1.03k likes | 1.82k Views
รูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดี. 1. ข้ออ้าง ( ทั้งหมด ) เป็นจริง ( ตรงตามข้อเท็จจริงหรือการยอมรับว่าจริง ) 2. ข้ออ้าง ( ทั้งหมด )จะ สัมพันธ์ กับข้อสรุป ( อย่างแท้จริง ) ใน 2 ลักษณะ คือ A. ข้ออ้าง ( ทั้งหมด ) สามารถยืนยันความ เป็น จริงของข้อสรุปได้ อย่างแน่นอน
E N D
รูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดีรูปแบบการอ้างเหตุผลที่ดี 1.ข้ออ้าง(ทั้งหมด)เป็นจริง(ตรงตามข้อเท็จจริงหรือการยอมรับว่าจริง) 2.ข้ออ้าง(ทั้งหมด)จะสัมพันธ์กับข้อสรุป(อย่างแท้จริง) ใน 2 ลักษณะ คือ A. ข้ออ้าง(ทั้งหมด)สามารถยืนยันความเป็นจริงของข้อสรุปได้อย่างแน่นอน B. ข้ออ้าง(ทั้งหมด)มีความเป็นไปได้สูงที่จะยืนยันความเป็นจริงของข้อสรุป นิรนัย อุปนัย
สรุปวิธีการนิรนัย ๑.วิธีการอนุมาน (นิรนัย) อริสโตเติลเป็นคนแรกที่นำมาใช้ ในการค้นหาความรู้โดยวิธีการคิดเชิงเหตุผลโดยการอ้าง ข้อเท็จจริง ๒ประการที่พบว่าจริงมาสรุปเป็นข้อเท็จจริงใหม่ วิธีการอนุมาน มีข้อบกพร่องสำคัญ ๒ อย่างคือ -ข้อสรุปที่ได้อาจไม่เป็นจริง เพราะข้ออ้างที่ใช้อาจไม่เป็นจริงเสมอไป -ข้อสรุปที่ได้มิใช่เป็นความรู้ใหม่ แต่เป็นความรู้เดิม(ความเชื่อเก่า)ที่รู้อยู่แล้ว 2+2= 4 น้ำ= H2O
สู่ยุคRenaissance (ค.ศ.1500-1600) ยุคทองของนิรนัย (ก่อนค.ศ -1500) วัยเด็กสื่อให้เห็นถึงวัยหนุ่ม เช่นเดียวกับยามเช้าก็คาดคะเนได้ถึงวันๆนั้น (จอห์นมิลตัน) ยุคกลาง ค.ศ 400 -1500 ยุคมืด
การใช้เหตุผลในโลกตะวันตกยุคกลางการใช้เหตุผลในโลกตะวันตกยุคกลาง - อาณาจักรกรีกได้ล่มสลายลง พวกโรมันขึ้นมีอำนาจต่อ และศาสนาคริสต์กลายมาเป็นศาสนาที่เจริญควบคู่ไปกับอาณาจักรโรมัน ช่วงเวลาที่เกิดปรัชญาสมัยกลางขึ้น - การใช้เหตุผลในยุคนี้ คือ การใช้ความคิดเพื่อนำเหตุผลมาอธิบายการเข้าถึงความจริงตามพระคัมภีร์ โดยเฉพาะการยืนยันเรื่อง พระเจ้า ในคริตสศตวรรษ 16 ได้มีการแปลหนังสือชื่อว่า “เครื่องมือ” จากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาละติน ดังนั้นการใช้เหตุผลแบบอริสโตเติลจึงฟื้นกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
เซ็นต์ออกัสติน นำเหตุผลของเพลโตมาใช้อธิบาย เซ็นต์อไควนาสนำเหตุผลของอริสโตเติลมาใช้อธิบาย เป็นการพยายามนำเอาความคิดของนักปรัชญากรีกทั้ง 2 คน มารับใช้ศาสนาคริสต์เพื่อที่จะเข้าถึงความจริง และความรู้ทั้งหลายจะได้รับการยืนยันความจริงได้ต้องอาศัยฐานความรู้จากพระคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้น ถือกันว่า “ไบเบิลคือความจริง”
ตัวอย่าง • ความรู้ใดก็ตามที่ตรงตามพระคัมภีร์เป็นความรู้ที่ดี ความรู้ของวิทยาศาสตร์ไม่ตรงตามพระคัมภีร์ เพราะฉะนั้นความรู้ของวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่ดี • จักรวาลเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ สิ่งที่ยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ จะต้องเกิดมาจากสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่งในจักรวาล คือ พระเจ้า
การใช้เหตุผลในโลกตะวันตกสมัยใหม่การใช้เหตุผลในโลกตะวันตกสมัยใหม่ ข้อแตกต่าง • เครื่องมือการใช้เหตุผลหาความรู้พิสูจน์ความจริงที่สำคัญของยุคนี้คือ “วิธีอุปนัย” มีฟรานซิสเบคอน เป็นคนแรกๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ “อุปนัยโดยการคัดออก” • ฟรานซิส เบคอน มีความเชื่อซึ่งเป็นพื้นฐานของวิธีอุปนัยว่า “ความรู้คืออำนาจ” หมายถึง ความรู้หรือความจริงที่สามารถนำมาใช้งานได้ ได้แก่ การใช้ความรู้เพื่อครอบงำและควบคุมระบบธรรมชาติ • วิธีอุปนัยนี้ได้รับการพัฒนาต่อไป จนกลายเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคต่อมาดังที่ปรากฏ สมัยกรีกโบราณ :ความจริงทั่วไป ที่นำมาสนับสนุน เกี่ยวข้องกับสิ่งธรรมชาติ วิธีการใช้เหตุผลแบบนิรนัย สมัยกลาง :ความจริงทั่วไป ที่นำมาสนับสนุนจะ เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ สมัยใหม่และปัจจุบัน :ความจริงทั่วไป ที่นำมานับสนุน เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย
