนายจ้างกรณีลูกจ้างตายหรือสูญหายผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากนายจ้างกรณีลูกจ้างตายหรือสูญหาย 1. บิดา มารดา 2. สามี ภรรยา 3. บุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี 4. บุตรอายุตั่งแต่ 18 ปี และทุพลภาพหรือจิตไม่สมประกอบ
กองทุนเงินทดแทน และขั้นตอนการยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทน กองทุนเงินทดแทนตั้งขึ้นไว้ในสำนักงานประกันสังคม นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุน เมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในอัตราที่กำหนดไว้ตั้งแต่ร้อยละ 0.2 – 1.00 %
การยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทน ภายใน 180 วัน • การพิจารณาคำร้องขอรับเงินทดแทน พนักงานประกันสังคมจะทำการสอบสวน และมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง • การอุทธรณ์คำสั่งพนักงาน อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายใน 30 วัน • การนำคดีไปสู่ศาล นำคดีสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัย
สภาพบังคับ ลงโทษทางอาญากับนายจ้างที่ไม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน หรือจ่ายไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มอีก 3%ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย และเลขาธิการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทรัพย์สินนายจ้างได้
แบบฝึกหัดทบทวน • พรบ.เงินทดแทนใช้บังคับกับกิจการประเภทใด • พรบ.เงินทดแทนไม่ใช้บังคับกับกิจการประเภทใด • เงินที่เป็นค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ เรียกว่าอะไร • ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทน จากเหตุใด • เมื่อลูกจ้างตายให้นายจ้างจ่ายค่าทำศพเท่าใด • จ่ายการเงินทดแทนจะจ่ายในอัตราร้อยละเท่าใดของเงินเดือน • กรณีลูกจ้างทุพพลภาพจากการทำงานให้นายจ้าง จะไดค่าทดแทนสูงสุดไม่เกินกี่ปี • ลักษณะใดที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย • ลุง ป้า มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากนายจ้างหรือไม่ • ศาลที่รับพิจารณาคำร้องขอเงินทดแทนเป็นด่านสุดท้ายคือศาลใด