Francis Bacon (๑๕๖๑-๑๖๒๖)บิดาแห่งตรรกศาสตร์อุปนัย ถ้าเขาเริ่มต้นด้วยความแน่ใจ เขาจะจบลงด้วยความสงสัย ถ้าเขาเริ่มต้นด้วยความสงสัย เขาจะจบลงด้วยความแน่ใจ
แนวคิดแบบอุปนัย นำไปสู่ปรัชญาแนวปฏิบัตินิยม ปฏิบัตินิยม ปักใจอยู่กับประสบการณ์อย่างเต็มที่ กฎ : 1. “อะไรที่ให้คุณประโยชน์ได้ต้องจริง” 2. ทดลองนำมาใช้และติดตามดูผล การคิด คือ การหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ผล ความเชื่อเป็นเครื่องมือเกณฑ์ตัดสินวิธีการคิดแบบอุปนัย คือ “ความปักใจเชื่อว่าน่าจะจริง”
ลักษณะความรู้ที่ใช้วิธีการอุปนัยลักษณะความรู้ที่ใช้วิธีการอุปนัย • ข้ออ้างได้มาจากข้อเท็จจริง(ประสบการณ์)บางส่วน • ปรากฏการณ์หนึ่งหรือข้อสรุปหนึ่ง ๆ เกิดมาจากหลายข้อเท็จจริง(ข้ออ้าง) • ข้อสรุปมีลักษณะเป็นข้อเท็จจริงทั่วไปที่กว้างขึ้น(สรุปเกินข้ออ้างเสมอ) • ข้อสรุปมีลักษณะก้าวกระโดดมีน้ำหนักเกินข้ออ้างที่ใช้(มีความไม่แน่นอน) • ข้อสรุปไม่อาจเป็นความจริงที่แน่นอนตายตัว • เกณฑ์การตัดสินอยู่ที่ “ระดับความน่าเชื่อถือ”(การปักใจเชื่อล่วงหน้า) …..โอกาส…หรือ…ความน่าจะเป็น…..
ความเป็นไปได้ มี 2 ประเภท ๑.ความเป็นไปได้เชิงประจักษ์(Empirical possibility) . สำนักประจักษนิยม(Empiricism) มีแนวความคิดหลักว่า.... ความรู้นั้นจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ด้วยอายตนะทั้งห้าเท่านั้น ความรู้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยอายตนะ ไม่ถือเป็นความรู้ หากแต่เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ๒. ความเป็นไปได้เชิงตรรกะ(Logical possibility) ข้อความใดที่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วไม่ขัดแย้งตัวเอง จะมีความเป็นไปได้ . ตรรกะอุปนัย (Induction Logic) ความงมงายของตะวันตกความเชื่อที่หาเหตุผลไม่ได้ เช่น ใช้ หมึกพอล ทำนายผลฟุตบอลโลก โดยไม่ต้องใช้คำอธิบายหรือหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆ
ความเป็นจริง ข้ออ้าง ข้อสรุป เกณฑ์การอ้างเหตุผลอุปนัยครั้งใดก็ตาม ที่ข้ออ้างสามารถยืนยันได้เพียงแต่ว่า ข้อสรุปมีโอกาสสูงที่จะเป็นจริง ถือว่าการอ้างเหตุผลครั้งนั้นมี ความน่าเชื่อถือ (Reliable) ยืนยัน มีโอกาสสูง
ความเป็นจริง ข้ออ้าง ข้อสรุป • ความน่าเชื่อถือ (Reliable) • ของงานวิจัยในห้องแล็บ(ในหลอดทดลอง)กับการใช้ในชีวิตจริง • บางทีมันคนละเรื่องกัน เช่น • เมล็ดสีดำของแก้วมังกรมีสารพิษคล้ายสารก่อมะเร็ง • เมล็ดแอ็ปเปิ้ลมีสารไซยาไนด์ • เมล็ดแอปปริคอตก็มีสารไซยาไนด์ • กินนมถั่วเหลือง(เพราะมีโฮร์โมนฟัยโตอีสโตเจน)เด็กชายจะกลายเป็นกะเทย กลลวงหรือกับดัก (สงครามผลประโยชน์) แต่กินรักษามะเร็งได้ ! ยืนยัน มีโอกาสสูง
การค้นหาความรู้ใหม่โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการค้นหาความรู้ใหม่โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือ ข้อเท็จจริงย่อยๆแล้วนำมาแปลความสรุปผลใหม่ วิธีการอุปนัย มี ๒ ลักษณะ ๑.วิธีการอุปนัยแบบสมบูรณ์ (Census Survey) เป็นการสำรวจที่สำรวจจากประชากรทุกหน่วย โดยไม่ต้องเลือกตัวอย่าง (เรื่องเล็กๆ อาจทำได้ง่าย) ๒.วิธีการอุปนัยแบบไม่สมบูรณ์ (Sample Surveys) เป็นการสำรวจจากตัวอย่างบางส่วน ซึ่งเลือกออกมาจากประชากร (เรื่องใหญ่ๆ ที่ทำได้ยาก)
การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้
วิธีอุปนัยแบบต่าง ๆ วิธีวิทยาศาสตร์ การคิดอุปนัยเชิงเปรียบเทียบ (Induction by Analogy) การคิดแบบอุปนัยทั่วไป *การคิดแบบพุทธวิธี การคิดอุปนัยโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง (Induction by Enumeration) การทิ้งเหตุผล วิธีอุปนัยหาสาเหตุของมิลล์ 5 วิธี (Mill’s Method) ตรรกอุปนัย (Induction Logic) (Scientific Method) (General Induction) (Fallacy)
๑.วิธีอุปนัยแบบทั่วไป๑.วิธีอุปนัยแบบทั่วไป คือการสรุปลักษณะทั่วไปจากสิ่งเฉพาะที่รู้จากประสบการณ์ หรือหลักฐานเท่าที่มี • รูปแบบ/โครงสร้าง…. ๑.อ้างข้อมูลบางส่วน... เช่น • คนไทยพูดภาษาไทย • มิสเตอร์หยุ่นพูดภาษาไทย ๒.ข้อสรุปมีลักษณะรวม ดังนั้น มิสเตอร์หยุ่นเป็นคนไทย ใครก็ตามที่พูดภาษาไทย……..
มีงานวิจัยบ่งว่า “ส้มตำทั่วไปมีสารพิษ เปิบมากเป็นมะเร็ง” (ฉะนั้นส้มตำทุกร้าน กินแล้วเป็นมะเร็ง) คนต่างชาติพูดภาษาอื่น คนไทยพูดภาษาไทย คนไทยและคนต่างชาติ ที่พูดภาษาไทย
๒. การอ้างเหตุผลอุปนัยแบบ เปรียบเทียบ(Induction by Analogy) หมายถึง ความสามารถในการเทียบเคียงความเหมือนหรือความต่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่น ๆโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสรุป ที่ต้องการ ประโยชน์ของการเปรียบเทียบ การคิดเปรียบเทียบหาเหตุผลไปสู่ข้อสรุปเหมือนการเล่นจิ๊กซอว์ ๑. พบความต่างในความคล้าย รู้จักจำแนกแยกแยะได้ ๒. พบค้นพบข้อเท็จจริง ชี้ถูกชี้ผิดได้
๓. พบทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ ทางเลือกไหนที่ดีที่สุด? ๔. ทำเรื่องยากให้เข้าใจง่ายขึ้น อุปมา-อุปมัย ฝนทั่งให้เป็นเข็ม “ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า” ‘ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน’ ๕. การเลียนแบบ นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการเร็วขึ้น Modeling ๖. การค้นพบ นำไปสู่การแก้ปัญหาบางอย่างได้ การทดลอง
พ่อลูกคู่หนึ่งสนทนากันอยู่ลูกกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่นมีคำถามเรื่องเพศสัมพันธ์มาถามพ่อพ่อลูกคู่หนึ่งสนทนากันอยู่ลูกกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่นมีคำถามเรื่องเพศสัมพันธ์มาถามพ่อ ลูก – พ่อครับทำไม การมีเพศสัมพันธ์ทำให้มีความรู้สึกยังไงครับพ่อ-ก็มันเหมือนกับการที่เอ็งเอานิ้วเอ็งไปแคะขี้มูกในจมูกของเอ็งแหละ ลูก-ทำไมเวลามีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงถึงร้องครวญคราง เหมือนมีความรู้สึกดีกว่าผู้ชายครับพ่อ - อ้าว.. แล้วเวลาเอ็งแคะขี้มูก เอ็งรู้สึกว่า นิ้วของเอ็งดีขึ้น หรือว่ารูจมูกของเอ็งดีขึ้น... ลูก -ในเมื่อผู้หญิงรู้สึกดีขึ้น แล้วทำไมผู้หญิงถึงเกลียดการข่มขืนล่ะพ่อ -มันไม่เหมือนกัน แล้วถ้าเอ็งเดินอยู่บนถนนแล้วมีคนวิ่งมาเอานิ้วมาทิ่มจมูกเอ็งนะ เอ็งจะชกหน้ามันไหม ลูก -แล้วทำไมผู้หญิงถึงไม่ชอบมีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างมีประจำเดือนพ่อ -แล้วถ้าจมูกของเอ็งเลือดไหลอยู่ เอ็งจะแคะขี้มูกมั้ย.. ลูก -ทำไมผู้ชายถึงไม่ชอบใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์พ่อ -แล้วถ้าพ่อบังคับเอ็งใส่ถุงมือแคะขี้มูกเอ็งจะรู้สึกยังไง ลูก - อีกคำถามครับพ่อ ทำไมผู้หญิงชอบบรรยากาศเงียบ ๆ สลัว ๆขณะที่มีความต้องการพ่อ - อ้าว..แล้วพ่อใช้ให้เอ็งแคะขี้มูก หน้าชั้นเรียนเอ็งจะทำได้มั้ย..โธ่ลูกพ่อเอ๊ย...... ลูก - “พ่อครับ พ่อเก่งจังเลย”
การเปรียบเทียบ มี ๒ ชนิด ๑.การอธิบายเชิงเปรียบเทียบ (อุปมาอุปมัย) เพื่อให้เข้าใจมโนภาพนั้นชัดขึ้น • ชีวิตของเราจะผิดอะไรกับกองเพลิง ชีวิตต้องการฟืนอยู่ทุกขณะจิต มันทำให้เรามีภาวะที่ว่างไม่ได้ ถ้าจะมีผู้ซึ่งพ้นจากภาระนี้ได้ และไม่ต้องมาคอยกังวลอยู่อีก ก็เพราะเขาพบฟืนวิเศษชนิดที่ทำให้ ดวงชีวิตลุกโพลงอยู่ชั่วนิรันดรได้ โดยไม่ต้องคอยดูแลมันอีกนั่นเอง -สิ่งที่คุณทำอยู่ในเวลานี้เปรียบไป ไม่ต่างอะไรกับแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ
๒.การอ้างเหตุผลเชิงเปรียบเทียบ๒.การอ้างเหตุผลเชิงเปรียบเทียบ ๒.๑.การอ้างเหตุผลเปรียบเทียบในลักษณะวิเคราะห์ -การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายพรรคการเมืองไทย -ความยุติธรรม -เสรีภาพ -สิทธิมนุษยชน -เศรษฐกิจ -ฯลฯ พี่ชายของดินเนอร์ ขับวินมอเตอร์ไซด์ ชอบสูบบุหรี่ เป็นมะเร็งปอดตาย ดินเนอร์ ก็ขับวินมอเตอร์ไซด์ ชอบสูบบุหรี่เหมือนกัน ฉะนั้น ดินเนอร์จะต้องตายด้วยมะเร็งปอด -ร้านอาหาร ก. มีอาหาร 1 2 3 4 5...... อาหาร 1(แกงเขียวหวานไก่) กินอร่อย . . . อาหารของร้าน ก. 2 3 4 5(ทั้งหมด) กินอร่อย . . . สาขาของร้าน ก. มีอาหาร 1 2 3 4 5...... น่าจะเป็นร้านที่มีอาหารกินอร่อยเหมือน ร้าน ก. . . . (สาขาร้าน ก. ทุกร้านที่มีอาหารเหมือนกัน ก็ต้องเป็นร้านที่มีอาหารอร่อยด้วย)
๒.๒. การอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบโดยอุปมาอุปมัย “เวลาวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆเรามักจะนำเรื่องอื่น ๆ มาเปรียบเทียบเสมอ” (เอาความรู้ทั่วไปหรือประสบการณ์ร่วมมาเป็นหลักยึด/มาตรฐาน) - อาชญากรเหมือนสัตว์ร้ายที่คุกคามความมั่นคงของประชาชน ถ้าสัตว์ถูกฆ่าคนก็ปลอดภัย ดังนั้น เราควรกำจัดอาชญากรให้หมดไป ลักษณะการอ้างเหตุผลเปรียบเทียบ 1.การอ้างเปรียบเทียบจากข้อมูลเดียว 2.การอ้างเปรียบเทียบจากลักษณะเฉพาะที่เหมือนกัน 3.มีการสรุปรวมทั้งหมดจากข้อมูลเดียว
สาว ๆ คนไหนนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้ เตรียมเอาดีด้านกีฬา • ความยาวของนิ้วอาจเป็นดัชนีบ่งชี้อนาคตในวงการกีฬาของนักแข่งหญิง นักวิจัยจากเกาะอังกฤษเผยผลการศึกษา หญิงสาวที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้จะมีแต้มต่อมากกว่าสาวอื่นๆ ในด้านกีฬา โดยเฉพาะประเภทที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งอย่างเช่น ฟุตบอล และเทนนิส นั่นเพราะความยาวของนิ้วนางเกี่ยวเนื่องกับระดับฮอร์โมนเพศชายในตัวสาวเจ้าการค้นพบนี้อาจเป็นกุญแจไขข้อข้องใจของบรรดาพ่อแม่ว่า จะยอมเสียเงินก้อนโตจ้างโค้ชเก่งๆ มาฝึกปรือลูกสาวเพื่อกรุยทางสู่การเป็นดาวดังในวงการกีฬาดีหรือไม่ ปกติแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีนิ้วนางสั้นกว่าหรือยาวเท่านิ้วชี้ในทางกลับกัน ผู้ชายส่วนใหญ่นิ้วนางจะยาวกว่านิ้วชี้ แต่การค้นพบนี้เป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่ยืนยันว่า สัดส่วนระหว่างนิ้วชี้เมื่อเปรียบเทียบความยาวกับนิ้วอื่นๆ มีความเกี่ยวโยงกับความแตกต่างทางลักษณะเชิงบุคลิกภาพมากมาย เช่น เพศวิถี ภาวะเจริญพันธ์ สติปัญญา ความก้าวร้าว และความสามารถทางดนตรี เป็นต้น ความรู้โดยการเปรียบเทียบ
จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวาแล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ • ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ • ข้อบนสุดยาวที่สุดคุณเป็นคนมีพรสวรรค์ในการพูดจาดึงดูดคน เป็นคนพูดจาฉะฉานชัดเจนทั้งในน้ำเสียงและกริยาท่าทางเป็นคนช่างสังเกตและรอบคอบ
จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ (เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ • ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ • ข้อกลางยาวที่สุดคุณเป็นคนที่ให้ความใส่ใจต่อผู้อื่นและมีความอดทน เป็นเลิศลักษณะความยาวข้อกลางนี้ ส่วนมากพบในผู้ที่อยู่ในวงการแพทย์
จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ • ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ • ข้อล่างยาวที่สุดคุณเป็นคนรักอิสระเสรีอย่างมากไม่ชอบการถูกควบคุมและเป็นคนพูดจาเปิดเผย ตรงไปตรงมา ฝีปากคมคาย เป็นคนที่ยึดมั่นในเหตุผลและโต้เถียงเก่ง
จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ • ส่วนที่สั้นที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดด้อยในตัวคุณ • ข้อบนสุดสั้นที่สุด คุณเป็นคนไม่กล้าแสดงออกอย่างมาก เป็นคนขี้อายถึงขนาดตัวคุณเองก็ยากที่ จะเข้าใจในตัวเองนอกจากนี้คุณยังเป็นคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย
จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ • ส่วนที่สั้นที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดด้อยในตัวคุณ • ข้อกลางสั้นที่สุด คุณเป็นคนซื่อสัตย์ยุติธรรมแน่วแน่มั่นคงอาจจะเรียกได้ว่าถึงขั้นไม่มี ความประนีประนอม จนดูเหมือนความที่เป็นคนตรง กลายเป็นข้อด้อยของคุณไปเลย
จุดเด่น-จุดด้อย รู้ได้ด้วยนิ้วมือ(เปรียบเทียบ)หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ • ส่วนที่สั้นที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดด้อยในตัวคุณ • ข้อล่างสั้นที่สุดคุณเป็นคนซื่อๆ ง่ายๆไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมารยาเชื่อคนง่ายเสียจนกระทั่งอาจจะถูกหลอกหรือถูกโกงได้ง่ายด้วยความไร้เดียงสาของคุณเอง
เกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบที่ดี…ต้องดูเกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลแบบเปรียบเทียบที่ดี…ต้องดู ขึ้นกับปริมาณของลักษณะร่วมกันที่สำคัญ (มีความสำคัญหรือเป็นคุณสมบัติหลักหรือไม่?) ๒. ขึ้นกับปริมาณของลักษณะแตกต่างที่สำคัญ (มีข้อแตกต่างที่สำคัญอาจหักล้างข้ออ้างได้ไหม?) ๓. ความหลากหลายของตัวอย่างที่นำมาอ้าง (มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนกันมากน้อยแค่ไหน) ๔. ข้อสรุปแย้งได้หรือไม่ (มีข้อสรุปที่ไม่ตรงกับข้ออ้างไหม)
๓. การอ้างเหตุผลแบบสุ่มตัวอย่าง(Induction by Enumeration) มีลักษณะที่สำคัญ คือ • การสรุปคุณสมบัติบางอย่างจากตัวอย่างที่แน่นอนจำนวนหนึ่งไปสู่การมีคุณสมบัติทั่วไปของประเภทเดียวกัน "เราพบว่า ความยาวของนิ้วนั้น 70% เป็นผลจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยที่สภาพภายในครรภ์มารดามีอิทธิพลด้วยเล็กน้อย" ศ.ทิม สเปกเตอร์ (Tim Spector) จากแผนกวิจัยด้านฝาแฝดและวิชาโรคติดต่อทางพันธุกรรม ของคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King's College London) เจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ระบุ • มีรูปแบบในการอ้างเหตุผลลักษณะเชิงสังเคราะห์ • “คือการดึงเอาองค์ประกอบต่างๆมารวมเป็นข้อสรุปใหม่”
วิธีการของการทำโพล คือการเลือกตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาจำนวนหนึ่ง โดยเลือกจากความหลากหลายของประชากรทั้งเพศ อายุ อาชีพ ฐานะ ที่อยู่ และอื่นๆ เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด วิธีการแบบโพลล์ได้รับการพิจารณาศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น คือ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการ โดยหลักความเป็นไปได้ทางสถิติ ให้ทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสเท่าเทียมกันในการถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ปัจจุบัน วิธีที่จะใช้ศึกษาประชามติหรือโพลล์มี 5 วิธี คือ • 1. การวิจัยแบบสังเกตการณ์ (Observation Research) คือ การวิจัยที่อาศัยการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตกลุ่มตัวอย่างในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง • 2. การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research or Polling) การวิจัยแบบสำรวจหรือการทำโพลล์นี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาอย่างง่าย (Simple Descriptive Survey) • 3. การทำสำรวจแบบเจาะเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เป็นการสำรวจที่กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนในแต่ละกลุ่มได้อภิปรายกันเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจร่วมกับผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ • 4. การวิจัยแบบทดลอง (Experimental Research) ซึ่งเป็นวิธีวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือในเชิงวิทยาศาสตร์มากที่สุด การวิจัยแบบทดลองจะต้องมีการคัดเลือกกลุ่มทดลองที่เหมาะสมกัน และทำการทดลองกลุ่มดังกล่าวด้วยวิธีต่าง ๆ กัน โดยมีการควบคุมปัจจัยภายนอก • 5. การวิจัยโดยวิเคราะห์เนื้อหาจากสื่อมวลชน (The Analysis of Mass Media Content) เป็นการวิจัยที่ศึกษาเนื้อหาสาร ซึ่งสะท้อนความคิดเห็นจากหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ • โพลล์คือการศึกษาประชามติ การทำโพลล์ก็จะต้องใช้กระบวนการวิจัย
โพลล์ หมายถึง ''การสำรวจความคิดเห็น'' ที่มา : คำนี้มาจากภาษาดัตซ์ (ฮอลแลนด์) polle แปลว่า "หัว, ศีรษะ" ซึ่งภาษาอังกฤษเอามาใช้ใน แง่การนับจำนวนหัว เช่นจำนวนคน ต่อมาใช้ในทำนองการนับจำนวนเสียง หรือการหยั่งเสียง ทั้งในทางการเมืองเช่นการหยั่งเสียงช่วงเลือกตั้ง และในเรื่องทั่วๆไป การวิจัย คือ กระบวนการค้นคว้าหาความจริง ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้อย่างมีระบบ ตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการอธิบายหรือคาดการณ์ล่วงหน้า และประชามติ คือ ความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป ความคิดเห็นนั้นเป็นการแสดงออกของทัศนคติของบุคคลด้วยภาษาหรือคำพูดหรือแนวโน้มของบุคคลที่จะแสดงหรือมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ
จากการสำรวจคนไทยทั่วประเทศ 1,000,000 คนพบว่ามี 500,000 คนอ่านหนังสือพิมพ์กันเป็นประจำทุกวัน สรุปว่าคนไทยทั่วประเทศอ่านหนังสือพิมพ์กัน 50 % สิ่งสำคัญในการอ้างแบบใช้ตัวอย่าง • จำนวนตัวอย่างต้องมากพอ • ตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนที่ดีในการใช้สรุป
เบื้องหลังการทดสอบ GT200 • ผลการทดสอบประสิทธิภาพGT200 ตรวจพบกล่องที่มีวัตถุระเบิด จำนวน 4 ครั้ง (จาก 20 ครั้ง) • วิธีการทดสอบโดยย่อคือ • ทำการซ่อน – ค้นหา ทั้งสิ้น 20 ครั้งแต่ละครั้งใช้กล่อง 4 ใบ • โดยมีกล่องใบหนึ่งซ่อนวัตถุระเบิด C4 ไว้อย่างสุ่ม ๆ • ดังนั้นในการซ่อน-ค้นหาแต่ละครั้งโอกาสที่จะพบโดยการสุ่มเลือกมั่ว ๆคือเท่ากับ 1/4หรือ 25% • และถ้าทำซ้ำ 20 ครั้ง ค่าเฉลี่ยโอกาสที่จะพบโดยการสุ่มมั่ว ๆ คือ • โอกาส 20 X 25%= 5 ครั้ง • ผลที่ได้ไม่ต่างจากการเดาสุ่ม
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์: ใครคือเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล • จากการปราบปรามเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลของรัฐบาลในขณะนี้ ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,000 ตัวอย่าง จากทุกระดับการศึกษา ในหัวข้อ "ใครคือเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล" เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้ • ชาวกรุงเทพฯ ถึงร้อยละ 51 เห็นว่านักการเมือง เป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 27 และข้าราชการร้อยละ 13 • เมื่อจำแนกชาวกรุงเทพฯ ตามระดับการศึกษาพบว่า ผู้มีการศึกษาสูงคือ ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ถึงร้อยละ 63 เห็นว่านักการเมืองเป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 24 และข้าราชการ ร้อยละ 7 ส่วนผู้มีการศึกษาค่อนข้างน้อยคือ ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25 เห็นว่า นักการเมือง เป็นเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ตำรวจ ร้อยละ 32 • กลุ่ม ทุกระดับการศึกษา ปริญญาตรี/สูงกว่า อนุปริญญา/ปวส มัธยมศึกษา ประถมศึกษา/ต่ำกว่า • นักการเมือง 5163 41 48 45 • ตำรวจ 2724 2929 32 • ข้าราชการ 137 18 1318 ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์
นักท่องเที่ยว หญิงไทยทั้งหมด หญิง บริการ ทางเพศ ชาวต่างประเทศคนหนึ่งมาเที่ยวเมืองไทย ไกด์ได้นำเที่ยว พัฒน์พงษ์ พัทยา อาบอบนวดและสถานบันเทิงต่าง ๆ เขาพบว่าทุกที่ ๆ ไป มีแต่หญิงบริการทางเพศ แม้ตอนขับรถผ่านสวนสาธารณะ คนขับยังชี้ให้ดูเลยว่ามีหญิงให้บริการทางเพศอยู่ ยิ่งกว่านั้นหญิงไทยที่เขามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ล้วนเป็นหญิงบริการทางเพศทั้งสิ้น เขาจึงสรุปว่า ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่เป็นหญิงบริการทางเพศ
ข้อสรุปของการอ้างเหตุผลจากตัวอย่าง มีลักษณะเป็น “ลักษณะทั่วไปทางจำนวน/สถิติ” Ex. • ผลการหยั่งเสียงการลงคะแนน (การทำโพล) .การพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ • ผลการ ทดลองวิจัยทางแพทย์ • ผลการทดสอบคุณภาพของยาชนิดใหม่ ๆ ฯลฯ • ผลการ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าของ อย. • การ พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา “75 %ของคนป่วยที่ไปหาหมอ อาจรักษาหายได้ด้วยตัวเอง ถ้าเขาไม่ตื่นตกใจและทุกข์”
เกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลจากตัวอย่างที่ดีเกณฑ์ตัดสินการอ้างเหตุผลจากตัวอย่างที่ดี ๑. ขนาดปริมาณของตัวอย่าง (จำนวนตัวแทนที่ใช้อ้างมากพอไหม) ๒. ความหลากหลายของตัวอย่าง (ประเภทของสิ่งในการสุ่มตัวอย่างมีมากไหม) ๓. ตัวอย่างเป็นตัวแทนที่ดีไหม ตัวแทนที่ใช้อ้างสัมพันธ์กับสิ่งที่จะสรุปหรือไม่ /แย้งได้ไหม
ข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผลจากตัวอย่างข้อบกพร่องของการอ้างเหตุผลจากตัวอย่าง 1.เก็บสถิติน้อยหรือด่วนสรุป (ข้อมูลไม่สมบูรณ์) 2.เก็บสถิติไม่เป็นกลาง (เพื่อชี้นำ ,ปลุกกระแส) 3.การเลือกเชื่อตัวอย่างที่ขัดกับสถิติ (มีอคติ) เพราะชอบฟังในสิ่งที่อยากฟัง คนใกล้ชิดผู้มีอำนาจบางคน จึงเป็นพวกที่พูดในสิ่งที่ “ผู้มีอำนาจ” อยากฟัง เสียส่วนใหญ่
ลักษณะความน่าเชื่อถือของวิธีการอุปนัยลักษณะความน่าเชื่อถือของวิธีการอุปนัย 1.ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณของหลักฐาน 2.ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่ใช้เป็นตัวแทนที่ดีให้สรุปหรือไม่ 3.ขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่สรุปมีความซับซ้อนน้อยหรือมาก
การอ้างเหตุผลแบบอุปนัยวางอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 2 ประการ 1.เชื่อในกฎความสม่ำเสมอของธรรมชาติ(Uniformity of Nature) 2. เชื่อในความเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์(Causation) สิ่งอย่างเดียวกันย่อมมีกฎเกณฑ์อย่างเดียวกัน เหตุอย่างเดียวกันมีผลย่อมอย่างเดียวกันเสมอ
๔. วิธีหาสาเหตุของมิลล์(1806 - 1873) “การกระทำทุกอย่างย่อมมีจุดมุ่งหมายของตน” ์ (All action is for the sake of some end.) วิธีการของมิลล์ (Mills Method) เป็นวิธีการอุปนัยชนิดหนึ่ง เริ่มด้วยการยอมรับกฎแห่งสาเหตุและผลเป็นกฎสากล เพราะเชื่อว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายย่อมเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันทั้งสิ้น ทุกอย่างมีสาเหตุไม่ใช่ความบังเอิญ วิธีหากฎเกณฑ์ของสาเหตุและผลของมิลล์เป็นวิธีหาสาเหตุโดยการทดลอง มิลล์ได้เสนอวิธีการหาสาเหตุโดยการทดลองไว้ 5 วิธี
วิธีการหาสาเหตุของมิลล์(ต้องมี ๒ข้อมูลขึ้นไป) • ๑.วิธีดูสาเหตุร่วม • กฎ:“ทุกข้อมูลต้องมีตัวร่วมปรากฏอยู่ด้วยกัน” สาเหตุ… ผล… ข้อมูลที ๑… เช่นA B C Dเกิด I u t z ( ก ) ข้อมูลที ๒… เช่นAE F G เกิด x y t n ( ก ) ข้อมูลที ๓… เช่นO P QA เกิด พ ห ท t( ก ) • ข้อมูลที ๔… เช่นK VAW เกิด u h t ฟ ( ก ) • ฯลฯ สรุปว่า……. A น่าจะเป็นสาเหตุร่วมที่ก่อให้เกิด t ( ก ) เพราะเชื่อว่าปรากฏการณ์หนึ่งอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งและในหลาย ๆสาเหตุนั้น เราจำเป็นต้องเลือกเฉพาะสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้ผลอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
Symbolically, the method of agreement can be represented as: • A B C D occurs together with w x y z: A E F G occurs together with w t u v: ------------------: Therefore A is the cause, the effect, or part of the cause of w.
ตัวอย่างวิธีหาความสอดคล้อง (ดูสาเหตุร่วม) คำทำนายทายรักจากเลขบัตรประชาชน นำเลข 3 ตัวสุดท้ายจากบัตรประชาชนมาบวกกันเช่น 3587785089561 เอาเลข5 + 6 + 1ได้ 12แล้วเอา1 + 2ได้ 3(บวกให้ได้เลขตัวเดียว)
เลข 1 **เป็นคนรักศักดิ์ศรีมาก เด็ดเดี่ยว กล้าทำ กล้าแสดงออก เป็นผู้นำที่ดี เรื่องความรัก ค่อนข้างละเอียดอ่อน ถือความรักเป็นใหญ่ ลงทุนเพื่อความรักได้ เลข 2 **เป็นคนไม่ชอบอยู่คนเดียว ค่อนข้างใจอ่อนขี้สงสาร มักมีคนมาหาเพื่อตักตวงผลประโยชน์ ความรัก หวานแหววจนทำให้คนอื่นอิจฉา เป็นคนมีเสน่ห์ต่อเพื่อนตรงข้ามมาก เพื่อนฝูงรักใคร่ เลข 3 **เนื้อคู่ของคุณไม่ค่อยดีนัก เพราะมีปัญหาต่างๆเข้ามาในชีวิตอยู่เรื่อย เรื่องความรัก ต้องระวังมือที่สาม มักมีคนมาทำให้แตกแยกควรใส่ใจคู่รักของคุณ แม้จะมีปัญหาเข้ามามาก แต่ก็จะผ่านไปได้เสมอ เลข 4 **กล้าทำ กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจเรื่องความรักจัดว่าดีทีเดียว มีเพศตรงข้ามให้ความสนใจเสมอ ความรักทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
เลข 5 **เป็นคนที่หยิ่งในตนเอง ไม่ชอบพึ่งพาใคร มักจะช่วยเหลือตัวเองมากกว่า ค่อนข้างเป็นคนคิดมากเรื่องความรัก เลขนี้มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามมาก แต่อย่าเลือกมากเกินไป ถ้ารอนานแล้วอาจจะรอเก้อคานมันจะมาหา เลข 6 **ไม่มีมีปัญหาอะไรมากนักเอาตัวรอดได้ตลอดเวลา พยายามแต่งตัวดีๆ เข้าไว้จะดึงดูดสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตคุณ ความรักไม่มีปัญหาอะไร ต้องเลือกคนที่ดีที่สุดให้ตัวเอง คนหมายเลขนี้ไม่ค่อยอยู่เป็นโสดนานนัก เลข 7 **เป็นคนที่ชอบเดินทางอยู่เสมอ เรื่องชีวิตดี แต่ความรักทำให้ปวดหัวบ่อยๆ ไม่ค่อยลงรอยกับคู่นัก อยู่ใกล้กันแล้วมักมีปากเสียง พยายามแยกอยู่ห่างๆ กันบ้างก็ดี เลข 8 **เป็นคนขยัน กล้าตัดสินใจ เปิดเผย และไขว่คว้าสิ่งดีๆ เรื่องความรัก ไม่มีปัญหา แต่บางทีสนุกจนลืมคนรัก ต้องให้เวลาบ้าง เลข 9 **ไม่ว่าเค้าจะทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จอยู่เสมอ ไม่ต้องพึ่งคนอื่นมากนัก เรื่องความรัก ต้องระวังหน่อย เพราะจะทำให้ปวดหัว มีมือที่สามมาให้ยุ่งยาก